Category: Uncategorized

สวนยาง:ฟื้นฟูสวนยางหลังน้ำท่วม

สำหรับต้นยางที่ตาย  หากจะปลูกซ่อมแทน ควรจะปลูกซ่อมเฉพาะต้นที่มีอายุ 1-2 ปี เท่านั้น  หากต้นยางอายุมากกว่านี้ไม่ควรปลูกซ่อมเพราะต้นยางที่ปลูกซ่อมจะเจริญเติบโตไม่ทันต้นอื่นๆ  เนื่องจากถูกต้นข้างเคียงแย่งแสงและน้ำ  อย่างไรก็ตามหากเกิดภาวะน้ำท่วมซ้ำอาจทำให้ต้นยางอายุ 1-2 ปี ตายได้ส่วนยางที่ยังมีน้ำท่วมขัง  ให้รีบระบายน้ำออกไปจากสวน  โดยการขุดร่องน้ำกึ่งกลางระหว่างแถวยาง  โดยใช้เฉพาะแรงงานคนและเครื่องจักรขนาดเล็กเท่านั้น ไม่ควรใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ขุดร่องน้ำ เพราะโครงสร้างของดินยังไม่แน่นพอ  อาจทำให้โครงสร้างดินเสียหายซึ่งจะไปกระทบกระเทือนต่อระบบรากจะเป็นอันตรายต่อต้นยางส่วนต่างๆ ของต้นยาง ได้แก่ ยอด กิ่ง ก้าน และทรงพุ่มที่ฉีกขาดเสียหาย ควรตัดแต่งกิ่งออกให้หมด  โดยตัดแต่งกิ่งที่มีทิศทางไม่สมดุลกับกิ่งที่เหลืออยู่ออกบางส่วน  เพื่อป้องกันมิให้ทรงพุ่มที่เหลืออยู่ หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง  สำหรับส่วนของต้นยางที่เป็นแผลเล็กน้อย ให้ใช้ปูนขาวผสมน้ำอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แช่ค้างคืน หรือใช้สีน้ำมันทาจากโคนต้นถึงระดับความสูงประมาณ 1 เมตร  หากแผลมีขนาดใหญ่และสภาพอากาศยังชื้นอยู่โดยเฉพาะทางภาคใต้ ควรใช้สารเคมีเบนเลททาแผลเพื่อป้องกันไม่ใช้เชื้อราเข้าทำลายส่วนของเนื้อเยื่อได้

กรณีต้นยางที่เอนไปด้านใดด้านหนึ่งมาก … Read More

น้ำหมักชีวภาพ:น้ำหมักชีวภาพ พด.6 กับ อีเอ็มบอล

จากกรณีที่มีหลายหน่วยงานได้ออกมาสนับสนุนและช่วยเหลือในการฟื้นฟูบำบัดน้ำเน่าเสียในพื้นที่ประสบอุทกภัยด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละหน่วยงานที่ทำขึ้นมา  แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเข้าใจและเรียกรวมผลิตภัณฑ์ที่บำบัดน้ำเสียว่า อีเอ็ม หรือ อีเอ็ม บอล

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าจุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู  หรือเห็นเมื่อเกิดการเกาะกลุ่มกัน  ซึ่งจุลินทรีย์ ประกอบด้วย แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และยีสต์  ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ และเป็นจุลินทรีย์ที่มีทั้งประโยชน์และโทษ สำหรับ EMที่ใช้กันมากทางการเกษตร  ย่อมาจากคำว่า Effective Microorganism แปลว่าจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นหลักการเดียวกัน ที่นำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ขณะนี้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง เกิดการเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็น จึงได้มีการคัดเลือกจุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งมาใช้ประโยชน์ แต่มีการเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ของแต่ละหน่วยงานตลอดจนการผลิตขายโดยเอกชน ในชื่อที่แตกต่างกัน รวมถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างกัน เช่น เป็นของเหลว เป็นลูกบอล หรือเป็นผง

ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดิน … Read More

เมล็ดพันธุ์ข้าวและถั่วเหลือง

ผลจากการเกิดอุทกภัยของไทยในครั้งนี้เป็นที่ยอมรับกันว่าอาจจะมีผลต่อการเพาะปลูกของเกษตรกรเป็นอย่างมากทีเดียว ที่สำคัญนอกเหนือจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพื้นที่การเพาะปลูกที่เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทันก่อนน้ำท่วมแล้ว การสูญเสียเมล็ดพันธุ์เพื่อการเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไปก็เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายกังวลอยู่ไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ดี ซึ่งมีผลต่อผลผลิตและตรงตามความต้องการของตลาด

เกี่ยวกับเรื่องนี้ล่าสุดได้รับการเปิดเผยจากนายสมชาย  ชาญณรงค์กุล  อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่า ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์มีความห่วงใยพี่น้องสมาชิกสหกรณ์ที่ประสบอุทกภัย ที่อาจต้องประสบกับปัญหาด้านการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไว้สำหรับการเพาะปลูกหลังน้ำลด เนื่องจากหาซื้อยากและอาจมีราคาสูง  จึงได้เตรียมมาตรการในการให้ความช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวและถั่วเหลืองพันธุ์ดีให้กับสมาชิกสหกรณ์ที่ประสบอุทกภัย

โดยสนับสนุนให้สหกรณ์ที่มีศักยภาพในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและถั่วเหลือง รวบรวมเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้จำหน่ายให้กับสหกรณ์ที่อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยสำหรับนำไปแจกจ่ายให้กับสมาขิก  เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับสมาชิกสหกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการเพาะปลูกในช่วงต้นปี 2555

เบื้องต้นได้สำรวจปริมาณการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและถั่วเหลืองที่พร้อมจะเก็บเกี่ยวในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2554-มกราคม 2555 คาดว่าจะมีเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนตรวจสอบคุณภาพจำนวน 12,595.02 ตัน จากสหกรณ์ที่มีศักยภาพในการผลิตเมล็ดพันธุ์ใน 30 จังหวัด และมีเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองจำนวน 420 ตัน จากพื้นที่แหล่งผลิต 2 จังหวัด เมื่อเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวได้เก็บเกี่ยวแล้ว  จะมีระยะเวลาในการพักตัวและต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงสภาพในโรงงาน ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์และตรวจสอบคุณภาพ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานตามหลักวิชาการ  โดยคาดว่าจะมีเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพพร้อมกระจายสู่สมาชิกสหกรณ์จำนวน … Read More

ไก่:แม่ไก่พัฒนาเพื่อเกษตรกร

ไก่พื้นเมือง หรือ “ไก่บ้านไทย” เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เพราะเนื้อแน่น นุ่ม รสชาติอร่อยแบบไทยๆ  ปัจจุบันเนื้อไก่พื้นเมืองเป็นที่ต้องการของตลาดมาก  แต่กำลังการผลิตของเกษตรกรยังไม่สูงพอ จำนวนการผลิตไม่สม่ำเสมอ  เนื่องจากไก่พื้นเมืองให้ไข่น้อยและโตช้า  การผลิต “ไก่ลูกผสมพื้นเมือง” จึงเป็นทางออกหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถผลิตป้อนตลาดได้มากและสม่ำเสมอ  แต่ปัญหาที่สำคัญคื  จะใช้ไก่สายพันธุ์ใดเป็นแม่พันธุ์ที่ต้องให้ไข่ดกและให้ลูกที่เจริญเติบโตดีและเร็ว

รศ.ดร.จันทร์จรัส  เรี่ยวเดชะ  ผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า สกว.ได้ร่วมกับกรมปศุสัตว์  และสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง สนับสนุนงานวิจัยศึกษาขั้นตอนและวิธีการคัดเลือกสายพันธุ์ตามหลักวิชาการ  จนสามารถสร้าง “ฝูงไก่พื้นเมือง” พันธุ์แท้ ได้ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ประดู่หางดำ เหลืองหางขาว แดง และ ชี โดยไก่ฝูงพันธุ์พื้นเมืองที่ได้มีลักษณะภายนอกทั้ง รูปร่าง หงอน … Read More

