Month: January 2013

ปลาแรด

ปลาแรดเป็นปลาจำพวกเดียวกับปลากระดี่ และสลิด แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ในต่างประเทศ เช่น ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เรียกปลาชนิดนี้ว่า กัวรามี (goramy) เป็นปลาที่ประชาชนนิยมบริโภค และราคาแพงมาก ปลาชนิดนี้ขนาดใหญ่อาจจะมีน้ำหนัก 6-7 กก. และมีความยาวถึง 60 ซม. ลักษณะ รูปร่างมีลำตัวแบนข้างหัวค่อนข้างเล็ก ขากรรไกรล่างมีร่องยื่นออกมาจากริมฝีปากบนเล็กน้อย มีฟันที่ขากรรไกรบนและล่าง มีเกล็ดและเส้นข้างตัวครบเส้น ครีบหลังและครีบก้นยาว ก้านครีบอกอันแรกเป็นเส้นยาว ครีบหางกลม และมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ (Labyrinth organ) ดังนั้น จึงเป็นปลาที่มีความอดทน ต่อสภาพแวดล้อมของน้ำที่ปริมาณออกชิเจนต่ำได้ดี

การเลี้ยงปลาแรด

ปลาแรดจัดว่าเป็นปลาที่กินพืช เช่น ผักบุ้ง สาหร่าย จอก แหน หญ้าอ่อน … Read More

การจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

การจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า หมายถึงการดำเนินงานเพื่อให้กิจการของฟาร์มดังกล่าวบังเกิดผลสำเร็จ และพัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การสั่งการ การควบคุม และการประเมินผลเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ การจัดการที่ดีนั้น นอกจากจะต้องเริ่มต้นด้วยการวางแผนที่ดีแล้ว จำเป็นจะต้องใช้ดุลพินิจในการใช้ทรัพยากรทุกอย่างรวมทั้งบุคลากร ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อทำกำไรหรือหารายได้ให้ได้สูงสุด นอกจากนี้จะต้องหาทางลดต้นทุนการผลิตเพื่อสามารถแข่งขันในเชิงการค้ากับผู้อื่นในด้านตลาดได้

การจัดการฟาร์มที่ดีนั้น ควรเริ่มต้นจากการตลาดเพื่อจะได้ทราบว่าจะลงทุนเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดไหนที่ตลาดยังมีความต้องการ เมื่อเลือกชนิดของสัตว์น้ำได้แล้วขั้นต่อไปก็คือการวางแผนในการผลิตให้เหมาะสม เงินลงทุนทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ ตลอดจนการบริหารงานฟาร์มโดยทั่วๆ ไป

การตลาด

ผลผลิตทางเกษตรรวมทั้งสินค้าสัตว์น้ำเมื่อผลิตออกมามากจึงหาตลาดจำหน่ายได้ยาก ดังนั้นการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้เกี่ยวกับด้านจัดการก่อนที่ผลิตสัตว์น้ำชนิดไหนควรจะได้ทำการศึกษาในด้านความต้องการ (Demand) ของตลาดว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าไรจึงจะเหมาะสม ไม่มีปัญหาเรื่องผลิตมากจนล้นตลาด (Over production) หรือในกรณีที่ผลผลิตออกมามากกว่าความต้องการของตลาดแล้ว โอกาสที่จะนำผลผลิตนั้นไปแปรรูปหรือแปรสภาพ เพื่อให้สามารถเก็บไว้จำหน่ายได้ในระยะเวลานานขึ้นได้หรือไม่ นอกจากนี้ควรศึกษาในด้านกำลังการซื้อ (Purchasing power) ของประชาชนที่สามารถจะจับจ่ายใช้สอยได้ในทุกระดับของชนชั้น อาทิ สัตว์น้ำตัวใหญ่ คุณภาพดี อาจจะส่งเป็นสินค้าออกหรือจำหน่ายได้ในตลาดในเมือง ตามภัตตาคาร … Read More

การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม

กุ้งก้ามกรามมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งใหญ่ ภาคใต้เรียกแม่กุ้ง กุ้งชนิดนี้เป็นกุ้งนํ้าจืดขนาดใหญ่จนได้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Giant Fresh-water Prawn มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Macrobrachium rosenbergiide Man เป็นกุ้งที่มีรสดี ราคาแพง เป็นที่นิยมกันในท้องตลาดทั่วไปในประเทศไทย

ปัจจุบัน ความอุดมสมบูรณ์ของกุ้งก้ามกรามในแหล่งนํ้าธรรมชาติลดลงเนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น ทำการประมงมากเกินควร ทำการประมงผิดวิธี ปัญหามลภาวะต่างๆ อันเกิดจากการปล่อยของเสียในครัวเรือนของประชากรที่เพิ่มขึ้นในเมือง และจากโรงงานอุตสหกรรม ตลอดจนไร่นาซึ่งใช้ยากำจัดวัชพืชเป็นประจำเป็นต้น

