Tag: การเพาะเห็ดฟาง

ปัญหาในการเพาะเห็ดฟางกองสูงและกองเตี้ย

ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงและกองเตี้ย

1. เส้นใยไม่เดิน

เส้นใยไม่เดินมีผลเนื่องจากหลายประการ คือ

  • เชื้อเห็ดไม่บริสุทธิ์ ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาเชื้อเห็ดบริสุทธิ์มา ใช้ โดยไม่มีเชื้อโรคปน และควรเป็นเชื้อที่แข็งแรงคือ ทำการติดต่อจากดอกเห็ดไม่เกิน 10 ช่วง ควรอยู่ระหว่างช่วงที่ 3 – 7
  • ใช้ฟางเก่าที่ถูกแดดถูกฝนเพาะ ทั้งนี้เพราะฟางจะถูกจุลินทรีย์ในธรรม ชาติดูดเอาอาหารไปใช้ก่อนเชื้อเห็ดฟาง ดังนั้นฟางที่จะใช้ควรเป็นฟางที่ไม่ถูกฝน และควรเป็นฟางแห้ง
  • เพาะซ้ำที่เดิมปัญหานี้เป็นปัญหาที่พบกันมาก  ทั้งนี้เนื่องจากการเพาะ เห็ดฟางแบบกองสูงหรือกองเตี้ยเป็นวิธีที่ไม่มีการฆ่าเชื้อ ดังนั้น ใน ขณะที่เพาะครั้งแรกจะมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อเห็ดสะสมอยู่ ทำให้ การเพาะครั้งต่อไปผลผลิตจะลดลง
  • อุณหภูมิเย็นเกินไป ทางแก้คือ ต้องใส่อาหารเสริมที่แห้งตรงกลางกอง คลุมผ้าพลาสติกให้มิดแล้วคลุมฟางให้หนา หรือสร้างโรงเรือนคลุม อีกที
Read More

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เป็นการวิวัฒนาการมาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง โดยทำการปรับสภาพแวดล้อม และความต้องการให้สอดคล้องกับธรรมชาติและอุปนิสัยของเห็ดฟาง มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการลดต้นทุนในการผลิต มีวิธีการที่ง่ายเข้า ตลอดจนใช้วัสดุในการเพาะ สถานที่ ระยะเวลาที่ไม่มากนัก รวมทั้งให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น

หลังจากกรมวิชาการเกษตรได้คนพบวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เมื่อ พ.ศ. 2508 และได้เผยแพร่ให้แก่เกษตรกร ปรากฎว่าได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นอย่างดี ทำให้กิจการเกี่ยวกับเห็ดฟาง ทั้งทางด้านการเพาะและการผลิตเชื้อเห็ดขยายตัวมากยิ่งขึ้น

ข้อดีของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะ แบบกองสูง เช่น

1. ใช้วัสดุได้มากชนิดกว่า เช่น ตอซัง, ปลายฟาง, ผักตบชวา, ต้นกล้วย ขี้ฝ้าย, ไส้นุ่น, ชานอ้อย, ขี้เลื่อย, หญ้าขจรจบ, หญ้าคา เป็นต้น

2. วิธีการไม่ยุ่งยากมากนัก ประหยัดแรงงานคน ๆ … Read More

การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง

การเพาะเห็ดฟางในประเทศไทยมีมานานกว่า 40 ปีมาแล้ว โดยใช้วิธี เลียนแบบธรรมชาติ ผู้เพาะส่วนใหญ่เป็นชาวจีน โดยการนำเอาฟางมากองสุมกันไว้ แล้วนำปุ๋ยหมักที่เห็ดฟางเคยขึ้นมาก่อน โรยบนกองฟาง เมื่อเชื้อเห็ดได้รับความชื้น และอุณหภูมิพอเหมาะแล้วจะเจริญออกมาอย่างรวดเร็ว ประมาณ 15-20 วัน ก็จะ มีเห็ดฟางเกิดขึ้น จะเก็บผลผลิตไปได้เรื่อย ๆ จนกระทั่งฟางเน่าสลาย วิธีนี้ได้ผลผลิตไม่แน่นอน ทั้งนี้เพราะปุ๋ยหมักที่เห็ดฟางเคยขึ้นอาจไม่มีเชื้อเห็ดฟางเหลืออยู่ หรือเชื้อที่อยู่ในปุ๋ยเสื่อมคุณภาพไปแล้วก็ได้

จนกระทั่ง อาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์ ได้ทำการส่งเสริมและเผยแพร่ให้แก่ เกษตรกรโดยใช้เทคนิคและวิธีการแผนใหม่เข้าช่วยในการเพาะเห็ดฟาง นับตั้งแต่นั้น มาทำให้มีการเพาะเห็ดฟางอย่างกว้างขวาง และเป็นผลทำให้มีการเพาะเห็ดเศรษฐกิจอย่างอื่น เช่น เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดเปาฮื้อ เห็ดนางรมและเห็ดถั่ว เป็นต้น

การเพาะเห็ดฟางในประเทศไทย เป็นอาชีพสำคัญอีกอาชีพหนึ่งของเกษตรกร กล่าวคือ การเพาะเห็ดฟางสามารถใช้วัสดุที่เหลือใช้จากเกษตรกรรม … Read More

เห็ดฟาง:การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

อดีตของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยก็คือ สามารถจะใช้วัสดุเพาะได้หลายอย่าง เช่น ฟาง ผักตบชวา ต้นถั่ว ต้นกล้วย ขี้เลื่อยที่ผุแล้ว ชานอ้อย เป็นการเพาะที่ใช้วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตสูง สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอนเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือเพื่อใช้กินเองในครัวเรือน

เห็ดฟางชอบอากาศร้อน อุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ดีทั้งในฤดูฝนและในฤดูร้อน ความชื้นเป็นส่วนสำคัญในการเพาะเห็ดฟาง เป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดที่สำคัญถ้าความชื้นมีน้อยเกินไปเส้นใยของเห็ดจะเดินช้า และรวมตัวเป็นดอกไม่ได้ ถ้าความชื้นมากเกินไป การระบายอากาศภายในกองไม่ดี ถ้าเส้นใยขาดออกซิเจนก็จะทำให้เส้นใยฝ่อหรือเน่าตายไป

การเตรียมดินให้พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค นำตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำพออ่อนตัวประมาณ 1 ชั่วโมง ปลายฟางแข็งๆควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือจุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกันไว้ประมาณ 1 คืน ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่ม ปกติแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาให้กองได้เลย… Read More