Month: February 2013

โรคเน่าเละของพืชผักที่เกิดจากแบคทีเรีย

โรคสำคัญของผัก

ได้แก่โรคที่เกิดกับผักที่เจริญเติบโตพ้นระยะกล้าแล้ว โดยมีสาเหตุจากเชื้อต่างๆ หลายชนิด และไม่เจาะจงว่าจะเป็นกับผักอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นโรคที่เกิดขึ้นและพบเห็นได้ทั่วไปทั้งขณะที่ยังอยู่ในแปลงปลูก และหลังเก็บเกี่ยวแล้ว

(bacterial soft rot)

เน่าเละเป็นโรคที่ได้รับการจัดลำดับให้อยู่ในกลุ่มของโรคที่สำคัญมากโรคหนึ่งของพืชผักทั้งในด้านของการระบาดและความเสียหาย เป็นโรคที่แพร่หลายที่สุด จะพบเกิดขึ้นทั่วไปในทุกห้องถิ่นที่มีการปลูกผัก โดยเฉพาะหากสิ่งแวดล้อมเหมาะสมความเสียหายจะเป็นไปอย่างรุนแรงมาก เป็นโรคที่สร้างความเสียหายให้กับพืชผักต่างๆ หลายชนิด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหอม บร็อคโคลี คึ่นแย แครอท ผักกาดหัว แตงร้าน แตงกวา ฟัก แฟง สคว๊อทซ์  ฟักทอง มะเขือยาว มะเขือเทศ ถั่วแขก ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว หอมใหญ่ … Read More

สิ่งแวดล้อมกับความรุนแรงของโรคผัก

สิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมความรุนแรงของโรค

โรคโคนเน่าคอดินของต้นกล้าหรือ damping-off จะระบาดก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงมากน้อยเพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสามประการ คือ ความชื้นในดิน แสงอาทิตย์ และปริมาณธาตุไนโตรเจนในดิน

ความชื้นในดิน มีความสัมพันธ์กับเชื้อ Pythium sp. ใน เรื่องของการขยายพันธุ์ โดยจะช่วยให้เชื้อขยายพันธุ์ได้ดี และเร็วขึ้นเนื่องจากในการเกิดของเชื้อนี้จะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่มีการสร้างเซลล์ที่เคลื่อนไหวได้ (swarm cells หรือ zoospores) เซลล์พวกนี้เมื่อเกิดจะต้องว่ายและเคลื่อนไหวอยู่ในน้ำระยะหนึ่งแล้วจึงจะสลัดหางทิ้งกลายเป็นสปอร์กลมๆ เสียก่อนแล้วจึงจะงอกเป็นเส้นใยแล้วเข้าทำลายพืชในที่สุด หากความชื้นในดินต่ำหรือมีไม่พอช่วงของการสร้างเซลล์มีทางที่เคลื่อนไหวได้ก็จะไม่เกิดขึ้น หรืออาจจะเกิดแต่เซลล์พวกนี้เมื่อไม่มีความชื้นหรือนํ้าให้เคลื่อนไหวก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่จนงอกเป็นเส้นใยเข้าทำลายพืชได้ โรคก็จะไม่เกิด เหตุนี้จึงพบว่าโรคโคนเน่าของต้นกล้าจะเกิดและทำความเสียหายมากก็เฉพาะในดินที่ชื้นแฉะ หรือมีการระบายนํ้าไม่ดีเท่านั้น

แสงอาทิตย์ ปกติแล้วแสงอาทิตย์จะเป็นตัวช่วยยับยั้งการ เจริญเติบโต การขยายพันธุ์และการงอกของสปอร์ของเชื้อ การเพาะกล้าแน่นเกินไปหรือเพาะกล้าในที่ร่ม แสงแดดส่องไม่ถึงพื้นดินจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้เชื้อราทวีจำนวนเจริญแพร่กระจายและก่อให้เกิดโรคกับพืชได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ การเพาะกล้าด้วยจำนวนเมล็ดที่พอเหมาะพอดีโดยที่หลังจากเมล็ดเหล่านั้นงอกเป็นต้นอ่อนแล้วไม่ชิดหรือเบียดกันแน่นจนแสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องลอดลงไปถึงพื้นดินได้ โรคก็จะเกิดได้ยาก หรือหากเกิดก็จะไม่รุนแรงจนถึงกับทำความเสียหายให้ได้ นอกจากนี้แสงอาทิตย์ยังมีส่วนเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิของดินด้วย กล่าวคือ … Read More

