Month: September 2013

การแพร่กระจายของเชื้อในพืช

DISPERSAL OF INOCULA
Inoculum (pl. inocula) เป็นส่วนของเชื้อก่อโรค เมื่อสัมผัสกับพืชอาศัยแล้ว สามารถทำให้เกิดโรค ได้แก่ เชื้อรา ซึ่งมีส่วนขยายพันธุ์ต่างๆ ที่เป็น inoculum เช่น สปอร์ conidia เส้นใย rhizomorph, sclerotium เซลของบักเตรี อนุภาคของวิสา เมล็ดของพืชชั้นสูง ไข่และตัวอ่อนของไส้เดือนฝอย โรคจะระบาดไปยังต้นพืชปกติ และท้องถิ่นต่างๆ โดยการแพร่กระจายของ inoculum โดยทางลม นํ้า แมลง มนุษย์ สัตว์ และเครื่องทุ่นแรงทางการเกษตรต่างๆ ฯลฯ
ปริมาณหรือจำนวนของ inoculum มีส่วนโดยตรงต่อการเกิดและระบาดของโรคมาก เชื้อบางชนิดหากไม่มีพืชอาศัย แต่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม … Read More

โรคเกิดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม

ENVIRONMENTAL FACTORS THAT CAUSE PLANT DISEASES
พืชจะเจริญเติบโตได้ดี เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นในดิน แสงสว่าง แร่ธาตุอาหารพืช และความเป็นกรด-ด่างของดิน พืชที่เจริญเติบโตตามสภาพธรรมชาติ อาจเจริญได้ดีตามปกติเฉพาะบางชนิด พืชที่เพาะเลี้ยงในเรือนกระจก ก็ย่อมขึ้นอยู่กับการปฏิบัติทางการเกษตรต่างๆ เช่น การให้ปุ๋ย การให้น้ำ การใช้ยาควบคุมศัตรูพืช ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช
โรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เป็นโรคที่ไม่มีเชื้อเป็นสาเหตุ โรคไม่สามารถถ่ายทอด หรือระบาดไปยังพืชอื่นๆ พืชอาจเป็นโรคได้ทุกระยะการเจริญ เช่นเมล็ด ต้นกล้า ต้นที่เจริญเต็มที่แล้ว และ ผล การเกิดโรคเกิดขึ้นทั้งที่ยังปลูกอยู่ในไร่ หรือระหว่างการเก็บ และขนส่งออกสู่ตลาด ความรุนแรงของโรค มีแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพแวดล้อม อาการโรคอาจมีเพียงเล็กน้อย จนถึงทำให้พืชตายได้… Read More

โรคพืิชที่เกิดจากแมลง

โรคเกิดจากแมลง ไร แมงมุม และอาร์โธรปอดอื่นๆ
PLANT INJURY CAUSED BY INSECTS, MITES, SPIDERS AND OTHER ARTHROPODS
โรคเกิดจากแมลง Plant Injury Due to Insects
ความเสียหายของพืชที่เกิดจากแมลงเป็นสาเหตุ ความเสียหายที่เกิดจากการกัด (chewing) เลีย  และแทงดูด (piercing and sucking) และความเสียหายที่เกิดจากทางเคมีร่วมด้วยโดยตรง โดยเฉพาะจากแมลงปากดูดที่ปล่อยสารพิษจากต่อมนํ้าลายลงสู่เนื้อเยื่อพืชขณะดูดกิน นอกจากความเสียหายที่ได้รับโดยตรงแล้ว แมลงยังทำความเสียหายแก่พืชโดยทางอ้อม ในการเป็นพาหะนำโรค และให้เชื้อสาเหตุ โรคอยู่ข้ามฤดู
สารพิษที่แมลงปล่อยลงสู่พืชขณะดูดกินนี้จะซึมซาบเข้าไปในเนื้อเยื่อ เป็นสาเหตุให้พืชมีอาการคล้ายกับอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อรา บักเตรี และวิสา โดยสารพิษไปรบกวนการ … Read More

