Category: ความรู้รอบตัวด้านการเกษตร

ความรู้รอบตัวด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์การเกษตร

สารเคมีที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

สารออกฤทธิ์
butane dkioic acid mono (2,2-dimethylhydrazide) (daminozide) 85%
ชื่อการค้า
อาล่าร์ 85 (ALAR® 85)
รูปผลิตภัณฑ์
ผงละลายน้ำ (w.s.p.X
การใช้
ตามคุณสมบัติของ daminozide
ผู้ผลิต
Uniroyal Inc.
ผู้แทนจำหน่าย
บงยิบอินซอยและแย๊คส์ จก.

สารออกฤทธิ์
Sodiummono-nitroquaiacol
ชื่อการค้า
อโทนิค (ATONIK® )
รูปผลิตภัณฑ์
สารละสายเข้มข้น (w.s.c.)
การใช้
เพิ่มผลผลิต เพิ่มการติดผล
ผู้ผลิต
ไม่ระบุ
ผู้จำหน่ายRead More

การใช้สารเคมีกับพืชไร่สำคัญบางชนิด

กาแฟ (Coffea arabica L. และ C. robusta Linden)
เร่งการสุกของผล
การใช้ ethephon อัตรา 480 กรัม/น้ำ 100 ลิตร (ความเข้มข้น 4,800 มก/ล) พ่นทั่วต้นในระยะที่ผลแก่จัด แต่ยังมีสีเขียวอยู่จะช่วยเร่งการสุกได้และมีการสุกสมํ่าเสมอกันมากขึ้น ถ้ามีการเก็บเกี่ยวผลหลายครั้งควรให้สารภายหลังการเก็บเกี่ยวครั้งแรกหรือครั้งที่ 2 แล้ว และควรให้สารสมํ่าเสมอกันทั่วทั้งต้น

ถั่วเขียว (Phaseolus aureus RoxbJ
เพิ่มจำนวนฝัก
การทดลองใช้ mepiquat chloride ความเข้มข้นต่างๆ กัน พ่นทางใบให้กับถั่วเขียวพันธุ์อู่ทอง 1 พบว่าการใช้สารความเข้มข้น 150 มก/ล … Read More

การใช้สารเคมีกับไม้ดอกไม้ประดับ

กล้วยไม้ (Orchids)
ลดความสูง
การทดลองใช้ paclobutrazol ความเข้มข้นตั้งแต่ 60 ถึง 480 มก/ ล โดยการพ่นทางใบกับต้นกล้วยไม้ Dendrobium ‘Hepa’ ในขณะที่กำลังแตกลำใหม่ ปรากฎว่าความสูงของลำใหม่จะลดลงตามความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้กระถางประดับ ความเข้มข้นที่ เหมาะสมคือ 240 ถึง 480 มก/ ล นอกจากนี้การใช้สารดังกล่าวยังช่วยให้เกิดช่อดอกได้เร็วขึ้นด้วย

กุหลาบ (Rosa spp )
เร่งการแตกตา
จากการทดลองใช้สาร BAP ความเข้มข้น 4,000 มก/ ล โดยผสมในรูปครีมลาโนลิน ทาที่ตากุหลาบพันธุ์ดีที่ติดบนต้นตอกุหลาบป่าภายหลังจากตาติดดีแล้ว จะทำให้เปอร์เซ็นต์การแตกตาเพิ่มขึ้นจาก 3 … Read More

สารเคมีกับพืชผัก


กะหล่ำดาว (Brassica oleracea var. gemmifera L.)
เพิ่มผลผลิต
การใช้ daminozide อัตรา 150 กรัมต่อไร่ผสมนํ้า 80 ถึง 110 ลิตร (ความเข้มข้น 1,500 ถึง 2,000 มก/ล) พ่นให้ทั่วต้นจะช่วยในการแตกแขนงข้างดีขึ้น การใช้สารนี้เหมาะสำหรับพันธุ์ที่มีต้นสูงและสูงปานกลาง ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกันทั้งต้น ช่วงเวลาที่เหมาะ สำหรับการให้สารคือ เมื่อแขนงด้านล่างมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 ซม ภายหลังการให้สารแล้วไม่ควรเก็บเกี่ยวภายใน 6 สัปดาห์

ข้าวโพดหวาน (Zea mays var. rugosa)
เพิ่มเกสรตัวผู้
การแช่เมล็ดข้าวโพดหวาน “ไทย … Read More

