Category: การทำประมง

เรียนรู้วิธีการทำประมง เลี้ยงสัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา

การเพาะเลี้ยงไรแดงในบ่อซีเมนต์

1. อุปกรณ์

บ่อผลิต ลักษณะของบ่อซีเมนต์ถ้าเป็นการลงทุนใหม่ บ่อซีเมนต์ที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงไรแดงที่เหมาะสมควรมีลักษณะเป็นรูปไข่ แต่ถ้ามีบ่อซิเมนต์สี่เหลี่ยมอยู่แล้วก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน พื้นก้นบ่อและข้างบ่อของบ่อไรแดงควรฉาบและขัดมันให้เรียบร้อยเพื่อประโยชน์ในการหมุนเวียนของน้ำเป็นการป้องกันการตกตะกอนของน้ำเขียว เพราะถ้าไม่มีการหมุนเวียนของน้ำแล้ว จะทำให้นํ้าเขียวตกตะกอนได้ง่ายแล้วน้ำเขียวจะตาย และทำให้ผลผลิตของไรแดงน้อยลง บ่อซีเมนต์ที่ใช้ในการเพาะไรแดงควรมีทางน้ำเข้าและทางน้ำออกเอาไว้เพื่อสะดวกในการเพาะ การล้าง และการเก็บเกี่ยวไรแดง

ขนาดบ่อซีเมนต์ ขนาดของบ่อเพาะไรแดงจะขึ้นอยู่กับความต้องการผลผลิตของไรแดง แต่ในด้านความสูงของบ่อควรจะมีความสูงประมาณ 60 ซม.

เครื่องเป่าลม ในบ่อเพาะที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 30-50 ม2 จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องเป่าลมหรือเครื่องให้อากาศไว้ในบ่อเพาะ เครื่องเป่าลมจะก่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและเพิ่มออกซิเจน ในบ่อเพาะ จะเป็นการป้องกันการตกตะกอนของน้ำเขียวแล้ว ยังช่วยเร่งการขยายพันธุ์การเจริญเติบโตของน้ำเขียวให้เร็วขึ้น และลดความเป็นพิษของน้ำที่มีต่อไรแดง

เครื่องเป่าลมสำหรับการเพาะไรแดงนั้นอาจประกอบขึ้นมาเอง โดยซื้อมอเตอร์ ขนาด 1/4 แรงม้า มาประกอบเข้ากับเครื่องเป่าลมแอร์รถยนต์เก่า ซึ่งหาซื้อได้ในราคาถูกตามร้านขายเครื่องยนต์เก่า ค่าใช้จ่ายในการประกอบเครื่องเป่าลมนี้จะตกเครื่องละไม่เกินหนึ่งพันบาท

จากเครื่องเป่าลม ใช้ท่อเอสลอนต่อวางไปตามจุดที่ต้องการจากนั้นก็ต่อท่อแยก ซึ่งมีวาล์วสำหรับปิดเปิดให้ลมผ่านเข้าไปในท่อเอสลอน … Read More

การเพาะเลี้ยงอาหารธรรมชาติของสัตว์น้ำ

อาหารธรรมชาติที่ปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆ ใช้เป็นอาหารนั้น อาหารธรรมชาติขนาดเล็กจะมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการใช้เป็นอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อน โดยเฉพาะในระยะที่สัตว์น้ำวัยอ่อนนั้นอยู่ในขั้นที่ถุงไข่เพิ่งจะยุบ ทั้งนี้อาหารธรรมชาติขนาดเล็กนี้จะมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนพอกับความต้องการของสัตว์น้ำวัยอ่อน ในการที่จะพัฒนารูปร่างให้เป็นแบบเดียวกับพ่อแม่ ความอุดมสมบูรณ์ของอาหารธรรมชาติในบ่อดินหรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่จะขึ้นอยู่กับปริมาณแร่ธาตุชนิดต่างๆ และแสงอาทิตย์ประกอบด้วยกัน ในปัจจุบันนี้เราสามารถเพาะเลี้ยงอาหารธรรมชาติทั้งชนิดที่เป็นพืชและสัตว์ได้ในสถานที่ต่างๆ กันได้ในปริมาณมาก และทันตามความต้องการ เพื่อชิ่ในการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน

การเพาะเลี้ยงไรแดง

ไรแดง เป็นอาหารธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญในการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยเฉพาะสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่นิยมเลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน เช่น ปลาดุกอุย ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาบู่ ลูกกุ้งก้ามกราม ฯลฯ ไรแดงมีบทบาทสำคัญในการใช้เป็นอาหารธรรมชาติที่อนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนดังกล่าวให้มีอัตรารอดและเจริญเติบโตสูง ในปัจจุบันไรแดงที่เกิดขึ้นตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งชุมชนต่างๆ ซึ่งเคยมีมากมายได้มีปริมาณลดลง จงได้มีการหาวิธีการเพาะเลี้ยงไรแดงโดยวิธีต่างๆ เพื่อให้ได้ไรแดงเพียงพอกับความต้องการของฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งกำลังเป็นการเลี้ยงแบบที่กลายเป็นอาชีพที่สำคัญอย่างหนึ่งในปัจจุบัน

ชีววิทยาที่น่ารู้บางประการของไรแดง

ไรแดงเป็นสัตว์น้ำจำพวกไม่มีกระดูกสันหลังหรือที่เรียกกันว่า พวก Crustacean มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Moina macrocopa (Straus) มีขนาด 0.4-1.8 มม. … Read More

ระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำตามหลักการให้อาหาร

ระบบการเลี้ยงสัตว์นํ้า ถ้าแบ่งตามหลักการให้อาหาร อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. การเลี้ยงสัตว์น้ำโดยไม่ให้อาหาร การเลี้ยงแบบนี้ปลาจะได้อาหารจากธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียว ผลผลิตที่ได้จากการเลี้ยงแบบนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารจากธรรมชาติ การเลี้ยงมักจะไม่ได้ผลหรือผลผลิตตํ่าเมื่อเลี้ยงอยู่ในบ่อ แต่จะได้ผลผลิตสูงเมื่อเลี้ยงอยู่ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ เช่น  การเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในคอกที่ทะเลสาบลากูนา ในประเทศฟิลิปปินส์ หรือเลี้ยงปลาไนในกระชังธารน้ำไหลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์หน้าดินในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย

2. การเลี้ยงสัตว์น้ำโดยใช้ปุ๋ย การเลี้ยงแบบนี้ใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอนินทรีย์ซึ่งปุ๋ยทั้งสองชนิดนี้จะไปเพิ่มอาหารธรรมชาติในบ่อให้มีมากขึ้น การใช้ปุ๋ยจะได้ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ เช่น คุณสมบัติของดินและน้ำ และชนิดของปลาที่ใช้เลี้ยง การเลี้ยงปลาโดยการใช้ปุ๋ยได้ผลดีในหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยจะเห็นได้ชัดจากการทำนาปลาสลิดที่จังหวัดสมุทรปราการ หรือการเลี้ยงปลาจีนโดยการใส่มูลสัตว์ตามบริเวณชานเมืองของกรุงเทพฯ การเลี้ยงปลานิลโดยใช้มูลสุกร มูลไก่ ที่อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร

3. การเลี้ยงสัตว์นํ้าโดยการให้อาหาร การเลี้ยงแบบนี้ปลาที่เลี้ยงจะได้รับอาหารเพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิมแล้วในธรรมชาติ หรือรับอาหารจากที่ให้แต่เพียงอย่างเดียว ผลผลิตที่ได้สูงกว่าแบบที่ได้กล่าวมาแล้วทั้ง 2 แบบ เมื่อเทียบกับเนื้อที่ที่ใช้เลี้ยง อัตราการเจริญเติบโตของปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของอาหารที่ให้นั้น… Read More

อาหารสัตว์น้ำ

สัตว์น้ำก็เช่นเดียวกับสิ่งที่มีชีวิตอื่นที่ต้องการอาหารเพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีพการเจริญเติบโต การสืบเผ่าพันธุ์ และแพร่ขยายพันธุ์ เมื่อใดสัตว์น้ำมีอาหารกินอย่างเพียงพอและเป็นอาหารที่มีคุณภาพดี ก็เจริญเติบโตรวดเร็ว มีสุขภาพดี แข็งแรง และมีลูกดก อันเป็นสิ่งที่ต้องประสงค์ของผู้เพาะเลี้ยงอย่างยิ่ง