โรคเกิดจากสาหร่ายและพืชชั้นสูง

ALGAL DISEASES AND PHANEROGAMS
โรคเกิดจากสาหร่าย Algal Diseases
สาหร่าย (algae) เป็น eucaryotes ที่มีรงควัตถุสามารถสังเคราะห์แสงในการปรุงอาหารเอง สาหร่ายส่วนมากมีรงควัตถุเป็น chlorophyll a และอยู่เป็นเซลเดี่ยวๆ (unicellular) เรียกว่า phytoplankton มีน้อยที่ประกอบด้วยเซลมากมาย (multicellular) คือ seaweeds ซึ่งอาจมีขนาดยาวใหญ่ แต่ไม่มีโครงสร้างเป็นลักษณะเฉพาะแต่อย่างไร เพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่าเท่านั้น
สาหร่ายแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ โดยอาศัยความแตกต่างของรงควัตถุที่ใช้สังเคราะห์แสงเป็นหลักได้ 5 กลุ่ม สาหร่ายมี nucleus เห็นเด่นชัด สาหร่ายกลุ่ม green algae เก็บสะสมอาหารในรูปแป้ง ส่วนกลุ่มอื่นๆ อาจเป็น glucans … Read More

โรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย

โรคไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne)
ไส้เดือนฝอยรากปม เข้าทำลายพืชได้กว้างขวางไม่น้อยกว่า 2,000 species พบในเขตอบอุ่นเขตร้อน และการเพาะปลูกในเรือนกระจก เข้าทำลายปลายราก ทำให้พองเป็นปม พืชชงักการเจริญเติบโต สามารถทำความเสียหายได้ตั้งแต่ระยะกล้า ซึ่งถ้าเป็นพันธุ์พืชที่เป็นโรคง่าย พืชจะตาย ถ้าเป็นกับต้นแก่ พืชจะให้ผลผลิดตํ่า
เชื้อสาเหตุโรค : Meloidogyne sp.
ไส้เดือนฝอยเพศผู้และเพศเมียเมื่อโตเต็มวัย มีลักษณะต่างกันอย่างแน่ชัด เพศผู้มีลักษณะเรียวยาว ขนาดประมาณ 1.2-1.5 มม. X 30-36 µm ส่วนเพศเมียมีลักษณะคล้ายลูกแพร์ ขนาด 0.40-1.30 X 0.27-0.75 มม. เพศเมียวางไข่ครั้งหนึ่งได้ 500 ฟองปนมากับเมือกที่ไส้เดือนฝอยสร้างขึ้น กาฟักเป็นตัวและเจริญมีตามลำดับดังนี้

ระยะที่ Read More

กลไกการฆ่าไส้เดือนฝอยของสารเคมี

(Mode of chemical action)
สารเคมีฆ่าไส้เดือนฝอยแต่ละประเภทอาจออกฤทธิ์ฆ่าไส้เดือนฝอยในระยะการเจริญของไส้เดือนฝอยที่แตกต่างกัน แต่ยังเข้าใจได้ไม่ทั้งหมด สารเคมีฆ่าไส้เดือนฝอยบางชนิดมีคุณสมบัติฆ่าแมลงได้ด้วย สารนี้จะไปทำลาย acetyl choline-choline esterase system ในการส่งสัญญาณประสาท ทำให้การรับความรู้สึกและการเคลื่อนที่ผิดปกติไป ไส้เดือนฝอยจึงตายในที่สุด
สารเคมีฆ่าไส้เดือนฝอย
– สลายตัวเพราะสภาพแวดล้อมต่างๆ สิ่งกีดกั้นภายนอกของไส้เดือนฝอย (cuticle, เปลือกไข่)
-สูญเสียไปกับเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่ยาออกฤทธิ์ไม่ได้ผล
-การกำจัดพิษ
-การขับถ่าย
-การเป็นพิษ (อาจจากสารอื่นที่กลายเป็นสารพิษได้)
สิ่งกีดกั้นภายในเซล (เช่นเยื่อหุ้ม mitochondria และ ปลายประสาท เป็นต้น)
การแข่งขันกันเองระหว่างโมเลกุล (สารเอนไซม์ ธรรมขาติต่างๆ)
Receptor – Acetylcholinesterase ปลายประสาท … Read More

