Category: ปศุสัตว์

ความรู้ด้านการปศุสัตว์ สำหรับเกษตรกรชาวไทย

การเลี้ยงโคนมมีวิธีการอย่างไรบ้าง

การเลี้ยงโคนมควรจะรู้เรื่องของโคนมซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่

๑.  พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อน เช่น พันธุ์เรดซินดี้ ซาฮิวาล เป็นต้น จะสังเกตว่าโคนมพวกนี้จะมีโหนกหลังใหญ่และทนอากาศร้อนได้ดีแต่ให้นมไม่มากนัก

๒.  พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในแถบหนาวหรือเรียกว่า โคนมยุโรปมีอยู่หลายพันธุ์ สังเกตได้ง่ายคือไม่มีโหนกที่หลัง คือจะเห็นแนวสันหลังตรง มักไม่ค่อยทนต่ออากาศร้อน พันธุ์ที่สำคัญได้แก่พันธุ์ขาวดำหรือโฮลสไตน์ฟรีเซียน

โคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเซียนนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศฮอลแลนด์ ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากที่สุดเพราะให้นมมาก มีสีดำตัดขาว รูปร่างใหญ่ ขนาดโตเต็มที่ตัวผู้หนัก ๘๐๐-๑,๐๐๐ กก. ตัวเมียหนัก ๖๐๐-๗๐๐ กก. โคพันธุ์นี้ชอบอากาศหนาว อุณหภูมิไม่ควรเกินกว่า 22°ซ.

สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศแถบร้อน การเลี้ยงโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ที่เป็นพันธุ์แท้มักจะมีปัญหามากถ้าหากการจัดการไม่ดี ดังนั้นเกษตรกรควรเลี้ยงลูกผสมระหว่างโคพันธุ์โฮลสไตน์กับโคพันธุ์พื้นเมือง หรือโคที่มีกำเนิดในแถบร้อนพันธุ์อื่น ๆ โดยมีสายเลือดโคนมพันธุ์โฮลสไตน์อยู่ระหว่าง ๕๐-๗๕ ℅ ซึ่งลูกผสมระดับสายเลือดนี้จะให้ผลผลิตการให้นมเฉลี่ยปีละประมาณ … Read More

สารอาฟล่าทอกซินเป็นพิษต่อสุกร

รวบรวมโดย สมศักดิ์  ทองดีแท้

สุกรที่ได้รับสารอาฟล่าทอกซินจะมีอาการอย่างไร การรักษาและควบคุมโรคควรปฏิบัติอย่างไร

สุกรที่ได้รับสารอาฟล่าทอกซินส่วนใหญ่จะเกิดโรคแบบเฉียบพลัน เนื่องจากมีสารพิษปริมาณค่อนข้างสูงในอาหาร สุกรจะกินอาหารลดลง แกร็นหรือเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ไม่มีแรง บางตัวมีอาการดีซ่านและถ่ายอุจจาระสีดำเข้ม มีสภาวะร่างกายขาดน้ำ บางตัวมีเลือดออกที่ผิวหนังและอาจพบอาการท้องมานในบางราย ก่อนตายบางตัวมีอาการชักและน้ำลายฟูมปาก

สารอาฟล่าทอกซินนี้เกิดจากการแปรธาตุอาหารของเชื้อรา(แอสเปอร์จิลัส) ทำให้เกิดการเป็นพิษรุนแรงที่สุดต่อสัตว์ที่กินเข้าไป มักตรวจพบในข้าวโพดและถั่วลิสงที่เก็บไว้ในที่มีความชื้นสูง

การเป็นพิษในสุกรขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาการได้รับสารพิษนี้ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับอายุและสภาพทางโภชนาการของสุกรด้วย การเป็นพิษที่เกิดขึ้นเป็นผลจากฤทธิ์ของสารพิษ ซึ่งมีผลทำลายเซลล์โดยตรงทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์โดยเฉพาะที่ตับและไต

ไม่มีการรักษาที่จำเพาะ เนื่องจากไม่มียาที่ทำลายสารพิษอาฟล่าได้ เมื่อเกิดปัญหาโรคนี้ควรหยุดให้อาหารชุดนั้นทันทีและเปลี่ยนไปใช้อาหารที่แน่ใจว่าไม่มีสารพิษ และควรให้อาหารที่มีระดับไขมันต่ำแต่มีระดับโปรตีนสูงแทน อาหารชุดที่มีสารพิษของเชื้อราควรทำลายเสีย

