แหล่งเลี้ยงผึ้ง

ผลิตภัณฑ์ผึ้ง
ประเทศไทยและประเทศอื่นในทวีปเอเชียได้รู้จักเก็บเกี่ยวนํ้าผึ้งจากผึ้งพื้นเมือง ได้แก่ผึ้งมิ้ม (APIS FLOREA) ผึ้งหลวง (APIS DOR SATA) และผึ้งโพรง (APIS CERANA) มาเป็นเวลานานนับศตวรรษ ซึ่งพบว่าผึ้งมิ้มและผึ้งหลวงนั้นไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นผึ้งเลี้ยง เพราะผึ้งทั้งสองชนิดนี้มีอุปนิสัยที่จะต้องสร้างรังในที่โล่ง ไม่สามารถปรับตัวให้ อาศัยอยู่ในภาชนะหรือหีบเลี้ยงที่มนุษย์สร้างขึ้นได้ ส่วนผึ้งโพรงจะมีลักษณะการดำรงชีวิตที่แตกต่างออกไป โดยจะทำรังเป็นรวงซ้อนกันหลายๆ ชั้นตามโพรงไม้ ดังนั้นโดยทั่วๆ ไปแล้วผึ้งโพรงจะเป็นผึ้งเลี้ยงของเอเชีย
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาดูลักษณะอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งของโลก ผลผลิตน้ำผึ้งจะมีประมาณปีละ 600,000 ตัน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นผลผลิตที่ได้มาจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ (APIS MELUFERA) ประเทศผู้ผลิตรายสำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาชนจีน เม็กซิโก บราซิล อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ … Read More

ปัญหาของนมพร้อมดื่ม


ปัญหาเกี่ยวกับน้ำนมดิบที่ผลิตในประเทศ
1. ปริมาณน้ำนมดิบไม่เพียงพอกับความต้องการ
จากการสำรวจปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตได้เทียบกับความต้องการน้ำนมดิบ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นมต่างๆ ปรากฏว่า การขยายตัวของการผลิตน้ำนมดิบไม่ทันกับความต้องการใช้ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังจากปี 2529 ซึ่งตลาดนมพร้อมดื่มขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูงจากการประสบความสำเร็จของโครงการรณรงค์เพื่อการบริโภคนม กล่าวคือ ในปี 2529-2532 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของความต้องการนํ้านมดิบเพื่อผลิตนมพร้อมดื่มสูงถึงร้อยละ 24.7 เทียบกับช่วงก่อนปี 529 ซึ่งอัตราการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยเพียงร้อยละ 5-7 เท่านั้น นอกจากนี้ ยังคาดว่าตลาดนมพร้อมดื่มในช่วงปี 2533-2534 จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 8-9 เนื่องจากฐานการบริโภคยังคงขยายตัวต่อไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าไม่มีข้อจำกัดในเรื่องปริมาณนํ้านมดิบแล้วอัตราการขยายตัวจะอยู่ในเกณฑ์สูงกว่านี้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าวิตก คือ ในสภาพปัจจุบัน ปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตได้ร้อยละ 90 จะถูกส่งไปแปรรูปเป็นนมพร้อมดื่ม ซึ่งโรงงานแปรรูปนมพร้อมดื่มทั้งของราชการ รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์โคนมและเอกชน มีรวมกันประมาณ 40 แห่ง … Read More

ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายนมพร้อมดื่ม


จากการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทยปรากฏว่า ผลผลิตนมพร้อมดื่ม ในปี 2533 ยังคงขยายตัวสูงขึ้นจากปี 2532 โดยคาดว่าในปี 2533 จะสามารถผลิตนมพร้อมดื่มได้ทั้งสิ้นประมาณ 140.00 ล้านลิตร เทียบกับ 123.29 ล้านลิตร ที่ผลิตได้ในปี 2532 หรือสูงขึ้นร้อยละ 13.6 แยกเป็นปริมาณการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ 21.00 ล้านลิตร และการผลิตนมสเตอริไลส์และยูเอชที 119.00 ล้านลิตร เมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตในปี 2532 แล้ว ผลิตภัณฑ์นมทั้งสองประเภทเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และ 14.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากผลผลิตนํ้านมดิบมีเพิ่มขึ้น และมีผู้ผลิตรายย่อยเพิ่มจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยทั่วไปขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การบริโภคนมพร้อมดื่มขยายตัวมากขึ้นด้วย… Read More

