Month: March 2014

อายุปักแจกันไม้ดอก


การใช้ประโยชน์จากไม้ตัดดอกในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น และสามารถส่งออกทำรายได้เข้าประเทศปีละมากๆ ราคาของไม้ตัดดอกเหล่านี้ค่อนข้างสูง แต่อายุการใช้ประโยชน์ค่อนข้างสั้น ทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่คุ้มค่ากับการใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงได้มีความพยายามที่จะยืดอายุการใช้งานไม้ตัดดอกเหล่านี้ให้นานขึ้น โดยขั้นแรกจำเป็นต้องหาสาเหตุของการเสื่อมสภาพของไม้ตัดดอกเหล่านี้เสียก่อน ในที่สุดจึงพบว่าสาเหตุสำคัญอันหนึ่งของการเสื่อมสภาพคือเอทิลีนที่ดอกไม้สร้างขึ้น อย่างไรก็ตาม เอทิลีนไม่ใช่เป็นเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วยหลายประการเมื่อนำสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้ดอกไม้เสื่อมสภาพมาประมวลเข้าด้วยกันแล้วหาทางแก้ไขที่ต้นเหตุเหล่านี้ จึงทำให้เราใช้ประโยชน์จากไม้ตัดดอกได้นานขึ้น

การเสื่อมสภาพของดอก
ดอกไม้ในขณะที่ยังอยู่บนต้นจะได้รับธาตุอาหารและนํ้าซึ่งส่งขึ้นมาจากราก ใบที่ติดอยู่บนกิ่งจะทำหน้าที่สังเคราะห์แสงเพื่อเลี้ยงกิ่งนั้น เมื่อมีการตัดดอกออกมาจากต้นจะทำให้ระบบการส่งน้ำและอาหารถูกตัดขาดออก ดอกไม้นั้นจะเข้าสู่ระยะชราภาพอย่างรวดเร็วและแห้งเหี่ยวไป การนำก้านดอกแช่ในนํ้าเป็นเพียงการช่วยรักษาความเต่งของเซลล์เท่านั้น โดยไม่ได้ทำให้กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชราภาพเกิดช้าลง

ฮอร์โมนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพดอกคือเอทิลีน ผลจากเอทิลีนที่ดอกสร้างขึ้นจะทำให้กลีบดอกมีสีซีดลง กลีบดอกเหี่ยว และหมดสภาพการใช้งานโดยปกติกลีบดอกทำหน้าที่ล่อแมลงเพื่อให้เข้ามาดูดนํ้าหวาน ซึ่งจะก่อให้เกิดการผสมเกสร เมื่อการผสมเกสรเกิดขึ้น แล้วกลีบดอกก็จะหมดหน้าที่ไป และจะเกิดการขยายขนาดของรังไข่ขึ้นมาแทนและเจริญต่อไปกลายเป็นผล ในขณะที่เกิดการผสมเกสรจะพบว่ามีการสร้างเอทิลีนขึ้นมามากในบริเวณรังไข่ ซึ่งก๊าซเอทิลีนนี้จะแพร่กระจายออกมาทำให้กลีบดอกเหี่ยวและหมดสภาพ ดังนั้นดอกที่ตัดออกมาจากต้น ถ้าผ่านการผสมเกสรแล้วจะทำให้อายุการปักแจกันสั้นลงกว่าปกติ ในบางกรณีที่ดอกไม่เกิดการผสมเกสร แต่เกสรตัวผู้หรือตัวเมียถูกทำลาย ก็จะเกิดการเหี่ยวของกลีบดอกได้เช่นกัน โดยเป็นผลมาจากเอทิลีนในสภาวะเครียดที่ดอกสร้างขึ้นเมื่อเกิดบาดแผล นอกจากนั้นการตัดก้านดอกออกมาจากต้นก็จะเกิดการสร้างเอทิลีนในสภาวะเครียดที่บริเวณรอยแผลนั้น ซึ่งจะมีผลอย่างมากในการทำให้ก้านดอกอุดตัน … Read More

