Month: February 2013

โรคของพริก

(diseases of pepper)

พริกเป็นพืชผักในกลุ่ม Solanaceous เช่นเดียวกับมะเขือเทศ แต่อยู่ใน genus Capsicum ในประเทศไทย ที่นิยมปลูกมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดทั้งเผ็ดและไม่เผ็ด เช่น พริกขี้หนู (bird chilli) พริกมันหรือพริกชี้ฟ้า (hot pepper) พริกหยวก (banana pepper) และพริกยักษ์หรือพริกหวาน (bell pepper) แม้ว่าพริกจะเป็นพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารประเภทปรุงแต่งรส แต่ก็เป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ จัดอยู่ในกลุ่มของพืชอาหารหลักชนิดหนึ่งของชาวไทยสามารถปลูก และเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศและตลอดปี ขณะเดียวกันก็ปรากฏว่ามีโรคและศัตรูหลายชนิดขึ้นเกาะกินทำลาย ทำให้เกิดความเสียหายทั้งคุณภาพและปริมาณเป็นจำนวนมากในแต่ละปีเช่นกัน

โรคแอนแทรคโนส (pepper anthracnose)

แอนแทรคโนสเป็นโรคที่ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดและทำความเสียหายเฉพาะผลพริก ซึ่งชาวบ้านทั่วๆ ไปรู้จักกันในชื่อของโรคกุ้งแห้ง

อาการโรค

ที่ผลพริกอาการจะเริ่มจากแผลหรือจุดช้ำเป็นแอ่งยุบลง ลักษณะอาจกลมหรือไม่แน่นอน ขนาดก็ตั้งแต่จุดเล็กไปจนโตเต็มความกว้างของพริก … Read More

โรคของมะเขือเทศที่เกิดจากไส้เดือนฝอย

(diseases caused by nematodes)

จากรายงานการประชุมสัมมนามะเขือเทศเมืองร้อนระหว่างประเทศ ณ ศูนย์พัฒนาพืชผักแห่งเอเชียที่ไต้หวันเมื่อปี พ.ศ. 2522 พบว่ามีไส้เดือนฝอยถึง 18 ชนิด (genera) มากกว่า 160 spp. ทำลายมะเขือเทศในประเทศแถบร้อนทั่วโลกสร้างความเสียหายผลผลิตราว 10-15% การทำลายของไส้เดือนฝอยส่วนใหญ่จะเกิดที่รากทำให้เกิดอาการเป็นปุ่มปมเป็นแผล เน่า รากขาดกุด ฯลฯ พืชใช้รากไม่เต็มที่ผลที่เกิดติดตามมาคือ พืชเหลือง แคระแกรน ผลิตผลต่ำ เหี่ยวและตายในที่สุด อย่างไรก็ดีในบรรดาโรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอยทั้งหมดนั้นปรากฏว่าโรครากปมที่เกิดจาก Meloidogyne spp. จะพบบ่อยและทำความเสียหายให้กับ มะเขือเทศมากที่สุด

ไส้เดือนฝอยรากปม (root knot nematodes)

เกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอยใน genus Meloidogyne ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลาย … Read More

โรคของมะเขือเทศที่เกิดจากไวรัส

โรคที่เกิดจากไวรัสและมายโคพลาสมา (virus and mycoplasma-like diseases)

โรคของมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อไวรัสหรือจุลินทรีย์ที่คล้ายมายโคพลาสมาจัดว่าเป็นโรคที่สำคัญก่อให้เกิดความเสียหายต่อการปลูกและการผลิตมะเขือเทศมาก หากจะเปรียบเทียบกับโรคที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากมะเขือเทศเป็นพืชที่ค่อนข้างอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลาย ของเชื้อไวรัสที่เข้าทำลายพืชได้เกือบทุกชนิด ขณะเดียวกันก็จะก่อให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้นได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอาการแผลจุด ดวง เป็นเส้นขีดหรือด่างลาย เหลืองซีด แคระ แกรน ผิดรูปผิดร่าง ยอดตาเหี่ยวเฉาแห้ง ใบม้วนงอเป็นคลื่นบิดเบี้ยว หรือหดย่นไม่ออกดอกออกผลหรือผลมีลักษณะผิดปกติ

