Tag: การปลูกกุหลาบ

การเลือกต้นกุหลาบมาปลูก

 

การเลือกต้นปลูก

1. จะปลูกกุหลาบโดยใช้กิ่งตอนหรือกิ่งตัดชำนั้นโดยหลักการทางการขยายพันธุ์พืชแล้ว เราถือว่าต้นพืชที่ขยายพันธุ์ทั้งวิธีตอนและชำกิ่งมีคุณสมบัติเหมือนกันคือ ต่างก็มีรากและมียอดของตนเอง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ต้นพืชที่ปลูกจากกิ่งตัดชำจะมีข้อแตกต่างกันบ้างในส่วนปลีกย่อยดังนี้คือ

ก. ความสม่ำเสมอของต้นพืชที่ปลูกอยู่ในแปลง ถ้าเป็นแปลงที่ปลูกจากกิ่งตอน จะหาความสม่ำเสมอได้ยาก มักจะพบต้นแห้งตาย ต้นเล็กและแคระแกร็น ต้นโตเป็นปกติและต้นที่โตมากรวมคละอยู่ในแปลงเดียวกัน โดยเฉพาะ ผู้ที่ปลูกมือใหม่ ๆ ด้วยแล้ว สภาพเช่นนี้จะพบเห็นได้ง่ายมาก ทั้งนี้เพราะกิ่งตอนนั้น มักตอนมาจากสภาพต้นต่าง ๆ กัน บางต้นสมบูรณ์ดี บางต้นแทบเลี้ยงตัวเองไม่รอด กิ่งตอนบางกิ่งสมบูรณ์ใบงาม บางกิ่งแก่ใบโกร๋น บางกิ่งก็ร่อนไป บางกิ่งเป็นกิ่งข้างอยู่ในพุ่ม บางกิ่งเป็นกิ่งกระโดง บางกิ่งตอนจากกิ่งยอด บางกิ่งตอนจากกิ่งรองยอด เมื่อเป็นเช่นนี้ที่จะมีผลทำให้การออกรากไม่พร้อมกัน จำนวนรากมากน้อยต่างกัน ใบสมบูรณ์มากน้อยต่างกัน กิ่งอ่อนแก่ต่างกัน ซึ่งสภาพเช่นนี้เองทำให้กิ่งแข็งแรงไม่เท่ากัน เมื่อนำมาปลูกแล้วจึงมีสภาพตายมากตายน้อย โตมากโตน้อย … Read More

แหล่งปลูกกุหลาบส่งออก

กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่รู้จักและปลูกในเมืองไทยมานานแล้ว แต่ที่มีหลักฐานว่าได้มีการปลูกกันอย่างจริงจังนั้น ได้เริ่มขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า (รัชกาลที่ 5) แต่การปลูกกุหลาบในสมัยนั้นเป็นการปลูกแบบปลูกประดับมากกว่าที่จะปลูกตัดดอกจำหน่ายเป็นการค้าดังเช่นที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มักจะปลูกกันอยู่ในวงราชการชั้นผู้ใหญ่ และพันธุ์ที่ปลูกกันอยู่ก็มีเพียงไม่กี่พันธุ์ ผู้ที่อยู่ในวงการกุหลาบคงได้ยินชื่อกุหลาบบางพันธุ์ที่ตั้งขึ้นเป็นภาษาไทยในสมัยนั้น เช่น พันธุ์จุฬาลงกรณ์ พันธุ์เหลืองเรณู พันธุ์เหลืองเชียงใหม่ เป็นต้น ปัจจุบันพันธุ์เหล่านี้ก็พอที่จะหาได้ แต่ก็มีน้อยหรือหายากเต็มที เพราะเป็นพันธุ์กุหลาบที่เพิ่งได้รับกาปรับปรุงขึ้นในสมัยต้น ๆ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับพันธุ์กุหลาบที่ปลูกกันอยู่ในปัจจุบันแล้ว จะมีความสวยงามแตกต่างกันมากทีเดียว