ในธรรมชาติ สัตว์น้ำอาจเสาะแสวงหาอาหารตามที่ต้องการได้โดยไม่ยากนักหากมีสภาพแหล่งที่อยู่อาศัยไม่ถูกรบกวนจากการกระทำของมนุษย์มากเกินไป ภาวะดังกล่าวนี้จะหาได้ยากยิ่งในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้วยปัจจัยเกี่ยวกับอาหารของสัตว์น้ำในบ่อมีอยู่อย่างจำกัด การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ก็โดยมนุษย์เป็นผู้ทำขึ้น เช่น มีการใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ และมีการให้อาหารสมทบแก่สัตว์น้ำที่เลี้ยง เป็นต้น

“อาหารสัตว์น้ำ” เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการเลี้ยงเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และยังเป็นปัจจัยพื้นฐานของการผลิตและควบคุมต้นทุนการผลิต จนอาจกล่าวได้ว่าการเลี้ยงปลาจะประสบผลสำเร็จหรือไม่เพียงใดนั้น จะขึ้นอยู่กับคุณภาพ ปริมาณ และราคาของอาหารเป็นสำคัญ ถ้าได้อาหารที่มีคุณภาพดี มีปริมาณที่เพียงพอ และมีราคาต่ำมาใช้ในการผลิต ก็จะได้รับผลดี และมีกำไรตรงกันข้ามถ้าได้อาหารที่มีคุณภาพต่ำ มีปริมาณขาดแคลน และมีราคาแพง ก็จึงส่งผลให้การเลี้ยงบังเกิดภาวะการขาดทุน และไม่ประสบผลสำเร็จ

ความสำคัญของอาหารต่อสัตว์น้ำ

โดยหลักการทั่วๆ ไป สัตว์น้ำต้องการอาหารด้วยเหตุผล 3 ประการ … Read More

การเตรียมเลี้ยงสัตว์น้ำ

การเตรียมบ่อ (ก่อนการเลี้ยง)

เหตุผลที่จะต้องทำการเตรียมบ่อ

1. เพื่อให้พื้นก้นบ่อปลามีโอกาสได้รับแสงแดดและออกซิเจน ทำให้อินทรียวัตถุที่หมักหมมอยู่ในบ่อมีการย่อยสลายตัว

2. เป็นการเพิ่มเนื้อที่ของน้ำในบ่อให้มากขึ้นจากการลอกก้นบ่อ และกำจัดวัชพืชต่างๆ ทำให้ปล่อยปลาได้มากขึ้น

3. ทำลายและลดปริมาณเชื้อโรคต่างๆ ในบ่อปลาให้น้อยลง

4. กำจัดพวกศัตรูปลาต่างๆ

5. ทำให้การปรับปรุงบ่อหรือคันบ่อที่ชำรุดได้ง่าย

ขั้นตอนการเตรียมบ่อ

ก่อนที่จะนำสัตว์น้ำมาปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ ควรมีการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. สำหรับบ่อเก่าควรระบายน้ำออกแล้วทำการปรับปรุงบ่อปลา โดยเฉพาะพื้นก้นปอ คันบ่อ และวัชพืชต่างๆ เช่น ลอกเลนที่มีสีดำคลํ้า และมีกลิ่นเหม็นออก

2. ใส่ปูนขาวโดยโรยให้ทั่วพื้นบ่อและขอบบ่อ (อัตราการใช้ดูจากวิธีการใช้ปูนขาว)

3. ตากบ่อทิ้งไว้ 2-3 วัน (พอให้ดินหมาด)

4. ชักน้ำเข้าบ่อให้มีระดับน้ำลึกประมาณ 30-50 ซม. … Read More

การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน

การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน (Integrated fish farming)

ปัจจุบันผู้ประกอบอาชีพการเกษตรกรรมทางด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะแต่เพียงด้านเดียว เช่น การทำนา ทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์ก็ดี ต้องประสบปัญหาในด้านค่าใช้จ่ายในการลงทุน เช่น ค่าที่ดิน ค่าแรงงาน ตลอดจนปัจจัยในการผลิตต่างๆ มีราคาสูงมากขึ้น นอกจากนี้การจำหน่ายผลิตผลต่างๆ ก็ต้องแข่งขันกันในด้านตลาด ราคาที่จำหน่ายได้จึงไม่สูงพอ ดังนั้น การยึดถืออาชีพหลักเพียงด้านเดียวอย่างแต่ก่อนไม่สามารถจะดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยดี จึงควรที่จะส่งเสส่งเสริมแนะนำให้เกษตรกรประกอบอาชีพเสริมเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ได้แก่ การเลี้ยงปลา ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่อยู่แล้ว เช่น นาข้าว บ่อดินซึ่งขุดดิน ไปถมที่สร้างคอกสุกร เล้าเป็ด-ไก่ คู หรือร่องสวนผลไม้ หรืออาจจะขุดหรือสร้างขึ้นใหม่ก็ได้ การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชมีข้อดีหลายประการ ดังนี้

