Month: September 2013

ข้อแนะนำในการใช้สมุนไพร


ก. สมุนไพรบางชนิดอาจให้ฤทธิ์ข้างเคียงที่ไม่ต้องการ เมื่อวินิจฉัยโรคและเลือกใช้สมุนไพรได้ถูกต้องแล้ว แต่ละครั้งควรใช้เครื่องยาให้น้อยที่สุด (ถ้าใช้เพียงชนิดเดียว เมื่อเกิดผิดปกติก็จะรู้ได้ทันที) ขนาดรักษาครั้งแรกควรใช้ขนาดต่ำสุดของที่บ่งไว้ เมื่อสังเกตไม่มีอาการอื่นใดแทรกซ้อนและอาการดีขึ้น จึงให้ใช้ยานั้นต่อไป ตลอดจนต้องเฝ้าติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของโรค ภายในสามวันถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรรีบปรึกษาหมอ
ข. อาการป่วยบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือโรคติดเชื้อร้ายแรงที่อาจถึงแก่ชีวิต อย่ารอรักษาด้วยสมุนไพรเพียงอย่างเดียวอาจไม่ทันการ จำเป็นต้องไปหาหมอเพื่อให้หมอดูแลอย่างใกล้ชิด
ค. สมุนไพรหลายชนิดที่ได้ชื่อว่ามีสรรพคุณในการรักษางูพิษกัด หรือสุนัขบ้ากัดก็ตาม ขอให้พิจารณาใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะขนาดใช้และวิธีใช้ตลอดจนการควบคุมอาการของโรคยังไม่รู้ผลแน่นอน เพื่อความไม่ประมาทเมื่อถูกงูพิษกัดหรือสุนัขบ้ากัด ให้ฉีดวัคซีนแก้พิษงู หรือวัคซีนแก้พิษสุนัขบ้าทันทีร่วมด้วย การศึกษาสรรพคุณสมุนไพรทางด้านนี้จำต้องใช้ผู้รู้และใช้ทั้งเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยที่สุด
ง. ขนาดใช้ ขนาดใช้ของผู้ใหญ่ และให้กินครั้งเดียว หรือกินตามสั่ง ถ้าอาการดีขึ้นให้กินต่อไปจนกว่าจะหาย
ขนาดใช้ในเด็กต้องลดขนาดยาลงให้เหมาะสมกับอายุเด็ก
จ. ในกรณีต้องมีการคั่วสมุนไพรก่อนนำมาใช้ … Read More

การปรุงยาสมุนไพร


เทคนิค วิธีการปรุงยาสมุนไพร ในรูปแบบที่ง่ายและประหยัด ได้แก่
1. ยาชง สมุนไพรที่มีกลิ่นหอมมักใช้ในรูปชาสมุนไพรซึ่งนอกจากจะแก้กระหายได้แล้ว การใช้ดื่มประจำช่วยบำบัดอาการโรคบางชนิดได้ เช่น ชาของผลมะตูมอ่อนมีกลิ่นหอมชวนดื่ม ใช้แก้ท้องเสียเป็นประจำได้ด้วย ชามะขามแขกใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ เป็นต้น พืชที่นำมาใช้ในรูปยาชงจะต้องไม่มีสารที่ออกฤทธิ์รุนแรงต่อร่างกาย สามารถดื่มได้บ่อยๆ โดยไม่จำกัดขนาดใช้ สมุนไพรประเภทนำมาแต่งกลิ่นอาหาร เช่น ขิง สะระแหน่ เมล็ด ผักชี ผิวส้ม ฯลฯ จึงใช้ทำชาได้ดี ชาสมุนไพรทีมีคุณภาพดีมีวิธีการปรุง ดังนี้
พืชแห้งบดเป็นผงหยาบ 1 ช้อนชา (พืชสดใช้ขนาดสองเท่า ทุบให้ช้ำก่อน) ต่อน้ำเดือด 1 ถ้วยชา ถ้าต้องการรสอ่อนให้เติมน้ำมากขึ้น ถ้าเป็นเมล็ดทุบให้แตกใช้ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 3-4 … Read More