ตลาดนมพร้อมดื่ม


ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มในตลาดปัจจุบันมีอยู่ 3 ประเภท คือ นมพาสเจอร์ไรซ์ นมสเตอริไรส์ และนมยูเอชที ผลิตภัณฑ์นมเหล่านี้มีการแข่งขันทางการตลาดสูงมาก แต่ยังคงมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดอยู่เสมอ ทั้งนี้เนื่องจากมูลค่าทางการตลาดขยายตัวสูงมากและโอกาสขยายตัวทางการตลาดก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูง กล่าวคือ ก่อนปี 2529 มูลค่าทางการตลาดของผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันคาดว่ามูลค่าทางการตลาดสูงกว่า 3,000 ล้านบาท และอาจจะถึง 5,000 ล้านบาทแล้ว สำหรับฐานการบริโภคขยายจากเด็กซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเดิมมาเป็นการเน้นว่าอาหารนมเหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัยโดยอาศัยโครงการรณรงค์บริโภคนม ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกว่า ขณะนี้มักจะพบนมพร้อมดื่มเครื่องหมายการค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอยู่เสมอ ประมาณว่าปัจจุบันทั่วทั้งประเทศมีนมพร้อมดื่มจำหน่ายไม่น้อยกว่า 30 ยี่ห้อ
สาเหตุสำคัญที่ทำให้นักลงทุนให้ความสนใจผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม สืบเนื่องมาจากความสำเร็จอย่างมากของโครงการรณรงค์บริโภคนม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชน ทำให้อัตราการขยายตัวของการบริโภคนมเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 20 ต่อปีในช่วงปี 2529-2531 และแม้ว่าตั้งแต่ปี 2532 นั้นอัตราการขยายตัวของการบริโภคลดลงเหลือร้อยละ … Read More

คุณค่าทางโภชนาการของนมพร้อมดื่ม


จากการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของนมโคและผลิตภัณฑ์พบว่าน้ำนมโคเป็นของเหลวที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย ส่วนประกอบของนํ้านมโคแบ่งออกได้เป็น 2 พวก คือ ส่วนประกอบที่มีปริมาณมาก ได้แก่ นํ้า ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และแร่ธาตุต่างๆ และส่วนประกอบที่มีปริมาณน้อย เช่น เอนไซม์ วิตามินต่างๆ เป็นต้น โดยที่ในนํ้านมโค จะมีน้ำประมาณร้อยละ 82-90 สำหรับปริมาณไขมันจะมีค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.9 แต่มีค่าแปรปรวนมากขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น พันธุ์ อาหาร ฤดูกาล เป็นต้น คาร์โบไฮเดรตที่พบในนํ้านมจะเป็นนํ้าตาลแลคโตส นับเป็นส่วนของของแข็งที่มีมากที่สุดและ มีปริมาณค่อนข้างคงที่ โดยจะมิปริมาณนํ้าตาลแลคโตสร้อยละ 4.4-5.2 อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณน้ำตาลแลคโตสก็คือ สภาวะของเต้านม ถ้าเต้านมอักเสบจะมีผลทำให้เกลือคลอไรท์ในนํ้านมเพิ่มขึ้น และนํ้าตาลแลคโตสลดลง นํ้าตาลแลคโตสนี้มีความสำคัญต่อกระบวนการหมักและการบ่มของผลิตภัณฑ์นม ทั้งยังเป็นตัวช่วยเพิ่มคุณค่าทางอาหารของนํ้านมและผลิตภัณฑ์นม … Read More

ประเภทของนมพร้อมดื่ม


นมพร้อมดื่มหรือนมสดผ่านความร้อนจะเป็นนมสดที่จำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
ตารางสรุปขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการผลิตนมพร้อมดื่ม


1. นมสดพาสเจอร์ไรซ์ (PASTEURIZED MILK) หมายถึง กรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนไม่ตํ่ากว่า 63 องศาเซลเซียส และคงอยู่ที่อุณหภูมินี้ไม่น้อยกว่า 30 นาที หรือทำให้ร้อนไม่ต่ำกว่า 72 องศาเซลเซียส และคงอยู่ที่อุณหภูมินี้ไม่น้อยกว่า 16 วินาที แล้วจึงทำให้เย็นลงทันทีที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสหรือตํ่ากว่า ทั้งนี้จะผ่านกรรมวิธีทำนมสดให้เป็นเนื้อเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
2. นมสดสเตอริไลส์ (STERILIZATION MILK) หมายถึง นมสดที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนไม่ตํ่ากว่า 100 องศาเซลเซียส ภายในเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ต้องผ่านกรรมวิธีทำให้นมสดเป็นเนื้อเดียวกัน
3. นมสดยูเอชที (ULTRA HIGH Read More