(1) เป็นการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือหรือของเสียจากพืชและสัตว์เลี้ยงอย่างเต็มที่ เช่น มูลสัตว์ นํ้าล้างคอกสัตว์ … Read More

การเลี้ยงปลาหลายชนิด

การเลี้ยงปลาแบบหลายชนิดหรือแบบรวม (Polyculture)

คือการเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกันในบ่อเดียวหรือชนิดเดียวแต่มีขนาดแตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 2-3 กลุ่ม จุดประสงค์ของการเลี้ยงปลาแบบนี้ก็คือ ต้องการปรับปรุงผลผลิตให้สูงขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนลดต้นทุนในการผลิต

การเลี้ยงปลาหลายชนิดในบ่อเดียว ได้แก่ คัดเลือกปลาที่กินอาหารแตกต่างกัน และไม่เป็นอันตรายซึ่งกันและกัน เช่น ปลากินพืช (เฉา ตะเพียนขาว) ปลากินแพลงก์ตอนพืช (ลิ่น) กินแพลงค์

ตอนสัตว์ (ซ่ง) ปลากินซากพืช (ยี่สกเทศ นวลจันทร์เทศ) กินตัวอ่อนของแมลงตามก้นบ่อ (ไน) และปลาที่กินอาหารไม่เลือก (นิล สวาย) นอกจากนี้ ยังอาจพิจารณาในด้านแหล่งที่อยู่อาศัยในด้านนิเวศน์วิทยาด้วย เช่น ปลาเฉาเป็นปลาที่อาศัยหากินบริเวณผิวน้ำ ปลาลิ่นจากระดับน้ำที่ลึกถัดลงมา ปลาซ่งระดับลึกถัดจากปลาลิ่น ปลายี่สกเทศ นวลจันทร์เทศ กินซากพืชตามก้นบ้อ ปลาไนกินตัวอ่อนของแมลงในน้ำตามก้นบ่อ … Read More

การเลี้ยงปลาชนิดเดียว

การเลี้ยงปลาแบบชนิดเดียวหรือแบบเดี่ยว (Monoculture) หมายถึง การเลี้ยงปลา หรือสัตว์น้ำชนิดเดียวภายในบ่อหนึ่ง สัตว์น้ำที่สมควรนำมาเลี้ยงแบบเดี่ยวที่เหมาะสมในภูมิภาคนี้ได้แก่ ปลานิล สวาย ดุกอุย ดุกด้าน และกุ้งก้ามกราม สำหรับวิธีการเลี้ยงปลาแบบเดี่ยวนี้ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีเลี้ยงแบบพัฒนา (Intensive culture) หรือแบบกึ่งพัฒนา (Semi-intensive)โดยมุ่งหวังผลผลิตสูง และสัตว์น้ำ ที่ผลิตขึ้นมามีราคาดีหรือมีตลาดรองรับการจัดการเลี้ยงปลาแบบนี้ก็ไม่ค่อยยุ่งยาก ส่วนปัจจัยอื่นที่สำคัญ และเป็นแรงกระตุ้นให้มีผู้เลี้ยงปลาชนิดเดียวก็คือ อาหารปลาที่หาได้ง่ายและราคาถูก เช่น การเลี้ยงปลาสวายบริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ ใช้เศษอาหารเหลือจากภัตตาคาร การเลี้ยงปลาดุกที่จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ใกล้แหล่งน้ำชลประทาน ใช้อาหารปลาเป็ด และเครื่องในไก่จากโรงฆ่าสัตว์ ซึ่งมีราคาต่ำและหาได้ง่าย เป็นต้น ลักษณะสภาพแวดล้อมดังกล่าวนี้ อาจจะนำมาประยุกต์ใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้

(1) การเตรียมบ่อ

-ถ้าเป็นบ่อเก่าควรสำรวจและปรับปรุงสภาพของบ่อเสียก่อน เช่น ทำการวิดน้ำ ลอกเลน ปรับปรุงคันดิน … Read More

