Month: October 2012

ชนิดของไถเพื่อการเกษตร

ชนิดของไถ

1.  ไถกระทะ มีรูปร่างลักษณะคล้ายๆ กระทะเรียงกันหลายๆ อัน(อันเดียวก็มี) เมื่อรถลากไถนี้เพื่อการทำงาน จานไถก็จะหมุนเดินตามรถไปด้วย ทำให้เป็นการเบาแรงสำหรับการออกแรงมาก ไถชนิดนี้ใช้เหมาะสำหรับงานบุกเบิกพื้นที่ใหม่หรือพื้นที่ที่มีดินแข็งๆ เพราะว่าเป็นไถที่มีน้ำหนักมากและคมสามารถตัดตอไม้เล็กๆ ได้ดี

2.  ไถหัวหมู มีรูปร่างลักษณะคล้ายๆ กับไถพื้นเมือง แต่สำหรับการใช้รถลากก็มีไถชนิดนี้ติดรวมกันอยู่หลายอันเพื่อการทำงานให้เหมาะกับกำลังของรถ  ซึ่งรถคันหนึ่งอาจลากได้ 2 ผานหรือ 3 ผานเป็นต้น ไถชนิดนี้เหมาะสำหรับการเตรียมดินปลูกพืช ในพืชที่ที่เรียบแล้ว และไม่มีตอไม้หรือรากไม้เกะกะอยู่เลย

3.  ไถยกร่อง ไถยกร่องนี้ได้ดัดแปลงมาจากไถกระทะและไถหัวหมู เพื่อการทำแปลงปลูกพืชบางอย่างในเมื่อใช้รถลากเดินไปข้างหน้า ไถชนิดนี้สามารถทำให้ขี้ไถฟูขึ้นมาเป็นแปลงสำหรับการปลูกพืชโดยเรียบร้อย

4.  ไถจอบหมุน มีรูปร่างลักษณะคล้ายๆ จอบเล็กๆ อยู่รอบแกนของไถ เมื่อแกนนี้ถูกหมุนด้วยกำลังฉุดของรถ จอบก็จะหมุนฟันดินให้แตกละเอียด ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้เตรียมดินเพื่อการปลูกพืชในพื้นดินที่ค่อนข้างจะอ่อน แต่ถ้าดินแข็งเกินไปก็จะใช้ไม่ค่อยได้ผล

5.  ไถดินดานRead More

หลักการใช้เครื่องมือทุ่นแรงฟาร์ม

รถแทรคเตอร์

ในการทำงานทุกชนิดต่างก็มีวัตถุประสงค์เพื่อให้งานที่กระทำนั้นสำเร็จ และเรียบร้อยอย่างรวดเร็ว  ดังจะเห็นได้ว่าจากการค้นคิดประดิษฐ์เครื่องมือขึ้นใช้ ก็เพื่อต้องการให้งานได้รับผลอย่างดียิ่ง จากเครื่องมือหลายอย่างที่ใช้ทำงานอย่างเดียวกัน แต่อาจได้รับผลต่างกัน ประโยชน์ที่ได้รับก็ย่อมแตกต่างกันด้วย ดังนั้นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์มาก

ประโยชน์ของการใช้เครื่องทุนแรงฟาร์ม

1.  เวลาทำงานได้มาก โดย

-ใช้เวลาทำงานน้อย

-ใช้แรงงานคนช่วยน้อย

-ค่าใช้จ่ายน้อย

2.  สามารถทำงานได้หลายอย่าง เช่น

-เตรียมดินปลูกพืช

-สูบน้ำ

-การเก็บเกี่ยว

3.  สามารถทำงานได้ตลอดเวลา ทันกับฤดูกาลของการปลูกพืช

4.  ช่วยแก้ไขอุปสรรคบางอย่างได้ เช่น การระบายน้ำ เมื่อน้ำท่วม

5.  สามารถช่วยให้ความเพลิดเพลินในการทำงานโดยไม่เบื่อหน่ายและไม่เหน็ดเหนื่อยเท่าที่ควร

โทษของการใช้เครื่องยนต์ฟาร์ม

1.  ต้องลงทุนซื้อตอนแรกด้วยราคาแพง

2.  ต้องปฏิบัติรักษาและการซ่อมแซมด้วยความรู้ที่แน่นอน

ถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นก็จะได้รับโทษอย่างร้ายแรงต่อระบบของเครื่องยนต์หรือชีวิต