การใช้สารสังเคราะห์กับไม้ผล

เงาะ (Nephelium lappaceum L.)
เปลี่ยนเพศดอก
NAA สามารถใช้เปลี่ยนเพศดอกเงาะพันธุ์สีชมพูจากดอกกะเทยซึ่งทำหน้าที่ดอกตัวเมียให้เป็นดอกตัวผู้ได้ ความเข้มข้นของสารที่เหมาะสมคือ NAA 80 ถึง 160 มก/ล (ถ้าใช้สาร Planofix ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เคมีเกษตรจะต้องใช้ความเข้มข้นตํ่ากว่านี้คือใช้ Planofix 0.5-1 มล/ ล ซึ่งจะได้ความเข้มข้นของ NAA เท่ากับ 22.5 ถึง 45 มก/ ล) พ่นสารดังกล่าว ไปที่ช่อดอกเงาะบางช่อในระยะดอกตูมหรือเพิ่งเริ่มบานไม่เกิน 10% ในช่อจะทำให้เกิดดอกตัวผู้ ได้ภายหลังการให้สาร 6 วัน และจะทะยอยกันบานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 11 วัน จึงหมดฤทธิ์ของสาร  วิธีการดังกล่าวใช้กับเงาะพันธุ์โรงเรียนได้เช่นกัน … Read More

อายุปักแจกันไม้ดอก


การใช้ประโยชน์จากไม้ตัดดอกในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น และสามารถส่งออกทำรายได้เข้าประเทศปีละมากๆ ราคาของไม้ตัดดอกเหล่านี้ค่อนข้างสูง แต่อายุการใช้ประโยชน์ค่อนข้างสั้น ทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่คุ้มค่ากับการใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงได้มีความพยายามที่จะยืดอายุการใช้งานไม้ตัดดอกเหล่านี้ให้นานขึ้น โดยขั้นแรกจำเป็นต้องหาสาเหตุของการเสื่อมสภาพของไม้ตัดดอกเหล่านี้เสียก่อน ในที่สุดจึงพบว่าสาเหตุสำคัญอันหนึ่งของการเสื่อมสภาพคือเอทิลีนที่ดอกไม้สร้างขึ้น อย่างไรก็ตาม เอทิลีนไม่ใช่เป็นเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วยหลายประการเมื่อนำสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้ดอกไม้เสื่อมสภาพมาประมวลเข้าด้วยกันแล้วหาทางแก้ไขที่ต้นเหตุเหล่านี้ จึงทำให้เราใช้ประโยชน์จากไม้ตัดดอกได้นานขึ้น

การเสื่อมสภาพของดอก
ดอกไม้ในขณะที่ยังอยู่บนต้นจะได้รับธาตุอาหารและนํ้าซึ่งส่งขึ้นมาจากราก ใบที่ติดอยู่บนกิ่งจะทำหน้าที่สังเคราะห์แสงเพื่อเลี้ยงกิ่งนั้น เมื่อมีการตัดดอกออกมาจากต้นจะทำให้ระบบการส่งน้ำและอาหารถูกตัดขาดออก ดอกไม้นั้นจะเข้าสู่ระยะชราภาพอย่างรวดเร็วและแห้งเหี่ยวไป การนำก้านดอกแช่ในนํ้าเป็นเพียงการช่วยรักษาความเต่งของเซลล์เท่านั้น โดยไม่ได้ทำให้กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชราภาพเกิดช้าลง

ฮอร์โมนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพดอกคือเอทิลีน ผลจากเอทิลีนที่ดอกสร้างขึ้นจะทำให้กลีบดอกมีสีซีดลง กลีบดอกเหี่ยว และหมดสภาพการใช้งานโดยปกติกลีบดอกทำหน้าที่ล่อแมลงเพื่อให้เข้ามาดูดนํ้าหวาน ซึ่งจะก่อให้เกิดการผสมเกสร เมื่อการผสมเกสรเกิดขึ้น แล้วกลีบดอกก็จะหมดหน้าที่ไป และจะเกิดการขยายขนาดของรังไข่ขึ้นมาแทนและเจริญต่อไปกลายเป็นผล ในขณะที่เกิดการผสมเกสรจะพบว่ามีการสร้างเอทิลีนขึ้นมามากในบริเวณรังไข่ ซึ่งก๊าซเอทิลีนนี้จะแพร่กระจายออกมาทำให้กลีบดอกเหี่ยวและหมดสภาพ ดังนั้นดอกที่ตัดออกมาจากต้น ถ้าผ่านการผสมเกสรแล้วจะทำให้อายุการปักแจกันสั้นลงกว่าปกติ ในบางกรณีที่ดอกไม่เกิดการผสมเกสร แต่เกสรตัวผู้หรือตัวเมียถูกทำลาย ก็จะเกิดการเหี่ยวของกลีบดอกได้เช่นกัน โดยเป็นผลมาจากเอทิลีนในสภาวะเครียดที่ดอกสร้างขึ้นเมื่อเกิดบาดแผล นอกจากนั้นการตัดก้านดอกออกมาจากต้นก็จะเกิดการสร้างเอทิลีนในสภาวะเครียดที่บริเวณรอยแผลนั้น ซึ่งจะมีผลอย่างมากในการทำให้ก้านดอกอุดตัน … Read More