แหล่งน้ำธรรมชาติที่เคยมีกุ้งก้ามกรามชุกชุมมากที่สุดแห่งหนึ่งคือ บริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง แต่ในระยะหลังคือประมาณปี 2510 เป็นต้นมานั้น แทบจะหากุ้งก้ามกราม ในแหล่งน้ำธรรมชาติไม่ได้เลย ต่อมาประมาณปี 2523 – 2524 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพขึ้นที่บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา … Read More

การเพาะเลี้ยงปลาดุก

ปลาดุกเป็นปลาพื้นเมืองของไทย ในประเทศไทยมีพันธุ์ปลาจำพวกปลาดุกอยู่ 5 ชนิด แต่ที่รู้จักกันแพร่หลายมีอยู่ 2 ชนิด คือ ปลาดุกด้าน (Clarias batrachus) และปลาดุกอุย (C. macrocephalus) ปัจจุบัน ปลาทั้งสองชนิดสามารถจะผลิตขึ้นได้จากการเพาะเลี้ยง และมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ มีผู้เลี้ยงปลาดุกทั่วประเทศรวม 2,550 ราย (สถิติของกรมประมง ปี 2528) จำนวน 3,400 บ่อ รวมพื้นที่ 4,490 ไร่ ปริมาณปลาดุกที่ผลิตได้ปีละ 6,300 ตัน คิดเป็นมูลค่า 190 ล้านบาท

แหล่งที่เลี้ยงปลาดุกที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม … Read More

การเพาะเลี้ยงปลาสวาย

ปลาสวายเป็นปลาน้ำจืดประเภทไม่มีเกล็ดเช่นเดียวกับปลาเทโพ เทพา และสังกะวาด เป็นปลา ที่มีขนาดใหญ่มากรองจากปลาบึก ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 150 ซม. ปลาชนิดนี้มีพบในแถบประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย

ปลาสวายมีชื่อสามัญหรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Stripped Catfish มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius ru.chi Fowler เป็นปลาที่มีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศชนิดหนึ่ง เริ่มจากทำให้ราษฎรมีอาชีพ รวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ส่งขายต่อให้ผู้เลี้ยงปลา ในเขตจังหวัดอุทัยธานี อยุธยา และกรุงเทพฯ ประมาณปี 2492 เป็นต้นมา ต่อมาได้มีการผสมเทียมในการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้สำเร็จในปี 2509 และหลังจากนั้น 3 ปี การเพาะพันธุ์และการอนุบาลก็ประสบความสำเร็จพอดำเนินเป็นการค้าได้ นอกจากนี้ได้มีอาชีพเลี้ยงลูกปลาขนาดเล็กเพื่อส่งขายต่างประเทศแบบลูกปลาสวายสวยงามได้ด้วย

ในการเลี้ยงปลาเป็นอาชีพ … Read More

การเพาะเลี้ยงปลาจีน

ชาวจีนได้รู้จักวิธีการเลี้ยงปลาโดยมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน มากกว่า 2000 ปี สำหรับพันธุ์ปลาจีนที่ได้ทำการคัดเลือกขึ้นมาใช้ในการเพาะเลี้ยงจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ปลาเฉา ลิ่น ซ่ง สร้อยน้ำเงิน วูซัง และหลีฮื้อ (ไน) ส่วนในด้านวิธีการเลี่ยงนั้น ชาวจีนได้ยึดหลักการเลี้ยงปลาแบบรวมกันในบ่อเดียว Polyculture) โดยอาศัยความสัมพันธ์ทางชีววิทยาในการก่อให้เกิดอาหารปลาและผลผลิตปลา การใช้ประโยชน์จากอาหารที่เกิดขึ้นในบ่ออย่างเต็มที่ ส่วนพันธุ์ปลาดังกล่าวในอดีตชาวจีนต้องรวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำแยงซีเกียง และแม่น้ำเพิล ทางภาคกลางและภาคใต้ของประเทศ ปัจจุบัน เกษตรกรจีนสามารถเพาะปลาดังกล่าวขึ้นได้ด้วยวิธีฉีดฮอร์โมนเร่งให้ปลาผสมพันธุ์กันเองในบ่อ หรือด้วยวิธีผสมเทียมแล้ว

สำหรับการนำพันธุ์ปลาจีนดังกล่าวเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยนั้น สันนิษฐานว่านำเข้ามาโดยชาวจีนอพยพที่เข้ามาทำมาหากินในเมืองไทยเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้วมา ภายหลังที่กรมประมงสามารถเพาะปลาไนได้ด้วยวิธีเลียนแบบธรรมชาติในปี 2490 และปลาจีนชนิดอื่น เช่น เฉา ลิ่น ซ่ง ได้ด้วยวิธีผสมเทียมครั้งแรกเมื่อประมาณปี 2509 การนำปลาจีนเข้ามาจากต่างประเทศก็ลดลงตามลำดับ … Read More

