Month: August 2012

คะน้า

คะน้าเป็นผักที่คนไทยรู้จักกันดี อยู่ในตระกูล Cruciferae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica alboglabra เป็นผักที่นิยมปลูกและบริโภคกันมากทั่วทุกภาคของประเทศไทย เป็นผักที่ปลูกเพื่อบริโภคส่วนของใบและลำต้น เป็นผักอายุ 2 ปี แต่ปลูกเป็นผักอายุปีเดียว อายุตั้งแต่หว่านหรือหยอดเมล็ด จนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วัน ผักคะน้าสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่ปลูกได้ผลดีที่สุดอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเมษายน ผักคะน้ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียและมีปลูกกันมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซียและประเทศไทย ซึ่งชาวจีนเรียกคะน้าว่า ไก่หลันไช่

พันธุ์คะน้า

พันธ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยเป็นคะน้าดอกขาวทั้งสิ้น โดยสั่งเมล็ดจากต่างประเทศเข้ามาปลูกและปรับปรุงพันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์คะน้าที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ด้วยกันคือ

1. พันธุ์ใบกลม มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมน และผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ได้แก่ พันธุ์ฝางเบอร์ … Read More

การเก็บถนอมรักษาพริก

ผลพริก (เม็ดพริก) เมื่อแก่จัดหรือเริ่มมีผลสีแดงสามารถที่จะปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่กับต้นได้อีกชั่วระยะหนึ่งโดยไม่มีการเสื่อมคุณภาพแต่อย่างใด ส่วนผลพริกสดที่เก็บเกี่ยวออกจากต้นแล้ว ไม่ว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างใดก็ตาม ถ้าหากว่าใช้ไม่หมดแล้วนำไปเก็บไว้ในสภาพปกติก็จะเก็บไว้ได้ไม่นาน แต่ถ้าต้องการเก็บพริกสด ไว้กินนานๆนั้น เมื่อซื้อหรือเก็บพริกสดมาจากต้น ให้เด็ดขั้วก้านพริกออกก่อนจะนำไปล้างน้ำ แล้วนำไปผึ่งลมให้แห้ง หากระดาษหนา ๆ เอามาห่อเก็บไว้ในที่แห้ง ๆ พริกจะสดอยู่ได้นานหลายวัน หรือถ้ามีตู้เย็นเก็บพริกนั้นโดยตรงไม่ต้องห่อก็กระทำได้ แต่จะต้องระวังอย่าให้เม็ดพริกเปียกน้ำ ด้วยจะทำให้เน่าได้ง่าย เม็ดพริกสดที่เก็บมา แล้วเอาลงแช่ในน้ำสะอาดที่แกว่งสารส้มไว้แล้ว แช่ไว้สัก ๑๐ นาที แล้วจึงเอาขึ้นผึ่งให้แห้ง แล้วเก็บไว้ในที่เย็นๆก็จะช่วยให้คงความสดอยู่ได้นานกว่าปกติ แต่ถ้าหากนำไปเก็บไว้ในที่อุณหภูมิศูนย์องศาเซลเซียส ที่ความชื้น ๙๕-๙๘ เปอร์เซ็นต์ จะเก็บรักษาสภาพความสดของผลพริกได้นานถึง ๔o วัน โดยที่ผลพริกไม่เน่าหรืออาจมี ผลที่เหี่ยวย่นบ้าง และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ ๘-๒๐ องศาเซลเซียส ความชื้นประมาณ ๘๕-๙๐เปอร์เซ็นต์ … Read More