การพักตัวของพืช


พืชที่ปลูกในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีอยู่หลายชนิดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว (temperate area) เช่น องุ่น ส้ม มันฝรั่ง และไม้ดอกเขตหนาวชนิดต่างๆ พืชเหล่านี้มีลักษณะนิสัยที่แตกต่างจากพืชเขตร้อนคือ จะมีการพักตัวเมื่อได้รับอากาศเย็นจัด การพักตัวของพืชเป็นลักษณะทางธรรมชาติอันหนึ่งเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ โดยการหยุดการเติบโตในช่วงที่มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม และเริ่มเติบโตต่อไปเมื่อกลับสู่สภาพปกติ เช่น ฤดูหนาวในต่างประเทศ ซึ่งหนาวจัดและมีหิมะตก ในสภาพเช่นนี้ พืชไม่สามารถเติบโตได้อย่างปกติ จึงมีการทิ้งใบเหลือแต่กิ่งก้านขนาดใหญ่ไว้ ถ้าเป็นพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดินก็พบว่า ส่วนลำต้นที่เจริญอยู่เหนือดินจะแห้งตายไปแต่หัวยังคงมีชีวิตอยู่และพร้อมที่จะเจริญงอกงามใหม่เมื่อเข้า สู่ฤดูใบไม้ผลิ (spring) ปรากฏการณ์เช่นนี้พบได้เสมอในพืชเขตหนาว แต่เมื่อมีการนำพืชเหล่านี้มาปลูกในประเทศไทย ซึ่งมีอุณหภูมิสูงอยู่ตลอดเวลา อาจพบว่ามีทางเป็นไปได้ 2 ทางคือ ประการแรก พืชจะมีการเติบโตอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีการพักตัว เช่น องุ่น ส่วนอีกประการหนึ่งพืชจะมีการพักตัวหลังการเก็บเกี่ยวทั้งๆ ที่อยู่ในอุณหภูมิสูง เช่น มันฝรั่ง แกลดิโอลัส และพืชหัวอีกหลายชนิด … Read More

การสุกของผลไม้


การสุก (ripening) เป็นกระบวนการที่ผลไม้เข้าสู่ระยะชราภาพ โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างภายในผล เช่น ผลจะอ่อนนุ่ม เกิดกลิ่นตามชนิดของผลไม้นั้น รสชาติหวานขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล ปริมาณกรดลดลง ผิวเปลี่ยนสีเป็นสีแดงเหลืองหรือสีอื่นๆ ตาม ชนิดของผลไม้ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องใช้พลังงานอย่างมาก ซึ่งพลังงานนี้จะได้มาจากการหายใจที่เกิดขึ้นภายในผล การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นรวดเร็วมาก ผลจะเปลี่ยนสภาพจากผลดิบกลายเป็นผลสุกภายในเวลาไม่กี่วัน ในช่วงที่ผลสุกนี้จะมีการหายใจสูงมากจึงเรียกผลไม้เหล่านี้ว่า climacteric fruit เช่นมะเขือเทศ มะม่วง ละมุด กล้วย ทุเรียน ส่วนผลไม้อีกประเภทหนึ่งเมื่อผลแก่จัดแล้วไม่มีการสุกเกิดขึ้น การหายใจในผลอยู่ในระดับตํ่า เรียกว่า non-climacteric fruit ได้แก่ ส้ม สับปะรด มะนาว เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ ผลไม้เหล่านี้ เมื่อเก็บเกี่ยวมาแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงภายในผลเกิดขึ้นน้อยมาก รสชาติของผลมักจะคงที่ … Read More

พัฒนาการของผลพืช


ดอกของพืชมีหน้าที่สำคัญในการแพร่กระจายพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามดอกจำเป็นต้องพัฒนาไปเป็นผลและเมล็ดเสียก่อน ความหมายที่แท้จริงของผลคือส่วนของรังไข่ที่พัฒนาขึ้นมาจากดอก เมล็ดคือส่วนที่พัฒนามาจากไข่ซึ่งอยู่ภายในรังไข่นั้น ในปัจจุบันเราต้องการผลเพื่อใช้ ในการบริโภคมากกว่าการใช้เพื่อขยายพันธุ์ จึงได้มีการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีผลขนาดใหญ่ เนื้อมาก และเป้าหมายที่สำคัญคือต้องการผลที่ไม่มีเมล็ด หรือเมล็ดลีบ เมื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์จากผลไม้เปลี่ยนไปเช่นนี้ เทคโนโลยีต่างๆ จึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพื่อให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่ต้องการ รวมทั้งการใช้ PGRC ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาของผล อย่างไรก็ตามความพยายามดังกล่าวยังไม่สัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริง และยังต้องอาศัยเวลาและความรู้อักมาก ซึ่งคาดว่าในอนาคตเราจะสามารถใช้ PGRC ในการบังคับการพัฒนาของผลได้อย่างถูกต้องและได้ผล