การพักตัวของพืช


พืชที่ปลูกในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีอยู่หลายชนิดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว (temperate area) เช่น องุ่น ส้ม มันฝรั่ง และไม้ดอกเขตหนาวชนิดต่างๆ พืชเหล่านี้มีลักษณะนิสัยที่แตกต่างจากพืชเขตร้อนคือ จะมีการพักตัวเมื่อได้รับอากาศเย็นจัด การพักตัวของพืชเป็นลักษณะทางธรรมชาติอันหนึ่งเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ โดยการหยุดการเติบโตในช่วงที่มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม และเริ่มเติบโตต่อไปเมื่อกลับสู่สภาพปกติ เช่น ฤดูหนาวในต่างประเทศ ซึ่งหนาวจัดและมีหิมะตก ในสภาพเช่นนี้ พืชไม่สามารถเติบโตได้อย่างปกติ จึงมีการทิ้งใบเหลือแต่กิ่งก้านขนาดใหญ่ไว้ ถ้าเป็นพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดินก็พบว่า ส่วนลำต้นที่เจริญอยู่เหนือดินจะแห้งตายไปแต่หัวยังคงมีชีวิตอยู่และพร้อมที่จะเจริญงอกงามใหม่เมื่อเข้า สู่ฤดูใบไม้ผลิ (spring) ปรากฏการณ์เช่นนี้พบได้เสมอในพืชเขตหนาว แต่เมื่อมีการนำพืชเหล่านี้มาปลูกในประเทศไทย ซึ่งมีอุณหภูมิสูงอยู่ตลอดเวลา อาจพบว่ามีทางเป็นไปได้ 2 ทางคือ ประการแรก พืชจะมีการเติบโตอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีการพักตัว เช่น องุ่น ส่วนอีกประการหนึ่งพืชจะมีการพักตัวหลังการเก็บเกี่ยวทั้งๆ ที่อยู่ในอุณหภูมิสูง เช่น มันฝรั่ง แกลดิโอลัส และพืชหัวอีกหลายชนิด … Read More

การสุกของผลไม้


การสุก (ripening) เป็นกระบวนการที่ผลไม้เข้าสู่ระยะชราภาพ โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างภายในผล เช่น ผลจะอ่อนนุ่ม เกิดกลิ่นตามชนิดของผลไม้นั้น รสชาติหวานขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล ปริมาณกรดลดลง ผิวเปลี่ยนสีเป็นสีแดงเหลืองหรือสีอื่นๆ ตาม ชนิดของผลไม้ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องใช้พลังงานอย่างมาก ซึ่งพลังงานนี้จะได้มาจากการหายใจที่เกิดขึ้นภายในผล การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นรวดเร็วมาก ผลจะเปลี่ยนสภาพจากผลดิบกลายเป็นผลสุกภายในเวลาไม่กี่วัน ในช่วงที่ผลสุกนี้จะมีการหายใจสูงมากจึงเรียกผลไม้เหล่านี้ว่า climacteric fruit เช่นมะเขือเทศ มะม่วง ละมุด กล้วย ทุเรียน ส่วนผลไม้อีกประเภทหนึ่งเมื่อผลแก่จัดแล้วไม่มีการสุกเกิดขึ้น การหายใจในผลอยู่ในระดับตํ่า เรียกว่า non-climacteric fruit ได้แก่ ส้ม สับปะรด มะนาว เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ ผลไม้เหล่านี้ เมื่อเก็บเกี่ยวมาแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงภายในผลเกิดขึ้นน้อยมาก รสชาติของผลมักจะคงที่ … Read More

แนวคิดในการกำจัดขยะก้นกรองบุหรี่โดยฝังเมล็ดพันธุ์พืช

แต่ละปีมีก้นกรองบุหรี่ถูกทิ้งประมาณ 5ล้านล้านชิ้น

เป็นปริมาณขยะหนักถึง 1,700,000,000 ปอนด์

ก้นกรองบุหรี่ 1 ชิ้น ใช้เวลาในการย่อยสลาย 10-15 ปี

green-butts เป็นองค์กรรณรงค์ลดขยะจากก้นกรองบุหรี่ที่โดนทิ้ง

โดยมีแนวคิดในการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำก้นกรอง เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้รวดเร็ว
(ทำด้วย ปอ, ป่านและฝ้าย)

