Tag: สารเร่งการสุกของผลไม้

เอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทิลีน

(Ethylene and Ethylene Releasing Compounds)
เอทิลีนเป็นฮอร์โมนพืชชนิดเดียวที่อยู่ในรูปก๊าซ แต่มีผลมากมายต่อการเติบโตของพืช พืชสามารถสร้างเอทิลีนได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผลไม้ใกล้สุก ก่อนการหลุดร่วงของใบและก่อนการออกดอกของพืชบางชนิด เอทิลีนมีหน้าที่ควบคุมการแก่ของพืช ดังนั้นช่วงใดก็ตามถ้ามีเอทิลินมากก็จะเป็นการเร่งให้พืชแก่ได้เร็วขึ้น เอทิลีนมีประโยชน์ในการเกษตรอย่างมาก แต่เนื่องจากสารนี้อยู่ในรูปก๊าซจึงทำให้การใช้ประโยชน์ค่อนข้างจำกัด จึงได้มีการค้นคว้าหาสารรูปอื่นซึ่งเป็นของแข็งหรือของเหลว แต่สามารถปลดปล่อยก๊าซเอทิลินออกมาได้ จนในที่สุดพบว่า สาร ethephon (2-chloroethylphosphonic acid) มีคุณสมบัติดังกล่าว จึงได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน ประโยชน์ของเอทิลีนที่นำมาใช้ทางเกษตรมีดังนี้

1. เร่งการสุกของผลไม้ ผลไม้เมื่อแก่จัดและเข้าสู่ระยะการสุกจะมีการสร้างเอทิลีนขึ้นมาซึ่งเอทิลีนที่ผลไม้สร้างขึ้นนั้นเป็นตัวการสำคัญในการกระตุ้นให้ผลไม้สุก ดังนั้นถ้ามีการให้สารเอทิลีนในระยะที่ผลไม้แก่จัดแต่ยังไม่สุก ก็จะมีผลเร่งให้เกิดการสุกได้เร็วขึ้น การบ่มผลไม้โดยการใช้ก๊าซเอทิลีนโดยตรงมักจะทำได้ยาก เนื่องจากต้องสร้างห้องบ่มที่ปิดสนิทป้องกันอากาศถ่ายเท ซึ่งต้องมีการลงทุนสูง ชาวสวนในประเทศไทยนิยมใช้ถ่านก๊าซ (calcium carbide) ในการบ่มผลไม้แทนก๊าซเอทิลีน โดยการใช้ถ่านก๊าซห่อกระดาษแล้ววางไว้กลางเข่งที่บรรจุผลไม้ เมื่อผลไม้คายนํ้าออกมาไอนํ้าจะทำปฏิกริยาเคมีกับถ่านก๊าซ เกิดเป็นก๊าซอะเซทิลีน (acetylene) ซึ่งมีสูตรโครงสร้างและคุณสมบัติคล้ายก๊าซเอทิลีน … Read More

เอทิลีน:สารเร่งการแก่ของผลไม้

นันทกา:เรียบเรียง

หน้าที่ของเอทิลีนคือควบคุมการแก่ของพืช ในทางการเกษตรได้นำสารเอทธีฟอน (ethephon) ซึ่งเป็นสารที่สามารถปลดปล่อยเอทิลีนได้มาใช้ประโยชน์กับพืช ดังนี้

1.  เร่งการสุกของผลไม้

ปกติพืชจะมีการสร้างเอทิลีนในระยะที่ผลไม้แก่จัดแต่ยังไม่สุก ทำให้เร่งการสุกของผลไม้ให้เร็วขึ้น ในทางปฏิบัติจึงได้นำถ่านก๊าซหรือแคลเซียมคาร์ไบด์ (เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วจะได้ก๊าซอะเซทิลีน  ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายเอทิลีน) มาใช้เร่งการสุกของผลไม้โดยห่อกระดาวางไว้กลางเข่งที่บรรจุผลไม้ ผลไม้ที่ใช้ถ่านก๊าซบ่มได้ผลดี ได้แก่ มะม่วง กล้วย ละมุด เป็นต้น

นอกจากนี้เอทิลีนยังสามารถเร่งการแก่ของผลไม้บนต้นได้ เช่น เงาะ องุ่น ลองกอง และมะเขือเทศ ในระยะที่ผลแก่จัดแต่ยังไม่เปลี่ยนสี เมื่อใช้เอทธีฟอนจะทำให้ผลเปลี่ยนสีได้เร็วและสม่ำเสมอมากขึ้น สามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน

2.  เร่งการเกิดดอก

เอทิลีนสามารถเร่งการเกิดดอกของพืชบางชนิด เช่น สับปะรดปัจจุบันใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมการผลิตสับปะรดกระป๋อง

3.  ทำลายการพักตัวของพืช

ในพืชหัวเช่น หัวมันฝรั่ง … Read More