โรคที่เกิดกับต้นอ่อนหรือกล้าผัก

โรคของต้นอ่อนหรือกล้าผักต่างๆ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิดแต่ที่ทราบและรู้จักกันดีที่สุด ได้แก่ โรคโคนเน่าคอดิน (damping-off) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วๆ ไปว่าโรคกล้าตายพราย  ซึ่งจัดว่าเป็นโรคระบาดสำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับผักมากมายหลายชนิด หลายตระกูลในเกือบทุกสภาพของดินและภูมิอากาศตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการเจริญเติบโต

เชื้อสาเหตุและอาการของโรค

โรคโคนเน่าคอดินมีสาเหตุมาจากเชื้อราหลายชนิด แต่ที่สำคัญและพบเสมอเกิดจากรา 2 genera ในตระกูล Phythiaceae คือ Pythium และ Phytophtbgxa ซึ่งอาศัยอยู่ในดิน (soil inhabitant) โดยที่รานี้จะเข้าทำลายพืชในช่วงแรกของการเจริญเติบโตได้ทุกระยะเริ่มตั้งแต่เมล็ดที่หว่านเพาะลงในดินทำให้เมล็ดเสีย เกิดอาการเน่าฝ่อหมดไม่สามารถงอกออกมาเป็นต้นได้ ระยะนี้เรียกว่า seed rot ส่วนเมล็ดที่รอดพ้นจากการทำลายระยะแรกสามารถงอกขึ้นเป็นต้น เชื้อก็จะเข้าทำลายต่อทำให้ต้นที่เพิ่งเริ่มงอกตายเสียตั้งแต่ยังอยู่ในดินนั่นเอง การทำลายต้นอ่อนตั้งแต่อยู่ในดินนี้เรียกว่า pre-emergence damping-off การที่หว่านเมล็ดลงในดินแล้วไม่มีต้นกล้างอกขึ้นมาให้เห็น หากไม่เป็นเพราะเมล็ดเก่าเก็บ คุณภาพเสื่อมแล้ว ส่วนใหญ่ก็เนื่องมาจากการทำลายของเชื้อทั้งสองระยะดังกล่าว ในกรณีที่เมล็ดไม่ถูกทำลายไม่มี pre-emergence damping-off … Read More

โรคผักที่เกิดจากการได้รับแร่ธาตุ

โรคผักที่เกิดจากการขาดหรือได้รับแร่ธาตุอาหารมากเกินไป

พืชผักก็เช่นกับพืชทั่วๆ ไปและสิ่งที่มีชีวิตอื่น คือมีความต้องการอาหารจำพวกแร่ธาตุในการดำรงชีวิต และการเจริญเติบโต รวมไปถึงการปรุงแต่งให้ผักมีสี ขนาด รส และคุณภาพในด้านอาหาร (nutritive value) ดีขึ้นด้วย

ธาตุอาหารที่จำเป็นที่พืชผักต้องการอยู่ในรูปของสารอนินทรีย์ (inorganic) มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 16 ธาตุ แยกออกเป็น 2 พวก ตามปริมาณในการใช้และความต้องการของผัก คือพวกแรกเป็นธาตุอาหารที่ผักต้องการในปริมาณมากเรียกว่าธาตุอาหารหลัก (major elements หรือ cronutrients) ได้แก่ คาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) ไฮโดรเจน (H) ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปแตสเชียม(K ) แคลเซียม … Read More

การสลายตัวของเนื้อเยื่อของผัก

การที่พืชผักแสดงอาการผิดปกติในลักษณะต่างๆ ขึ้นหลังจากที่เชื้อเข้าไปสู่ภายในได้แล้วนั้น เป็นผลมาจากเนื้อเยื่อของผักถูกทำลายโดยเอนไซม์ของเชื้อที่ปล่อยออกมาขณะเจริญเติบโต ก่อให้เกิดปฏิกิริยาและการสลายตัวขึ้นกับเนื้อเยื่อดังกล่าวตามขั้นตอนและชนิดของเอนไซม์ที่ใช้ในปฏิกิริยาต่างๆ กันดังนี้

1. การสลายตัวของเซลล์

ปกติแล้วเซลล์ของพืชประกอบด้วยสารหลัก 3 ชนิดต่างๆ กันดังนี้คือ

1.1 เซลลูโลส (cellulose) ได้แก่สารประกอบพวกคาร์โบไฮเดรทซับซ้อน (complex carbohy-drates) เป็นสารประกอบหลัก พวกคาร์บอน (major carbon compounds) ของพืชมีหน้าที่คุ้มครองป้องกันเซลล์และส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ภายในเซลล์ ต้านทานการเข้าทำลายของเชื้อโรคและจุลินทรีย์ต่างๆ ทำให้เซลล์มีความเหนียวแน่นและอุ้มนํ้าได้ เซลลูโลสจะถูกย่อยทำลายโดยเอนไซม์ เซลลูเลสเป็น (cellulase) ซึ่งสร้างและปล่อยออกมาโดยจุลินทรีย์ต่างๆ ทั้ง รา แบคทีเรีย และไส้เดือนฝอย (nematodes) ที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด ผลจาการย่อยเซลลูโลสทำให้จุลินทรีย์ได้คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) … Read More