กำจัดก้นกรองบุหรี่

ภาพที่ทุกท่านเห็นด้านบน คือ ผลงานของ Ben Forman  นักออกแบบชาวอังกฤษ

นำเสนอแนวคิด ในการกำจัดปัญหามลพิษจากก้นกรองบุหรี่ที่โดนทิ้งเป็นขยะเกลื่อนกราด

เขาคิดว่าทำไมไม่เปลี่ยนขยะให้เป็นสิ่งสวยงาม

“Cigg Seeds” คือ บุหรี่ที่มีก้นกรองทำจากวัสดุย่อยสลายง่าย ซึ่งภายในบรรจุเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ป่า

เมื่อไรก็ตามที่ก้นกรองบุหรี่ถูกทิ้งบนพื้นดิน ดอกไม้ที่สวยงามจะขึ้นมาแทนที่

แม้ว่าวิธีนี้จะไม่ได้ผลนักในเขตเมืองที่มีสภาพพื้นเป็นคอนกรีตเสียส่วนใหญ่

แต่ก็เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับชายหาด สวนสาธารณะ และพื้นที่สีเขียวอื่น ๆ

*** … Read More

พัฒนาการของผลพืช


ดอกของพืชมีหน้าที่สำคัญในการแพร่กระจายพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามดอกจำเป็นต้องพัฒนาไปเป็นผลและเมล็ดเสียก่อน ความหมายที่แท้จริงของผลคือส่วนของรังไข่ที่พัฒนาขึ้นมาจากดอก เมล็ดคือส่วนที่พัฒนามาจากไข่ซึ่งอยู่ภายในรังไข่นั้น ในปัจจุบันเราต้องการผลเพื่อใช้ ในการบริโภคมากกว่าการใช้เพื่อขยายพันธุ์ จึงได้มีการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีผลขนาดใหญ่ เนื้อมาก และเป้าหมายที่สำคัญคือต้องการผลที่ไม่มีเมล็ด หรือเมล็ดลีบ เมื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์จากผลไม้เปลี่ยนไปเช่นนี้ เทคโนโลยีต่างๆ จึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพื่อให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่ต้องการ รวมทั้งการใช้ PGRC ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาของผล อย่างไรก็ตามความพยายามดังกล่าวยังไม่สัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริง และยังต้องอาศัยเวลาและความรู้อักมาก ซึ่งคาดว่าในอนาคตเราจะสามารถใช้ PGRC ในการบังคับการพัฒนาของผลได้อย่างถูกต้องและได้ผล

การติดผล (fruit setting)
การติดผลเป็นกระบวนการเริ่มแรกของการพัฒนาจากดอกไปเป็นผล เมื่อดอกบานเต็มที่และพร้อมที่จะรับการผสมเกสรจะสังเกตได้ว่าอับละอองเกสรตัวผู้จะแตกออก และปลดปล่อยละอองเกสรตัวผู้ซึ่งมีขนาดเล็กมากออกมา เมื่อละอองเกสรตัวผู้นั้นไปสัมผัสกับยอดเกสรตัวเมียไม่ ว่าด้วยวิธีใดก็ตามจะเกิดการพัฒนาต่อไปโดยละอองเกสรตัวผู้จะยืดตัวออกเป็นหลอดยาวงอกลงไปตามก้านเกสรตัวเมียเพื่อเข้าไปผสมกับไข่ซึ่งอยู่ภายในรังไข่นั้น และเกิดการปฏิสนธิขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกของการติดผล ดังนั้นปัจจัยสำคัญในการติดผล จึงขึ้นอยู่กับความสามารถใน การงอกของละอองเกสรตัวผู้และความสามารถในการปฏิสนธิภายในรังไข่ ละอองเกสรตัรผู้มีจำนวนมาก แต่มีความสามารถในการงอกได้แตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมหลายอย่างเช่น อุณหภูมิและความชื้นนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่เกี่ยวข้องกับการติดผล ซึ่งแยกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้… Read More