ประวัติของรถแทรคเตอร์ใช้ในฟาร์ม

รถแทรคเตอร์ได้เริ่มต้น ภายหลังจากความเจริญของเครื่องจักรไอน้ำ … Read More

ว่านปลาไหลม่วง

ว่านปลาไหลม่วง

ลักษณะ ต้นและใบคล้ายว่านนางคำ หัวกลมใหญ่เนื้อในหัวมีสีม่วง ลำต้นโคนคลํ้าคล้ายต้นจ่าว่าน รากของว่านต้นนี้สอดกันเหมือน ปลาไหลสอด

สรรพคุณ เป็นว่านแก้ถูกคุณเวทย์และคุณไสยาศาสตร์ต่างๆ โดยเอาหัวฝนกับนํ้าฝน แล้วเอาแป้งผสมใช้พอกตามที่เกิดอาการบวม หรือตามปลายมือปลายเท้า บริเวณที่ถูกคุณนั้น ถ้าถูกของสิ่งใด เช่นคุณผี คุณไสยนํ้ามันพราย ของเหล่านั้นก็จะออกมาอยู่ในแป้งที่พอกจนหมดสิ้น เวลาจะใช้พอกให้เศกด้วยพระเจ้าห้าพระองค์ย่อคือ “นะโมพุทธายะ” ตามกำลังวันที่จะใช้พอก คือวันอาทิตย์ 6 จบ วันจันทร์ 15 จบ วันอังคาร 8 จบ วันพุธ 17 จบ วันพฤหัสบดี 19 จบ วันศุกร์ 21 จบ วันเสาร์ 10 จบ … Read More

ว่านนกยูง

ว่านนกยูง

ลักษณะ ใบคล้ายใบคล้า ทั้งขนาดและรูปร่างเว้นแต่ก้านใบ ยาว มีลายขาวแถบหนึ่งเหมือนกับต้นสาคูด่างผสมกับเขียวแถบหนึ่ง หรือ บางทีก็เป็นเขียวแซมขาวหรือขาวแซมเขียว แต่ใบอ่อนเกือบจะเป็นสี ขาวล้วน ๆ ใบด้านล่างไม่ปรากฏเส้นหรือลายสีแดงหรือสีน้ำตาลคั่น หัว คล้ายไปข้างหัวสาคูมีสีเทา ว่านต้นนี้ท่านผู้นำไปเลี้ยงต้องสังเกตหัวให้ดี ถ้าหัวสีขาวไม่ใช่ว่านนกยูง เป็นสาคูด่างไม่มีคุณค่าอะไร นอกจากกินได้ และใบสวยเท่านั้น ถ้าหัวสีเทาเป็นว่านนกยูง

สรรพคุณ ใช้ในทางเสน่ห์มหานิยม ถ้าจะใช้ให้เอาหัวมาเสกด้วยบทพระพุทธมนต์ว่า “อุเทตะยันจะขุมา” จนจบสามคาบ เอาหัวติดตัวไปด้วยแคล้วคลาดดีนัก

วิธีปลูก ใช้หัวปลูก เอาดินร่วน ๆ หรือปนทรายบ้างกลบพอ

มิดหัว ไม่ต้องกลบดินให้แน่น รดนำพอเปียกดินเท่านั้น

Read More

ว่านนางคำ

ว่านนางคำ

ในปัจจุบันว่านชื่อนี้มีอยู่ 3 ชนิด คือ

ลักษณะ ต้นแดง ก้านแดง หรือครีบแดง หัวมีเนื้อเป็นสีเหลืองดังหัวขมิ้นเน่า ใบเรียวงามสีเขียว

สรรพคุณ ใช้ปลูกไว้ประจำบ้าน เป็นเสน่ห์แก่บ้านยิ่งนัก ทางยามีรสร้อน มีคุณกระทุ้งพิษต่างๆ และแก้ฟกบวมตามเนื้อตามตัว ในร่างกาย แก้พิษว่านร้ายต่างๆ อีกด้วย

ลักษณะ ตันเขียวใบเขียว เนื้อในหัวมีสีขาว

สรรพคุณ ใช้แก้อิทธิฤทธิ์ว่านทั้งปวงได้ เพราะเป็นพญาว่าน

ลักษณะ ชนิดต้นเขียว กลางใบแดง เนื้อในหัวมีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม มีรสฝาด ใบโต ขนาดใบว่านคันทมาลา มีปลูกกันทั่วไป เป็น ว่านนางคำอย่างธรรมดาที่ใช้ผสมยาทาแก้เคล็ดบวมหรือใช้ย้อมผ้า

สรรพคุณ หัวใช้ฝนทาแก้เม็ดผื่นคันและโรคผิวหนัง กินเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้ปวดท้อง … Read More