ศัตรูพริกและการป้องกันกำจัด

แม้ว่าพริกเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีความผูกพันเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะพริกเป็นพืช ผักที่ใช้ประโยชน์ในการปรุงอาหารมากที่สุด ประกอบกับเป็นพืชที่ปลูกขึ้นได้ง่าย จึงมีการปลูกกันทั่วไปทั้งในแง่ของการค้าหรือปลูกไว้หลังบ้าน บ้านละต้นสองต้นเป็นผักสวนครัว แต่อย่างไรก็ตามพริกที่มีการปลูกกันนั้นไม่ว่าปลูกเพื่ออะไรมักต้องประสบกับปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูคอยรบกวนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งปัญหานี้จะทำความเสียหายให้กับผู้ปลูกได้มาก เพราะพริกถ้ามีโรคและแมลงศัตรูทำลายแล้ว มักให้ผลผลิตลดต่ำลง ต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโตหรือตายไปก่อนที่จะให้ผลผลิต ดังนั้น โรคและแมลงศัตรูพริกจึงเป็นปัญหาสำคัญในการปลูกพริกมาก ซึ่งเกษตรกรบางท่าน อาจรู้จักอาการของพริกที่ถูกทำลายว่าเกิดจากโรคหรือแมลงได้เป็นอย่างดี แต่ยังไม่รู้ถึงสาเหตุจากการทำลายที่แท้จริง และการป้องกันกำจัดที่ถูกต้อง แต่ถ้าเกษตรกร มีความรู้ในเรื่องนี้อยู่บ้าง ก็จะช่วยลดปัญหาและความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย โรคและแมลงศัตรูพริกมีดังนี้

โรคกุ้งแห้ง

โรคนี้เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าโรคแอนแทรคโนส สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา นับว่าเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตพริกได้มากพอสมควรเพราะจะทำลายและระบาดมากในช่วงที่ผลพริกกำลังเจริญเติบโต ผลพริกที่เป็นโรคนี้จะมีแผล ขนาดใหญ่และในเวลาต่อมาอาจมีผลทำให้ผลพริกเน่าผลผลิตที่ได้ก็ลดต่ำกว่าปกติ และมีคุณภาพไม่ดีตามที่ตลาดต้องการ เพราะว่าผลพริกที่เกิดรอยแผลหรือเน่าจากโรคนี้ทั้งส่วนของผลและเมล็ดจะหงิกงอคล้าย ๆ กับกุ้งแห้ง แต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่เกิดจากโรคนี้ทำลาย ในแต่ละท้องที่อาจแตกต่างกันแล้วแต่สภาพแวดล้อม อย่างเช่นในพื้นที่ปลูกพริกที่มีความชื้นสูงและฝนตกชุก โรคนี้จะมีการแพร่ระบาดได้ เร็วและถ้าไม่มีการฉีดยาป้องกันกำจัดอาจทำความเสียหายให้กับผลพริกได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง

พริกที่ถูกโรคนี้ทำลายจะแสดงอาการเห็นได้ชัดกับผลพริกที่แก่จัดหรือสุกส่วนผลที่ยังอ่อนไม่ค่อยแสดงอาการเป็นโรคนี้ให้เห็นและในระยะที่ผลพริกใกล้เจริญเติบโตเต็มที่หรือระยะก่อนที่ผลพริกจะเปลี่ยนสีมีโอกาสติดโรคนี้ได้ง่าย โดยที่อาการของโรคในตอนแรกจะปรากฏเป็นจุดวงกลมช้ำสีน้ำตาลและแผลของโรคจะบุ๋มลึกลงไปจากระดับของผิวผลพริกเล็กน้อย ต่อมาจุดช้ำสีน้ำตาลนี้จะลุกลามกว้างออกไป แผลวงกลมหรือแผลรูปไข่ … Read More

พริก:การให้ผลผลิตและการเก็บเกี่ยว

พริกจะเริ่มให้ผลผลิตหลังจากย้ายกล้าปลูกลงแปลงแล้วประมาณ ๒เดือน ถ้าหากเป็นการปลูกโดยใช้เมล็ดปลูกโดยตรงก็ประมาณ ๓-๓ ๑/๒  เดือน แต่ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับชนิดของพริกที่ปลูกหรือความสมบูรณ์ของต้นพริกว่ามีมากน้อยแค่ไหน สำหรับผลผลิตที่ให้ในช่วงแรกจะไม่มากและจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับเช่นเดียวกับพืชอื่น ๆ และผลผลิตจะเริ่มลดลงเมื่อต้นพริกเริ่มแก่หรือมีอายุประมาณ ๖-๗ เดือน (หลังจากย้ายกล้าปลูก) หลังจากนี้ต้นจะเริ่มโทรมและหยุดให้ผลผลิต ชาวสวนมักถอนทิ้งและปลูกใหม่ แต่ถ้าหากปลูกกันตามหลังบ้านเป็นผักสวนครัว เมื่อเห็นว่าต้นพริกให้ผลผลิตน้อย ก็ทำการตัดแต่งกิ่งที่ไม่จำเป็นออกเสียบ้าง ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ต้นพริก สามารถให้ผลผลิตใหม่ได้อีกถึงแม้จะไม่มาก

