Category: การเพาะและขยายพันธุ์พืช

วิธีการ และความรู้ เรื่องการเพาะและขยายพันธุ์พืช ทั้งพืชไร่ พืชสวน พืชทุกชนิด

พังกาหัวสุมดอกแดง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Bruguiera gymnorrhiza (L.) Savigny
ชื่อวงศ์ RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น ประสัก ประสักแดง โกงกางหัวสุม พังกาหัวสุม (กลาง), พลัก
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-35 ม. ทรงพุ่มกลม ทึบ โคนต้น มีพูพอนสูง และมีช่องอากาศขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป มีรากหายใจ คล้ายหัวเข่า เปลือกต้นหยาบสีนํ้าตาลดำ ถึงดำแตกเป็นร่องตามยาว ไม่เป็นระเบียบ


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่แกมรีหรือรูปรี กว้าง
4-9 ซม. ยาว 8-20 ซม. โคนใบมน … Read More

พังกาหัวสุมดอกขาว


ชื่อวิทยาศาสตร์ Bruguiera sexangula Poir.
ชื่อวงศ์ RHIZ0PH0RACEAE
ชื่ออื่น ขลัก (ชุมพร). พังกาหัวสุม (กระบี่, ตรัง) ประสักขาว, ประสักหนู
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. โคนต้นมีพูพอนสูง รากหายใจรูปคล้ายเข่า มีรากค้ำจุนขนาดเล็ก กิ่งอ่อนสีเขียว บางครั้ง เหมือนถูกย้อมด้วยสีแดง เปลือกต้นสีเทาเข้มถึงสีนํ้าตาลอมเทา ผิวเปลือกหยาบเป็นสะเก็ด แตกเป็นร่องตามยาว ช่องอากาศขนาดใหญ่มีน้อย มีเฉพาะที่พูพอน


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทาง แผ่นใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน แกมรูปรี กว้าง 3-6 ซม. ยาว 8-16 … Read More

ฝาดดอกแดง

(Bind-poll)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lumnitzera littorea (Jack) Voigt.
ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่ออื่น ตำเสาทะเล (พังงา. กระบี่. ตรัง)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้น เป็นไม้เนื้อแข็ง สูง 10-15 ม. อาจสูงถึง 30 ม. ลำต้นคดเคี้ยว เปลือกต้นสีเทาน้ำตาลมีรอยแตกเป็นร่องลึก เปลือกในสีแดงเข้มหรือส้ม ชูทรงพุ่ม ขึ้นสูง แผ่กิ่งก้านไม่แน่นอน มีรากหายใจรูปคล้ายเข่า
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่งหนาแน่นที่ปลายกิ่ง แผ่นใบหนา รูปรีแกมรูปไข่กลับหรือแกมรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 1-3 ซม. ยาว 3-9 … Read More

ฝาดดอกขาว

(Butterfly-poll)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lumnitzera racemosa Willd
ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่ออื่น ฝาด (กลาง, ใต้), ขวาด (สมุทรสาคร) กะสูง (ชุมพร)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 8 ม. เปลือกต้นขรุขระสีน้ำตาลแดง มีรากหายใจไม่เด่นชัด


ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง กระจายตลอดกิ่ง แผ่นใบแคบ รูปไข่กลับกว้าง 1-3 ซม. ยาว 3-9 ซม.ปลายใบกลมเว้าตื้นๆ โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ หรือหยักมนถี่ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ก้านใบสั้นมาก
ดอก สีขาวออกที่ปลายกิ่งและง่ามใบ … Read More

โปรงแดง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Ceriops tagal (Perr.) C.B.Rob.
ชื่อวงศ์ RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น ปรง (จันทบุรี, สมุทรสาคร) โปรงแดง (สมุทรสาคร), แสม (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 7-15 ม. โคนต้น มีพูพอนเล็กน้อยมีรากคํ้าจุนขนาดเล็ก รากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วนกลมยาว 12-20 ซม. เหนือผิวดิน สีนํ้าตาลอมชมพู ทรงพุ่มกลม สีเข้ม กิ่งสีเขียว มีช่องอากาศเล็กๆ เปลือกต้นสีชมพูเรื่อๆ หรือน้ำตาลอ่อนเรียบถึงแตกเป็นสะเก็ด ต้นแก่มีรอยแผลเป็น


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สลับทิศทาง เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง … Read More

โปรงขาว


ชื่อวิทยาศาสตร์ Ceriops decandra (Griff.) Ding Hou
ชื่อวงศ์    RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น โปรง โปรงหมู ปะโลง โหลง (กลาง), กระปูโลง โปลง โปรง (เพชรบุรี) แหม (ภูเก็ต), แสมมาเนาะ (สตูล)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลาง กึ่งไม้พุ่ม สูง 2-7 ม. โคนต้น มีพูพอนเล็กน้อย พองขยายออก รากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วนสั้น กลม ยาว 6-13 ซม. เหนือผิวดิน ทรงพุ่มกลม แน่นทึบ … Read More