อย่างไรก็ดีการจำแนกชนิดของไวรัสตามอาการที่พืชแสดงออกเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบากและสรุปให้ชัดเจนลงไปได้ยากทั้งนี้เพราะไวรัสมีคุณสมบัติและธรรมชาติในการเข้าทำลายพืชมีกลวิธีในการสร้างอาการที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนผิดกับเชื้อทั่วๆ ไป นอกจากนั้นตัวไวรัสเองแต่ละชนิดก็ยังมีการแยกออกเป็น strain ต่างๆ ซึ่งพวกนี้เมื่อเข้าทำลายพืชก็จะก่อให้เกิดอาการที่ผิดแปลกแตกต่างกัน แต่ก็มีไวรัสบางตัวที่แม้จะต่างพวกกันเมื่อเข้าทำลายพืชกลับสร้างอาการที่เหมือน หรือคส้ายๆ กัน เหตุนี้การจำแนกไวรัสจึงต้องอาศัยการศึกษาสิ่งต่างๆ หลายอย่าง ตั้งแต่ลักษณะรูปร่างของจุลภาค เช่น เป็นแท่ง เป็นท่อนเหลี่ยม ลูกบาศก์ทรงกลม หรือเป็นเส้นยาว การแพร่ระบาด การทำลายและลักษณะอาการในพืช … Read More

โรคทางใบที่สำคัญของมะเขือเทศ

โรคใบเหลืองปื้น(Cercospora leafmold)

เป็นโรคทางใบที่สำคัญของมะเขือเทศที่พบบ่อยอีกโรคหนึ่งโดยจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นทั่วๆ ไปในเกือบจะทุกแห่งที่มีการปลูกมะเขือเทศ แต่ในบางท้องถิ่นที่มีสภาวะสิ่งแวดล้อมเหมาะสมก็อาจจะกลายเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรงได้

อาการโรค

ใบมะเขือเทศที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะเกิดเป็นเซลล์ตายสีเหลืองขึ้นทั่วไปที่ด้านหลังหรือด้านบนของใบ ต่อมาที่ด้านใต้หรือท้องใบจะมีการสร้างสปอร์สีนํ้าตาลหรือดำเกิดขึ้น แผลจะแห้งเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลตรงกลางจุดจะเป็นสีขาว ปกติแผลแต่ละแผลจะมีขนาดไม่โตนัก แต่ถ้าเป็นมากแผลอาจจะมาชนต่อเชื่อมกันเกิดเป็นแผลที่มีขนาดใหญ่ทำให้ใบเกิดอาการบิดงอ เหี่ยวเฉาและแห้งตายในที่สุด เชื้ออาจเข้าทำลายกิ่งอ่อนและก้านใบก่อให้เกิดอาการแผลสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะกลมหรือเรียวยาวขึ้นได้ ส่วนใหญ่อาการจะเริ่มจากใบแก่ที่อยู่ตอนล่างของต้นก่อน แล้วจึงค่อยกระจายไปยังใบที่อยู่สูงๆ ขึ้นไปจนในที่สุดหมดทั้งต้น

สาเหตุโรค: Pseudocercospora fuligena

เป็นราพวก imperfecti ขยายพันธุ์โดยการสร้างโคนิเดีย ลักษณะเป็นเส้นเรียวยาวปลายแหลมท้ายป้านมีผนังกั้นแบ่งออกเป็นหลายเซลล์ และเกิดบนก้านโคนิดิโอฟอร์สีดำ ซึ่งงอกติดกันเป็นกระจุกที่บริเวณแผลด้านใต้ใบ เป็นราที่ต้องการความชื้นสูงทั้งในการเกิดสปอร์การงอกและการเข้าทำลาย

พืชเช่นเดียวกับ Cladosporium sp. สำหรับอุณหภูมิช่วงที่เหมาะที่สุดจะอยู่ระหว่าง 28-30°ซ

การแพร่ระบาด เกิดขึ้นโดยโคนีเดียปลิวไปตามลม หรือการสาดกระเซ็นของน้ำฝนหรือนํ้าที่รดให้กับต้นพืชแมลง มนุษย์ สัตว์ เครื่องมือกสิกรรม เมื่อตกลงบนพืชสิ่งแวดล้อมเหมาะสมก็จะงอกเป็นเส้นใยเข้าทำลายพืชแล้วเกิดอาการให้เห็นภายใน 2-3 … Read More

มะเขือเทศ:โรคราบนใบ

(leaf mold)

