Month: December 2013

สำมะง่า

(Garden Quinine)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum inerme (L.) Gaertก.
ชื่อวงศ์ LABIATAE
ชื่ออื่น สำลีงา สำมะลีงา (ภาคตะวันออก), เขี้ยวงู (ภาคตะวันตก) ส้มเนรา สักขรีย่าน สำปันงา (ภาคใต้), สำมะลีงา (ทั่วไป)
ถิ่นกำเนิด อินเดีย
ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูง 1-3 ม. มีขนนุ่มคลุมส่วนอ่อนๆ ทั้งหมด


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี-หรือรูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 5-8 ซม. … Read More

สารภีทะเล

(Alexandrian Laurel)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Calophyllum inophyllum L.
ชื่อวงศ์ GUTTIFERAE
ชื่ออื่น กระทิง กากะทิง (ภาคกลาง), ทิง (กระบี่), เนาวกาน (น่าน) สารภีทะเล (ประจวบคีรีขันธ์), สารภีแนน (ภาคเหนือ)
ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย มาลายู
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 8-20 ม. ไม่ผลัดใบ ลักษณะพิเศษพบว่ามีน้ำยางเหลืองใสๆ เปลือกต้นสีเทาเรียบหรือน้ำตาลปนเหลือง เปลือกในสีชมพูเนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่ รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ … Read More

เล็บมือนาง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Aegiceras corniculatum (L.) Blanco
ชื่อวงศ์ MYRSINACEAE
ชื่ออื่น เล็บนาง (สตูล), แสมแดง (ชุมพร) แสมทะเล (ปัตตานี), ลำพู (ตราด)
ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบ สูง 3-7 ม. แตกกิ่งในระดับต่ำ ใกล้โคนต้น มีพูพอนเล็กน้อย เปลือกต้นเรียบสีเทาเข้มถึงสีน้ำตาลแดง


ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง หนาแน่นที่ปลายกิ่ง แผ่นใบหนา คล้ายแผ่นหนัง รูปไข่กลับถึงรูปรี กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 4-9 ซม. ปลายใบแหลมถึงเว้าตื้นๆ … Read More

ลำพูทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Sonneratia alba J. Smith
ชื่อวงศ์ SONNERATIACEAE
ชื่ออื่น ลำแพน ลำแพนทะเล (กลาง) ปาด (พังงา, ภูเก็ต), รำป๊าด (สตูล)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งระดับตํ่า เปลือกต้นสีนํ้าตาลอมชมพู หรือเทา รากหายใจตั้งตรงรูปกรวยคว่ำ


ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ ขนาด กว้าง 3-7 ซม. ยาว 4-11 ซม. ปลายใบกว้าง กลม โคนใบรูปลิ่มแคบ ใบสีเขียวมีนวลเส้นใบกางออกกว้างเห็นไม่ชัด ก้านใบอวบสั้น ยาว … Read More

โพธิ์ทะเล

(Cork Tree)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thespesia populnea (L.) Sol. ex Correa
ชื่อวงศ์ MALVACEAE
ชื่ออื่น ปอกะหมัดไทร (ราชบุรี), ปดหมัดไทร (เพชรบุรี), บากู (ปัตตานี, มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไป ไม่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 10-15 ม. เปลือกต้นด้านนอกสีชมพูอมนํ้าตาลอ่อนผิวขรุขระเป็นตุ่มเล็กๆ ตลอดลำต้น เนื้อไม้สีน้ำตาลอมแดงคลํ้า มีริ้วสีอ่อน มีเสี้ยน เป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย


ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับกันรูปหัวใจกว้าง 12 ซม. ยาว 15 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา โคนใบเว้าปลายใบแหลม… Read More