ว่านนางคุ้ม

ว่านนางคุ้ม

ลักษณะ หัวคล้ายหัวหอมใหญ่ ใบโตเหมือนใบผักตบชวา หรือใบกลมใหญ่หนาคล้ายใบฟักทอง มีสีเขียวโศก มีดอกชูก้าน ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ก้านเขียวแก่ กอหนึ่ง ๆ มีหลายใบ ว่านต้นนี้สวยงามยิ่งนัก ใครเห็นก็เจริญตาเจริญใจ ถ้าเลี้ยงงาม ๆ กอจะใหญ่มาก บางตำรา เรียกว่านต้นนี้ว่า แม่เฒ่าเฝ้าเรือน

สรรพคุณ ปลูกไว้ในบ้านมีคุณป้องกันไฟได้และยังคุ้มกันภัยอันตรายต่าง ๆ ท่านโบราณอาจารย์จึงมักกล่าวไว้ว่า ผู้ใดมีว่านนางคุ้มไว้คุ้มครองในบ้านเรือนตนจึงเหมือนมีเกราะเพ็ชรไว้ป้องกันภัยถึง 7 ชั้นทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้หรือภัยอันตรายอย่างใด ๆ ย่อมสามารถมีอำนาจคุ้มครองป้องกันได้ทั้งสิ้น

วิธีปลูก ใช้ดินเผาไฟทุบแตกละเอียดดีแล้วตากนํ้าค้างทิ้งไว้ คืนหนึ่ง จึงนำเอามาเป็นดินปลูก พึงระวังอย่ากลบหัวว่านให้แน่นทึบ ควร ให้หัวว่านโผล่พื้นดินที่กลบสักนิดหน่อย นํ้าที่จะใช้รดควรเสกด้วยคาถา “อิติปิโส ถึง … Read More

ว่านนางล้อม

ว่านนางล้อม

ลักษณะ ต้นคล้ายกับว่านเศรษฐีนางกวัก แต่ใบยาวหนักไปทางกุยฉ่ายแต่ใหญ่กว่า หัวกลมเกลี้ยงเป็นมันเหมือนว่านพยาลิ้นงู โคนใบแดงเรื่อๆ ใบล้อมต้นคล้ายกงจักร หัวใหญ่อยู่ตรงกลาง หัวเล็กๆ แตก ออกล้อมหัวใหญ่โดยรอบ ว่านชนิดนี้ไม่มีดอก

สรรพคุณ ว่านต้นนี้ปลูกไว้ในบ้านเป็นมหามงคล หัวนำติดตัวไปไหนย่อมป้องกันสรรพสัตว์ทั้งปวงและศัตรูต่างๆ หากเกิดเรื่องราวใดๆ ย่อมจะได้ชัยชนะเสมอ เหมือนว่านไชยมงคล

สรรพคุณทางยา ใบโขลกผสมกับน้ำสุรา กินแก้พิษ

สัตว์กัดต่อยทุกชนิด

วิธีปลูก ใช้ดินเผาไฟหรือดินแห้งทุบให้ละเอียด เป็นดินปลูก น้ำที่จะใช้รดเศกด้วย “นะโมพุทธายะ” 3 จบก่อนจึงรด

Read More

ว่านนางกวักใบโพธิ์

กวักใบโพธิ์

ลักษณะ ใบเขียวดังใบโพธิ์ปลายใบแหลมกวัก ก้นใบปิดก้าน กลมดังก้านบอนสีเขียว หัวดังหัวบอนหรือเสน่ห์จันทน์ทั้งหลาย ปลีกลีบ เป็นฝอยสีเขียวอ่อน ดอกเหมือนดอกเสน่ห์จันทน์เขียวแต่กวักเข้าหาลำ ต้น ว่านต้นนี้ลักษณะเหมือนเศรษฐีใบโพธิ์ผิดกันแต่ดอกกวักเข้าหาลำ ต้น ส่วนเศรษฐีใบโพธิ์ดอกกวักออกนอกต้นปลายใบไม่แหลมยาวมาก เหมือนเศรษฐีใบโพธิ์

สรรพคุณ ของว่านนางกวักใบโพธิ์นี้ ท่านว่าเป็นมหานิยม เป็นเสน่ห์ดีนัก ถ้าปลูกไว้กับบ้านหรือร้านค้า ขายของดีนักกวักเงินกวักทองได้ดีนัก คนโบราณนับถือว่านนี้นักมักใช้ทำยาแก้ไข้หวัดใหญ่ ได้ดี ชงัดนัก ว่านนางกวักใบโพธิ์นี้ต้นและหัวคันจัดมาก