หลังจากที่พริกให้ผลผลิตแล้ว ในการเก็บเกี่ยวพริกถ้าเป็นการจำหน่ายผลสด นิยมเก็บเกี่ยวทั้งผลสีเขียวและผลสีแดงปะปนกันไปหรือเก็บเฉพาะผลที่แก่จัด แต่ยังมีสีเขียว หรือผลที่สุกแล้วแต่ผู้ปลูกและผู้รับซื้อ แต่ถ้าเป็นการเก็บเกี่ยวผลเพื่อนำมาตากแห้งหรือทำเมล็ดพันธุ์ก็เก็บเฉพาะผลที่สุกหรือมีสีแดงเท่านั้น โดยเก็บติดมาทั้งก้านทั้งผล และในการเก็บเกี่ยวผลพริกนั้นสามารถเก็บได้ทุก ๆ อาทิตย์ หรือแปลงที่มีการปลูกเป็นจำนวนมากก็เก็บเกี่ยวได้ตลอดทุก ๆ วัน โดยจะทำการเก็บหมุนเวียนไปได้จนทั่วทั้งไร่

ผลผลิตพริกจะเก็บเกี่ยวอยู่ได้นานมากน้อยแค่ไหน อาจขึ้นอยู่กับวิธีการปลูก … Read More

ความสำคัญของธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตของพริก

การเจริญเติบโตของพืชที่เป็นไปตามปกติ จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อย่างเหมาะสมในอันที่จะช่วยให้การเจริญเติบโตดำเนินไปได้ด้วยดี แต่ในสภาพทั่วๆไป ความจริงในลักษณะดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นได้ยาก โดยธรรมชาติการดำเนินการเจริญเติบโตที่แท้จริงของพืชยังจะต้องประสบกับอุปสรรคและปัญหาอีกมากมาย ในพริกก็เช่นเดียวกันกับพืชอื่นๆ การเพาะปลูกในปัจจุบันยังจะต้องประสบกับปัญหาในหลายด้านอันเป็นผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตโดยตรงที่สำคัญเช่นเกี่ยวกับโรคและแมลง การให้น้ำ วัชพืช และศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพริกที่นับได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญคือ การขาดธาตุอาหารในต้นพริกที่มีความสำคัญและมักพบบ่อย ๆ อันได้แก่

การขาดธาตุโปแตสเซียม

การใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตมาก ๆ และติดต่อกันนานหลายปี จะทำให้ ธาตุโปแตสเชียมซึ่งเป็นเกลือที่ละลายน้ำได้ง่าย และสลายตัวได้รวดเร็วเมื่อถูกน้ำหรือฝนชะล้างไป โดยเฉพาะพริกที่ปลูกร่วมกับหอม ถึงแม้จะใส่ปุ๋ยโปแตสเซียมซัลเฟตร่วมด้วย แต่โปแตสเซียมอยู่ในรูปของเกลือที่ละลายน้ำได้ง่าย เมื่อหมดฝนและถูกหอมดูดไปจากดิน พริกจึงแสดงอาการขาดโปแตสเซียม

ลักษณะอาการของพริกที่ขาดธาตุอาหารนี้ จะแสดงอาการให้เห็นได้ชัดคือ ผลพริกที่แก่ใกล้จะสุกเต็มที่จะมีสีไม่สม่ำเสมอกัน ด้านหนึ่งจะมีสีซีดขาวปนกับสีแดง เมื่อนำไปตากแห้งจะเห็นผลพริกมีสีขาวซีดบางส่วนเนี้อเยื่อตรงที่เป็นสีขาวมีลักษณะบางกว่าเนื้อเยื่อที่เป็นสีแดง

