Tag: แมลงศัตรูพืช

การป้องกันกำจัดแมลงในพืชตระกูลกะหล่ำ

การลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงในพืชตระกูลกะหล่ำในเขตจังหวัดพิษณุโลก  โดยการใช้สารสกัดจากใบสะเดาผสมข่า

สะเดา

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เจริญงอกงามในเขตที่มีอากาศร้อนชื้น จัดอยู่ในวงศ์มาเลียซีอี (Meliaceae) แบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ สะเดาอินเดีย มีลักษณะขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยคม โคนใบเบี้ยว ปลายใบเรียวแหลม ออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ๆ บริเวณโคนก้านใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกดอกปีละครั้งในเดือนกุมภาพันธุ์ถึงมีนาคม ผลสุกแก่ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม สะเดาอีกชนิดคือสะเดาไทย มีใบโตกว่าสะเดาอินเดีย ใบสีเขียวเข้มหนาและทึบขอบใบหยักน้อยกว่าสะเดาอินเดีย ดอกสีขาว ออกดอกเป็นกระจุกตรงส่วนยอด ออกดอกเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลสุกแก่ประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พันธุ์ไม้อีกชนิดหนึ่งที่พบทางภาคใต้มีลักษณะใกล้เคียงกับสะเดาไทยเรียกว่าสะเดาช้างหรือไม้เทียม มีใบย่อยรูปหอก แก้มใบมน ปลายใบค่อนข้างแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย สีเขียวเป็นมัน ดอกเป็นช่อยาว 20-46 เซนติเมตรสีขาวอมเขียวอ่อน  ออกดอกเดือนมีนาคม  ผลสุกแก่เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน สะเดาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถนำส่วนต่าง … Read More

แมลงศัตรูชมพู่

ชมพู่จัดเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี เป็นที่นิยมรับประทานในหมู่คนไทยตลอดจนชาวต่างชาติที่คุ้นเคย  เนื่องจากรับประทานแล้วมีความรู้สึกสดชื่น  เพราะว่าผลชมพู่มีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่มากนั่นเอง  การปลูกชมพู่ในประเทศไทยนิยมปลูกเป็นการค้ากันมากอยู่ 2 พันธุ์นั่นคือ พันธุ์ทูลเกล้า และพันธุ์สายรุ้ง (หรือพันธุ์ชมพู่เพชร) โดยมีระบบการปลูกที่แตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ พันธุ์ทูลเกล้ามักปลูกกันแบบยกร่อง  โดยมีอายุชมพู่ให้ผลผลิตเพียง 6-7 ปีก็จะโค่นทิ้งแล้วปลูกใหม่ จึงเป็นการปลูกไม้ผลแบบล้มลุก เกษตรกรมีการปลูกเฉลี่ยรายละประมาณ 5-6 ไร่ โดยชมพู่จะให้ผลผลิตตั้งแต่ปีทีสองเป็นต้นไป  และจะให้ผลผลิตดีในปีที่ 4 มักนิยมปลูกกันในแถบจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และสมุทรสาคร  นอกจากนั้นก็มีการปลูกกันประปรายในจังหวัดอื่น ๆ เช่น ปทุมธานี นนทบุรี บางจังหวัดในภาคใต้และภาคเหนือ เป็นต้น ส่วนพันธุ์สายรุ้งเป็นชมพู่ที่ปลูกกันแบบไร่ไม่ยกร่อง  มักนิยมปลูกกันมากในเขตจังหวัดเพชรบุรีแถบอำเภอเมืองเป็นชมพู่ที่มีอายุมากตั้งแต่ 8-30 ปี จัดเป็นไม้ผลยืนต้น  เกษตรกรนิยมปลูกกันไม่มากเพียง 1-2 ไร่เท่านั้น … Read More