บรรณานุกรม

กิจจา  อุไรรงค์ใ ๒๕๓๐. แนวทางการวินิจฉัย รักษา และควบคุมโรคสุกร.โรงพิมพ์สารมวลชน พระโขนง กรุงเทพมหานคร หน้า 302-304

Read More

ไหมพันธุ์ไทย:ข้อมูลบางประการของไหมพันธุ์ไทย

ไชยยงค์  สำราญถิ่น  สถานีทดลองหม่อนไหมขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ด้วยเอกลักษณ์ของไหมไทย คือ ความเลื่อมมัน ปุ่มปม และคงทนต่อการใช้งาน ทำให้ไหมไทยได้รับความสนใจ และเป็นที่นิยมของผู้ใช้ผ้าไหมทั้งในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าผลผลิตเส้นไหมของเกษตรกรในประเทศถึงแม้จะเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอใช้ผลิตผ้าไหมออกจำหน่ายจนทำให้ประเทศต้องนำเส้นไหมจากต่างประเทศมาใช้ปีละเป็นจำนวนมากเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าไหมออกจำหน่ายทั้งในและนอกประเทศ

จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้รัฐเพิ่มความสนใจในการพัฒนางานหม่อนไหม โดยให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบพัฒนาความสามารถของเกษตรกรในการผลิตไหมทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ ดังจะเห็นได้ชัดจากผลการดำเนินงานของสถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร ทำให้เกษตรกรได้รับหม่อนและไหมพันธุ์ดีไปใช้ทำพันธุ์หลายพันธุ์ในปัจจุบัน

เพื่อให้ท่านที่มีความสนใจได้รับทราบข้อมูลและรายละเอียดบางประการของไหมพันธุ์ไทย จึงขอเสนอข้อมูลที่น่าสนใจพอสังเขปดังต่อไปนี้

ลักษณะพันธุ์ไหมไทย

(ก)  ไหมพันธุ์ไทยเป็นไหมที่ฟักตัวเองได้ตลอดปีมีวงจรชีวิตประมาณ ๔๐-๔๕ วัน

(ข)  รังไหมมีรูปร่างกลมรี หัวท้ายแหลม มีสีเหลืองแก่ เหลืองอ่อน จนถึงเหลืองตุ่นแล้วแต่ชนิดของพันธุ์

ชื่อพันธุ์ไหม

ชื่อไหมพันธุ์พื้นเมืองส่วนใหญ่จะมีคำว่า “นาง” นำหน้า เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงจะเรียกชื่อตามผู้ที่เลี้ยงคนก่อนที่เลี้ยงมาอย่างต่อเนื่องจนได้ผลดี และมีคุณสมบัติดีเด่นเฉพาะตัว … Read More

การเพิ่มผลผลิตไรแดงในบ่อซีเมนต์

สำรวย  เสร็จกิจ(หัวหน้างานผลิตอาหารธรรมชาติ กลุ่มวิจัยอาหารสัตว์น้ำ สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ กรมประมง ๒๕๓๐)

สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ

ชีวประวัติของไรแดง

ไรแดง เป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง เป็นอาหารธรรมชาติประเภทสัตว์ที่มีขนาดเล็ก มีขนาด ๐.๔-๑.๘ มิลลิตเมตร สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีคุณค่าทางอาหารสูง เหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งจะทำให้มีอัตราการอยู่รอดและอัตราการเจริญเติบโตสูง ไรแดงที่ทำการผลิตกันมี ๒ ชนิด มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก มีลำตัวสีแดงเรื่อ ๆ ถ้าอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากจะเห็นสีแดงชัดเจน ในบ่อผลิตที่มีออกซิเจนต่ำไรแดงจะมีสีแดงมากกว่าในบ่อผลิตที่มีออกซิเจนสูง ตัวอ่อนของไรแดงจะมีสีจางกว่าตัวเต็มวัย ไรแดงเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าไรแดงเพศผู้ มีลำตัวอ้วนเกือบกลม ขนาดเฉลี่ย ๑.๒๕ มิลลิเมตร