การเลี้ยงปลานวลจันทร์เทศ

ปลานวลจันทร์เทศ เป็นปลาที่มีพื้นเพเดิมอยู่ในตอนเหนือของประเทศอินเดีย ปลาตัวนี้เป็นปลาชนิดหนึ่งในจำนวน 3 ชนิดจากประเทศอินเดียที่ได้นำเข้ามาในประเทศไทย ได้แก่ ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์เทศ และปลากะโห้เทศ ปลานวลจันทร์เทศได้ถูกนำเข้ามาประเทศไทย 2 ครั้งด้วยกัน

ครั้งแรกเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2523 โดย น.ท.สว่าง เจริญผล อธิบดีกรมประมง โดยนำพันธุ์ปลานี้มาจากบังกลาเทศประมาณ 100 ตัว ภายหลังได้นำมาเลี้ยงและทดลองเพาะพันธุ์ที่สถานีประมงน้ำจืด จังหวัดเชียงใหม่ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

ครั้งที่สองเป็นพันธุ์ปลาที่นำพันธุ์มาจากประเทศลาว และทราบในโอกาสต่อมาว่า ดร. วี อาร์ พันทูลู (Dr. V.R. Pantulu) ผู้เชี่ยวชาญประมงด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาแม่น้ำโขง เป็นผู้นำมาจากประเทศอินเดีย และมอบให้สถานีประมงท่าโง่น ประเทศลาว ต่อมา มร.เอ็ม … Read More

การเพาะเลี้ยงปลายี่สกเทศ

ปลายี่สกเทศเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางในประเทศอินเดีย เพราะเป็นปลาที่มีรสชาติดี และได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอย่างมาก ปลายี่สกเทศมีชื่อเรียกทั่วๆ ไปว่า Rohu มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Labeo rohita (Hamilton) ภายหลังจากที่ได้นำเข้ามาทดลองเลี้ยงและเพาะพันธุ์ในประเทศไทย ปรากฎว่าปลาชนิดนี้เพาะพันธุ์ได้ง่าย เลี้ยงโตเร็วทั้งในบ่อ และในแหล่งนํ้าธรรมชาติ ปัจจุบันปลาชนิดนี้ได้รับความนิยมในการบริโภคกันทั่วไปในภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ตลอดจนภาคตะวันออก อาจพบการซื้อขายในตลาดสดทั่วไปในภาคต่างๆ ดังได้กล่าวแล้ว

ปลายี่สกเทศได้นำมาจากประเทศอินเดียเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก โดยนายประสิทธิ์ เกษสัญชัย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2511 จำนวน 19 ตัว และครั้งที่ 2 ในปี 2512 จำนวน 250 ตัว

ในระยะแรกที่นำเข้ามานั้น ยังมื่เฉพาะในภาษาไทย จึงยังเรียกปลาชนิดนี้ว่า … Read More

การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองและเป็นปลาที่คนไทยโดยทั่วไปรู้จักทั่วทุกภาคของประเทศ ปลาตะเพียนขาวมีชื่อสามัญหรือภาษาอังกฤษว่า Tawes หรือ Java carp มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Puntius gonionotus (Bleeker) ในด้านโภชนาการนั้นเป็นปลาที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทั้งในเมือง และชนบท เป็นปลาที่สามารถนำมาเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย จึงเป็นปลาพื้นเมืองที่ได้รับการคัดเลือก ให้ส่งเสริมในการเพาะเลี้ยงชนิดหนึ่ง

การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนขาวได้ทำเป็นครั้งแรกก่อนปี 2503 ที่สถานีประมง (บึงบอระเพ็ด) นครสวรรค์ และต่อมาได้พัฒนาในการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ทั้งวิธีเลียนแบบธรรมชาติและผสมเทียม จนสามารถเผยแพร่ จำหน่าย จ่ายแจกได้ที่สถานประมงจังหวัดเชียงใหม่ และสถานีประมงสถาบันอื่นๆ ตลอด

แหล่งกำเนิดและการแพร่

ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบแหลมอินโดจีน ชวา ไทย สุมาตรา อินเดีย ปากีสถาน ขณะนี้ยังมีชุกชุมในถิ่นดังกล่าว

สำหรับประเทศไทยเรานั้นมีอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ อันได้แก่ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง … Read More

การเพาะเลี้ยงปลานิล

ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดที่รู้จักกันแพร่หลาย นิยมเลี้ยงกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว มีความแข็งแรง อดทน สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่กินพืชและอาหารได้เกือบทุกชนิด ปลานิลสามารถแพร่ขยายพันธุ์วางไข่ได้ทั้งในบ่อและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นปลาที่มีรสชาติดี สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง เป็นที่นิยมบริโภคของประชาชน ในปัจจุบันนักเลี้ยงปลาจึงหันมาเลี้ยงปลานิลเป็นอาชีพกันมากขึ้นตามลำดับ ปลานิลได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2508 โดยเจ้าฟ้าอากิฮิโต มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้จัดส่งปลานิลจำนวน 50 ตัว ความยาวเฉลี่ยตัวละประมาณ 9 ซม. น้ำหนักประมาณ 14 กรัม มาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 ในระยะะแรกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดินเนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต … Read More