Tag: การปลูกมะม่วง

มะม่วง:มะม่วงปาล์มเมอร์ที่เขาค้อ

มะม่วงเป็นไม้ผลในบ้านเราที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก อีกทั้งมีพันธุ์มะม่วงให้เลือกมากมายทั้งพันธุ์เก่าและพันธุ์ใหม่แล้วแต่ความชอบของเกษตรกร ตลาดของมะม่วงในขณะนี้ มีทั้งตลาดมะม่วงขายสุก และขายดิบเพื่อทำมะม่วงยำ หรือมะม่วงน้ำปลาหวาน ซึ่งมะม่วงเหล่านี้ล้วนเป็นมะม่วงเพื่อบริโภคสด ในแง่ของมะม่วงเพื่ออุตสาหกรรมแปรรูปแล้ว บ้านเรามีมะม่วงไม่กี่พันธุ์ เช่น มะม่วงแก้ว มะม่วงสามปี สำหรับพันธุ์มะม่วงจากต่างประเทศ ซึ่งสถานีวิจัยหลายแห่งเช่น สถานีวิจัยปากช่อง  ได้มีการนำเอามาปลูกหลายพันธุ์ด้วยกัน หนึ่งในจำนวนหลายพันธุ์นั้น มะม่วงพันธุ์ปาล์มเมอร์เป็นพันธุ์หนึ่งที่ให้ผลผลิตดีและสม่ำเสมอ  ดังเช่นผลการปลูกที่สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งได้นำมะม่วงพันธุ์ปาล์มเมอร์ไปทดลองปลูกที่ระดับความสูง 600 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล จึงทำให้ทีมงานเคหการเกษตรต้องติดตามขึ้นไปดู

เป้าหมายเพื่อพัฒนาพืชเมืองหนาว

สถานีวิจัยเพชรบูรณ์เริ่มงานตั้งแต่เมื่อปี 2528 ในรูปของโครงการพัฒนาพืชเมืองหนาว จนกระทั่งปี 2534 โครงการดังกล่าวก็เริ่มก่อตั้งเป็นสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบเกษตรวิกฤติ  เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับสำนักงานอธิการบดี ม.เกษตรศาสตร์  ปัจจุบันสถานีวิจัยเพชรบูรณ์มีแปลงทดลองทั้งหมด 3 แปลงที่ระดับความสูงตั้งแต่ 700-1,200 เมตร … Read More

มะม่วง:การศึกษาผลของโซเดียมคลอไรด์ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะม่วงที่ใช้เป็นต้นตอ

เรืองศักดิ์  กมขุนทด และฉลองชัย  แบบประเสริฐ

สถานีวิจัยปากช่อง นครราชสีมา

มะม่วงที่ปลูกในปัจจุบัน โดยมากมักนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีทาบกิ่ง ต่อกิ่ง เสียบกิ่ง หรือเปลี่ยนยอดกับต้นตอ เพราะต้องการให้มีระบบรากที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ต้นตอที่นิยมและยอมรับว่าดี คือมะม่วงแก้วและมะม่วงกะล่อน

การเจริญเติบโตและการพัฒนาของมะม่วงมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ความเค็มเป็นปัจจัยหนึ่งในนั้น ต้นที่ได้รับความเค็ม มักจะแคระแกร็น เจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ ขนาดใบลดลง และมีสีเขียวเข้มผิดปกติ ใบหนา หยาบกระด้าง ใบไหม้จากปลายมายังโคนและยังมีผลทำให้ต้นพืชเกิดอาการขาดน้ำ นอกจากนี้ธาตุโซเดียม(Na) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเกลือที่ละลายออกมามีผลทำให้โครงสร้างของดินเลว ดังนั้นการใช้พืชทนเค็มจึงเป็นวิธีการแก้ไขวิธีการหนึ่งซึ่งจำเป็นอย่างมาก การวิจัยพืชทนเค็มจึงมีความสำคัญ และต้องหาพืชที่เหมาะสมทนเค็มได้สูง ให้ผลตอบแทนสูงด้วย

การทดลองใช้เกลือโซเดียมคลอไรด์ในระดับความเข้มข้น 0,1,3℅เพื่อศึกษาหาผลของเกลือต่อการเจริญเติบโตและอาการเป็นพิษของใบกล้ามะม่วง พบว่าเกลือทุกระดับความเข้มข้นมีผลต่อความสูงสะสมที่เพิ่มขึ้น และเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นสะสมที่เพิ่มขึ้น หากความเข้มข้นของเกลือสูงขึ้น มีผลทำให้ความสูงสะสมที่เพิ่มขึ้น และเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นสะสมที่เพิ่มขึ้นลดน้อยลง ต้นกล้ามะม่วงสามารถทนเกลือได้ในระดับความเข้มข้น 1℅ซึ่งแสดงอาการใบไหม้เล็กน้อย

Read More

ถาม-ตอบเกี่ยวกับการปลูกมะม่วง

ดร.อาวุธ ณ ลำปาง

ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยพืชไร่บางเขน

คุณสุรชัย  รอดเกษม  ธกส.อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

ถาม

1.  จะบำรุงต้นและใบมะม่วงอย่างไร  ให้มีช่อดอกมาก และให้ปุ๋ยอะไร ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยคอก

ตอบ

1. มะม่วง จะมีช่อดอกมาก ต้องปล่อยให้ดินแห้ง(ไม่รดน้ำ) ในเดือนธันวาคม ถ้ามี อากาศเย็นมากระทบประมาณ 10-15 วัน ช่อดอกจะออกเต็มดูสะพรั่ง

ปัญหาต่อไป อยู่ตรงที่ว่า ทำอย่างไรผลจึงจะติดดี  ระยะที่ดอกตูม จะต้องผสมยากำจัดเชื้อราและยาฆ่าแมลงอ่อน ๆ ฉีดพ่นตามช่อ สัก  2-3 ครั้ง  เมื่อมะม่วงติดเป็นผลเล็ก ๆ ขนาดเท่าเม็ดถั่ว … Read More