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอกของพืช

การเกิดดอก
ดอกพืชเป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นจุดเริ่มแรกของการขยายพันธุ์ โดยการพัฒนาต่อไปเป็นผลและเมล็ด ไม้ดอกหลายชนิดถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่มีดอกขนาดใหญ่ สีสวยและออกดอกสมํ่าเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกไม้ล้มลุก และขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งผลิตขึ้นมาจากต้นพ่อและแม่ที่ได้รับการคัดเลือกมาแล้ว พืชเหล่านี้จงมักไม่มีปัญหาเรื่องการออกดอก ถ้ามีการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง ส่วนไม้ผลหลายชนิดมีปัญหาว่าบางครั้งไม่ออกดอกทั้งๆ ที่ถึงฤดูกาลที่เหมาะสมแล้วก็ตาม การแก้ปัญหาเรื่องการออกดอกของไม้ผลจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก เนื่องจากผลผลิตของไม้ผลขึ้นอยู่กับการออกดอกเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามปัจจุบันเรายังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ แต่ก็ยังอยู่ในความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ทั้งทลาย ซึ่งยังต้องอาศัยเวลาอีกนาน

จากความพยามยามของนักวิทยาศาสตร์ดังกล่าวทำให้เราทราบถึงปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกดอกของพืชบางชนิด และหนึ่งในปัจจัยสำคัญนั้นคือฮอร์โมนพืช ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกของพืช มีกี่ชนิด อะไรบ้าง สร้างขึ้นอย่างไร ยังเป็นปัญหาที่ไม่มีผู้ใดให้คำตอบได้ เคยมีผู้เสนอว่าการออกดอกของพืชถูกควบคุมโดยฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่พืชสร้างขึ้น ซึ่งเรียกว่าฟลอริเจน (florigen) แต่จนกระทั่งทุกวันนี้ยังไม่มีผู้ใดสกัดฟลอริเจน จากพืชได้เลย และไม่สามารถให้ความกระจ่างได้ว่า ฟลอริเจนมีจริงหรือไม่ เคยมีรายงานว่า จิบเบอเรลลิน น่าจะเป็นฟลอริเจนเนื่องจากเร่งการออกดอกของพืชได้ แต่ต่อมามีข้อโต้แย้งว่า จิบเบอเรลลินก็มีผลยับยั้งการออกดอกของพืชมากชนิดเช่นกัน จึงไม่อาจจัดว่าจิบเบอเรลลิน เป็นฟลอริเจนได้ ในระยะหลังพบว่าเอทิลีนกระตุ้นให้พืชหลายชนิดออกดอกได้แต่ก็ไม่ใช่ทุกชนิด และยังพบว่าพืชบางชนิดถ้าได้รับเอทิลีนมากเกินไปจะถูกยับยั้งออกดอกแต่ถ้าได้รับสารเพียงช่วงสั้นๆ กลับออกดอกได้ … Read More

การเจริญเติบโตของพืชทางกิ่งใบ


การเติบโตของลำต้นมีความสัมพันธ์กับระบบราก ถ้ารากเติบโตได้ดีก็จะส่งผลให้ ลำต้นเติบโตได้ดีเช่นกัน การเติบโตเหล่านี้มีพื้นฐานจากการแบ่งเซลล์ การยืดตัวของเซลล์ การขยายขนาดของเซลล์ และการสะสมอาหาร ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้ล้วนถูกควบคุมโดยฮอร์โมน ภายในพืชทั้งสิ้น ความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตและฮอร์โมนเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากและยากที่จะเข้าใจหรือศึกษาได้หมด ฮอร์โมนในพืชแต่ละกลุ่มมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้งในด้านการส่งเสริมและยับยั้งการเจริญเติบโต สารที่มีผลกระตุ้นการเติบโตคือออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน สารทั้ง 3 กลุ่มนี้มีผลร่วมกันในการพัฒนาของเซลล์ จนกระทั่งพืชสามารถแตกกิ่งก้านสาขา ในกรณีที่ขาดสารกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็จะมีผลให้พืชนั้นเติบโตไม่เป็นปกติ พืชแคระหลายชนิดเช่น ถั่ว ข้าวโพด มีปริมาณจิบเบอเรลลินภายในต้นตํ่ากว่าระดับปกติ เมื่อมีการเพิ่มจิบเบอเรลลินให้แก่พืชเหล่านี้จะทำให้การเติบโตเพิ่มมากขึ้นจนเทียบเท่ากับต้นปกติ เนื่องจากจิบเบอเรลลินมีผลต่อการยืดตัวของเซลล์ ในกรณีที่พืชมีการเติบโตอย่างปกติอยู่แล้ว ถ้ามีการให้จิบเบอเรลลินเพิ่มเข้าไปอีกก็จะมีผลให้เซลล์ยืดตัวเพิ่มมากขึ้นทำให้ความสูงของต้นโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอีก แต่ลำต้นหรือกิ่งมักไม่แข็งแรงเนื่องจากมีการยืดตัวของเซลล์เพียงอย่างเดียวโดยไม่สัมพันธ์กับการแบ่งเซลล์และการขยายขนาดของเซลล์ เนื่องจากปริมาณออกซินและไซโตไคนิน ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย พืชที่ขาดธาตุสังกะสีก็เช่นกันมักจะมีกิ่งก้านสั้นกว่าปกติเนื่องจากธาตุสังกะสีมีส่วนสำคัญต่อการสร้างออกซินภายในพืชซึ่งจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์และขยายขนาดของเซลล์

