Tag: ศัตรูพืช

ไรลำไย:ศัตรูตัวเล็กที่ควรระวัง

มานิตา  คงชื่นสิน

ถ้าไรทำลายในขณะที่ลำไยกำลังแทงช่อดอก จะพบว่าช่อดอกลำไยแตกเป็นพุ่มแจ้  ดอกจะติดกันเป็นกระจุก มีขนขึ้นปกคลุม ดอกอาจจะบานได้ แต่ก็จะหลุดร่วง ไม่ติดผล

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

ไรลำไยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aceria sp. ซึ่งเป็นไรสี่ขา จัดอยู่ในวงศ์ Eriophyidae ดูดกินน้ำเลี้ยงบนใบอ่อนของลำไย ใบอ่อนที่ถูกดูดกินจะสร้างเส้นขนสีเขียวอ่อน ใบจะบิดม้วนงอ ถ้าการทำลายรุนแรง ใบจะลีบเรียว ไม่เจริญเติบโต และแห้งหลุดร่วงไปในเวลาต่อมา อีกลักษณะหนึ่งที่คาดว่าจะเป็นการทำลายของไร Aceria sp. ก็คือ อาการที่ลำไยแตกยอดอ่อนอย่างผิดปกติคือ ในตายอดเพียงตาเดียว จะแตกเป็นยอดอ่อนมากมายประมาณ 10-20 ยอด แต่ละยอดจะสั้นประมาณ 4-6 นิ้ว ทำให้มีลักษณะคล้ายพุ่มไม้กวาด ใบอ่อนของยอดแต่ละยอดจะหงิกงอ มีขนอ่อนปกคลุม กิ่งไม่ยืดยาว ในที่สุดก็จะแห้งและหลุดร่วง … Read More

ทุเรียน:การฟื้นฟูต้นทุเรียนภายหลังการเข้าทำลายของเชื้อไฟทอปธอร่า

วันทนีย์  ชุ่มจิตต์  และคณะ..ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

ต้นทุเรียนที่ถูกเชื้อไฟทอปธอร่า(โรคโคนเน่า) เข้าทำลายจะทรุดโทรมเนื่องจากระบบรากและระบบลำเลียงเสียหาย นอกจากนี้เชื้อที่อยู่ในลำต้นยังสามารถทำลายต้นทุเรียนได้อย่างต่อเนื่อง มีผลทำให้ต้นตายได้ การแก้ไขปัญหาเรื่องโรคโคนเน่านี้ไม่สามารถทำได้สำเร็จโดยการใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น ควรใช้หลายวิธีเช่นกัน ซึ่งแนวทางการแก้ไขมีดังนี้

1.  เพิ่มความสมบูรณ์ของต้นเพื่อให้ต้นสามารถต้านทานต่อโรคได้

2.  ทำลายเชื้อที่ยังอยู่ในต้นเพื่อหยุดยั้งการทำลาย

3.  หยุดยั้งการเจริญของเชื้อที่ยังอยู่ในดิน เพื่อป้องกันการเข้าทำลายครั้งต่อไป

4.  ปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรค

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกันทดลองใช้เชื้อจุลินทรีย์และสารเคมีกับต้นทุเรียนที่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า รวมทั้งการเพิ่มความสมบูรณ์ของต้นทุเรียนโดยการให้ปุ๋ยทางใบ เนื่องจากทุเรียนที่เป็นโรค ระบบรากของทุเรียนมักจะไม่สามารถดูดธาตุอาหารได้ตามปกติ การให้ปุ๋ยทางใบจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการฟื้นฟูสภาพต้นไม้ได้เร็วขึ้น

จากการทดลองพ่นปุ๋ยทางใบ (น้ำตาลมอลตานิค อัตรา 20 ซีซี+ปุ๋ยเกร็ด 15-30-15 อัตรา 60 กรัม+ฮิวมิค แอซิด อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร) … Read More

แมลงศัตรูพืช:มอดเจาะลำต้นทุเรียน

ศรุต  สุทธิอารมณ์

อาจจะช้าไปสักหน่อยถ้าจะมาพูดเรื่องโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน ซึ่งเกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา (Phytophthora palmivora (Butler))ที่ระบาดอย่างหนักเมื่อปลายปีที่แล้วในเขตภาคตะวันออก ซึ่งเป็นผลมาจากสภาวะความชื้นสูง เนื่องจากฝนตกชุกและมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่ อันเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรคนี้อย่างสูง และสิ่งที่มักปรากฎควบคู่ไปกับโรครากเน่าโคนเน่าคือ รูพรุนบนกิ่งและลำต้นทุเรียนที่เป็นโรคนี้ รูพรุนขนาดจิ๋วเหล่านี้ก็คือ ร่องรอยการทำลายของมอดตัวเล็กๆ ที่ชื่อ “มอดเจาะลำต้นทุเรียน” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Xyleborus fornicates (Eichhoff) มอดเจาะลำต้น จะเจาะเข้าไปกินในลำต้นและกิ่งของทุเรียน

โดยทั่วไปจะพบมอดทำลายเฉพาะต้นที่ถูกโรครากเน่าโคนเน่าทำลายและเจาะเข้าไปบริเวณที่มีแผลเน่า ซึ่งบางครั้งจะไม่พบรอยเน่าบนผิวไม้ แต่เมื่อใช้มีดเฉือนเนื้อไม้บริเวณนั้น มักจะพบแผลเน่าอยู่ภายในอย่างไรก็ตามยังมีคำบอกเล่าว่าพบมอดทำลายไม้สดเหมือนกัน ข้อมูลนี้คงต้องทำการศึกษาต่อไป ส่วนมากมอดเจาะลำต้นจะทำลายบริเวณโคนต้นและกิ่งที่อยู่สูงจากพื้นดินไม่เกิน 2.5 เมตร (แสวง,2515) ต้นทุเรียนที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลายสังเกตได้ง่ายคือ มีรอยรูพรุนขนาดเล็กกว้างประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ตามโคนต้นและกิ่ง บางครั้งรูที่เพิ่งถูกเจาะจะมีขุยละเอียดสีขาวหรือสีน้ำตาลอยู่บริเวณปากรู ซึ่งก็คือมูลของมอดนั่นเอง โดยทั่วไปพบรูที่มอดเจาะลึกประมาณ 2-4 … Read More