Month: March 2014

เอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทิลีน

(Ethylene and Ethylene Releasing Compounds)
เอทิลีนเป็นฮอร์โมนพืชชนิดเดียวที่อยู่ในรูปก๊าซ แต่มีผลมากมายต่อการเติบโตของพืช พืชสามารถสร้างเอทิลีนได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผลไม้ใกล้สุก ก่อนการหลุดร่วงของใบและก่อนการออกดอกของพืชบางชนิด เอทิลีนมีหน้าที่ควบคุมการแก่ของพืช ดังนั้นช่วงใดก็ตามถ้ามีเอทิลินมากก็จะเป็นการเร่งให้พืชแก่ได้เร็วขึ้น เอทิลีนมีประโยชน์ในการเกษตรอย่างมาก แต่เนื่องจากสารนี้อยู่ในรูปก๊าซจึงทำให้การใช้ประโยชน์ค่อนข้างจำกัด จึงได้มีการค้นคว้าหาสารรูปอื่นซึ่งเป็นของแข็งหรือของเหลว แต่สามารถปลดปล่อยก๊าซเอทิลินออกมาได้ จนในที่สุดพบว่า สาร ethephon (2-chloroethylphosphonic acid) มีคุณสมบัติดังกล่าว จึงได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน ประโยชน์ของเอทิลีนที่นำมาใช้ทางเกษตรมีดังนี้

1. เร่งการสุกของผลไม้ ผลไม้เมื่อแก่จัดและเข้าสู่ระยะการสุกจะมีการสร้างเอทิลีนขึ้นมาซึ่งเอทิลีนที่ผลไม้สร้างขึ้นนั้นเป็นตัวการสำคัญในการกระตุ้นให้ผลไม้สุก ดังนั้นถ้ามีการให้สารเอทิลีนในระยะที่ผลไม้แก่จัดแต่ยังไม่สุก ก็จะมีผลเร่งให้เกิดการสุกได้เร็วขึ้น การบ่มผลไม้โดยการใช้ก๊าซเอทิลีนโดยตรงมักจะทำได้ยาก เนื่องจากต้องสร้างห้องบ่มที่ปิดสนิทป้องกันอากาศถ่ายเท ซึ่งต้องมีการลงทุนสูง ชาวสวนในประเทศไทยนิยมใช้ถ่านก๊าซ (calcium carbide) ในการบ่มผลไม้แทนก๊าซเอทิลีน โดยการใช้ถ่านก๊าซห่อกระดาษแล้ววางไว้กลางเข่งที่บรรจุผลไม้ เมื่อผลไม้คายนํ้าออกมาไอนํ้าจะทำปฏิกริยาเคมีกับถ่านก๊าซ เกิดเป็นก๊าซอะเซทิลีน (acetylene) ซึ่งมีสูตรโครงสร้างและคุณสมบัติคล้ายก๊าซเอทิลีน … Read More

สารสังเคราะห์ในกลุ่มไซโตไคนิน

ไซโตไคนิน (Cytokinins)
ไซโตไคนินเป็น PGRC กลุ่มหนึ่งซึ่งใช้ประโยชน์ทางการเกษตรค่อนข้างน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ พืชสามารถสร้างไซโตไคนินขึ้นมาเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตได้คือสาร ซีอาติน (zeatin) ส่วนสารสังเคราะห์ในกลุ่มไซโตไคนิน ได้แก่ ไคเนติน (kinetin) BAP (6-benzylaminopurine) สารในกลุ่มนี้มีผลต่อการแบ่งเซลล์ และกระตุ้นการเจริญทางด้านลำต้นของพืช กระตุ้นการเจริญของตาข้าง และยังมีผลเล็กน้อยต่อการพัฒนาของผล ใช้กันมากในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อกระตุ้นการเจริญของก้อนแคลลัส (callus) ให้เติบโตขึ้นมาเป็นลำต้น สารในกลุ่มนี้มีราคาสูงมาก การใช้ประโยชน์จึงค่อนข้างจำกัดและในประเทศไทยยังไม่มีการสั่งสารนี้เข้ามาใช้ประโยชน์ในรูปสารเคมีการเกษตร แต่อาจหาซื้อได้ในรูปสารเคมีบริสุทธิ์จากร้านเคมีภัณฑ์บางแห่งในราคาค่อนข้างสูง ประโยชน์จากสารในกลุ่มไซโตไคนินทางการเกษตรนอกเหนือจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีดังนี้

1. ใช้กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง สารไซโตไคนินสามารถกระตุ้นให้ตาข้างของพืชเจริญออกมาเป็นกิ่งได้ จึงมีประโยชน์ในการควบคุมทรงพุ่ม ส่วนใหญ่ใช้กับไม้กระถางประดับ นอกจากนี้ยังใช้กระตุ้นตาที่นำไปขยายพันธุ์ด้วยวิธีติดตา (budding) ให้เจริญออกมาเป็นกิ่งใหม่ได้เร็วขึ้น โดยการทาสารที่ตาซึ่งติดสนิทดีแล้ว จะทำให้ตานั้นเจริญออกมาภายใน 7-14 วัน ภายหลังการให้สารไซโตไคนินที่นิยมใช้ในกรณีนี้คือสาร BAP … Read More

