Category: สมุนไพร

ทำความรู้จักกับพืชสมุนไพร สรรพคุณ และวิธีการนำมาใช้ในการป้องกัน และรักษาโรค

สมุนไพรจากไม้ดอก:เทียน

เทียน

จากโครงการพัฒนาเทคนิคการทำยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2521-2522)

ชื่ออื่น เทียนบ้าน เทียนขาว เทียนไทย เทียนดอก(ไทย ห่งเชียง จึงกะฮวย เซียวถ่ออั๊ง โจ๋ยกะเช่า(จีน) Garden Baisam

ชื่อวิทยาศาสตร์ Impatiens balsamina L. วงศ์  Balsaminaceae

ลักษณะต้น

เป็นพืชปีเดียวตาย สูงประมาณ 60 ซม. ลำต้นแข็งแรงมีเนื้อดูโปร่งแสง ใบออกสลับหมุนเวียนกันไปเป็นวง ลักษณะใบยาว เรียวแหลม ขอบใบมีรอยหยัก เป็นฟันคล้ายฟันเลื่อย ใบยาวประมาณ 10 ซม. กว้าง 2-3 ซม. … Read More

สมุนไพรจากไม้ดอก:ดาวเรือง

ดาวเรือง

จากโครงการพัฒนาเทคนิคการทำยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2521-2522)

ชื่ออื่น ดาวเรืองใหญ่(ไทย) คำปู้จู้ คำปู้จู้หลวง(พายัพ) บ่วงสิ่วเก็ก เฉาหู้ยัง กิมเก็ก(จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tagetes erecta L. วงศ์ Compositae

ลักษณะต้น เป็นพืชปีเดียวตาย ลำต้นแข็งแรงสูง 0.4-1 เมตรเป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก ทั้งต้นขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรง ใบออกตรงข้ามกัน ใบลักษณะคล้ายขนนก ตัวใบยาว 4-11 ซม. มีรอยเว้าลึก ๆ ถึงก้านใบ หลายรอยคล้ายแบ่งตัวใบออกเป็นใบย่อยหลายใบ ส่วนยอดนี้ยาว 1-2.5 ซม. ขอบมีรอยหยักช่อดอกออกเป็นกลุ่มเดียวที่ปลายก้าน ช่อดอกสีเหลือง หรือเหลืองส้มมีเส้นผ่าศูนย์กลาง … Read More

การปลูกกะทกรกฝรั่ง

การปลูกกะทกรกฝรั่ง

สุมาลี  แหนบุญส่ง

ลักษณะทั่วไป

กะทกรกฝรั่งเป็นพืชจำพวกไม้เลื้อยที่แข็งแรง เครือขาว ลำต้นมีสีเขียวข้างในกลวง ผิวเรียงไม่มีขน ใบมีลักษณะเป็นแฉก 3 แฉก มีมือเกาะชนิดไม่แตกแขนง สีเขียวม้วนขอดเป็นวงกลม ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามตาข้าง มีสีขาว มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7.5-10 เซนติเมตร

ผลมีลักษณะกลม หรือรูปไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-7 ซม. เปลือกชั้นนอกมีลักษณะแข็ง เปลือกชั้นในมีสีขาว ภายในผลจะมีถุงอยู่มากมาย ภายในถุงนี้จะมีเมล็ดสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มรวมอยู่กับส่วนที่เป็นน้ำ  ซึ่งมีลักษณะเหนียวข้น มีสีเหลืองส้ม มีกลิ่นหอมแรง

พันธุ์กะทกรกฝรั่ง

กะทกรกฝรั่งที่มีปลูกอยู่ในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ

1.  พันธุ์สีม่วง เป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม สามารถเจริญเติบโตได้ดีบนที่สูงจากระดับน้ำทะเลมากได้