วิธีปลูก นำดินสะอาดปนอิฐดินเผาทุบให้ก้อนเล็ก ๆ ผสมดิน ผสมทราย ว่านต้นนี้ชอบอิฐหักชอบเย็น เมื่อนำหัวว่านวางเอาดิน

และอิฐวางทับหัวพร้อมทั้งทรายบ้างดินบ้างกลบให้หัวโผล่ เวลารดนํ้า

ให้ว่าคาถา นะโมพุทธายะ 3 จบ

Read More

ประโยชน์ของว่านน้ำ

ว่านน้ำ ลักษณะ เป็นไม้นํ้าชนิดหนึ่งชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ มีนํ้าขังหรือนํ้าขึ้นลงถึงลำต้นแข็งเป็นข้อๆ สีแดงเรื่อๆ ชอนยาวไปตามดินเลน รากเล็กเป็นฝอย ใบเล็กและยาวแบนคล้ายใบว่านหางช้าง แต่เล็กกว่ามาก เป็นแผงเหมือนแบบว่านหางช้างเหมือนกัน มีกลิ่นหอมแรงโดยมากมีผู้ปลูกไว้ทำยาและพกหัวติดตัวไว้เวลาจะดื่มนํ้าในลำห้วยลำธาร ใช้หัวว่านน้ำแกว่งนํ้าก่อนแล้วจึงดื่มกับน้ำที่ผ่านว่านมีพิษได้ ว่านนํ้านี้มีขึ้นทั่วไปตามลำคลองสวนที่มีนํ้าไม่แห้ง ประโยชน์ทางยา รากว่านนํ้ากินมากทำให้อาเจียน แต่มีกลิ่นหอม กินแต่น้อยเป็นยาแก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดและแก้ธาตุเสีย ชาวอินเดียใช้ปรุงยาระบายและคุมธาตุไปด้วยในตัว ทั้งเป็นยาเบื่อ แมลงต่างๆ เช่นแมลงวันเป็นต้น แพทย์โบราณชาวตะวันออกนิยมใช้ว่านนํ้าเป็นยาทั่วไปทุกประเทศตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาจนบัดนี้ แม้ชาวตะวันตก เช่น ชาวกรีกก็เคยใช้ในครั้งกระโน้น ถึงปัจจุบันแพทย์ชาวยุโรปที่อยู่ในอินเดีย และชาวอินเดียเองก็ยังนิยมใช้ว่านนํ้าเป็นยาแก้ไข้มาเลเรียคู่กันไปกับชิงโคนาโดยใช้รากว่านนํ้า นอกจากนี้ยังเอาไปผสมรวมกับยาขมต่าง ๆ หรือยาแก้ปวดท้องทำให้ระงับอาการปวดท้องได้ทันที ชาวอินเดียใช้ฉีกรากออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เคี้ยว 2-3 นาที แก้หวัดและคอเจ็บ ในว่านนี้มีรสขม และใช้เป็นยาแก้บิดของเด็ก คือ … Read More

ว่านเทพรัญจวน

เทพรัญจวน

ลักษณะ ต้นเหมือนต้นขมิ้นแต่เล็กกว่า หัวคล้ายหัวแห้วหมู มีรากเลื้อยไปเหมือนรากหญ้าคา สีเนื้อในหัวขาวนวล ใบเหมือนใบว่านเพ็ชรน้อย หรือใบขมิ้นธรรมดาแต่เล็ก

สรรพคุณ ใช้ในทางเมตตามหานิยม เป็นว่านที่นิยมในทางเจ้าชู้ โดยเอาหัวว่านบดผสมกับขี้ผึ้งสีปากแล้วเศกด้วย “มะอะอุ สัพพัสสะ ถะปูชิตา สัพพะโก ตะวิทสังติ เอหิมะมะ อิธะเจตะโส ทัมหัง พันจหาหิ ถามะสา” ไว้สำหรับสีปากในเวลาพูดจากับสตรี

วิธีปลูก ใช้ดินเผาไฟทุบแหลกละเอียด ตากน้ำค้างทิ้งไว้คืนหนึ่งแล้วเอามาปลูก โดยใช้หัวว่านวางลงเอาดินนี้กลบไม่ต้องให้มิดหัวและอย่ากดดินให้แน่นหัวว่านเศกนํ้าที่จะรดด้วย “นะโมพุทธายะ” 3 จบ เสมอทุกครั้งแล้วจึงรดพอเปียกทั่ว

Read More