Tag: ยาสมุนไพร

สมุนไพรจีนแปะตังปุง


ชื่อ
จีนเรียก     แปะตังปุง  เชียตอเอี๊ยะ  งู่ปุ่ยไฉ่  Gynura divaricata (L.) DC.

ลักษณะ
อยู่ในประเภทต้นเบญจมาศ ชอบขึ้นในหุบเขา แต่โดยมากคนมักปลูกเป็นยา เป็นพืชขึ้นอยู่หลายปี สูง 2-3 ฟุต แตกกิ่งก้านสล้าง ลำต้นมีขนสีขาวขึ้นทั่วไป แต่ลำต้นสีเขียว ต้นอ่อนหักง่ายมีนํ้าในลำต้นมาก ใบขึ้น สลับรูปยาวรี ยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ปลายแหลม ชอบใบเป็นหยักรูปคลื่น ไม่เป็นระเบียบ ดอกมีก้านยาวออกในหน้าหนาว ก้านดอกมักขึ้นตรงที่โคนใบ ดอกเป็นช่อกลมสีเชียว แต่กระเปราะดอกสีเหลือง ปลายดอกมีปุยขึ้นสีขาว

รส
รสจืด เย็นมาก ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถแก้ร้อนใน … Read More

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสมุนไพร

พืชสมุนไพร

เราคุ้นเคยกับคำว่า “สมุนไพร” มานานแล้วเพราะมีการใช้สมุน ไพรในการบำบัดรักษาโรคมาตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งปัจจุบัน เช่นใช้ใน รูปของยาต้ม ยาหม้อ ยาชง ยาลูกกลอน เป็นต้น แม้ว่าในปัจจุบันการบำบัดรักษาโรคส่วนมากจะถูกแทนที่โดยการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งมีความสะดวกสบายรวดเร็วก็ตามการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคก็ยังเป็นที่นิยมโดยเฉพาะในชนบทที่ห่างไกล และเป็นที่น่ายินดีว่าความนิยมใช้สมุนไพรมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่ใช้เพื่อเป็นยารักษาโรค เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ใช้เป็นอาหารเสริม และใช้เป็นเครื่องดื่ม    โดยจะเห็นได้จากการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ที่มีสมุนไพรหรือของจากธรรมชาติเป็นส่วนผสม โดยใช้คำว่า สมุนไพร หรือ Natural บ่งบอกไว้ นอกจากนี้ยังมียาแผนปัจจุบันจำนวนไม่น้อยที่ได้มาจากสมุนไพร ตัวอย่างเช่น วินบลาสทีน (Vinblastine) และ วินคริสทีน (Vincristine) ซึ่งใช้เป็นยารักษามะเร็ง ได้จากรากแพงพวยฝรั่ง, รีเซอปีน (Reserpine) ซึ่งใช้เป็นยาลดความดันโลหิตได้จากรากระย่อมน้อย

Kelnac® เป็นยาที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารที่ให้ผลดี ได้จากสารเปลาโนทอล (Plaunotol) ซึ่งสกัดจากใบเปล้าน้อย … Read More

ยาสมุนไพร ๙ รส

๑. ยารสฝาด

สรรพคุณสำหรับสมานทั้งภายนอก และภายในแก้บิดปิดธาตุแก้ท้องร่วง กล่อมเสมหะและอาจม แสลงกับโรคท้องผูก พรรดึก เช่น เปลือกข่อย, เฉียงพร้านางแอ, เบญจกานี, เปลือกลูกทับทิม, เปลือกฝิ่นต้น, เปลือกเพกา

๒. ยารสหวาน

สรรพคุณ ซึมซาบไปตามเนื้อ ทำเนื้อให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย แสลงกับโรคเสมหะเฟื่อง บาดแผล เบาหวาน ดีซ่าน เช่น แก่นมะซาง,รากสามสิบ,อ้อยช้าง,อ้อยแดง,ขันทศกร,น้ำตาลกรวด,น้ำอ้อย,น้ำตาลทรายแดง

๓. ยารสเมาเบื่อ

สรรพคุณ สำหรับแก้พิษ พิษเสมหะ ดีและโลหิต พิษไข้ พิษแมลงสัตว์ กัดต่อย แสลงกับโรคหัวใจพิการ และนํ้าดีพิการ เช่น  ใบกระโดงแดง,เมล็ดกระเบา,ขันทองพยาบาท,ขอบชะนางทั้ง … Read More

วิธีการปรุงยาสมุนไพรใช้เอง


สมุนไพร นอกจากจะสามารถใช้สด ๆ กินสด ๆ หรือกินเป็นอาหารแล้ว เรายังสามารถนำมาปรุงเป็นยาด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ปั้นเป็นลูกกลอน ทำเป็นแคปซูล ชงเป็นชา ดองเป็นยาดอง เป็นต้น เพื่อให้ได้ยาสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการรักษา ใช้สะดวก รับประทานง่าย พกพาสะดวก เก็บไว้ใช้ได้นาน

การชง(Infusion)

การชงเป็นวิธีพื้นฐานและง่ายสำหรับการปรุงยาสมุนไพร มีวิธีการเตรียม ภาชนะที่ใช้ชงควรเป็นแก้วหรือเหมือนกับการชงชา โดยใช้น้ำเดือดเทลงไปในสมุนไพร ใช้ได้ทั้งสมุนไพรสดและแห้ง แต่มักใช้สมุนไพรตากแห้งทำยาชง หรือบดเป็นผงชงกับน้ำร้อนก็ได้ ภาชนะเคลือบ ไม่ควรใช้ภาชนะโลหะ ควรชงยาสมุนไพรสดใช้ในแต่ละวันชงแล้วดื่มทันที ไม่ทิ้งไว้นานดื่มวันละ 3 ครั้ง ดื่มร้อนหรือเย็นก็ได้สมุนไพรบางชนิดที่มีสรรพคุณไม่รุนแรงใช้ดื่มแทนน้ำได้ เช่น ขิง มะตูม เก๊กฮวย เป็นต้น… Read More