โรคราบนใบจัดเป็นโรคที่แพร่หลายและพบบ่อยอีกโรคหนึ่งของมะเขือเทศ

อาการโรค

อาการเริ่มแรกของโรคมักจะเกิดขึ้นบนใบแก่ที่อยู่ตอนล่างๆ ของต้นก่อนโดยหลังจากที่เชื้อราเข้าทำลายจะเกิดอาการแผลจุดเซลล์ตายสีซีดจางขึ้นที่ผิวด้านบนของใบดังกล่าว โรคจะเกิดและกระจายออกไปอย่างรวดเร็วสูงขึ้นยังใบอื่นๆ ที่อยู่ด้านบน และต้นข้างเคียงหากอากาศชื้นและเย็น โดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันนานๆ ต่อมาด้านใต้ใบตรงกันกับที่เกิดอาการจุดเซลล์ตายจะมีการสร้างสปอร์ขึ้นเป็นจำนวนมากเป็นผงสีเทาเมื่อเริ่มแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียว (olive-green) และน้ำตาลในที่สุดแผลจะมืลักษณะเป็นปื้น รูปร่างไม่คงที่ขนาดตั้งแต่ 2-3 มม.ไปจนถึง 1ซม.หรือโตกว่าต้นที่แสดงอาการโรคมากๆ ในที่สุดใบจะเหี่ยวเหลืองแล้วแห้งตายทั้งต้น

อาการอย่างเดียวกันนี้อาจเกิดขึ้นได้บนกิ่งอ่อน ดอก ขั้วของผลและผล ซึ่งจะมีผลทำให้ส่วนนั้นตายหลุดล่วงออกจากต้นในที่สุด อย่างไรก็ดีอาการบนส่วนเหล่านี้จะไม่พบบ่อยนัก

สาเหตุโรค: Fulvia fulva

เป็นเชื้อรา imperfecti ขยายพันธุ์โดยการสร้าง โคนีเดีย ลักษณะกลมหรือรูปไข่เซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ สีเหลืองปนเขียวหรือนํ้าตาลบนปลายก้านโคนิติโอฟอร์ที่ค่อนข้างยาวและมีผนังแบ่งกั้นเป็นตอนๆ เป็นราที่ต้องการความชื้นค่อนข้างสูง ทั้งในการสร้างสปอร์การงอกของสปอร์ และการเจริญ อากาศจะต้องมีความชื้น (water-holding capacity) ไม่ต่ำกว่า 95% … Read More

สาเหตุโรคต้นใบแห้งในมะเขือเทศ

(late blight)

โรคต้นใบแห้งนับเป็นโรคสำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับพืชในกลุ่ม Solanaceous อันไต้แก่มะเขือเทศ และมันฝรั่งมากที่สุดโดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมเมื่อมีโรคเกิดขึ้นจะแพร่กระจายสร้างความสูญเสียให้กับพืชที่ปลูกอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนไม่สามารถทำการป้องกันกำจัดได้ทัน

อาการโรค

อาการโรคจะเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของต้นพืชที่อยู่เหนือพื้นดินและทุกระยะการเจริญเติบโต

แผลบนใบจะกลมหรือค่อนข้างกลมสีนํ้าตาลดำ ตรงกลางแห้ง ส่วนรอบเป็นวงสีซีดจาง และมีลักษณะฉ่ำนํ้า หากอากาศชื้นเช่นในตอนเช้าที่แสงอาทิตย์ยังส่องไม่เต็มที่ หรือวันที่อากาศครึ้มเมฆหมอกจัดจะปรากฏมีเส้นใยสีขาว หรือเทาขึ้นอยู่ทั่วไปที่วงรอบนอกของแผลเห็นได้ชัดเจน แผลมักจะเริ่มเกิดขึ้นตรงปลายหรือริมๆ ขอบใบ ขนาดก็จะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของโรค อาจเป็นเพียงจุดเล็กๆ 2-3 มม. ถึง 3-4 ซม. หรืออาจทำลายหมดทั้งใบและก้านใบ ในกรณีที่เป็นรุนแรง อย่างไรก็ดีเมื่อเป็นนานๆ ในที่สุดใบจะแห้งดำทั้งใบ

บนต้นกิ่งก้าน จะเกิดแผลเน่าแห้งสีนํ้าตาลแก่ หรือดำยาวทอดไปตามแนวของลำต้นและกิ่งก้านนั้น เมื่อเป็นมากจนรอบส่วนนั้นจะหักพับลงทำให้เกิดการแห้งตายขึ้นทั้งต้นและกิ่ง

