Tag: น้ำหมักชีวภาพ

น้ำหมักชีวภาพ:น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอร์รี่

นายเจริญ  หอยสังข์  เกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)จังหวัดนครศรีธรรมราช ประสบความสำเร็จในการทำสวนผสม โดยใช้วิธีทางชีวภาพแก้ปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์  จนสามารถสร้างรายได้อย่างพอเพียงตลอดทั้งปี จากผลผลิตจากพืชหลายชนิด

นายเจริญ  เล่าว่า เดิมทีตนใช้ปุ๋ยเคมีในการเพาะปลูกเป็นจำนวนมากเนื่องจากลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินปนทราย  ซึ่งเป็นดินแน่นทึบ อัดตัวแน่น รากของต้นไม้ชอนไชหาอาหารได้ยาก ขาดอินทรียวัตถุ ธาตุโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ความสามารถในการแลกเปลี่ยนธาตุอาหารต่ำมาก และหลังใช้ปุ๋ยเคมีเป็นระยะเวลานาน สภาพดินก็เสื่อมโทรมจุลินทรีย์ในดินยิ่งลดลง ดินก็ยิ่งเป็นกรดมากขึ้น อีกทั้งปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเริ่มหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี

สำหรับขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพนั้นเริ่มจากนำหอยเชอร์รี่ประมาณ 100 กิโลกรัม  ใส่ลงในกระสอบปุ๋ยแล้วทุบให้ละเอียด  จากนั้นใส่ลงในถังหมัก ใส่กากน้ำตาล 25-30 กิโลกรัม และนำพด.2 สารเร่งซุปเปอร์ผสมกับน้ำประมาณ 10 ลิตรแล้วเทลงไปในถัง ใส่น้ำเพิ่มอีก 40 ลิตร ปิดฝาให้สนิท 7 วัน … Read More

น้ำหมักชีวภาพ:น้ำหมักชีวภาพ พด.6 กับ อีเอ็มบอล

จากกรณีที่มีหลายหน่วยงานได้ออกมาสนับสนุนและช่วยเหลือในการฟื้นฟูบำบัดน้ำเน่าเสียในพื้นที่ประสบอุทกภัยด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละหน่วยงานที่ทำขึ้นมา  แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเข้าใจและเรียกรวมผลิตภัณฑ์ที่บำบัดน้ำเสียว่า อีเอ็ม หรือ อีเอ็ม บอล

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าจุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู  หรือเห็นเมื่อเกิดการเกาะกลุ่มกัน  ซึ่งจุลินทรีย์ ประกอบด้วย แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และยีสต์  ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ และเป็นจุลินทรีย์ที่มีทั้งประโยชน์และโทษ สำหรับ EMที่ใช้กันมากทางการเกษตร  ย่อมาจากคำว่า Effective Microorganism แปลว่าจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นหลักการเดียวกัน ที่นำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ขณะนี้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง เกิดการเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็น จึงได้มีการคัดเลือกจุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งมาใช้ประโยชน์ แต่มีการเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ของแต่ละหน่วยงานตลอดจนการผลิตขายโดยเอกชน ในชื่อที่แตกต่างกัน รวมถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างกัน เช่น เป็นของเหลว เป็นลูกบอล หรือเป็นผง

ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดิน … Read More

น้ำหมักชีวภาพ:น้ำหมักกล้วยตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว

เดิมทีในกระบวนการผลิตยางแผ่นดิบ เกษตรกรจะใช้น้ำยางพารามาผสมกับสารละลายกรด เพื่อ ให้เนื้อยางจับกันเป็นก้อน ก่อนนำไปขึ้นรูปเป็น ยางแผ่น แต่เนื่องจากสารเคมีมีราคาแพงอีกทั้งยัง ส่งผลเสียต่อสุขภาพและส่งผลกระทบต่อสภาพ แวดล้อม เกษตรกรส่วนหนึ่งจึงนำสารที่ได้จาก ธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเป็นกรด มาช่วยในการเร่ง ให้เกิดการจันตัวของนํ้ายางพารา แทนสารเคมี

นายชูชีพ รักพวงทอง เกษตรกรลูกค้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ.ระยอง เป็นเกษตรกรรายหนึ่งที่ต้องการ ลดต้นทุน รักษาสุขภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้นํ้าหมักจากกล้วยในการทำให้น้ำยาง จับตัวแทนสารเคมี

“ผมพยายามหาวิธีการผลิตยางพารา โดยไม่ทำลายดิน ไม่สงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งกว่าจะคิดค้นได้มาเป็นนํ้าหมัก ต้นกล้วยก็ใช้เวลาเป็นปี และหลังจากที่ใช้วิธีการ ดังกล่าวมาใช้ เมื่อนำผลผลิตไปเทียบกับตอนที่ สารเคมีปรากฏว่าคุณภาพยางดีกว่า’’

นอกจากนำมาผสมเพื่อเร่งการจับตัว ของยางแล้ว นํ้าหมักกล้วยยังสามารถนำมาทา หน้ายางเพื่อป้องกันโรคเชื้อรา และโรคหน้ายาง ตาย … Read More