การป้องกันโดยการใช้วิธีการปรับปรุงดินให้มีธาตุอาหารอย่างสมดุลย์ วิธีแก้ไขโดยการใส่ปูนขาวเพื่อลดกรดในดิน ถ้ามีการใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตมาก ๆ ในสภาพที่ดินเป็นกรดน้อย ปุ๋ยแอมโมเนียมจะสลายตัวได้เร็วและเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มาก … Read More

การปลูกพริก:การดูแลรักษา

ในช่วงแรกหลังการปลูกพริกปัญหาที่มักพบอยู่เสมอคือในเรื่องของการให้นํ้าและวัชพืชขึ้นรบกวน การปฏิบัติดูแลรักษาหลังจากที่พริกมีอายุได้ ๓๐วันหลังจากย้ายกล้าปลูกจะต้องให้น้ำครั้งหนึ่งหลังจากนั้นอีก ๗ วันก็ให้อีกครั้งหนึ่ง แล้วต่อไปให้น้ำเป็นประจำทุก ๑๐-๑๕ วัน ตามความชุ่มชื้นของดินปลูก การปฏิบัติดังกล่าวจะสังเกตเห็นได้ว่าภายหลังจากที่ได้มีการให้นํ้ามักจะมีหน้าดินจับตัวกันแน่น การระบายอากาศของดินไม่ดี ต้นพริกจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้น การพรวนดินเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องกระทำอย่างน้อย ๗-๑๕ วันต่อครั้ง และจะเป็นการกำจัดวัชพืชไปพร้อม ๆ กันด้วย

ทางด้านการเจริญเติบโตของพริกในระยะแรกจะอยู่ในช่วงระหว่างการตั้งตัว และมีการเจริญทางราก หลังจากที่พริกอายุได้ ๑ เดือน ก็พอมองเห็นได้ว่ามีกิ่งแตกออกจากโคนต้นเพิ่มขึ้นจนดูคล้ายกับว่าเราปลูกหลายต้นในหลุมเดียวกัน

แปลงปลูกที่มีการยกร่องจะช่วยแก้ปัญหาระบบรากและโคนเน่าได้พอสมควรในหน้าฝน

การดูแลรักษาในระยะเดือนที่ ๒ ในช่วงนี้พบว่าต้นพริกจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สังเกตได้ชัดจากความสูงของต้นเพียง ๑๕ เซนติเมตร เพิ่มขึ้นเป็น๑-๒ เท่าตัวภายในระยะเวลา ๖๐ วัน ในช่วงที่พริกมีอายุได้ ๔๕ วัน การดูแลรักษาในช่วงนี้นอกจากการให้น้ำและกำจัดวัชพืชอยู่เป็นประจำแล้วก็จะทำการให้ปุ๋ยด้วยการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตรที่เหมาะสมควรจะเป็น … Read More

การปลูกพริก

ในการปลูกพริกสามารถปลูกได้ตลอดปีถ้ามีนํ้ารดเพียงพอ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าจะปลูกพริกให้ขายได้ราคาดี กรณีมีน้ำรดเพียงพอหรืออยู่ในเขตชลประทานควรจะปลูกในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ เพราะหลังจากปลูกแล้วจะให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ราว ๆ เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่พริกสดมีราคาดี แต่ถ้าหากไม่มีนํ้าเพียงพอหรือไม่อยู่ในเขตชลประทาน ควรจะเริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝน (ประมาณ เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน) การปลูกพริกสามารถกระทำได้ ๓ วิธีด้วยกันคือ

๑. การปลูกโดยใช้เมล็ดเพาะทำเป็นต้นกล้าในแปลงเพาะก่อนแล้ว จึงค่อยย้ายกล้าปลูก ปลูกพริกโดยวิธีนี้เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมทำกัน แต่ก่อนที่จะมีการเพาะเมล็ดจะต้องมีการเตรียมการดังนี้คือ