การแยกไส้เดือนฝอยศัตรูพืช

การแยกไส้เดือนฝอยศัตรูพืช โดยทั่วไปจะแยกจากเนื้อเยื่อของพืชส่วนที่เป็นโรค เช่น ลำต้น ใบ หัว รากที่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน หรือจากดินที่อยู่รอบรากพืชที่ถูกไส้เดือนฝอยเข้าทำลายตามวิธีการต่างๆ การเก็บตัวอย่างไส้เดือนฝอยจากดิน ควรใช้ samping tube เข้าช่วย และตัวอย่างดินหรือส่วนของพืชที่เป็นโรคควรเก็บไว้ในถุงพลาสติก ภายในอุณหภูมิประมาณ 15-25°ซ. จะทำให้ไส้เดือนฝอยคงชีวิตอยู่ได้หลายวันหรือหลายสัปดาห์แล้วแต่ชนิดของไส้เดือนฝอย
วิธีการของ Baermann funnel โดยการห่อดินตัวอย่างด้วยกระดาษทิชชู วางบนตะแกรงที่อยู่บนกรวยซึ่งมีน้ำอยู่ ขนาดกรวยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12-15 ซม. ปลายกรวยสวมด้วยท่อยาง และมีคลิปหนีบอยู่ ให้ระดับนํ้าในกรวยสูงพอดีสัมผัสกับห่อดินพอเปียก ไส้เดือนฝอยจะเคลื่อนที่ในดินที่เปียกนั้น ผ่านกระดาษลงน้ำสู่ก้นกรวย ภายใน 1 วัน นำไส้เดือนฝอยไปตรวจโดยการเปิดคลิปต่อไป สำหรับส่วนของพืชที่เป็นโรค เช่นราก กิ่ง เป็นต้น ให้วางบนตะแกรงได้โดยตรง หลังจากล้างดินออกหมดแล้ว… Read More

อาการโรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย

ความสัมพันธ์ระหว่างไส้เดือนฝอยกับจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชอื่น (Interrelationships between nematodes and other plant pathogens)
ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชมีชีวิตอยู่ในดิน โดยในดินนั้นย่อมมีเชื้อรา บักเตรี วิสาที่แต่ละชนิดก็เป็นสาเหตุของโรคพืชอยู่ด้วยการที่ไส้เดือนฝอยที่เป็นสาเหตุของโรคพืชอยู่ร่วมกับจุลินทรีย์อื่นดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุที่ซับซ้อนต่อการทำให้พืชเป็นโรคได้มากขึ้นกว่าจุลินทรีย์แต่ละชนิดเป็นสาเหตุโดยลำพัง
ความสัมพันธ์ของไส้เดือนฝอยกับโรคเกิดจากเชื้อรา
มีกลไกที่เกียวข้องต่อการเกิดโรค และความรุนแรงของโรค ดังนี้
1. ไส้เดือนฝอยเข้าทำลายพืชด้วยการแทงผ่านทำให้เกิดแผล เชื้อราเข้าทำลายง่ายขึ้นพืชมีปฏิกริยา ต้านทานโรคต่อเชื้อราน้อยลง เพราะพบกลุ่มเส้นใยอยู่ในส่วนของพืชที่เป็นโรคเกิดจากไส้เดือนฝอยมากกว่า พืชที่เป็นโรคโดยไม่มีไส้เดือนฝอยเป็นสาเหตุร่วมอยู่ด้วย
2. ไส้เดือนฝอยทำให้สารที่ไหลซึมออกจากเนื้อเยื่อของพืชอาศัยเปลี่ยนแปลง เนื่องจากระบบ metabolism ถูกรบกวน(ปกติสารที่ไหลซึมออกทางรากเป็นกรดอินทรีย์น้ำตาลต่างๆ polysaccharides,-amino acid nucleotides และ flavonones) ไส้เดือนฝอยรากปมทำให้สารแตกตัวออกมาจากปมรากพืชที่เป็นโรคมากขึน จึงมีผลโดยตรงต่อการชักนำเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคอื่นๆ มายังรากมากขึ้น ตลอดจนเชื้อราที่ยังอยู่ในรยะฟักตัว ก็จะได้รับการกระตุ้นจากสารดังกล่าว ให้เข้าทำลายรากซ้ำเติมอีก นอกจากนี้ยังพบด้วยว่ารากบางส่วนของต้นสะระแหน่ที่มีไส้เดือนฝอย Pratylenchus … Read More

