Tag: มังคุด

การเก็บรักษามังคุดในสภาพควบคุมบรรยากาศ

มังคุดนอกจากจะเป็นไม้ผลที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคภายในประเทศแล้วยังมีรายงานว่าความต้องการมังคุดของตลาดต่างประเทศสูงขึ้นทุกปี  ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และยุโรป  แต่การส่งออกมังคุดนั้นก็ยังประสบกับปัญหาคุณภาพของมังคุดหลังการเก็บเกี่ยวแม้มังคุดจะมีเปลือกหนาแต่ก็เป็นผลไม้ที่ชอกช้ำง่าย  ดังนั้นนอกจากจะต้องเก็บเกี่ยวอย่างระมัดระวังแล้ว  การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวก็ต้องกระทำอย่างนุ่มนวล  จึงจะได้มังคุดที่มีคุณภาพดี สามารถเก็บรักษาได้นาน ระยะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวเพื่อส่งไปยังตลาดที่อยู่ห่างไกลคือ ระยะที่เริ่มมีการเปลี่ยนสีที่เรียกว่าเริ่มเป็นสายเลือด  เนื่องจากมังคุดมีอายุวางจำหน่ายค่อนข้างสั้น ในการส่งออกจึงใช้การขนส่งทางอากาศ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นเพื่อเป็นการยืดอายุการเก็บรักษามังคุดให้นานขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการส่งออกมังคุดไปยังต่างประเทศที่ต้องใช้เวลานานในการเดินทางโดยทางเรือ จึงได้ทำการทดลองเก็บรักษามังคุดในสภาพบรรยากาศควบคุม  โดยให้มีความเข้มข้นของออกซิเจนลดลงจากปกติและเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับที่สูงขึ้น

ทดลองเก็บมังคุดในห้องเย็นอุณหภูมิ 15°c  โดยเก็บมังคุดระดับความแก่ต่าง ๆ ในภาชนะที่มีการควบคุมบรรยากาศคือใช้ออกซิเจนความเข้มข้น 21, 5 และ 10℅ โดยเติมคาร์บอนไดออกไซด์เข้มข้น 0,5 และ 10℅ ในแต่ละความเข้มข้นของออกซิเจน ขณะเดียวกันเก็บมังคุดขณะเป็นสายเลือดในห้องเย็นอุณหภูมิ 15°c โดยเก็บในภาชนะที่มีการควบคุมบรรยากาศ โดยใช้ออกซิเจนความเข้มข้นต่ำกว่า 5℅ คือ 1,2 … Read More

มังคุด:ราชินีของผลไม้เมืองร้อน

ท่านผู้อ่านคงจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ทุเรียนเป็นราชาของผลไม้เมืองร้อนทั้งปวง” กันอยู่บ่อย ๆ จากปากของนักวิชาการไทย คำกล่าวนี้เป็นของพวกฝรั่งที่ใช้อ้างถึงความนิยมผลไม้ของชาวเอเซีย  โดยเฉพาะพวกเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถือว่าทุเรียนเป็นผลไม้ยอดนิยม หรือราชาแห่งผลไม้ (King of Fruits) มิได้หมายความว่าทุเรียนเป็นราชาของผลไม้ของพวกฝรั่งด้วย เพราะพวกฝรั่งเองนั้นเกลียดทุเรียนยังกะอะไรดี ถึงขนาดตั้งชื่อทุเรียนว่า “ลูกหนามที่เหม็นชะมัด” (โลกดุลยภาพปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ; ทุเรียน. ไพโรจน์  ผลประสิทธิ์) แต่สำหรับมังคุดแล้วไม่ว่าชาติไหนได้ลิ้มรสแล้วเป็นติดใจทุกคน โดยเฉพาะพวกฝรั่ง รสหวานเย็นเคล้าด้วยรสเปรี้ยวนิด ๆ ของกรดไวตามินซีในกลีบขาวน้อย ๆ ที่หุ้มห่อไว้ด้วยเปลือกนิ่มหนาสีม่วงตัดกับสีเนื้อที่ขาวสะอาด ทำให้เกิดมโนภาพของความเยือกเย็นและบริสุทธิ์ ยากที่จะหาไม้ผลเมืองร้อนอื่นที่เต็มไปด้วยความเร่าร้อนมาเทียมได้ ฝรั่งจึงยกให้มังคุดเป็นราชินีของผลไม้เมืองร้อนทั้งปวง  หากไม่เกรงใจเจ้าของถิ่นแล้วเขาคงยกให้เป็น “ราชา” มากกว่า

มังคุดในฐานะเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ

ในอดีตมังคุดมิได้รับความสนใจจากคนในวงการสวนผลไม้มากนักมาระยะหลังสิบกว่าปีมานี้ ชาวต่างประเทศทั้งคนเอเซียและคนฝรั่งรู้จักมังคุดกันมากขึ้น เพราะโลกแคบลงประกอบกับธุรกิจการส่งออกผลไม้ขยายตัวขึ้น … Read More

ผลไม้:การอนุรักษ์ไม้ผลเมืองร้อน

กรมวิชาการเกษตร ในฐานะตัวแทนประเทศไทยร่วมกับประเทศอินเดีย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ดำเนิน “โครงการวิจัยการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรมไม้ผลเมืองร้อน” นำร่อง 4 ชนิด ได้แก่ ไม้ผลสกุลมะม่วง สกุลมังคุด สกุลเงาะ และสกุลส้ม ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ โดยได้รับงบอุดหนุนจากสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (UNEP/GEF)

นายจิรากร  โกศัยเสวี  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า โครงการวิจัยการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรมไม้ผลเมืองร้อนเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย และไทย เพื่อพัฒนาวิธีการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมไม้ผลเมืองร้อนที่มีคุณค่าและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูง ทั้งพันธุ์ปลูกและพันธุ์ป่า พร้อมสนับสนุนให้ชุมชนและท้องถิ่นใช้ประโยชน์ความหลากหลายเชื้อพันธุกรรมไม้ผล เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนรักษาสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างความสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งจะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง

ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้คัดเลือก 6 ชุมชนที่มีศักยภาพซึ่งมีความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมไม้ผลนำร่อง และมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์หรือใช้ประโยชน์จากเชื้อพันธุกรรมไม้ผลให้เข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอนุรักษ์ไม้ผลสกุลมะม่วงและสกุลส้ม ชุมชนในพื้นที่ … Read More

มังคุด:เทคนิคการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพมังคุด

มังคุดเป็นผลไม้ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกสินค้าเกษตร เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีรูปทรงสวย สีผลสวย สะดุดตา เนื้อภายในสีขาวสะอาด ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว ตลาดต้องการมังคุดที่ผลมีน้ำหนักมากกว่า 80 กรัม ผิวผลเรียบ เป็นมันไม่มีร่องรอยของการเข้าทำลายของโรคและแมลง ไม่มีหรือมีอาการเนื้อแก้วยางไหลในผลน้อยมาก แต่เกษตรกรไม่สามารถผลิตมังคุดที่มีคุณภาพได้เพียงพอกับความต้องการของตลาด ทำให้ราคาของมังคุดที่มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและสถานการณ์การผลิตในปัจจุบันปริมาณการผลิตมังคุดที่มีคุณภาพที่เกษตรกรผลิตได้มีน้อยกว่าร้อยละ 60 ของผลผลิตรวมทั้งหมด ดังนั้นเทคนิคและวิธีการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพของมังคุดเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด ส่งผลให้ได้ราคาดีตามไปด้วย

เทคนิคการจัดการเพื่อควบคุมปริมาณและปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตมังคุด

1.  การปลิดดอก การที่ต้องปลิดดอกที่มีปริมาณมากเกินไป ให้เหลือในปริมาณที่พอเหมาะนั้นก็เพื่อช่วยให้ผลมังคุดที่เหลือมีขนาดใหญ่ และพัฒนาการได้เร็ว เนื่องจากภายในต้นมีปริมาณอาหารสะสมที่จำกัด

ระยะเวลาที่ควรปลิดดอกคือ ในระยะดอกตูม ปริมาณดอกที่ควรไว้คือ 20 ดอกต่อกิ่ง

2.  การป้องกันกำจัดโรคแมลง เพื่อให้ผลมังคุดปราศจากการเข้าทำลายของโรคแมลงจึงต้องมีการป้องกันกำจัดแมลงในระยะการพัฒนาการของดอกและผลอ่อน ศัตรูสำคัญของมังคุดในระยะนี้ ได้แก่

–    เพลี้ยไฟ ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ของศัตรูชนิดนี้ จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกอ่อนและผลอ่อนของมังคุดทำให้ดอกและผลร่วงได้ … Read More