หลักการทั่วไปในการเก็บสมุนไพร


การเก็บสมุนไพรจากพืช ต้องกำหนดเลือกให้ถูกต้องเหมาะสม เพราะการเจริญเติบโตของพืชในระยะต่างๆ กัน จะมีปริมาณของยาหรือสารเคมีต่างๆ ในพืชมากน้อยต่างกัน เป็นผลให้ฤทธิ์ในการรักษาต่างกันไปด้วย เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ต้องคำนึงถึงหลักการเก็บรักษาและเตรียมสมุนไพร ดังนี้
ระยะเวลาหรือฤดูกาลที่ควรเก็บสมุนไพร
ก. ทั้งต้น(ไม้ล้มลุก) เก็บในระยะที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ มีใบหนาแน่นหรือตอนที่กำลังออกดอก
ข. ใบ  ควรเก็บในระยะที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ มีใบหนาแน่น ก่อนออกดอก หรือกำลังออกดอก
ค. ดอก ควรเก็บในระยะที่ดอกตูม หรือเริ่มบาน
ง. ผลและเมล็ด เก็บในระยะที่ผลแก่เต็มที่จนสุกงอม ถ้าเป็นผลประเภทฉ่ำน้ำ ควรเก็บในตอนเช้าหรือเย็น
จ. รากหรือหัว เก็บตั้งแต่ต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน
(ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน คือเก็บในระยะที่มีน้ำน้อย)
ฉ. เปลือกต้นหรือเปลือกราก เก็บในฤดูร้อนและฤดูฝน
วิธีการเตรียมพืชแห้ง
เมื่อเก็บมาแล้วเลือกสิ่งแปลกปลอมออก … Read More

หลักการทั่วไปในการปลูกพืชสมุนไพร


หลักการทั่วไปในการปลูกพืชสมุนไพรเช่นเดียวกันกับการปลูกพืชอื่นๆ คือ ต้องรู้เสียก่อนว่าพืชที่จะปลูกนั้นเป็นพืชนำ หรือพืชบก เป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ หรือไม้ขนาดกลาง หรือไม้ล้มลุกพวกวัชพืช หรือพืชผักที่มีอายุสั้น ชอบดินฟ้าอากาศหรือสภาพแวดล้อมธรรมชาติแบบแล้งหรือชื้น เพราะการที่จะปลูกพืชชนิดใดให้เจริญงอกงามได้ดี ก็ต้องปลูกในแหล่งที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อพืชนั้นๆ จะสังเกตได้ว่าในสภาพแวดล้อมเดียวกัน พืชบางชนิดขึ้นง่าย-ปลูกง่ายไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มากนักก็เจริญงอกงามได้ดี แต่พืชบางชนิดกลับขึ้นยาก-ปลูกยาก แคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ทั้งนี้เป็นเพราะความต้องการของพืชแต่ละชนิดแตกต่างกันไป ดังนั้นเมื่อคัดเลือกชนิดของพืชสมุนไพรที่จะปลูก แล้ว ก็จำเป็นจะต้องปลูกในที่ที่มีสิ่งแวดล้อมโดยธรรมชาติเหมาะสมกับพืชชนิดนั้นๆ ด้วย หรืออย่างน้อยก็ต้องดัดแปลงให้ใกล้เคียงกัน รวมทั้งการเตรียมดิน การให้อาหาร ตลอดจนการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม พืชจึงจะเจริญงอกงามได้ดี และสามารถนำมาใช้ได้ตามต้องการ
การปลูกพืชสมุนไพรขนาดเล็กที่เป็นพืชล้มลุก
วิธีการปลูกประเภทนี้คล้ายพืชสวนครัว ไม่มีอะไรยุ่งยาก เพราะเป็นพืชขนาดเล็ก ต้องการพื้นที่เพาะปลูกน้อย มีที่ว่างเพียงเล็กน้อยก็ปลูกได้ หรืออาจปลูกใส่ภาชนะต่างๆ เช่น กระถาง กะบะไม้ หรือแม้แต่เศษวัสดุต่างๆ เช่น กะลา … Read More