การแตกกิ่งก้านสาขาของพืช การขยายขนาดของใบ และการยืดกิ่งเพื่อรับแสง ถูกควบคุมโดยออกซินเช่นกัน ในกรณีที่พืชมีตายอดอยู่ มักจะไม่มีการแตกกิ่งแขนง เนื่องจากตายอดเป็นแหล่งสร้างออกซินที่สำคัญและส่งสารออกซินลงมาตามกิ่ง ซึ่งมีผลทำให้ตาข้างเกิดการสะสมออกซินมากเกินไปจนกระทั่งไม่สามารถเจริญออกมาเป็นกิ่งได้แต่เมื่อมีการตัดยอดทิ้งไป จะทำให้ความเข้มข้นของออกซินในตาข้างลดลงจนอยู่ในระดับเหมาะสมและเจริญออกมาเป็นกิ่ง … Read More

การใช้สารเร่งรากของพืช

การเกิดราก
รากพืชทำหน้าที่สำคัญในการดูดนํ้าและธาตุอาหาร เพื่อเลี้ยงต้นพืชทั้งต้น การเจริญของรากตามปกติต้องอาศัยฮอร์โมนที่ส่งมาจากลำต้นหรือจากที่สร้างขึ้นเองที่ปลายรากเพื่อใช้ในการเติบโตยืดยาวออกไปเรื่อยๆ ฮอร์โมนที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของรากคือ ออกซิน รากต้องการออกซินปริมาณตํ่ามาก เพื่อการเติบโต ในกรณีที่มีออกซินมากเกินไป จะทำให้รากหยุดชะงักการเติบโตได้ แต่ในการเกิดจุดกำเนิดรากนั้นพืชต้องการออกซินความเข้มสูงมากระตุ้น จากหลักการอันนี้ เราจึงได้นำออกซินมาใช้ประโยชน์ในการเร่งรากของกิ่งปักชำและกิ่งตอน การเกิดรากของกิ่งปักชำและกิ่งตอนของพืชโดยทั่วๆ ไปเกิดได้ 2 กรณีคือ เกิดมาจากจุดกำเนิดรากที่มีอยู่แล้วในกิ่ง และอีกกรณีหนึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อเจริญซึ่งเกิดขึ้นเมื่อกิ่งพืชมีรอยแผล การใช้สารออกซินแก่กิ่งพืชในทั้ง 2 กรณีนี้จะช่วยให้เกิดรากได้เร็วขึ้นและมากขึ้น โดยที่ถ้าเป็นกรณีแรกออกซินจะกระตุ้นให้จุดกำเนิดรากนั้นพัฒนาออกมาเป็นราก และถ้าเป็นกรณีหลัง ออกซินจะกระตุ้นให้เนื้อเยื่อเจริญในบริเวณรอยแผลเกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว และถ้ามีสภาพแวดล้อมเหมาะสมคือ ความชื้นสูง ออกซิเจนเพียงพอและอุณหภูมิพอเหมาะ จะทำให้เนื้อเยื่อเจริญนั้นเปลี่ยนรูปไปเป็นจุดกำเนิดราก และพัฒนาออกมาเป็นรากได้ในภายหลัง ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ต้องการออกซินเป็นตัวกระตุ้นเช่นกัน