2.  พันธุ์สีเหลืองRead More

ชะมวง:อุดมด้วยวิตามินที่สำคัญมากมาย

ชะมวง

เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15-20 เมตร พบมากในเขตภาคอีสาน เรือนยอดเป็นปุ่มรูปกรวยคว่ำ เปลือกสีน้ำตาลเทาเข้ม ใบอ่อนมีสีแดงอมเหลือง ใบแห้งสีน้ำตาลอ่อนแกมชมพู ดอก มีกลิ่นหอม แยกเพศ ใบมีรสเปรี้ยวจัด ผลสีส้ม ลักษณะค่อนข้างกลมคล้ายผลมังคุดผลแห้งสีดำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ซม. มีเมล็ดสีส้มฝังอยู่ในเนื้อผล

ประโยชน์ทางอาหาร

ใบชะมวงที่มีรสเปรี้ยวนี้ อุดมด้วยเบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 รวมทั้งแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัส เมื่อทานพร้อมเนื้อสัตว์จะทำให้ร่างกายสามารถนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่  นอกจากนี้วิตามินซีในใบชะมวงยังช่วยให้ดูดซึมเหล็กได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงมากพอที่จะลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย วิตามินซียังช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรงไม่แตกง่าย ทำให้เหงือกแข็งแรง ไม่เป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน

ใบอ่อนและยอดนำมาใช้แทนส้ม หรือกินกับลาบ ก้อย และยังใช้เป็นส่วนประกอบของผงนัวได้อีกด้วย ส่วนใบตากแห้งนำมาชงดื่มเหมือนชา … Read More

ผักฮ้วนหมู:ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง

ผักฮ้วนหมูเป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง  อายุหลายปี ลำต้นกลมสีน้ำตาลอ่อน เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลแกมดำ ตามลำต้นมีรอยแตก มีจุดสีขาวตามลำต้นและใบ มียางสีขาว ใบเดี่ยวลักษณะมัน ออกตามข้อตรงข้ามกัน ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามกิ่ง กลีบดอกสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง แต่ละช่อมีดอกย่อยมากกว่า 20 ดอก ผลเป็นฝักคู่รูปหอกสีเขียวอ่อนมีจุดตามผิว

คุณค่าทางอาหาร

ยอดและดอกอ่อนของผักฮ้วนมีสีเขียวเข้ม มีวิตามินซี 351 มิลลิกรัม และดอกมี 472 มิลลิกรัม แต่คนที่เป็นโรคเกาต์ไม่ควรทานมาก เพราะสารยูเรต และออกซาเลตจะไปตกตะกอนที่ทางเดินปัสสาวะ ทำให้อาการของโรคกำเริบได้ง่ายด้วยลักษณะของดอกแลดูคล้ายลำไส้หมู(ฮ้วน ในภาษาเหนือ แปลว่า ลำไส้) และมีรสขมคล้ายไส้หมู ชาวเหนือจึงเรียกผักฮ้วนหมูตามรูปร่างของดอก ใช้รับประทานได้ทั้งแบบสดหรือทำให้สุก เช่น แกง หรือลวกกินกับลาบ จิ้มแจ่ว

ประโยชน์ทางยา

ลำต้น ใช้เป็นยาแก้โรคตา … Read More

ผักกูด:พืชที่ช่วยสะท้อนความผันแปรของระบบคุณภาพดินและระบบนิเวศ

ผักกูด

ผักกูดมีธาตุเหล็กและเบต้า-แคโรทีนสูง ช่วยให้ไม่อ่อนเพลียหรือซีดง่าย บำรุงสายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

ผักกูดเป็นเฟิร์นชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นตามริมน้ำที่มีความชื้นสูง แต่มีแสงแดดส่องถึงหรือที่ร่มรำไร ต้นสูงได้ถึง 1 เมตร มีใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ยาวประมาณ 1 เมตร กว้าง 50 ซม. พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาค

ผักกูดมีลักษณะเด่นตรงที่มีความไวเป็นพิเศษต่อสารเคมีและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง จึงเป็นพืชที่ช่วยสะท้อนความผันแปรของระบบคุณภาพดินและระบบนิเวศ สารเคมีที่ตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมจึงส่งผลกระทบต่อผักกูดโดยตรง