วิธีตรวจสอบว่าดินเป็นชนิดใด

เนื้อดิน (Soil Texture)
ในดินแต่ละแห่ง มีส่วนประกอบของ ทราย ตะกอน และเม็ดดิน เหนียว ไม่เท่ากัน การที่อนุภาคของดินทั้งสามขนาดนี้ประกอบกันเป็นดินในอัตราที่แตกต่างกัน เราใช้เป็นหลักในการแบ่งพวกของเนื้อดิน (textural class) ได้เป็น 12 ชนิด ตามตารางที่ 1 ดังต่อไปนี้

ตารางที่แสดงเนื้อดินชนิดต่างๆ ในกลุ่มพวกเนื้อดิน

เนื้อดิน

กลุ่มพวกเนื้อดิน

1.ดินเหนียว (clay)

2.ดินเหนียวปนตะกอน (silty clay)

3.ดินเหนียวปนทราย (sandy clay)

พวกดินเหนียว (pine-textured)

4.ดินร่วนเหนียวปนตะกอน (silty clay

Read More

ส่วนประกอบของดิน(Soil Component)

ดินประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ แร่ธาตุ อินทรีย์วัตถุ น้ำและอากาศ ซึ่งในดินแต่ละแห่งมีส่วนประกอบเหล่านี้ในอัตราส่วนที่ไม่เท่ากันเสมอไป

ส่วนประกอบของดิน (soil Component)

สำหรับดินร่วนปนตะกอน (silt loam) ซึ่งถือว่าเป็นดินที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชส่วนใหญ่ จะมีส่วนประกอบโดยปริมาตร ดังนี้คือ
1. แร่ธาตุ                  45%         ส่วนที่เป็นของแข็ง (50%)
2. อินทรีย์วัตถุ            5%         ส่วนที่เป็นของแข็ง (50%)
3. น้ำ                         25%         ส่วนที่บรรจุอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน (50%)
4. อากาศ                  25%                “
รวม                        100%

แร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุรวมกัน เป็นครึ่งหนึ่งของปริมาตรของดินทั้งหมด เรียกว่าส่วนที่เป็นของแข็ง (solid space) … Read More

ลักษณะและคุณสมบัติของดิน

ดิน (Soils)
ความเจริญของอารยะธรรมขึ้นอยู่กับดิน ความเจริญในแง่การกินอยู่ดี ความมั่งมีของประชากร ความมีสุขภาพสมบูรณ์ ตลอดจนความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจ เป็นผลสะท้อนมาจากดินทั้งทางตรงและทางอ้อม ถ้าดินดี อารยะธรรมในเขตนั้นก็จะเจริญรุ่งเรือง ในทางตรงกันข้าม ถ้าดินไม่ดี อารยะธรรมในเขตนั้นก็จะไม่เจริญก้าวหน้า ประชากรมักขาดแคลนอาหาร มีพลานามัยไม่สมบูรณ์ มีความยากจนและมีชีวิตที่ซบเซา ทั้งนี้เพราะดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญที่สุด คือดินเป็นแหล่งกำเนิดอาหาร พืชพรรณเกือบทุกชนิดขึ้นอยู่บนดินและได้ธาตุอาหารจากดิน สัตว์ส่วนใหญ่กินพืชพรรณนั้นเป็นอาหาร ในขณะเดียวกัน มนุษย์ก็กินทั้งพืชทั้งสัตว์เป็นอาหารอีกทอดหนึ่ง อาหารเหล่านี้ได้มาจากดิน ซึ่งก็หมายความว่า ดินเป็นแหล่งผลิตที่สำคญที่คํ้าจุนให้มนุษยดำรงชีวิตอยู่ได้

ดินคืออะไร (What is Soil ?)
ดินมีความหมายหลายอย่าง เช่น นักธรณีวิทยามองดินไปในแง่วัตถุธรรมชาติ ซึ่งเป็นผิวนอกสุดของเปลือกโลก ประกอบด้วยแร่ธาตุ และหินชนิดต่างๆ ซึ่งผุพังไปตามกาลเวลา ชั้นส่วนนอกสุดของเปลือกโลกนี้มีความสำคัญต่อนักธรณีวิทยา และผู้ประกอบกิจในอุตสาหกรรม เช่น … Read More