ไรแดงมีการสืบพันธุ์ได้ ๒ แบบ คือ

๑)  Read More

นมผึ้ง:การผลิตนมผึ้ง(รอยัลเยลลี่)

รอยัลเยลลี่หรือที่เรียกว่า “นมผึ้ง” นั้น คืออาหารสำหรับตัวอ่อนผึ้งและผึ้งนางพญา มีลักษณะคล้ายครีม หรือนมข้นหวาน หรือแป้งเปียกข้น ๆ มีกลิ่นออกเปรี้ยว และรสค่อนข้างเผ็ดเล็กน้อย ผลิตขึ้นโดยผึ้งงานซึ่งมีอายุประมาณ 5-15 วันหรือเราเรียกว่า ผึ้งพยาบาลซึ่งมีหน้าที่เป็นผึ้งพี่เลี้ยง เลี้ยงดูตัวอ่อน ผึ้งวัยนี้จะมีต่อมไฮโปฟาริงจ์คู่หนึ่งอยู่ในส่วนหัวต่อมนี้อยู่ติดกับต่อมน้ำลายในบริเวณส่วนหัว ทำหน้าที่ผลิตรอยัลเยลลี่ รอยัลเยลลี่จะถูกผลิตออกมาทุกวันในระยะนี้ผึ้งงานจะคายรอยัลเยลลี่ออกจากปากใส่ลงในเซลล์ตัวอ่อน และป้อนให้กับผึ้งนางพญาในขณะที่ผึ้งงานรุมล้อมทำความสะอาดด้วยการเลีย และป้อนอาหารด้วยปากให้กับผึ้งนางพญา

ผึ้งงานจะนำรอยัลเยลลี่ที่ผลิตขึ้นมาได้นี่ไปเลี้ยงตัวอ่อนของผึ้งทุกชนิดที่อายุไม่เกิน 3 วัน ตัวอ่อนของผึ้งแม่รังนั้นจะได้รับอาหารชนิดนี้อย่างมากจนเกินพอ ทำให้ตัวอ่อนผึ้งแม่รังเจริญเติบโตรวดเร็วกว่า ตัวอ่อนผึ้งงานและตัวอ่อนผึ้งตัวผู้และทำให้การพัฒนาทางสัณฐานวิทยาและทางสรีระผิดไป ฮอร์โมนบางชนิดที่ขับปนออกมาด้วย อาจมีส่วนเสริมพัฒนาการของผึ้งแม่รัง

จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ทางด้านชีวเคมีพบว่า รอยัลเยลลี่มีส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งเป็นสารอาหารที่สมบูรณ์มาก องค์ประกอบทางเคมีของสารต่าง ๆ ในรอยัลเยลลี่ ได้แก่

คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน เถ้าหรือธาตุอื่น … Read More

โรคแคระแกร็นในไก่เนื้อที่พบได้บ่อย

โรคแคระแกร็นในไก่เนื้อ

ดร.  ปฐม  เลาหะเกษตร

ผู้เลี้ยงไก่กระทงจะพบบ่อย ๆ  โดยเฉพาะในฟาร์มเลี้ยงไก่กระทงที่เคยเลี้ยงติดต่อกันมานานหลายปีว่าไก่กระทงที่เลี้ยงนั้น มีเปอร์เซ็นต์ไก่แคระแกร็นสูง  ไก่ที่แคระแกร็นมีลักษณะ ขนงอกไม่เต็มตัวและยังมีขนอุยเหลืออยู่มากในขณะที่ตัวที่โตตามปกติจะมีขนเต็มและมีขนาดโตกว่าไก่ที่แคระแกร็นเท่าตัว  นอกจากนั้นไก่ที่แคระแกร็นยังมีอาการท้องโต และขาถ่าง แสดงอาการเหมือนไก่ขาอ่อน  เมื่อปรากฎเช่นนี้ผู้เลี้ยงมักไปโทษบริษัทอาหารว่า อาหารไม่ดีบ้าง ลูกไก่โตไม่สม่ำเสมอ ก็ไปโทษพันธุ์ไก่บ้าง และโทษคนเลี้ยงบ้างว่าดูแลไม่ดี

บัดนี้นักวิชาการเขาพบสาเหตุแล้วว่าเกิดจากอะไร  สาเหตุที่แท้จริงเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัส  ซึ่งนักวิชาการสามารถแยกเชื้อได้และมีชื่อว่า เชื้อเอเวี่ยน แคลีซิไวรัส (Avian Calicivirus) (Poultry International, April 1982 หน้า ๑๒)