การคัดเลือกพันธุ์ ไม่ว่าจะปลูกพริกชนิดใดก็ตามต้องมีการคัดเลือกพันธุ์ ปลูกก่อน ถ้าคัดเลือกพันธ์ด้วยตนเองจะมีผลดีมาก เพราะเราสามารถทราบได้ว่าต้นพริกที่เราเก็บผลมาทำพันธุ์นั้นมีลักษณะตรงตามพันธุ์ที่ต้องการปลูกหรือไม่ นอกจากนั้น ในการคัดเลือกพันธุ์ปลูกควรเลือกผลจากต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์ดี ไม่มีโรคและแมลงทำลายให้ผลดก ลักษณะผลใหญ่ได้ขนาดรูปร่างสวยงาม ไม่หงิกงอผิดรูปทรงไป ต้นพริกที่คัดเลือกไว้ทำพันธุ์ควรเก็บผลจากรุ่นที่ ๓ ทั้งนี้เพราะมีจำนวนของเมล็ดมากและขนาดของเมล็ดใหญ่สมบูรณ์ดี โดยปล่อยให้ผลพริกจากต้นที่เก็บได้ทำพันธ์สุกจนเต็มที่ จากนั้นจึงเก็บมาบ่มไว้ในภาชนะต่าง ๆ เช่น กระบุงประมาณ ๒ คืน … Read More

การเตรียมการปลูกพริก

หลังจากที่เลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมได้แล้ว ขั้นต่อไปที่ต้องกระทำก่อนที่จะมีการปลูก คือ

การเตรียมพื้นที่ปลูก ในการเตรียมพื้นที่ปลูกพริกอาจขึ้นอยู่กับความแตกต่าง ของสภาพพื้นที่ในแต่ละแหล่งว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น ในพื้นที่ปลูกที่เป็นดินเหนียว ในเขตภาคกลาง เกษตรกรนิยมเตรียมพื้นที่ปลูก โดยยกเป็นร่องขนาดใหญ่เช่นเดียวกับการปลูกผัก เพื่อความสะดวกในการรดน้ำ แปลงปลูกที่ยกเป็นร่องกว้างประมาณ ๕ เมตร และร่องน้ำกว้างประมาณ ๑ เมตร ส่วนความยาวของร่องปลูกก็แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ว่ามีความกว้างยาวมากน้อยแค่ไหน สำหรับในท้องที่อื่น ๆ ที่เป็นดินร่วน มักมีการปลูกแบบเป็นแปลงขนาดใหญ่ หรือปลูกแบบพืชไร่อื่นๆทั่วไป การเตรียมพื้นที่ก็ทำได้ค่อนข้างไม่ยากโดยการถางหญ้าแล้วไถดินกลับตากแดดทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง จึงค่อยไถพรวนดินใหม่อีกครั้ง

สำหรับในบางกรณีที่ดินในพื้นที่ปลูกเป็นดินเหนียวควรใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ลงในดินบ้าง เพราะปุ๋ยพวกนี้จะทำให้ดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี ถ้าดินเป็นดินเปรี้ยว หรือดินค่อนข้างเป็นกรด อย่างเช่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือเป็นพื้นที่เก่าที่มีการปลูกพืชมานาน และมีการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ติดต่อกันมาโดยตลอด อาจทำให้ดินเปรี้ยวหรือเป็นกรดมากขึ้น ดังนั้นเราจะต้องมีการปรับปรุงดินให้เหมาะสมในขณะทำการเตรียมดิน โดยการใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อช่วยลดความเป็นกรดของดินให้ต่ำลง… Read More