สิ่งที่ช่วยเสริมให้ผักเกิดโรคได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้น

การที่พืชผักจะเกิดเป็นโรคได้ง่าย เร็ว และรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายมากน้อยเพียงไรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยร่วมต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยดังนี้

1. ลักษณะประจำพันธุ์ของพืช

กรรมพันธุ์หรือลักษณะประจำพันธุ์ของพืชนับว่ามีส่วนช่วยที่ทำให้พืชมีความอ่อนแอ (susceptible) หรือต้านทาน (resistance) ต่อการเกิดโรคต่างกันออกไป และคุณสมบัตินี้ยังสามารถถ่ายทอดต่อไปยังลูกหลานหรือต้นที่เกิดใหม่ได้ เรื่องพันธุ์พืชที่มีความง่ายหรือยากต่อการเกิดโรคนี้ นอกจากลักษณะบางประการที่เกี่ยวกับพันธุกรรม (gene) เฉพาะที่มีอยู่ในพืชแต่ละต้นแล้ว ยังรวมไปถึงลักษณะทางรูปร่าง (morphology) ของพืช เช่น ต้นเป็นพุ่ม เตี้ย สูง หรือ เป็นเถาเลื้อย ลักษณะใบเล็กเป็นแผ่นกว้าง หรือเป็นเส้นเรียวจำนวนใบมากหรือน้อย รวมไปถึงลักษณะทางกายภาพของพืช เช่น ลำต้นมีเปลือกบางหรือหนาแข็ง มีเซลล์ cambium หรือ meristemetic ที่อ่อนแอ หรือแข็งแรง มีสารพวกไขมัน พวก wax หรือ … Read More

การเจริญเติบโตของเชื้อและความรุนแรงของโรคผัก

สิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อและความรุนแรงของโรคผัก

1. อุณหภูมิ

อุณหภูมิ ได้แก่ความร้อนหรือความเย็น ซึ่งจัดว่าเป็นตัวการรวมที่มีความสำคัญยิ่งในการทำให้เกิดโรคผัก โดยมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องทั้งกับเชื้อสาเหตุโรคและพืชที่เป็น host อุณหภูมิที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคแบ่งออกได้เป็น  2 ชนิดคือ

1.1 อุณหภูมิของอากาศ

นับว่ามีอิทธิพลต่อทั้งพืชที่เป็น host และเชื้อสาเหตุโรคเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศจากร้อนเป็นเย็น หรือเย็นเป็นร้อน อาจมีผลทำให้ผักบางชนิดเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในต้นทำให้ยากหรือง่ายต่อการเกิดโรคบางอย่างขึ้นได้ ขณะเดียวกันทางด้านเชื้อโรคความสูงต่ำของอุณหภูมิก็อาจช่วยส่งเสริมการเกิด การแพร่ระบาดและความรุนแรงในการทำให้เกิดโรคกับพืชได้เช่นกัน เช่น โรคเลทไบล์ท (late blight) ของมะเขือเทศและมันฝรั่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Phytophthora infestans อุณหภูมิที่เหมาะต่อการที่รานี้จะสร้างสปอร์เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณได้มากที่สุด (optimumtemperature) อยู่ระหว่าง 18-22 ° ซ. นอกจากนั้นยังพบอีกว่าอุณหภูมิมีอิทธิพลหรือมีหน้าที่ควบคุมการงอกของ sporangia และ conidia ของเชื้อให้แตกต่างกันออกไปอีกคือ… Read More