นายโคเวนโฮเวนและผู้ร่วมงานของเขา (Kouwenhoven and co-workers) ได้ทำการศึกษาเป็นครั้งแรกในปี ๒๕๑๘ เมื่อมีปัญหาขึ้นในประเทศฮอแลนด์ ก่อนหน้านั้นมีพบในประเทศออสเตรเลียและอเมริกา ซึ่งนักวิชาการเข้าใจกันว่าลักษณะแคระแกร็นเกิดจากอาหารไม่ดูดซึม … Read More

เทคนิคการแขวนถังอาหารในการเลี้ยงไก่

เกษตรกรที่เลี้ยงไก่ในช่วงหน้าร้อนนี้ต้องทำใจสักนิด หากไก่ที่เลี้ยงจะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าช่วงที่เลี้ยงปกติสักหน่อย  เพราะเมื่ออากาศร้อนไก่ก็จะเกิดความเครียดและกินอาหารได้น้อย ที่ร้ายกว่านั้นก็คือไก่ตาย ดังนั้นการเลี้ยงไก่ในเล้าให้ได้มากที่สุดน่าจะดีกว่า คือปล่อยเลี้ยงไม่ต้องให้หนาแน่นมาก เพราะยิ่งเลี้ยงหนาแน่นมากเปอร์เซ็นต์การตายก็ยิ่งสูงขึ้น  แค่เลี้ยงให้ได้น้ำหนักรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีก็น่าจะพอใจและน่าจะคุ้มกว่าแล้ว

สำหรับเทคนิคการแขวนถังอาหารนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมควรจะทำในช่วงที่ไก่มีอายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป  โดยจะเริ่มฝึกให้ไก่กินประมาณ 1-2 วัน ก่อนเข้าสัปดาห์ที่ 4 เมื่อไก่เริ่มปรับตัวได้แล้วจึงค่อยแขวนถังในช่วงกลางวันได้เต็มที่  ไม่ควรจะแขวนถังทันทีทันใด เพราะไก่จะหรับตัวไม่ทันและเครียด ต้องรอให้ไก่คุ้นเคยกับการเปลี่ยนอาหารจากระยะที่ 1 เป็นระยะที่ 2 ก่อนจึงแขวนถัง ไก่ก็จะไม่เครียด

Read More

เลี้ยงไก่หน้าร้อนอย่างไร ให้ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด

การเลี้ยงไก่ในลักษณะฟาร์มเปิด และฟาร์มที่ปล่อยไก่เลี้ยงหนาแน่นเกินไป มักจะพบความเสียหายที่เกิดจากสภาพอากาศร้อนได้มาก  โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ซึ่งอากาศมักจะร้อนกว่าช่วงอื่น ๆ และรวมไปถึงช่วงต้นเดือนพฤษภาคมด้วย  ไก่เนื้อและไก่ไข่ที่มีการเลี้ยงในระบบโรงเรือนเปิดธรรมดาก็มักจะพบปัญหา เช่น ไก่กินอาหารได้น้อย ไก่โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนาน ไก่ป่วยและไก่มีเปอร์เซ็นต์การตายเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงปกติ การจะเลี้ยงไก่ในช่วงหน้าร้อนให้ได้รับความเสียหายน้อยที่สุดนั้นก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเลี้ยงและการจัดการของเกษตรกรเป็นสำคัญด้วย  ในรายที่มีการเลี้ยงไก่บนบ่อปลา หรือเล้าไก่มีการยกพื้นสูง ก็อาจจะใช้วิธีสเปรย์น้ำเพื่อช่วยลดความร้อนได้แต่ก็ต้องมั่นใจว่าจะมีปริมาณน้ำเพียงพอเพราะต้องหมั่นสเปรย์น้ำอย่างสม่ำเสมอจึงจะได้ผลดี  ส่วนในรายที่เลี้ยงแบบปล่อยเลี้ยงบนพื้นดินหรือพื้นปูน  ก็อาจใช้วิธีการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อช่วยลดความร้อน อาจจะติดตั้งพัดลมเพื่อเพิ่มความเย็นที่สำคัญควรจะปล่อยไก่ลงเลี้ยงในช่วงนี้เบาบางกว่าช่วงปกติ ส่วนวิธีการสเปรย์น้ำนั้นไม่ค่อยเหมาะสมกับการเลี้ยงแบบนี้เท่าไรนัก เพราะจะทำให้พื้นแฉะ เกิดโรคระบาดได้ง่าย อย่างไรก็ตามหากสภาพอากาศร้อนจัดก็อาจจะใช้วิธีสเปรย์น้ำได้ในช่วงก่อนจับส่งตลาด 1 สัปดาห์