ปุ๋ยชีวภาพ:ลดการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยการใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต

การใช้ปุ๋ยเคมีในแปลงพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกรในปัจจุบันที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้มีจำนวนมากขึ้น ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพดี แต่หากใช้ในปริมาณมากอาจทำให้มีผลกระทบต่างๆ ตามมามากมาย ซึ่งทางกรมวิชาการเกษตรได้แนะเกษตรกรให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพอันเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ ซึ่งนอกจากทำให้ลดต้นทุน ยังช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิต ที่สำคัญไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

“ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต” เป็นปุ๋ยชีวภาพอีกชนิดหนึ่งที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้เกษตรกรใช้เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี โดยกรมวิชาการเกษตรแนะนำการใช้ คือ…

–         ใส่ร่วมกับหินฟอสเฟตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหินฟอสเฟตซึ่งจัดเป็นปุ๋ยฟอสเฟตราคาถูก และเป็นปุ๋ยที่ปลดปล่อยธาตุอาหารฟอสฟอรัสออกมาทีละน้อย

–         ใส่ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตให้บางชุดดินที่วิเคราะห์แล้ว พบว่ามีปริมาณฟอสฟอรัสในดินสูง โดยจุลินทรีย์ที่ใส่เพิ่มลงไปจะไปละลายฟอสฟอรัสที่ถูกยึดตรึงอยู่ในดินให้ออกมาเป็นประโยชน์อีกครั้ง  โดยฟอสฟอรัสในดินดังกล่าวมาจากปุ๋ยเคมีฟอสเฟตที่ใส่ลงดินให้กับพืชระหว่างเพาะปลูก แต่พืชสามารถดูดใช้ได้บางส่วนเท่านั้น  โดยส่วนใหญ่แล้วเหลือตกค้างในดินโดยถูกดินยึดตรึงเอาไว้ จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยฟอสเฟตอีกเมื่อใส่จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต ดังนั้น ถ้าสามารถใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ตามแนวทางนี้กับดินทำการเกษตรทั่วไป จะสามารถลดการใช้ปุ๋ยฟอสเฟตลงได้

–         ใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตกับการผลิตพืชในระบบอินทรีย์  เพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกับหินฟอสเฟต  ซึ่งตามมาตรฐานการเกษตรอินทรีย์ หินฟอสเฟตถูกกำหนดเป็นแหล่งของฟอสฟอรัสอย่างหนึ่งในการผลิตพืช ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของกรมวิชาการเกษตร ลักษณะของผลิตภัณฑ์เป็นผงบรรจุในถุงพลาสติก ขนาดบรรจุ 500 กรัมต่อถุง มีจุลินทรีย์หลักเป็นจุลินทรีย์ประเภทเชื้อรา Penicillium sp. หรือเชื้อแบคทีเรีย … Read More

จุลินทรีย์:ระดมจุลินทรีย์บำบัดพื้นที่เพาะปลูก

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประเมินความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วม ณ เดือนตุลาคม 2554 พบว่ามีพื้นที่เกษตรเสียหายแล้วประมาณ 8,800,000-8,900,000 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นพืชที่ปลูกข้าวเสียหาย 7,400,000 ไร่ พืชไร่ 1,000,000 ไร่ ส่วนที่เหลือจะเป็นพืชสวนและปศุสัตว์ อีกราว 400,000 ไร่ โดยผลผลิตข้าวเสียหายมากที่สุดถึง 3,000,000 ตัน

ที่สำคัญผลจากความเสียหายของพื้นที่การเกษตรต่อผลผลิตทางการเกษตรแล้วอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม นั่นก็คือน้ำเน่าเสียในพื้นที่การเกษตรที่เป็นผลมาจากซากพืชและซากสัตว์ที่ล้มตายจากการจมน้ำและเกิดการเน่าเสีย ขณะเดียวกันพื้นที่เหล่านี้แม้น้ำโดยมวลรวมจะไหลลงสู่ทะเลไปแล้วก็ตาม แต่ก็จะยังมีน้ำอีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในสภาพของความเน่าเสียที่ยังคงอยู่ที่เรียกกันว่าน้ำเน่าทุ่ง