บนผลมะเขือเทศ เชื้อจะเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต แต่จะง่ายและรุนแรงกว่าในระยะที่ยังอ่อนหรือเขียวอยู่ ส่วนมากอาการจะเกิดขึ้นตรงบริเวณขั้วหรือเริ่มจากขั้วลูกลงไปลักษณะเป็นจุดชํ้าฉ่ำน้ำ หรือสีเขียวปนเทา ต่อมาจะขยายโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนเต็มทั้งผล หากผลมะเขือเทศถูกเก็บเกี่ยวในขณะเมื่อเริ่มเกิดแผลอาจจะก่อให้เกิดเน่าเละตามมาขณะขนส่ง บนผลมะเขือเทศอ่อนที่ยังมีสีเขียวแผลอาจจะเป็นสีน้ำตาลเข้มหดย่น … Read More

มะเขือเทศกับโรคใบจุดสีนํ้าตาล

(early blight)

ใบจุดสีนํ้าตาลจัดเป็นโรคสำคัญที่ระบาดแพร่หลายและรู้จักกันดีโรคหนึ่งของมะเขือเทศ มันฝรั่ง มะเขือยาวโดยจะพบได้ในเกือบทุกเเห่งที่มีการปลูกพืชพวกนี้

อาการโรค

การเกิดโรคจะได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ ต้นอ่อนที่งอกจากเมล็ดที่มีเชื้อเกาะติดมาจะเกิดอาการคล้าย damping-off โดยเชื้อจะเข้าทำลายส่วนของลำต้นบริเวณโคนเกิดเป็นแผลยาวๆ สีดำจมยุบตัวลงไปจากผิวปกติเล็กน้อยโดยแผลเหล่านี้อาจเกิดเพียง 1หรือ 2-3 แผล ขึ้นอยู่กับปริมาณและความรุนแรงของเชื้อ ผลที่เกิดตามมา คือทำให้ต้นกล้าหักล้มแห้งตายหรือไม่ก็ชะงักการเจริญเจริญเติบโต ส่วนในต้นโต อาการจะเกิดขึ้นได้ทั้งที่ใบ ต้นและกิ่งก้าน บนใบอาการจะเริ่มจากจุดแผลสีนํ้าตาล-ดำเล็กๆ อาจกลมหรือเป็นเหลี่ยมขนาดตั้งแต่ 2 – 4 มม. แผลจะมีลักษณะเป็นแอ่งจมยุบลงไปจากผิวปกติเล็กน้อยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ใบแก่ซึ่งอยู่ส่วยล่างๆ ของต้นก่อน แผลเหล่านี้จะขยายโตขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นแผลแห้งสีน้ำตาลอาจมีขนาดใหญ่ 1 -2 ซม. พร้อมทั้งมีจุดสีดำเล็กๆ เกิดเป็นวงกลมเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน (concentric ring) ขึ้น ทำให้ มีชื่อเรียกโรคนี้เป็นภาษาอังกฤษอีกอย่างหนึ่งคือโรค … Read More

อาการโรคแผลจุดในมะเขือเทศ

(bacterial spot หรือ bacterial scab)

โรคนี้นอกจากจะเป็นกับมะเขือเทศแล้ว ยังปรากฏว่าเป็นกับพริกยักษ์ (bell pepper) ด้วย มักจะระบาด และทำความเสียหายมากในฤดูฝนหรือระยะที่อากาศชื้นสูง

อาการโรค

การเกิดโรคจะเกิดได้กับทุกส่วนของต้นมะเขือเทศที่อยู่เหนือพื้นดิน และทุกระยะการเจริญเติบโต บนใบอาการจะเริ่มจากจุดช่ำฉ่ำนํ้าเล็กๆ ขึ้นก่อน ต่อมาจะกลายเป็นแผลจุดค่อนข้างกลมยุบจมลงไปในเนื้อใบเล็กน้อยสีนํ้าตาล-เทาหรือดำ ขนาดราว 1-5 มม. แผลเหล่านี้หากเกิดขึ้นมากๆ ใบจะเหลืองแล้วแห้งตาย สำหรับก้านใบ กิ่ง และลำต้น แผลที่เกิดจะมีลักษณะตกสะเก็ด (scab) ยาวๆ ไม่กลมเหมือนที่ใบ สีออกเทาๆ แผลที่เกิดขึ้นทั้งที่ใบและต้น กิ่งก้าน ถ้าอากาศชื้น จะมีเมือกของแบคทีเรียสีเหลืองอ่อนหรือครีม ซึมออกมาเกาะติดเป็นหยดหรือเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ ฉาบปิดอยู่ บนผล หากเป็นในขณะที่ยังเขียวอยู่ อาการจะเริ่มจุดช้ำสีดำขึ้นก่อน