ส่วนในกรณีของการเลี้ยงแบบโรงเรือนเปิด หรือโรงเรือนอีแวปที่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ในบ้านเรากำลังนิยมกันนั้นเกษตรกรหลายรายก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับการจัดการอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับระบบอีแวป  ดังนั้นการเลี้ยงไก่ในโรงเรือนระบบนี้จึงอาจจะไม่เหมาะสมในบางพื้นที่หรือสำหรับเกษตรกรบางราย วิธีการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างได้ผลดีก็คือ การแขวนถังอาหารในช่วงกลางวัน เนื่องจากในช่วงกลางวันอากาศร้อน ไก่จะเครียด กินอาหารได้ไม่เต็มที่ และเมื่อกินอาหารเข้าไปก็จะเกิดการเผาผลาญที่จะต้องมีการนำพลังงานมาใช้ค่อนข้างสูง  เกษตรกรจึงควรอดอาหารไก่ตลอดช่วงกลางวัน โดยอาจจะเริ่มตั้งแต่ช่วง 5.00-6.00 ไปจนถึงประมาณ 17.00-18.00 … Read More

อากาศร้อน:ทำไมไก่มักจะตายเมื่อเจออากาศร้อน???

ทำไมเมื่ออากาศร้อนจึงมักพบปัญหาไก่ตายและจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร  ก่อนอื่นผมว่าเราลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบระบายความร้อนของไก่กันก่อนว่า  ในขณะที่อากาศร้อนนั้นสัตว์ชนิดอื่นจะควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่และระบายความร้อนออกทางผิวหนังผ่านทางต่อมเหงื่อ  แต่ไก่ไม่มีต่อมเหงื่อ การระบายความร้อนออกจากร่างกายของไก่จึงต้องทำโดย หนึ่ง การแผ่รังสีความร้อนออกจากผิวหนัง สอง การผ่านความร้อนจากตัวไก่ไปสู่วัตถุที่เย็นกว่า เช่น กรง พื้นกรง วัตถุที่ใช้รองพื้น หรือเรียกว่าเป็นการนำความร้อนนั่นเอง สาม การระบายความร้อนโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของอากาศรอบตัวพาความร้อนจากตัวไก่ไป และสี่ การระบายความร้อนออกจากร่างกายทางระบบหายใจโดยการอ้าปากหายใจ

โดยทั่วไปเมื่ออุณหภูมิของอากาศอยู่ระหว่าง 28-35 องศาเซลเซียส การระบายความร้อนของไก่โดย 3 วิธีแรก ซึ่งเป็นการส่งผ่านความร้อนทางผิวหนัง เหนียงและหงอน ก็ถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย  สังเกตง่าย ๆ จะเห็นไก่แสดงอาการกางปีกกระพือ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ร่างกายได้สัมผัสกับอากาศและมีการพาความร้อนได้ดียิ่งขึ้น  นอกจากนี้ไก่จะพยายามหามุมที่เย็นที่สุดในโรงเรือนและขุดคุ้ยสิ่งรองพื้นเพื่อให้ตัวได้สัมผัสกับสิ่งที่เย็นกว่า  ด้วยเหตุนี้การเลี้ยงไก่ในกรงจึงมีโอกาสที่จะทำให้ไก่ได้รับผลกระทบจากอากาศร้อนมากกว่าไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อยพื้น เพราะในกรงที่คับแคบนั้นไก่จะไม่มีโอกาสเลือกหาจุดที่เย็นที่สุดได้  และเมื่ออากาศหรือสภาพแวดล้อมรอบตัวไก่มีอุณหภูมิสูงขึ้นจนใกล้เคียงกับอุณหภูมิร่างกายของไก่คือ 39 องศาเซลเซียส  การระบายความร้อนโดย 3 … Read More