ธุรกิจการเลี้ยงโคนม

นมพร้อมดื่ม
นมพร้อมดื่มจัดเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อันเป็นผลผลิตจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มในเชิงการค้าได้เริ่มขึ้นในประเทศไทยเป็นเวลา 25 ปีมาแล้ว อันมีผลสืบเนื่องมาจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ ได้เสด็จประพาสทวีปยุโรปในปี พ.ศ. 2503 ทั้งสองพระองค์ทรงให้ความสนพระทัยเกี่ยวกับกิจการการเลี้ยงโคนมของเดนมาร์กเป็นอย่างมาก รัฐบาลเดนมาร์กและสมาคมเกษตรกรเดนมาร์กจึงได้ร่วมน้อมเกล้าฯ ถวายโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้เป็นของขวัญแด่ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ และเพื่อให้การดำเนินโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยบรรลุตามเจตนารมณ์ ที่ตั้งไว้ จึงได้มีการตกลงทำสัญญาให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเดนมาร์ก ซึ่งรัฐบาลเดนมาร์กได้ให้ความช่วยเหลือจัดตั้งฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงขึ้นที่ตำบลมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี พร้อมทั้งจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาเริ่มดำเนินการ
นอกจากโครงการความช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเดนมาร์กแล้ว รัฐบาลไทยยังได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลียภายใต้แผนโคลัมโบ ได้มอบอุปกรณ์การผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์แก่ภาควิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใน ปี พ.ศ. 2504 รวมทั้งความช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมันตะวันตก โดยจัดทำโครงการ ในลักษณะคล้ายคลึงกับที่เดนมาร์กดำเนินการอยู่ที่มวกเหล็ก เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ปี 2507 ส่วนในด้านของกรมปศุสัตว์ก็เริ่มโครงการผสมเทียมโคโดยใช้นํ้าเชื้อจากพ่อพันธุ์โคนม พร้อมทั้งจัดตั้งสถานีผสมเทียมแห่งแรกที่อำเภอห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ และแห่งที่สองที่ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พ่อพันธุ์โคนมที่ใช้ผสมเทียมชุดแรกเป็นโคนมพันธุ์บราวน์สวิส ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา… Read More

ต้นเหงือกปลาหมอ

(Sea Holly)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acanthus ilicifolius L.
ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE
ชื่ออื่น แก้มหมอ แก้มหมอเล (กระบี่). นางเกร็ง จะเกร็ง อีเกร็ง (กลาง) เหงือกปลาหมอ เหงือกปลาหมอน้ำเงิน (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่มลำต้นเลื้อย สูง 1-2 ม. ไม่มีเนื้อไม้ลำต้น เป็นโพรง ตั้งตรง แต่เมื่ออายุมากจะเอนนอน ลำต้นแก่จะแตกกิ่งออกไป มีรากค้ำจุน และมีรากอากาศ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก มักมีหนามที่โคนก้านใบ 1 คู่ใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. … Read More

หวายลิง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Flagellaria indica L.
ชื่อวงศ์ FLAGELLARIACEAE
ชื่ออื่น หวายเย็บจาก หวายลี (ใต้)
ลักษณะ ทั่วไป ไม้เลื้อย ลำต้นแข็งคล้ายหวาย เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3-0.8 ซม. แตกกิ่งยาว 3-5 ม. หรือบางครั้งอาจยาวได้ถึง 10 ม. เปลือกต้นมีสีเขียว แต่เมื่อลำต้นแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีเทา


ใบ เรียวยาว รูปใบหอกถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 0.5-2 ซม. ยาว 7.5-20 ซม. ปลายใบม้วนงอ เรียวยาว และแข็ง ทำหน้าที่เกาะไม้อื่น เพื่อพยุงลำต้นให้เลื้อยทอดสูงขึ้น … Read More

หลุมพอทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Intsia bijuga (Colebr.) Kuntze
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPIMIOIDEAE
ชื่ออื่น ประดู่ทะเล (กลาง) งือบาลาโอ๊ะ (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นสูง 20-40 ม. ทรงพุ่มทรงสูงถึงแผ่กว้าง เปลือกต้นสีเทาแกมเหลืองถึงสีนํ้าตาลเทา เรียบหรือแตกสะเก็ด เปลือกชั้นในสีชมพูถึงส้มผิวเปลือกสีเขียว
ใบ ใบเดียวปลายใบมนหรือกลม เว้าเล็กน้อย โคนใบกลม แผ่นใบเกลี้ยง มีปื้นขนเล็กน้อยด้านล่างใกล้โคนใบ ก้านใบย่อยยาว 0.2-0.8 ซม.


ดอก สีชมพูหรือสีขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ออกดอกที่ปลาย กิ่งแบบช่อแยกแขนง มีขนสั้นนุ่มละเอียด ช่อดอกยาว 7-10 ซม. กลีบ เลี้ยงยาว 0.8 … Read More