การเข้าทำลายพืชของไส้เดือนฝอย

ไส้เดือนฝอยเข้าทำลายพืช โดยการเจาะผ่านด้วยหลอดดูดอาหารทำให้เกิดแผลอันเป็นวิธีกลที่ทำความเสียหายให้เพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ความเสียหายจะเกิดจากน้ำลาย (saliva) ที่ไส้เดือนฝอยปล่อยเข้าสู่พืชขณะดูดกิน น้ำลายนี้สร้างโดยต่อมต่างๆ แล้วไหลสู่ลำคอ ซึ่งเป็นอวัยวะที่เชื่อมกับลำไส้ของ

ภาพการแทงผ่านผิวรากขนอ่อน (Nicotiana tabacum) ของไส้เดือนฝอย (Trichodorus similis) แสดงการย่อยหลังจากหลอดดูดอาหารเข้าสู่ nucleus และ cytoplasm ของเซล (ที่มา:Endo, 1975)
ระบบการย่อย แล้วน้ำลายจะลงสู่พืชโดยผ่านทางหลอดดูดอาหาร ไส้เดือนฝอยบางชนิดเจาะผนังเซลพืช ปล่อยน้ำลายลงสู่เซล แล้วดูดส่วนต่างๆ ภายในเซลพืชเข้าสู่ไส้เดือนฝอยโดยใช้เวลาอย่างรวดเร็ว ภายในเวลา 2-3 วินาที เท่านั้น แต่บางชนิดใช้เวลานานมาก เพียงการเจาะผ่านผนังเซลอย่างเดียวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน สำหรับไส้เดือนฝอยเพศเมียที่เป็นปรสิตอยู่ในหรือบนรากอย่างถาวร จะปล่อยน้ำลายลงสู่พืชเป็นครั้งคราว ขณะดูดกินพืชตลอดการเป็นปรสิตพืช
น้ำลายของไส้เดือนฝอยจะช่วยในการเจาะผ่านผนังเซล ไปละลายสารต่างๆ ในเซล … Read More

การจำแนกไส้เดือนฝอยศัตรูพืช

ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกเป็นไส้เดือนฝอยอยู่ในพืชที่ส่วนของพืชเหนือระดับผิวดิน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นไส้เดือนฝอยอยู่ในหรือบนส่วนของพืชที่อยู่ใต้ระดับผิวดิน
หากจะพิจารณาถึงปกติวิสัยของไส้เดือนฝอยในการปรสิตกับพืช อาจแบ่งออกแบ่งออกเป็นปรสิตอยู่ภายนอกพืช (ectoparasites) โดยไส้เดือนฝอยกินอาหารบนเซลหรือใกล้ผิวราก ไส้เดือนฝอยพวกนี้ปกติจะไม่เข้าไปในเนื้อเยื่อราก และปรสิตภายในพืช (endoparasites) โดยไส้เดือนฝอยจะเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อและกินอาหารภายในของพืชอาศัยนั้น ดังรายละเอียด พร้อมทั้งชนิดของไส้เดือนฝอยที่เกี่ยวข้อง
การเป็นปรสิตของไส้เดือนฝอยศัตรูพืช
A. การเป็นปรสิตอยู่ภายนอกพืช ไส้เดือนฝอยอยู่นอกพืช โดยมีบางส่วนของไส้เดือนฝอยเท่านั้นที่แทงผ่านเข้าไปอยู่ในพืช
ก. บริเวณผิวของเนื้อเยื่อ ได้แก่ไส้เดือนฝอย Trichodorus, Paratylenchus และ Tylenchorhynchus ไส้เดือนฝอยดูดกินอาหารที่ epidermal cell ของรากขนอ่อน และที่รากขนอ่อนไม่ถึง cortex ไส้เดือนฝอยที่ทำความเสียหายมากที่สุดได้แก่ Trichodorus พบดูดกินบริเวณปลายรากจำนวนมากมายทำให้รากกุด เพราะไม่มีการแบ่งเซลเกิดขึ้น
ข. บริเวณใต้ผิวเนื้อเยื่อ ได้แก่ไส้เดือนฝอย … Read More