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมในการปลูกพริก

ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าเกษตรกรในชนบทแทบทุกครัวเรือนมักจะมีการปลกพริกกันเพื่อใช้ประกอบอาหาร บางรายอาจปลูกร่วมกับพืชผักชนิดอื่น ๆ ที่ปลูกเป็นผักสวนครัวหลังบ้าน หรือปลูกไว้ในพื้นที่ว่าง ๆ ภายในสวนก็แล้วแต่ความเหมาะสม บางครั้งยังพบเลยว่ามีพริกงอกขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่มีผู้ใดปลูก ก็เนื่องผลพริกนั้น นกบางชนิดชอบกินเป็นอาหาร เมื่อถ่ายมูลออกมาก็จะงอกอยู่ ณที่นั่น แสดงว่าพริกเป็นพืชหนึ่งที่สามารถขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามถ้าจะปลูกพริกกันเป็นอาชีพ หรือปลูกเพื่อการค้าแล้ว ถึงแม้ว่าจะขึ้นได้ในดินทั่วไปก็ตาม ถ้าเราเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้เราได้รับผลสำเร็จไปแล้วขั้นหนึ่ง

โดยทั่วไปพริกเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้น และสามารถทนร้อนได้ค่อนข้างดี แต่ถ้าสภาพอากาศหนาวเย็นแล้วพริกจะไม่ชอบ สำหรับความชื้นในอากาศและในดินประกอบกับอุณหภูมิที่เหมาะสมจะมีผลร่วมกันต่อการติดผลของพริก พบว่าถ้าอากาศมีความชื้นน้อยและดินแห้งหรืออากาศค่อนข้างร้อนจัด พริกจะมีการติดผลน้อยลง เนื่องจากยอดเกสรของตัวเมียปกติจะมีน้ำเหนียว ๆ ไว้สำหรับจับละอองเกสรตัวผู้จะแห้งเร็ว (ปกติสามารถอยู่ได้นาน ๒-๓ วัน) ถ้าหากสภาพอากาศแห้งและร้อนจะอยู่ไม่ได้นาน ทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่อากาศแห้งและร้อนมากน้อยแค่ไหน ทำให้ช่วงเวลาในการผสมของดอกผสมได้น้อย การติดผลจึงลดน้อยลง ดังนั้นในช่วงที่มีสภาพอากาศร้อนและดินแห้ง เราอาจทำให้ผลผลิตติดมากขึ้นโดยการให้น้ำเพิ่มและ ถ้าหากเป็นไปได้การฉีดพ่นน้ำให้เป็นละอองแก่แปลงปลูก เพื่อเป็นการเพิ่มความชื้นในบรรยากาศและดิน ตลอดจนอุณหภูมิก็ลดลงด้วยจะสามารถช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้ แต่ในท้องที่ปลูกบางแห่งก็อาจกระทำไม่ได้ … Read More

ประเภทและพันธุ์พริก

พริกที่มีการปลูกกันในปัจจุบันนี้ถ้ากล่าวรวม ๆ แล้วมีทั้งชนิดที่มีรสชาติเผ็ดมาก เผ็ดน้อย ไปจนถึงไม่เผ็ดเลย และขนาดของผลมีทั้งผลขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เช่น พริกยักษ์ พริกใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามการจัดหมวดหมู่พริกในปัจจุบันยังค่อนข้างสับสน แต่มีวิธีที่นิยมใช้กันคือ การแบ่งแยกประเภทของพริกตามลักษณะลำต้นได้เป็น 13 พวกใหญ่ ๆ คือ

๑. พวกต้นล้มลุก พริกที่อยู่ในพวกนี้มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Cap­sicum annuum L. เป็นพริกที่มีอายุในการให้ผลผลิตสั้น(อายุสั้น) ดอกอาจมีสีขาวหรือสีม่วง มีหนึ่งดอกต่อข้อ ดังนั้นการเกิดผลจึงเกิดเป็นผลเดี่ยว มีทั้งชนิดที่ปลายผลชี้ขึ้นฟ้าและชี้ลงดิน (การติดผล) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้อีกหลายชนิดโดยพิจารณาตามขนาด รูปร่าง สีของผล ตลอดจนการให้รสชาติว่ามีความเผ็ดมากน้อยเพียงใดหรือไม่เผ็ด ผลที่ยังอ่อนอยู่ สีของผลมักมีสีชีด, สีเขียว หรือสีม่วง เมื่อผลแก่จะมีสีแดงเข้ม, เหลืองอมส้ม, … Read More