ประเภทการเลี้ยงสัตว์น้ำ

ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่นี้แบ่งตามรูปแบบการเลี้ยงได้เป็นการเลี้ยงปลาในบ่อดินหรือซีเมนต์ การเลี้ยงปลาในกระชัง เลี้ยงปลาในคอก การเลี้ยงปลาในคูร่องสวน ซึ่งแต่ละประเภทมีรายละเอียดควรศึกษาดังต่อไปนี้

การเลี้ยงปลาในบ่อ หมายถึง การใช้บ่อที่ขุดหรือสร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการเลี้ยงปลา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบ่อดิน มีขนาดและรูปร่างตลอดจนความลึกตามวัตถุประสงค์ของการเลี้ยง บ่อที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ บ่อดินและบ่อซีเมนต์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. บ่อดิน-บ่อซีเมนต์ เป็นบ่อที่ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์น้ำได้โดยทั่วไป เช่น บ่อเพาะฟัก บ่ออนุบาล บ่อขุน (growing pond) บ่อเลี้ยงพ่อแม่ปลา และบ่อเก็บกักนํ้าไว้ใช้ในการเลี้ยงสัตว์นํ้า นอกจากนี้การสร้างบ่อดังกล่าวยังใช้ต้นทุนต่ำด้วย

-บ่อดินที่สร้างขึ้นในบริเวณดินเหนียวหรือดินร่วนปนดินเหนียวสามารถจะอุ้มน้ำได้โดยไม่รั่วซึม จัดว่าเป็นบ่อเลี้ยงปลาที่มีคุณสมบัติที่ดีในภูมิภาคนี้

-บ่อดินที่สร้างขึ้นในบริเวณดินลูกรัง ซึ่งมีพื้นที่บางแห่งอยู่เป็นจำนวนมาก บ่อดินลูกรังสามารถบดอัดให้แน่นเก็บกักน้ำไว้เลี้ยงปลาได้ แต่คุณสมบัติของน้ำอาจจะต้องแก้ไขโดยใช้ปูนขาวหรือปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของน้ำให้เหมาะสมสำหรับใช้ในการเลี้ยงปลา

-ปอดินที่สร้างขึ้นในบริเวณดินร่วนปนทราย ซึ่งมีพื้นที่จำนวนมากอยู่ใกล้แหล่งน้ำ สามารถจะขุดบ่อเลี้ยงปลาได้ การป้องกันน้ำรั่วซึมโดยการฉาบด้วยซีเมนต์ที่พื้นผิวดินภายในบ่อ หรือโดยการนำดินเหนียวจากที่อื่นมาใส่ที่พื้นก้นปอหนาประมาณ 20 … Read More

การออกแบบและสร้างที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

บ่อปลา แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้

บ่อเพาะฟัก (Breeding and Hatching Pond) บ่อดังกล่าวนี้มีรูปร่างหลายรูปแบบ เช่น กลม สี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปไข่ ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ส่วนใหญ่จะใช้บ่อซีเมนต์สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 10-50 ตารางเมตร เพราะสามารถใช้ได้ทั้งบ่อเพาะฟักและอนุบาล ถ้าเป็นบ่อกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-4 เมตร ความลึกประมาณ 1 เมตร ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับบ่อซีเมนต์ดังกล่าว บ่อดังกล่าวนี้สร้างด้วยอิฐบล็อคหรืออูฐมอญ หรือเป็นถังกลมไฟเบอร์กลาส ตั้งอยู่บนพื้นแบบลอยเพื่อสะดวกในการชักน้ำเข้าและระบายน้ำทิ้ง จับลูกปลาหรือทำความสะอาดบ่อดังกล่าวนี้สร้างอยู่ภายในโรงเพาะฟักซึ่งมีหลังคาคลุมหรือกลางแจ้งก็ได้ และมีระบบน้ำและเครื่องเป่าลมช่วยเพิ่มออกซิเจน อุปกรณ์การเพาะฟักอื่นๆ เช่น กระชังอวนสำหรับพ่อแม่ปลา อวนกระชังสำหรับรองรับไข่ปลา กรวยเพาะฟัก ฯลฯ บ่อเพาะฟักเหล่านี้ควรมีระบบท่อเชื่อมกับบ่ออนุบาล เพราะเมื่อฟักลูกปลาเป็นตัวแล้ว ก็สามารถปล่อยลูกปลาผ่านตามท่อโดยไม่ต้องจับลงสู่บ่ออนุบาลได้ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและปลอดภัย (รูปที่ … Read More