อย่างไรก็ตาม การปลูกกุหลาบในสมัย ร.5 นี้ ได้รับความนิยมอยู่ระยะหนึ่ง แต่ในระยะต่อมาก็ได้ซบเซาแล้วกลับได้รับความนิยมขึ้นอีก เป็นพัก ๆ ขึ้นๆ ลงๆ ตลอดมาจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2496 หรือประมาณ 20 ปีที่แล้วมานี้ กุหลาบก็กลับได้รับความนิยมขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้มีการปลูกกุหลาบกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันยิ่งขึ้น จนกระทั่งได้เกิดมีการปลูกกุหลาบตัดดอกเพื่อจำหน่ายขึ้นเป็นครั้งแรก … Read More

มุมมองเรื่องกุหลาบตัดดอก

เมื่อมีโอกาสผ่านไปเชียงใหม่ครั้งใดก็อดไม่ได้ที่จะแวะเยี่ยมเยือน คุณพจนา  นาควัชระ เจ้าของสวนกุหลาบพน.และประธานกลุ่มผู้ปลูกกุหลาบเชียงใหม่ กุหลาบที่สวนพน.ในปีนี้มีการฟื้นตัวช้า  บางแปลงต้องตัดทิ้งแล้วนำถั่วเหลืองมาปลูกเพื่อทำการปรับปรุงดินให้สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์  ซึ่งปกติแล้วการปลูกกุหลาบจะไม่นิยมปลูกซ้ำที่เดิม แต่ในกรณีที่บางสวนไม่มีพื้นที่ที่จะขยายไปปลูกแห่งใหม่มีความจำเป็นที่จะต้องปลูกซ้ำที่เดิม  ก็ควรจะมีการปรับปรุงพื้นที่หรือปลูกพืชบำรุงดิน ซึ่งเป็นทางออกที่ดีอีกวิธีหนึ่ง

กลุ่มผู้ปลูกกุหลาบเชียงใหม่รวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้

ชมรมรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เท่านั้น ส่วนตลาดต่างคนต่างมีตลาดเป็นของตัวเอง การรวมตัวกันขายเป็นไปไม่ได้ ไม่เหมือนกับชมรมผู้ปลูกกุหลาบฮิมดอยที่ อ.สันกำแพงเขาจะรวมตัวกันผลิตและรวมตัวกันขายเป็นการทำในหมู่บ้านในเครือญาติ

เกษตรกรรายย่อยต้องการพันธุ์กุหลาบสำหรับปลูกกลางแจ้ง

ปีนี้กุหลาบฟื้นตัวช้า ปัจจุบันมีเกษตรกรหันมาปลูกกุหลาบโดยที่ไม่มีความรู้ในเรื่องพันธุ์ เมื่อเห็นว่ากุหลาบพันธุ์นี้ดอกโตสีสวยก็นำมาปลูก ไม่ได้พิจารณาว่ากุหลาบที่ปลูกนี้อายุการปักแจกันอยู่ได้นานแค่ไหน ดอกโตสีสวยแต่ปักแจกันได้เพียง 2-3 วัน ตลาดเขาก็ไม่ต้องการ เกษตรกรรายใหม่ไม่รู้เรื่องพันธุ์เมื่อปลูกกุหลาบไปแล้วปรากฎว่ามันใช้ไม่ได้ กว่าจะรู้ว่าใช้ไม่ได้ก็เสียเวลาและหลงทางเสียเงินเปล่า ต้องมาเริ่มต้นใหม่ บางครั้งคนขายพันธุ์กุหลาบเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าพันธุ์ไหนควรปลูก พันธุ์ไหนไม่ควรปลูก กุหลาบพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าหายากขึ้นทุกวัน  พันธุ์ที่นำมาจากต่างประเทศเหมาะที่จะปลูกในโรงเรือน ซึ่งต้องลงทุนสูง โรงเรือนไร่ละ 400,000-500,000 บาท เกษตรกรทั่วไปปลูกไม่ได้ ฉะนั้นเกษตรกรจึงต้องมาสนใจพันธุ์ที่สามารถปลูกกลางแจ้งได้  ซึ่งขณะนี้คุณพจนากำลังศึกษาหาพันธุ์ที่จะมาปลูกนอกโรงเรือนหรือปลูกกลางแจ้ง กรมส่งเสริมน่าจะหาพันธุ์ที่ปลูกนอกโรงเรือนมาให้เกษตรกร … Read More