Tag: การปลูกหญ้าแฝก

ข้อแนะนำในการปลูกหญ้าแฝก

ข้อสังเกตทั่วไป

(1) แนวรั้วหญ้าแฝกที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ช่วยลดการไหลบ่าของกระแสนํ้าและทำให้ปริมาณนํ้าในดินเพิ่มขึ้นการไหลบ่าของกระแสนํ้าในหน้าแล้ง ทำให้มีการรักษาความชื้นใต้แนวรั้วแฝกได้ดีขึ้น

(2) มีตัวอย่างจำนวนมากที่แสดงว่า พื้นที่ซึ่งมีความลาดเอียง 5% ดินตะกอนจะถูกพัดพามาทับถมกันไว้ที่ด้านหลังแนวหญ้าแฝกหนาประมาณ 10 เซนติเมตร เป็นประจำทุกปี

(3) นอกจากจะใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและรักษาความชื้น หญ้าแฝกยังใช้เป็นหญ้าแห้งสำหรับเลี้ยงสัตว์ มุงหลังคาบ้าน ปกคลุมต้นไม้ รองนอนให้สัตว์ เป็นแนวต้านลม ป้องกันไหล่ถนน และใช้ทำไม้กวาด

(4) ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการระบายนํ้าให้แก่ การเพาะปลูกพืชบริเวณไหล่เขา อย่างเช่นแนวต้นยาสูบบนพื้นที่ลาดแบบขั้นบันได แนวรั้วหญ้าแฝก จะเป็นเครื่องป้องกันอย่างดีเยี่ยมไม่ให้เกิดการกัดเซาะ หากปลูกไว้ตามแนวระดับที่มีระยะห่างแน่นอนตายตัวตามไหล่เขา

(5) รากของต้นหญ้าแฝกส่วนใหญ่จะหยั่งลึกลงไปในดินอย่างน้อย 3 เมตร และรากส่วนอื่น ๆ จะงอกออกไปตามแนวพื้นที่กว้างไม่เกิน 50 เซน­ติเมตร ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกมากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะดินตามแนวรั้วหญ้าแฝกมีปริมาณความชื้นสูง… Read More

การรักษาความชุ่มชื้นในดิน

แม้ว่ามาตรการในการเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดินจะจำเป็นต่อการเพาะปลูกแบบอาศัยน้ำฝน แต่วิธีการรักษาความชุ่มชื้นไว้ในพื้นที่เดิมตามที่เรียกกัน แทบจะไม่มีการปฏิบัติกันเลย และไม่เป็นที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวาง ไม่มีพื้นที่ไหนที่เป็นที่ราบ เพราะการไหลบ่าของนํ้าเกิดขึ้นในทุกพื้นที่ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าพื้นที่จะราบเพียงใดถ้าหากเป็นการเพาะปลูกแบบอาศัยนํ้าฝนแล้วก็จำเป็นจะต้องจัดแนวระดับที่ดิน การปรับรูปที่ดิน การปรับระดับผิวดิน และเทคนิคทำนองนี้จะทำกันแต่ในพื้นที่ชลประทานเท่านั้น แต่ในพื้นที่เพาะปลูกที่อาศัยน้ำฝนจะต้องทำเป็นแนวระดับ รูปที่ 31 แสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเพาะปลูกบนพื้นที่ราบโดยไม่ได้ทำแนวร่องเป็นแนวระดับ

จากรูป A น้ำฝนไหลตรงผ่านทุ่งไป รูป B แสดงผลที่ตามมา เนื่องจากไม่มีความชุ่มชื้น ต้นไม้จึงเหี่ยวและตายไปเพราะแสงแดด รูป C แสดงพื้นที่ เดียวกันแต่ปลูกพืชตามแนวร่องโดยมีร่องลึกสำหรับดักนํ้าที่ไหลล้น ซึ่งต้องทำก่อนที่จะปลูกหญ้าแฝก น้ำฝนที่ถูกเก็บไว้ได้ในร่องดินก็มีโอกาสที่จะซึมลงไป ในดิน แนวร่องแต่ละแนวอุ้มน้ำฝนที่ตกได้ปริมาณ 50 มิลลิเมตร ดังนั้นเมื่อเกิดพายุส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีน้ำไหลบ่า นอกจากนี้ระบบเก็บน้ำตามธรรมชาตินี้ ยังทำให้ต้นไม้ได้ประโยชน์จากแสงแดดตามที่แสดงไว้ในรูป D ในรูป E แนวร่อง … Read More

หญ้าแฝก:ปลูกแฝกในสวนพุทราพลิกฟื้นผืนดินทรายให้ชุ่มชื้น

สภาพดินทรายที่ไม่อุ้มน้ำ น้ำระเหยและซึมลงดินในระยะเวลาอันรวดเร็ว  อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ลาดเทเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ในพื้นที่ ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ส่งผลให้เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องเลือกที่จะปลูกอ้อยและมันสำปะหลังเท่านั้น  เนื่องจากสภาพดินไม่เหมาะสมที่จะปลูกพืชชนิดอื่น  ซึ่งนับวันผลผลิตอ้อยและมันสำปะหลังก็ตกต่ำลงเรื่อย ๆ เป็นปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่

นายวิกุล  กงสะเด็น  หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน เป็นเกษตรกรผู้หนึ่งที่ประสบปัญหาดังกล่าว  จึงตั้งใจเปลี่ยนจากการปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง มาทำการเพาะปลูกไม้ผล ซึ่งน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า โดยอาศัยประสบการณ์ที่เคยไปรับจ้างอยู่ในสวนที่ จ.นครปฐม ปลูกไม้ผล เช่น พุทรา ฝรั่ง ชมพู่

หมอดินวิกุล เล่าว่า ตนได้นำความรู้และประสบการณ์เมื่อครั้งไปรับจ้างทำสวนไม้ผลอยู่ 9 ปี มาลองปลูกในพื้นที่ของตนเอง แต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ไม้ผลไม่เจริญเติบโต แคระแกร็น  เพราะปัญหาในเรื่องของสภาพดิน ทำให้ต้องขวนขวายหาความรู้ด้านการปรับปรุงดินจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะได้รับความรู้จากสถานีพัฒนาที่ดินขอนแก่นในเรื่องการปลูกหญ้าแฝกช่วยรักษาให้ดินชุ่มชื้นได้ตลอดปี  และได้รับการสนับสนุนกล้าหญ้าแฝกมาด้วย ตนจึงเริ่มลงมือปลูกหญ้าแฝกมาตั้งแต่ปี … Read More