Read More

โรคแผลสะเก็ดที่พบในมะเขือเทศ

(bacterial canker)

รายงานเกี่ยวกับการพบโรคนี้ครั้งแรกเกิดขึ้นในอเมริการาวปี คศ. 1909 โดย Erwin Frank Smith สำหรับในประเทศไทยโรคนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนัก ได้เคยสังเกตุพบโรคที่แสดงอาการคล้ายที่เกิดจากการทำลายของเชื้อนี้ในมะเขือเทศบางต้นที่ปลูกในบริเวณสถานีทดลองพืชสวน อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากแปลงปลูกของกสิกร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และจากแปลงปลูกทดลองของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ในระยะเวลาต่างๆ กัน แม้จะเป็นเป็นเพียงศึกษาทางอาการไม่ได้ทำการพิสูจน์ทางจุลินทรีย์วิทยา  แต่จากลักษณะหลายอย่างที่แสดงออกทั้งอาการบนต้นใบและผลก็มีแนวโน้มที่บ่งบอกว่าจะเป็นโรคเดียวกัน

อาการโรค

การเกิดโรคจะเกิดได้กับมะเขือเทศทุกระยะการเจริญเติบโต โดยระยะแรกจะสังเกตเห็นใบที่อยู่ส่วนล่างๆ เฉพาะด้านหรือซีกใดซีกหนึ่งของต้นหรือกิ่งเฉาอ่อนตัวลง ขอบใบม้วนงอขึ้นด้านบน ติดตามด้วยอาการเหี่ยวแล้วแห้ง อาการดังกล่าวจะค่อยๆ ลามจากส่วนล่างของต้นสูงขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ก็จะเป็นเพียงด้านหนึ่งหรือซีกหนึ่งของต้นเท่านั้น เหมือนเมื่อตอนเริ่มเกิด เมื่อเริ่มอาการเหี่ยวขึ้นนั้นหากพิจารณาให้ใกล้ชิดจะพบว่าตรงรอยต่อระหว่างก้านใบที่เหี่ยวกับกิ่ง หรือต้นเกิดเป็นแผลขีดเส้นยาวสีซีดขึ้น ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีดำ แล้วแตกออกเป็นแผลสะเก็ดยาวๆ ก้านของใบหรือกิ่งที่แสดดงอาการเหล่านี้หากนำมาตัดหรือผ่าออกดูจะพบว่าส่วนที่เป็นท่อส่งน้ำส่งอาหารมีสีคลํ้า เมื่อปล่อยทิ้งไว้สักครู่จะมีเมือกสีเหลืองของเชื้อแบคทีเรียไหลเยิ้มออกมา อาการระยะสุดท้ายคือต้นมะเขือเทศจะชะงักงันหยุดการเจริญเติบโต

Read More

โรคของมะเขือเทศ

(diseases of tomato)

มะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum) เป็นพืชผักในตระกูล Solanaceae มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศแถบลาตินอเมริกา ทวีปอเมริกาใต้ ปัจจุบันได้มีการนำเอาไปปลูกกระจายออกไปทั่วโลกทั้งในทวีป ยุโรป อเมริกา อาฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทย ไม่มีรายงานยืนยันแน่นอนว่าใครเป็นผู้นำเอาเข้ามาปลูกเป็นบุคคลแรก และเมื่อใด แต่ในปัจจุบันก็มีผู้นิยมปลูกกันแพร่หลาย โดยเฉพาะในภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง เช่น ลำปาง เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี ผลมะเขือเทศนอกจากจะใช้บริโภคโดยประกอบเป็นอาหารชนิดต่างๆ แล้วยังนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรที่สำคัญเช่น ทำน้ำซ๊อสใช้จิ้มหรือปรุงแต่งรสอาหาร ทำเป็นนํ้ามะเขือเทศใช้ดื่มแทนน้ำผลไม้ และเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำปลากระป๋อง ส่วนเนื้อมะเขือเทศตากแห้งก็นำมาเชื่อมกับนํ้าตาลทำเป็นผลไม้กวนหรือแช่อิ่มในรูปของหวานได้

การปลูกมะเขือเทศจัดเป็นอาชีพทางการเกษตรที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพืชผักชนิดอื่นทั่วๆ

Read More