องค์ประกอบในการทำให้ผักเกิดโรค

การเกิดเป็นโรคขึ้นในพืชอันเนื่องมาจากเชื้อต่างๆ เข้าทำ ลายนั้น โดยปรกติแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ การเกิดโรคอย่างธรรมดา ได้แก่โรคที่พบเห็นเป็นกับพืชทั่วๆ ไปไม่กำหนดฤดูกาลหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นโรคที่พบเห็นอยู่เสมอตลอดปี ในสภาวะปกติและสิ่งแวดล้อมธรรมดา อาจเป็นกับพืชที่ปลูกหรือที่ขึ้นเองในธรรมชาติเพียงบางต้นบางส่วน ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงฉับพลัน ผู้ปลูกพืชนั้นๆ คงเก็บเกี่ยวผลได้เป็นปกติ อาจเสียหายหรือลดลงบ้างก็เพียงเล็กน้อยไม่ถือว่าสำคัญ โรคพืชที่เกิดในลักษณะดังกล่าวเรียกว่า “endemic” ส่วนอีกประเภทหนึ่งได้แก่โรคที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว มีช่วงระยะเวลาการเกิดแน่นอน ตามฤดูกาลหรือสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเฉพาะโรคนั้นๆ การเกิดของโรคชนิดนี้อาจจะทุกๆ ปี หรือหลายๆ ปี จึงจะเกิดขึ้นสักครั้ง แต่ทุกครั้งที่เกิดก็จะขยายลุกลามแพร่ระบาดอย่าง รวดเร็ว สามารถทำลายพืชและสร้างความเสียหายให้อย่าง กว้างขวางรุนแรงจนอาจเก็บเกี่ยวผลไม่ได้เลย หรือได้บ้างก็เพียงเล็กน้อย เป็นโรคที่จัดว่ามีความสำคัญทั้งในด้านของการผลิตและการเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โรคที่เกิดเป็นครั้งคราวแล้วระบาดสร้างความเสียหายให้กับพืชปลูกกว้างขวางดังกล่าว เรียกว่า “epidemic หรือ epiphytotic”

สำหรับกลวิธีในการเกิดโรคทั้ง endemic และ epidemic … Read More

สาเหตุที่ทำให้ผักเกิดโรค

สาเหตุหรือตัวการที่ทำให้ผักเกิดโรคได้แยกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. สาเหตุโรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต

ได้แก่โรคหรือความผิดปรกติของพืชผักซึ่งเกิดจากการกระทำของสิ่งไม่มีชีวิตที่อยู่รอบๆ ตัวพืช รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ (environmental factors) ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชผักนั้น เป็นโรคที่เกิดเฉพาะที่หรือแหล่ง ไม่ระบาดแพร่กระจายเรียกว่า non-parasitic diseases หรือ non-infectious diseases โดยจำแนกออกได้เป็นประเภทดังนี้

1.1 สภาพของดิน ได้แก่ ลักษณะส่วนประกอบ หรือสภาพของดินปลูก ซึ่งแยกออกได้เป็น

ลักษณะโครงสร้างของดิน หมายถึงลักษณะ องค์ประกอบทางฟิสิกส์ ชนิด หรือประเภทของดินที่ผักนั้นขึ้นอยู่ เช่น ดินร่วน ดินเหนียว ดินทราย หรือดินปนทราย เหล่านี้ อาจมีผลทำให้พืชผักที่ปลูกแสดงอาการผิดปกติไปจากธรรมชาติได้ … Read More

ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการผลิตและการปลูกผัก

ผักเป็นพืชล้มลุกที่มีช่วงอายุการเจริญเติบโตสั้น ที่ให้ผลผลิตนำมาใช้ประโยชน์บริโภคได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของต้น กิ่ง ก้าน ใบ ผล หัว ราก และฝัก ส่วนใหญ่เป็นพืชอวบน้ำ succulent) และมีส่วนที่เป็นเนื้อมาก จัดเป็นพืชที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเป็นอยู่ของมนุษย์มากทั้งในด้านที่เป็นอาหารและด้านเศรษฐกิจ

ด้านอาหาร

ผักเป็นพืชอาหารที่มนุษย์จะขาดเสียมิได้ เนื่องจากผักมีส่วนประกอบที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตหลายอย่าง ได้แก่ เกลือแร่ ธาตุสำคัญๆ และวิตามินชนิดต่างๆ ที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ช่วยให้ระบบกลไกต่างๆ องร่างกายดำเนินไปเป็นปรกติ ช่วยให้เกิดพลังงานให้มีความต้านทานต่อโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปเป็นปรกติ และยังช่วยให้ร่างกายฟื้นหายจากโรคได้อย่างรวดเร็ว หากขาดอาหารประเภทผักหรือได้รับไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะอ่อนแอ อาจเกิดอาการผิดปกติขึ้น ทำให้ความต้านทานต่อโรคต่างๆ ลดลง หรือทำให้ร่างกายทนต่อการ เปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวไม่ได้ดีเท่าที่ควร

ด้านเศรษฐกิจ

เนื่องจากผักมีความจำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์ดังกล่าว ทำให้ต้องมีการปลูกการผลิตขึ้น เป็นผลก่อให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนตามมา โดยการซื้อขายนี้อาจเป็นไปในระหว่างกลุ่มชนในท้องถิ่นเดียวกันหรือใกล้เคียงระหว่างจังหวัด … Read More