การที่น้ำ “เน่าเสีย” หรือด้อยคุณภาพลง  เนื่องมาจากเกิดการย่อยสลายของสารอินทรีย์ เช่น สิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย ในเขตชุมชน เมือง หรือเศษซากพืช บริเวณพื้นที่เกษตร เช่น นาข้าว สวน ที่จม่อยู่ใต้น้ำ โดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในธรรมชาติ … Read More

พริก:พริกแพร่ผลพวงจากงานวิจัยที่ชัยภูมิ

ขึ้นชื่อว่า “พริก” ไม่มีใครไม่รู้จักไม่มีบ้านไหนไม่เคยเรียกหา..พริกทุกเม็ดมีรสเผ็ด จะเผ็ดมากเผ็ดน้อยขึ้นอยู่กับสาร “แคปไซซิน” ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีไม่เท่ากัน พริกที่กำลังดังที่แพร่ขณะนี้เป็นพริกสายพันธุ์ “หยกสยาม” และ “หยกสวรรค์” ทั้งสองชนิดสวยเหมือนกันด้านรูปลักษณ์ แต่ชนิดแรกเผ็ดกว่า..ส่วนชนิดหลังคนนิยมนำมาทำ”น้ำพริกหนุ่ม” เพราะไม่ค่อยเผ็ด เนื้อหนาตำน้ำพริกแล้วได้เนื้อเยอะ

ที่จังหวัดแพร่ มีการปลูกพริกมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาทวด แต่ คุณอุดม  เขียวสลับ  เกษตรกรที่กำลังจะเป็นผู้นำพริกปลอดภัยที่อำเภอหนองม่วงไข่ เปิดเผยว่าบรรพบุรุษก็เคยปลูกพริกไว้รับประทานเองมาก่อน ตนเองก็เคยลองปลูกเช่นกันแต่ไม่ค่อยสำเร็จ เพราะพริกเอาใจยาก โรคเยอะ พอต้นขึ้นมักเหี่ยวตาย หรือพอจะเก็บเกี่ยวผลได้ก็มีอันเสียหายเพราะเกิด “ผลด่าง” คนเมืองแพร่จึงไม่ค่อยนิยมปลูก

อาจารย์วีระ  ภาคอุทัย  จากภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้รับทุนสนับสนุนวิจัย “การปลูกพริกปลอดภัย” จากสำนักงานกองทุนสนับสนุการวิจัย(สกว.)ได้ทำวิจัยที่ชัยภูมิเป็นเวลา 4 ปี จนเขียนตำราเรื่องพริกได้หลายเล่ม และถอดรหัสการปลูกพริกปลอดภัยไว้ด้วย ซึ่งอาจารย์วีระกล่าวว่า … Read More

อาหารเป็นพิษ:ระวังอาหารเป็นพิษช่วงน้ำท่วม

ประชาชนในพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมทุกจังหวัด  โดยเฉพาะเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่กำลังผจญกับวิกฤตน้ำท่วมขังอยู่ในขณะนี้ ต้องระมัดระวังการบริโภคอาหารเป็นพิเศษ เพราะมีความเสี่ยงและมีโอกาสสูงที่จะป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารได้ เช่น อาหารเป็นพิษ และโรคท้องร่วง หากบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด ดังนั้นประชาชนจึงควรระมัดระวังและใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ทั้งพืชผัก ผลไม้ ไข่ เนื้อสัตว์และสัตว์น้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ด้วย