ในการเกิดรากของกิ่งปักชำและกิ่งตอนนั้นมีปัจจัยต่างๆ นอกเหนือจากออกซิน เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหลายประการ ได้แก่ ชนิดของกิ่ง ฤดูกาล อุณหภูมิ ความชื้น องค์ประกอบของวัสดุที่ใช้ปักชำหรือตอน … Read More

สารยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช

สารยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช (Plant Growth Inhibitors)
สารกลุ่มนี้มีผลยับยั้งการแบ่งเซลล์ ยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนชนิดอื่นบางชนิด และยับยั้งการเจริญเติบโตโดยทั่วๆ ไป สารยับยั้งการเจริญเติบโตที่พบในพืชมีกว่า 200 ชนิด แต่สารที่สำคัญและรู้จักกันดีคือ ABA(abscisic acid) ซึ่งมีผลควบคุมการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล การพักตัวของพืช และการคายน้ำ สาร ABA ที่สกัดได้จากพืชมีปริมาณน้อยมาก แต่สามารถแสดงผลต่อพืชได้สูง อย่างไรก็ตามไม่มีการนำสารนี้มาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ปัจจุบันมีสารสังเคราะห์หลายชนิดที่มีผลในเชิงยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช แต่มีผลทางอ้อมบางประการ ที่ส่งเสริมให้พืชมีผลผลิตมากขึ้นหรือแสดงลักษณะที่เราต้องการออกมา จึงได้มีการใช้ประโยชน์จากสารเหล่านี้เพื่อการผลิตพืชบางชนิด ตัวอย่างสารสังเคราะห์ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ maleic hydrazide หรือ MH, chlorflurenol หรือ morphactin, dikegulac-sodium ประโยชน์ของสารสังเคราะห์ดังกล่าวมีดังนี้

1. เพิ่มการแตกตาข้างRead More

สารชะลอการเจริญเติบโตของพืช

(Plant Growth Retardants)
สารชะลอการเจริญเติบโตจัดเป็น PGRC ที่พืชไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ สารในกลุ่นนี้ทั้งหมดเป็นสารอินทรีย์ที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเกษตร คุณสมบัติหลักของสารในกลุ่มนี้คือชะลอการแบ่งเซลล์และการยืดตัวของเซลล์ในบริเวณใต้ปลายยอดของกิ่งพืช จึงมีผลทำให้ต้นพืชที่ได้รับสารมีความสูงน้อยกว่าปกติ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุมความสูงของไม้ดอกไม้ประดับให้มีขนาดกะทัดรัดเหมาะแก่การปลูกในกระถาง พืชที่ได้รับสารชะลอการเจริญเติบโตมักจะมีใบหนาและเขียวเข้มกว่าปกติ ผลทางอ้อมจากการใช้สารกลุ่มนี้มีประโยชน์อย่างมากมายทางการเกษตร เช่น เพิ่มผลผลิตผักหลายชนิด เพิ่มคุณภาพผล ช่วยการติดผล เร่งการออกดอก ปัจจุบันมีสารชะลอการเจริญเติบโตหลายชนิดที่ผลิตขึ้นมาจำหน่ายในโลก และมีอยู่ 2 ชนิดที่ใช้กันมากที่สุดเมื่อเทียบกับ PGRC ชนิดอื่น นั่นคือ chlormequat และ daminozide ส่วนสารอื่นยังมีการใช้ประโยชน์น้อยกว่าแต่ก็มีความสำคัญเช่นกัน ได้แก่ ancymidol, mepiquat chloride และ paclobutrazol ประโยชน์ของสารเหล่านี้ได้แก่

1. ลดความสูงของต้นพืช ไม้ดอกและไม้ประดับสำหรับปลูกในกระถางหลายชนิด ตอบสนองต่อการใช้สารชะลอการเจริญเติบโตได้ดี สารที่นิยมใช้ในการลดความสูงของต้นไม้ … Read More