พังกาหัวสุมดอกแดง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Bruguiera gymnorrhiza (L.) Savigny
ชื่อวงศ์ RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น ประสัก ประสักแดง โกงกางหัวสุม พังกาหัวสุม (กลาง), พลัก
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-35 ม. ทรงพุ่มกลม ทึบ โคนต้น มีพูพอนสูง และมีช่องอากาศขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป มีรากหายใจ คล้ายหัวเข่า เปลือกต้นหยาบสีนํ้าตาลดำ ถึงดำแตกเป็นร่องตามยาว ไม่เป็นระเบียบ


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่แกมรีหรือรูปรี กว้าง
4-9 ซม. ยาว 8-20 ซม. โคนใบมน … Read More

พังกาหัวสุมดอกขาว


ชื่อวิทยาศาสตร์ Bruguiera sexangula Poir.
ชื่อวงศ์ RHIZ0PH0RACEAE
ชื่ออื่น ขลัก (ชุมพร). พังกาหัวสุม (กระบี่, ตรัง) ประสักขาว, ประสักหนู
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. โคนต้นมีพูพอนสูง รากหายใจรูปคล้ายเข่า มีรากค้ำจุนขนาดเล็ก กิ่งอ่อนสีเขียว บางครั้ง เหมือนถูกย้อมด้วยสีแดง เปลือกต้นสีเทาเข้มถึงสีนํ้าตาลอมเทา ผิวเปลือกหยาบเป็นสะเก็ด แตกเป็นร่องตามยาว ช่องอากาศขนาดใหญ่มีน้อย มีเฉพาะที่พูพอน


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทาง แผ่นใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน แกมรูปรี กว้าง 3-6 ซม. ยาว 8-16 … Read More

ฝาดดอกแดง

(Bind-poll)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lumnitzera littorea (Jack) Voigt.
ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่ออื่น ตำเสาทะเล (พังงา. กระบี่. ตรัง)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้น เป็นไม้เนื้อแข็ง สูง 10-15 ม. อาจสูงถึง 30 ม. ลำต้นคดเคี้ยว เปลือกต้นสีเทาน้ำตาลมีรอยแตกเป็นร่องลึก เปลือกในสีแดงเข้มหรือส้ม ชูทรงพุ่ม ขึ้นสูง แผ่กิ่งก้านไม่แน่นอน มีรากหายใจรูปคล้ายเข่า
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่งหนาแน่นที่ปลายกิ่ง แผ่นใบหนา รูปรีแกมรูปไข่กลับหรือแกมรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 1-3 ซม. ยาว 3-9 … Read More

ฝาดดอกขาว

(Butterfly-poll)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lumnitzera racemosa Willd
ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่ออื่น ฝาด (กลาง, ใต้), ขวาด (สมุทรสาคร) กะสูง (ชุมพร)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 8 ม. เปลือกต้นขรุขระสีน้ำตาลแดง มีรากหายใจไม่เด่นชัด


ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง กระจายตลอดกิ่ง แผ่นใบแคบ รูปไข่กลับกว้าง 1-3 ซม. ยาว 3-9 ซม.ปลายใบกลมเว้าตื้นๆ โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ หรือหยักมนถี่ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ก้านใบสั้นมาก
ดอก สีขาวออกที่ปลายกิ่งและง่ามใบ … Read More

โปรงแดง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Ceriops tagal (Perr.) C.B.Rob.
ชื่อวงศ์ RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น ปรง (จันทบุรี, สมุทรสาคร) โปรงแดง (สมุทรสาคร), แสม (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 7-15 ม. โคนต้น มีพูพอนเล็กน้อยมีรากคํ้าจุนขนาดเล็ก รากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วนกลมยาว 12-20 ซม. เหนือผิวดิน สีนํ้าตาลอมชมพู ทรงพุ่มกลม สีเข้ม กิ่งสีเขียว มีช่องอากาศเล็กๆ เปลือกต้นสีชมพูเรื่อๆ หรือน้ำตาลอ่อนเรียบถึงแตกเป็นสะเก็ด ต้นแก่มีรอยแผลเป็น


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สลับทิศทาง เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง … Read More