ประโยชน์ทางอาหาร

ผักกูดมีธาตุเหล็กและเบต้า-แคโรทีนสูง ซึ่งหากทานร่วมกับเนื้อสัตว์จะทำให้เกิดการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี ช่วยให้ไม่อ่อนเพลียหรือซีดง่าย บำรุงสายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยนำใบอ่อน ยอดอ่อน นำไปทำยำผักกูด หรือลวกจิ้มน้ำพริก ใส่ในแกงส้ม ผัด แกงเลียง

คุณค่าทางยา

มีรสเย็น แก้ไข้ตัวร้อน … Read More

ผักหวานป่า:ผักพื้นบ้านมากประโยชน์ ศักยภาพเชิงการค้าที่ยั่งยืน

ผักหวานป่า

ให้โปรตีน มีเบต้า-แคโรทีน วิตามินซี และวิตามินบี 2 สูง

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 5-16 เมตร มีใบเดี่ยวสีเข้มหนา รูปร่างคล้ายรูปไข่หรือรี ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นกลุ่มสีเขียวตรงซอกใบ กิ่งและที่ลำต้นมีใบประดับขนาดเล็ก ผลออกเป็นพวงรูปรีสีเหลืองอมน้ำตาล

คุณค่าทางอาหาร

ผักหวานป่าให้โปรตีน มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินบ 2 หรือไรโบฟลาวิน วิตามินบี 2 มีส่วนช่วยเผาผลาญกรดอะมิโนจากโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมันให้เป็นพลังงานสำหรับร่างกาย ในผักหวานป่า 100 กรัม มีวิตามินบี 2 ประมาณ 1.65 มิลลิกรัม ใช้ยอดอ่อน หรือดอกมาต้ม ลวก หรือนึ่งทานร่วมกับน้ำพริก … Read More

พริกกะเหรี่ยง:พืชเศรษฐกิจท้องถิ่นของชาวกะเหรี่ยงเมืองเพชร

พริกกะเหรี่ยง

ในบรรดาพริกต่าง ๆ ต้องยอมรับว่า “พริกกะเหรี่ยง” นั้นขึ้นชื่อที่สุดในเรื่องของความเผ็ด เรียกว่าถึงใจคนที่ชอบรสชาติแบบถึงพริกถึงขิงกันเลยล่ะ พริกกะเหรี่ยงจึงเป็นพริกที่ได้รับความนิยมอีกชนิดหนึ่งของตลาดบ้านเรา  ถือเป็นพริกพื้นเมืองที่โด่งดังที่สุด คุณสมบัติเด่นที่ทำให้พริกกะเหรี่ยงกลายเป็นที่นิยมของคนเมืองก็คือ กลิ่นหอมและความเผ็ดที่ได้รสชาติของพริกจริง ๆ นั่นเอง

เพชรบุรี ถือเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีชาวไทยภูเขาหรือชนเผ่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก  ซึ่งก็มีทั้งชาวกะเหรี่ยง ลาวซ่งและไทยทรงดำ  ซึ่งต่างก็มีวิถีชีวิตและประเพณีวัฒนธรรมที่น่าสนใจและน่าศึกษาอย่างยิ่ง นับเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสกับจังหวัดนี้

พริกกะเหรี่ยง…..พริกของชาวกะเหรี่ยง

พริกกะเหรี่ยงนั้นจัดอยู่ในกลุ่มพริกขี้หนูเม็ดเล็กและถือเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นของชาวกะเหรี่ยงที่นี่  ซึ่งพวกเขารู้จักและยึดอาชีพการปลูกพริกกะเหรี่ยงกันมานานตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษเข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่นี่เลยทีเดียว เรียกว่าปลูกันมานานจนสืบสาวเรื่องราวไม่ได้เพราะไม่มีใครบันทึกไว้และเวลาก็ผ่านไปนานหลายชั่วอายุคน เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอหนองหญ้าปล้องบอกว่า พื้นที่ของอำเภอหนองหญ้าปล้องถือว่าปลูกพริกกะเหรี่ยงกันมาก มีพื้นที่ปลูกรวมทั้งอำเภอประมาณ 500 ไร่