คุณสมบัติของจิบเบอเรลลิน

จิบเบอเรลลิน (Gibberellins)
การค้นพบจิบเบอเรลลินครั้งแรกเกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อสมัยก่อนสงครามโลก โดยพบสารนี้ในเชื้อรา และต่อมาก็ได้มีการพบสารชนิดนี้ในต้นพืช จึงจัดว่าเป็นสารฮอร์โมนพืชกลุ่มหนึ่ง สารจิบเบอเรลลินที่ค้นพบมาตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบันมีทั้งหมด 65 ชนิด จิบเบอเรลลิน ทั้ง 65 ชนิดนี้มีโครงสร้างของโมเลกุลคล้ายกัน เพียงแต่การเรียงตัวของบางอะตอมแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนั้นจิบเบอเรลลินจึงมีชื่อเรียกเหมือนกันหมดคือ จิบเบอเรลลิน เอ (gibberellin A) แล้วตามด้วยหมายเลขตั้งแต่ 1 ถึง 65 เช่น gibberellin A1 (GA1) gibberellin A3 (GA3) เมื่อเรียกจิบเบอเรลลินโดยทั่วไปมักใช้คำย่อคือ GAS แต่ถ้าระบุชนิดลงไปจะใช้หมายเลขตาม อักษร GA เช่น GA4 GA7 GA65 คุณสมบัติในการกระตุ้นการเติบโตของพืชของ … Read More

การใช้ออกซินสังเคราะห์

ออกซิน (Auxins)
PGRC ที่จัดอยู่ในกลุ่มออกซิน มีอยู่หลายชนิดและเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับเกษตรกรในประเทคไทย สารออกซินชนิดแรกที่ค้นพบคือ IAA (indoI-3-yl acetic acid) ซึ่งเป็นสารที่พืชสร้างขึ้นเอง โดยมีคุณสมบัติเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต มีผลกระตุ้นการขยายขนาดของเซลล์ การยืดตัวของเซลล์ และยังมีผลกระตุ้นการเกิดราก การเจริญเติบโตในส่วนต่างๆ ของพืช สรุปได้ว่ากระบวนการต่างๆ หลายอย่างที่เกิดขึ้นในพืชนั้น ออกซินมีส่วนในการควบคุมกระบวนการนั้นๆ ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้มีการสังเคราะห์สารต่างๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายออกซินเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สารสังเคราะห์เหล่านี้มีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปมีอยู่เพียงไม่กี่ชนิด ได้แก่ NAA (1-naphthylacetic acid) IBA (4-(indol-3-yl) butyric acid) 2,4-D (2,4-dichlorophenoxyacetic acid) และ 4-CPA (4-chlorophenoxyacetic acid) … Read More

สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช


เมื่อกล่าวถึงสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช บางท่านอาจไม่เข้าใจความหมาย แต่ถ้ากล่าวว่าสารฮอร์โมน ก็เชื่อว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี ในทางวิชาการให้ความหมายของสารทั้ง 2 กลุ่มนี้แตกต่างกัน คือ

สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulating chemicalร : PGRC) เป็นสารอินทริย์ซึ่งไม่จำกัดว่าพืชจะสร้างขึ้นเองหรือมนุษย์สังเคราะห์ขึ้น และถ้าใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็จะสามารถกระตุ้น ยับยั้ง หรือเปลี่ยนแปลงสภาพทางสรีรวิทยาของพืชได้
ฮอร์โมนพืช (plant hormones) เป็นสารอินทรีย์ที่พืซสร้างขึ้นในปริมาณเล็กน้อย และมีผลในการเปลี่ยนแปลงสภาพทางสรีรวิทยาในพืชนั้นๆ อาจมีความหมายรวมถึงวิตามินบางชนิด แต่ไม่รวมถึงอาหารที่พืชสร้างขึ้น

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นอาจกล่าวได้ว่า PGRC (คำย่อของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช) มีความหมายรวมถึงฮอร์โมนพืช และสารที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมาใช้ประโยชน์ ในทางการเกษตรเราไม่อาจใช้ฮอร์โมนพืชได้โดยตรง เนื่องจากการสกัดสารดังกล่าวทำได้ยาก และใช้ต้นทุนสูง ดังนั้นสารที่ใช้อยู่ทุกวันนี้จึงเป็นสารสังเคราะห์แทบทั้งสิ้น ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้อง จึงควรเรียกรวมว่า PGRC

สารหลายชนิดมีผลต่อการเติบโตของพืช หรือแม้กระทั่งการออกดอก … Read More