เป้งทะเล

(Mangrove Date Palm)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoenix paludosa Roxb.
ชื่อวงศ์ ARECACEAE
ชื่ออื่น เป้ง
ลักษณะทั่วไป พวกปาล์ม ลำต้นสีเหลืองอมน้ำตาลถึงนํ้าตาลไหม้
ใบ ใบค่อนข้างสั้น กว้าง 0.45 ซม. ยาว 1.5 ม. ใบโค้งมีสีเขียว เป็นมันหรือสีเขียวอมเหลืองผิวใบด้านล่างเป็นสีเทาคล้ายควันโคนใบจะมีเส้นใยเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบย่อยจะเล็กแคบยาว ขอบจะพับเข้า จะค่อนข้างแข็งและตรงปลายใบจะห้อยลง ก้านใบด้านล่างจะมีหนามเรียวยาว แหลมและแข็ง


ดอก สีเหลืองนวล ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกตั้งตรง ออกดอกที่ง่ามใบ มีกาบขนาดใหญ่ 1 อันหุ้มอยู่ แต่กาบอันนี้จะหลุดไปในไม่ช้า ก้านช่อดอก ยาว … Read More

ปอทะเล

(Hau tree, Sea Hibiscus, Tree mallow)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus tiliaceus
ชื่อวงศ์ MALVACEAE
ชื่ออื่น โพทะเล (กรุงเทพฯ),บา (จันทบุรี), ผีหยิก ขมิ้นนางมัทรี (เลย). ปอฝ้าย ปอนา ปอมุก(ใต้) ปอโฮ่งบารู (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-10 ม. ทรงพุ่มแผ่กว้าง ลำต้นมักคดงอแตกกิ่งก้านมากเปลือกต้นสีเทาหรือสีนํ้าตาลอ่อนเรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้น เปลือกชั้นในสีชมพูประขาว เหนียว สามารถลอกออกจากลำต้นได้ง่าย


ใบ ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ปลายมน มีขนรูปดาวยาวทั่วไป ใบรูปไข่ … Read More

ปรงหนู


ชื่อวิทยาศาสตร์ Acrostichum speciosum Willd.
ชื่อวงศ์ PTERIDACEAE
ชื่ออื่น ปรง (ตราด)
ลักษณะทั่วไป คล้ายกับปรงทะเล แต่ส่วนมากจะขึ้นแยกเป็นต้น น้อยครั้งที่จะพบขึ้นเป็นกลุ่ม
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปใบหอก กว้างประมาณ
3-4 ซม. ยาว 30-40 ซม. ก้านใบไม่มีหนามแข็งสั้นๆ เหมือนกับปรงทะเล มี 15-30 คู่ เรียงสลับผิวใบเรียบเป็นมันใบที่ไม่สร้างสปอร์ ปลายใบมีลักษณะเรียวแหลม และไม่มีติ่งหนามสั้นๆ ฐานใบเป็นรูปลิ่ม ถึงมนกลม ทั้งสองข้างจะไม่เท่ากัน เส้นกลางใบจะนูนเด่น เส้นใบจะสานกันเป็นร่างแห ก้านใบย่อยสั้น ใบย่อยที่สร้างสปอร์จะอยู่ตอนปลายกิ่ง มีขนาดเล็กกว่าใบย่อยที่ไม่สร้างสปอร์ ซึ่งอยู่ทางด้านโคนใบ กลุ่มของอับสปอร์เรียงตัวชิดกันเต็มพื้นที่ด้านล่างของแผ่นใบย่อย … Read More

สรรพคุณของปรงทะเล

(Giant Leather Leaf)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acrostichum aureum Linnaeu
ชื่อวงศ์ PTERIDACEAE
ชื่ออื่น ปรงไข่ ปรง (กระบี่). แสม (ใต้), ปรงแดง (สมุทรสาคร). ผักชล (อีสาน)
ลักษณะทั่วไป เฟิร์นขนาดกลาง มีเหง้าใหญ่เป็นเนื้อไม้แข็ง เหง้าเป็นแท่งสั้น ตั้งตรง ปกคลุมด้วยเกล็ดเป็นแผ่นหนา


ใบ ใบอ่อนเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว รูปไข่ แกมรูปขอบขนานและใบแก่ เป็นใบประกอบขนนกปลายคี่ โคนก้านใบมีเกล็ดบางๆ สีน้ำตาลคลุม ใบประกอบยาว 120-270 ซม.ใบย่อย 15-30 ใบ เรียงสลับใบย่อย มี … Read More