นายสัตวแพทย์ศักดิ์ชัย  ศรีบุญซื่อ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) บอกมาว่า ประชาชนควรดูแลสุขภาพและต้องให้ความสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าเกษตรมาบริโภค โดยเน้นที่ความสดและสะอาด สำหรับสินค้าประมง เช่น กุ้ง ควรอยู่ในสภาพที่สดและสะอาด มีเปลือกหุ้มทั้งตัว ปลาต้องมีส่วนหัว ครีบ หางครบถ้วน ไม่มีตำหนิที่ผิดธรรมชาติที่เห็นได้ชัดเจน ไม่ควรนำสัตว์น้ำที่ตายจากการเกิดน้ำท่วมมาบริโภค อาจทำให้เกิดการป่วยจากโรคทางเดินอาหารได้ ส่วนเนื้อสัตว์ ต้องมีสีปกติตามธรรมชาติ ปราศจากกลิ่นที่ผิดปกติ กลิ่นแปลกปลอม ไม่มีรอยฟกช้ำ ไม่มีแผลหนอง กรณีไข่ไก่ ควรเลือกไข่ที่มีผิวเปลือกไข่ปกติ … Read More

ผลไม้:การอนุรักษ์ไม้ผลเมืองร้อน

กรมวิชาการเกษตร ในฐานะตัวแทนประเทศไทยร่วมกับประเทศอินเดีย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ดำเนิน “โครงการวิจัยการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรมไม้ผลเมืองร้อน” นำร่อง 4 ชนิด ได้แก่ ไม้ผลสกุลมะม่วง สกุลมังคุด สกุลเงาะ และสกุลส้ม ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ โดยได้รับงบอุดหนุนจากสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (UNEP/GEF)

นายจิรากร  โกศัยเสวี  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า โครงการวิจัยการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรมไม้ผลเมืองร้อนเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย และไทย เพื่อพัฒนาวิธีการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมไม้ผลเมืองร้อนที่มีคุณค่าและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูง ทั้งพันธุ์ปลูกและพันธุ์ป่า พร้อมสนับสนุนให้ชุมชนและท้องถิ่นใช้ประโยชน์ความหลากหลายเชื้อพันธุกรรมไม้ผล เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนรักษาสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างความสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งจะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง

ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้คัดเลือก 6 ชุมชนที่มีศักยภาพซึ่งมีความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมไม้ผลนำร่อง และมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์หรือใช้ประโยชน์จากเชื้อพันธุกรรมไม้ผลให้เข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอนุรักษ์ไม้ผลสกุลมะม่วงและสกุลส้ม ชุมชนในพื้นที่ … Read More

น้ำหมักชีวภาพ:น้ำหมักกล้วยตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว

เดิมทีในกระบวนการผลิตยางแผ่นดิบ เกษตรกรจะใช้น้ำยางพารามาผสมกับสารละลายกรด เพื่อ ให้เนื้อยางจับกันเป็นก้อน ก่อนนำไปขึ้นรูปเป็น ยางแผ่น แต่เนื่องจากสารเคมีมีราคาแพงอีกทั้งยัง ส่งผลเสียต่อสุขภาพและส่งผลกระทบต่อสภาพ แวดล้อม เกษตรกรส่วนหนึ่งจึงนำสารที่ได้จาก ธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเป็นกรด มาช่วยในการเร่ง ให้เกิดการจันตัวของนํ้ายางพารา แทนสารเคมี

นายชูชีพ รักพวงทอง เกษตรกรลูกค้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ.ระยอง เป็นเกษตรกรรายหนึ่งที่ต้องการ ลดต้นทุน รักษาสุขภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้นํ้าหมักจากกล้วยในการทำให้น้ำยาง จับตัวแทนสารเคมี

“ผมพยายามหาวิธีการผลิตยางพารา โดยไม่ทำลายดิน ไม่สงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งกว่าจะคิดค้นได้มาเป็นนํ้าหมัก ต้นกล้วยก็ใช้เวลาเป็นปี และหลังจากที่ใช้วิธีการ ดังกล่าวมาใช้ เมื่อนำผลผลิตไปเทียบกับตอนที่ สารเคมีปรากฏว่าคุณภาพยางดีกว่า’’

นอกจากนำมาผสมเพื่อเร่งการจับตัว ของยางแล้ว นํ้าหมักกล้วยยังสามารถนำมาทา หน้ายางเพื่อป้องกันโรคเชื้อรา และโรคหน้ายาง ตาย … Read More