การติดผล (fruit setting)
การติดผลเป็นกระบวนการเริ่มแรกของการพัฒนาจากดอกไปเป็นผล เมื่อดอกบานเต็มที่และพร้อมที่จะรับการผสมเกสรจะสังเกตได้ว่าอับละอองเกสรตัวผู้จะแตกออก และปลดปล่อยละอองเกสรตัวผู้ซึ่งมีขนาดเล็กมากออกมา เมื่อละอองเกสรตัวผู้นั้นไปสัมผัสกับยอดเกสรตัวเมียไม่ ว่าด้วยวิธีใดก็ตามจะเกิดการพัฒนาต่อไปโดยละอองเกสรตัวผู้จะยืดตัวออกเป็นหลอดยาวงอกลงไปตามก้านเกสรตัวเมียเพื่อเข้าไปผสมกับไข่ซึ่งอยู่ภายในรังไข่นั้น และเกิดการปฏิสนธิขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกของการติดผล ดังนั้นปัจจัยสำคัญในการติดผล จึงขึ้นอยู่กับความสามารถใน การงอกของละอองเกสรตัวผู้และความสามารถในการปฏิสนธิภายในรังไข่ ละอองเกสรตัรผู้มีจำนวนมาก แต่มีความสามารถในการงอกได้แตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมหลายอย่างเช่น อุณหภูมิและความชื้นนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่เกี่ยวข้องกับการติดผล ซึ่งแยกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้… Read More

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอกของพืช

การเกิดดอก
ดอกพืชเป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นจุดเริ่มแรกของการขยายพันธุ์ โดยการพัฒนาต่อไปเป็นผลและเมล็ด ไม้ดอกหลายชนิดถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่มีดอกขนาดใหญ่ สีสวยและออกดอกสมํ่าเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกไม้ล้มลุก และขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งผลิตขึ้นมาจากต้นพ่อและแม่ที่ได้รับการคัดเลือกมาแล้ว พืชเหล่านี้จงมักไม่มีปัญหาเรื่องการออกดอก ถ้ามีการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง ส่วนไม้ผลหลายชนิดมีปัญหาว่าบางครั้งไม่ออกดอกทั้งๆ ที่ถึงฤดูกาลที่เหมาะสมแล้วก็ตาม การแก้ปัญหาเรื่องการออกดอกของไม้ผลจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก เนื่องจากผลผลิตของไม้ผลขึ้นอยู่กับการออกดอกเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามปัจจุบันเรายังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ แต่ก็ยังอยู่ในความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ทั้งทลาย ซึ่งยังต้องอาศัยเวลาอีกนาน

จากความพยามยามของนักวิทยาศาสตร์ดังกล่าวทำให้เราทราบถึงปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกดอกของพืชบางชนิด และหนึ่งในปัจจัยสำคัญนั้นคือฮอร์โมนพืช ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกของพืช มีกี่ชนิด อะไรบ้าง สร้างขึ้นอย่างไร ยังเป็นปัญหาที่ไม่มีผู้ใดให้คำตอบได้ เคยมีผู้เสนอว่าการออกดอกของพืชถูกควบคุมโดยฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่พืชสร้างขึ้น ซึ่งเรียกว่าฟลอริเจน (florigen) แต่จนกระทั่งทุกวันนี้ยังไม่มีผู้ใดสกัดฟลอริเจน จากพืชได้เลย และไม่สามารถให้ความกระจ่างได้ว่า ฟลอริเจนมีจริงหรือไม่ เคยมีรายงานว่า จิบเบอเรลลิน น่าจะเป็นฟลอริเจนเนื่องจากเร่งการออกดอกของพืชได้ แต่ต่อมามีข้อโต้แย้งว่า จิบเบอเรลลินก็มีผลยับยั้งการออกดอกของพืชมากชนิดเช่นกัน จึงไม่อาจจัดว่าจิบเบอเรลลิน เป็นฟลอริเจนได้ ในระยะหลังพบว่าเอทิลีนกระตุ้นให้พืชหลายชนิดออกดอกได้แต่ก็ไม่ใช่ทุกชนิด และยังพบว่าพืชบางชนิดถ้าได้รับเอทิลีนมากเกินไปจะถูกยับยั้งออกดอกแต่ถ้าได้รับสารเพียงช่วงสั้นๆ กลับออกดอกได้ … Read More