Tag: เห็ดฟาง

ปัญหาในการเพาะเห็ดฟางกองสูงและกองเตี้ย

ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงและกองเตี้ย

1. เส้นใยไม่เดิน

เส้นใยไม่เดินมีผลเนื่องจากหลายประการ คือ

  • เชื้อเห็ดไม่บริสุทธิ์ ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาเชื้อเห็ดบริสุทธิ์มา ใช้ โดยไม่มีเชื้อโรคปน และควรเป็นเชื้อที่แข็งแรงคือ ทำการติดต่อจากดอกเห็ดไม่เกิน 10 ช่วง ควรอยู่ระหว่างช่วงที่ 3 – 7
  • ใช้ฟางเก่าที่ถูกแดดถูกฝนเพาะ ทั้งนี้เพราะฟางจะถูกจุลินทรีย์ในธรรม ชาติดูดเอาอาหารไปใช้ก่อนเชื้อเห็ดฟาง ดังนั้นฟางที่จะใช้ควรเป็นฟางที่ไม่ถูกฝน และควรเป็นฟางแห้ง
  • เพาะซ้ำที่เดิมปัญหานี้เป็นปัญหาที่พบกันมาก  ทั้งนี้เนื่องจากการเพาะ เห็ดฟางแบบกองสูงหรือกองเตี้ยเป็นวิธีที่ไม่มีการฆ่าเชื้อ ดังนั้น ใน ขณะที่เพาะครั้งแรกจะมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อเห็ดสะสมอยู่ ทำให้ การเพาะครั้งต่อไปผลผลิตจะลดลง
  • อุณหภูมิเย็นเกินไป ทางแก้คือ ต้องใส่อาหารเสริมที่แห้งตรงกลางกอง คลุมผ้าพลาสติกให้มิดแล้วคลุมฟางให้หนา หรือสร้างโรงเรือนคลุม อีกที
Read More

เห็ดฟาง:การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

อดีตของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยก็คือ สามารถจะใช้วัสดุเพาะได้หลายอย่าง เช่น ฟาง ผักตบชวา ต้นถั่ว ต้นกล้วย ขี้เลื่อยที่ผุแล้ว ชานอ้อย เป็นการเพาะที่ใช้วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตสูง สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอนเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือเพื่อใช้กินเองในครัวเรือน

เห็ดฟางชอบอากาศร้อน อุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ดีทั้งในฤดูฝนและในฤดูร้อน ความชื้นเป็นส่วนสำคัญในการเพาะเห็ดฟาง เป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดที่สำคัญถ้าความชื้นมีน้อยเกินไปเส้นใยของเห็ดจะเดินช้า และรวมตัวเป็นดอกไม่ได้ ถ้าความชื้นมากเกินไป การระบายอากาศภายในกองไม่ดี ถ้าเส้นใยขาดออกซิเจนก็จะทำให้เส้นใยฝ่อหรือเน่าตายไป

การเตรียมดินให้พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค นำตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำพออ่อนตัวประมาณ 1 ชั่วโมง ปลายฟางแข็งๆควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือจุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกันไว้ประมาณ 1 คืน ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่ม ปกติแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาให้กองได้เลย… Read More

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

อาจารย์สำเนา  ฤทธิ์นุช วิทยาลัยเกษตรและเทคโนลียีชัยนาท

เห็ดฟาง เป็นเห็ดที่ขึ้นได้ดีในธรรมชาติ เป็นเห็ดที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ขึ้นได้ดีในวัสดุที่เป็นผลผลิตจากไร่นา สวนผลไม้ วัชพืชต่าง ๆ ได้แก่ ฟางข้าว เปลือกถั่วเหลือง เปลือกถั่วเขียว ต้นกล้วย ผักตบชวา จอกหูหนู ต้นข้าวโพด เปลือกฝักข้าวโพด ระแง้ข้าวฟ่าง ตลอดจนเศษหญ้าแห้งทั่วไป และผลผลิตที่เป็นส่วนเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด เช่น ขี้ฝ้าย กากเปลือกมันสำปะหลัง และชานอ้อย คนไทยมีความคุ้นเคย การประกอบอาหารด้วยเห็ดฟางอย่างมากมายหลายชนิด ได้แก่ ต้มยำเห็ดฟาง ผัดเห็ดฟาง แกงเผ็ดเห็ดฟาง และใช้เป็นส่วนประกอบกับอาหารประเภทอื่น ๆ ได้อย่างลงตัว นอกจากนี้เห็ดฟางยังแปรรูปเป็นอุตสาหกรรมได้ดีมาก ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ เห็ดฟางแช่น้ำเกลืออัดกระป๋อง และเห็ดฟางแห้ง เป็นต้น… Read More

การเพาะเห็ดฟาง เพิ่มรายได้ให้ชาวนา

การเพาะเห็ดฟาง เพิ่มรายได้ให้ชาวนา

อมรรัตน์  ผู้พัฒน์

เห็ดฟางเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยในเมืองไทยมานาน  ทั้งนี้เพราะดอกเห็ดฟางมีรสชาติดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง  สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายประเภททั้งอาหารจืดและอาหารคาว  ยิ่งเทศกาลกินเจด้วยแล้วเห็ดเป็นอาหารที่วิเศษทีเดียว และที่สำคัญที่สุดคือ เห็ดฟางเพาะได้ง่าย  ใช้เวลาเพียง 7-10 วัน ก็เกิดดอกให้เก็บไปเป็นอาหารหรือนำไปจำหน่ายได้  ดอกเห็ดฟางที่ขายในท้องตลาดทั่วไปจะเห็นได้ว่ามีราคาสูงพอควร  และบางครั้งเกิดการปล่อยข่าวลือว่าเห็ดฟางอยู่ในสภาพที่ล้นตลาดทำให้มีราคาถูกหรือราคาตกต่ำเหมือนผลิตผลทางการเกษตรอื่น ๆ จนไม่น่าเพาะ  แต่สภาพความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม เนื่องจากเห็ดฟ่างยังมีช่องว่างในด้านต่าง ๆ ทีมีปัจจัยควรส่งเสริมให้มีการเพาะได้อีกมาก เช่น ต้นทุนการผลิต(ค่าเชื้อเห็ด)ต่ำ และเป็นเห็ดที่เพาะง่าย จึงเหมาะสำหรับเกษตรกรที่จะยึดเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพรองหลังจากฤดูการทำงาน  เพราะเห็ดฟางจะช่วยก่อให้เกิดรายได้เสริมแก่ครัวเรือนเกษตรกรบ้างพอควร

เห็ดฟางมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า VoIvariella volvaceae(Singer)หรือชื่อสามัญเรียกว่า Paddy mushroom หรือ Staw mushroom ลักษณะของเห็ดฟางจะมีหมวกดอก(cap)เป็นสีขาวหรือเทาค่อนข้างดำคล้ายร่ม  ดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-10 เซนติเมตร  ที่หัวของหมวกดอกจะเรียบและมีสีค่อนข้างเข้มบริเวณกลางหมวกแต่สีจะค่อย … Read More