Read More

อาหารเป็นพิษ กระเทียมช่วยได้

นอกจากกระเทียมจะสามารถลดระดับคอเลสเตอรอล และลดระดับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้แล้ว  ยังช่วยป้องกันอาหารเป็นพิษได้ด้วย  เพราะในกระเทียมมีน้ำมันที่มีกลิ่นฉุน  ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาหารเป็นพิษขึ้นภายในระบบย่อยของคนเรา

การรับประทานกระเทียมเป็นประจำช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาหารเป็นพิษได้  จากการวัดปริมาณแบคทีเรียในลำไส้พบว่า  ในขณะที่กระเทียมอยู่ในลำไส้จำนวนเพิ่มของแบคทีเรียชนิดธรรมดาจะเป็นไปอย่างปกติ  และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคจะถูกกำจัดไป  แบคทีเรียชนิดธรรมดามีอยู่จำนวนมากบริเวณลำไส้ส่วนล่าง  ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารและผลิตวิตามินเค

จากการใช้กระเทียมทดลองกับแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า ลิสเตเรีย รวมทั้งทดลองกับแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ที่เป็นต้นเหตุของอาหารเป็นพิษ เช่น ซัลโมเนลลา

คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของกระเทียมอยู่ที่สารอัลลิซิน ซึ่งเป็นสารประเภทซัลเฟอร์หรือกำมะถัน นับเป็นตัวยาชนิดแรกที่มนุษย์เรานำมาใช้ในการต่อต้านแบคทีเรีย

ความเชื่อของชาวจีนเองก็ยืนยันว่า กระเทียมยังเป็นยาอายุวัฒนะ และยังเชื่อกันอีกว่ากระเทียมเป็นพืชบำรุงพลังทางเพศ

แต่การรับประทานที่ได้ประโยชน์จะต้องผ่านกระบวนการทางความร้อนให้น้อยที่สุด และต้องรับประทานเป็นประจำ  เพราะกระเทียมไม่ใช่ยาที่จะสามารถบำบัดให้คนไข้หายป่วยแบบฉับพลันทันที แต่จะช่วยรักษาระบบต่าง ๆ  ภายในร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม  แม้กระทั่งเรื่องการขับถ่าย

เมืองไทยมีกระเทียมทั้งประเภทกินสดและกระเทียมแห้งไปจนถึงกระเทียมโทน  ดังนั้น  จึงสามารถเลือกรับประทานได้  และหากไม่ใช่ฤดูกระเทียมสดก็ยังมีกระเทียมแห้ง หรือเบื่อกระเทียมแห้งทั่วไปก็หันมารับประทานกระเทียมโทนดองก็ยังได้  แม้ราคาจะสูงไปนิด แต่ถ้าคิดว่าเพื่อซื้อชีวิตของเราให้ยืนยาวและอยู่ดูโลกอันสวยงามนี้ละก็ ราคาแพงนั่นอาจจะกลายเป็นถูกไป… Read More

พลูทอง: การปลูกและการขยายพันธุ์

“พลู” เป็นไม้เลื้อย มีข้อและปล้องเห็นชัดเจน มีรากออกรอบข้อ ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับ มีรูปร่างคล้ายใบโพธิ์ ขอบใบเรียบ “พลู” ชอบความชุ่มชื้น ชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่มีน้ำขัง ชอบแดดรำไร

การขยายพันธุ์ใช้เถาเพาะชำ  โดยตัดเถาพลูเป็นท่อน ๆ ให้มีข้อติด 3-5 ข้อ ปักชำในถุงเพาะชำจนรากงอกดีแล้วจึงย้ายปลูกในหลุม ขุดหลุมไม่ต้องลึกนึก  จากนั้นต้องทำค้างให้พลูเลื้อยขึ้น  โดยใช้เสาไม้เต็ง ไม้รัง หรือไม้ทองหลางปักเป็นหลัก

ปลูกพลู 2-3 ต้นต่อ 1 หลัก ระยะห่างระหว่างหลัก และระหว่างแถวประมาณ 1.5 เมตร  ต้องหมั่นพรวนดิน และตัดแต่งใบให้โปร่งอยู่เสมอ  เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี  และควรใส่ปุ๋ยคอกทุก ๆ 3 เดือน รดน้ำทุก

Read More