โป๊ยเซียน:แมลงศัตรูโป๊ยเซียน

เรื่อง:ไสว  บูรณพานิชพันธุ์

ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์

ม.เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200

ปัจจุบันโป๊ยเซียนเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่กำลังได้รับความนิยมและปลูกเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง  ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากได้มีการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ที่ให้ดอกขนาดใหญ่และมีสีสันสวยงาม  ตลอดจนใบและลำต้นที่สวยงามมากกว่าสายพันธุ์ที่เคยพบเห็นหรือเคยปลูกเลี้ยงมาก่อน  อีกทั้งเชื่อกันว่าโป๊ยเซียนเป็นไม้มงคลให้โชคลาภแก่ผู้ปลูกเลี้ยงด้วย  ในการปลูกเลี้ยงโป๊ยเซียนปัญหาที่พบเสมอ ๆ เช่นเดียวกับการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ก็คือ ปัญหาอันเนื่องมาจากการเข้าทำลายของแมลงศัตรู  ถึงแม้จะมีคำกล่าวให้ได้ยินบ่อยครั้งว่าโป๊ยเซียนเป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่ายไม่ค่อยมีศัตรูรบกวน ซึ่งก็เป็นจริงในสมัยแรก ๆ ที่ยังปลูกเลี้ยงกันไม่มากนัก  แต่ในปัจจุบันผู้ปลูกเลี้ยงได้ทวีจำนวนมากขึ้นและผู้ผลิตเพื่อการค้ามีการขยายทั้งปริมาณและพื้นที่ปลูกเพื่อสนองความต้องการของตลาด  ในขณะเดียวกันปัญหาอันเนื่องมาจากแมลงศัตรูพืชที่เข้ามาทำความเสียหายให้กับโป๊ยเซียนที่ปลูกอยู่ก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย  ทั้งนี้อาจเนื่องเพราะแมลงเหล่านี้มีอาหารกินอย่างอุดมสมบูรณ์และต่อเนื่องตลอดเวลา  อีกทั้งการปฏิบัติดูแลรักษาของผู้ปลูกเลี้ยงบางครั้งเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แมลงศัตรูโป๊ยเซียนขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณทำความเสียหายให้กับโป๊ยเซียนขึ้นมาได้

แมลงศัตรูโป๊ยเซียนเท่าที่ผู้เขียนได้พบเห็นมาตามแหล่งปลูกโป๊ยเซียนต่าง ๆ และเท่าที่ประสบด้วยตนเองขณะทำการปลูกเลี้ยงโป๊ยเซียนมาได้ประมาณ 2 ปี มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน และที่มีความสำคัญ มี 3 ชนิด คือ

เพลี้ยไฟ Read More

ไรลำไย:ศัตรูตัวเล็กที่ควรระวัง

มานิตา  คงชื่นสิน

ถ้าไรทำลายในขณะที่ลำไยกำลังแทงช่อดอก จะพบว่าช่อดอกลำไยแตกเป็นพุ่มแจ้  ดอกจะติดกันเป็นกระจุก มีขนขึ้นปกคลุม ดอกอาจจะบานได้ แต่ก็จะหลุดร่วง ไม่ติดผล

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

ไรลำไยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aceria sp. ซึ่งเป็นไรสี่ขา จัดอยู่ในวงศ์ Eriophyidae ดูดกินน้ำเลี้ยงบนใบอ่อนของลำไย ใบอ่อนที่ถูกดูดกินจะสร้างเส้นขนสีเขียวอ่อน ใบจะบิดม้วนงอ ถ้าการทำลายรุนแรง ใบจะลีบเรียว ไม่เจริญเติบโต และแห้งหลุดร่วงไปในเวลาต่อมา อีกลักษณะหนึ่งที่คาดว่าจะเป็นการทำลายของไร Aceria sp. ก็คือ อาการที่ลำไยแตกยอดอ่อนอย่างผิดปกติคือ ในตายอดเพียงตาเดียว จะแตกเป็นยอดอ่อนมากมายประมาณ 10-20 ยอด แต่ละยอดจะสั้นประมาณ 4-6 นิ้ว ทำให้มีลักษณะคล้ายพุ่มไม้กวาด ใบอ่อนของยอดแต่ละยอดจะหงิกงอ มีขนอ่อนปกคลุม กิ่งไม่ยืดยาว ในที่สุดก็จะแห้งและหลุดร่วง … Read More

ไร:ศัตรูสำคัญของไม้ผล

เทวินทร์  กุลปิยะวัฒน์,  มานิดา  คงชื่นสิน,  ฉัตรชัย  ศฤงฆไพบูลย์,  วัฒนา  จารณศรี กองกีฏและสัตววิทยา

ปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลในการดูแลรักษาสวนเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพนั้น  มิใช่มีเพียงแต่ปัญหาอันเนื่องมาจากแมลงศัตรูพืช  ขณะนี้พบว่า ไร(mite)ร่วมมีบทบาทสร้างปัญหาและนับวันยิ่งทวีความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ  จากการศึกษาไรศัตรูในไม้ผลที่สำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ ส้ม ทุเรียน และมะม่วง พบไรศัตรูพืช หลายชนิดด้วยกันทำความเสียหายให้กับไม้ผลดังกล่าว

ส้ม:  จากการสำรวจไรศัตรูส้มพบไรศัตรูพืชรวม 10 ชนิด แต่ชนิดที่มีความสำคัญ และทำความเสียหายให้แก่ส้มเขียวหวาน และส้มโอ มีอยู่ 4 ชนิดคือ

1.  ไรแดงแอฟริกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eutetranychus africanus (Tucker) จัดอยู่ในวงศ์ … Read More

แมลงศัตรูพืช:มอดเจาะลำต้นทุเรียน

ศรุต  สุทธิอารมณ์

อาจจะช้าไปสักหน่อยถ้าจะมาพูดเรื่องโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน ซึ่งเกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา (Phytophthora palmivora (Butler))ที่ระบาดอย่างหนักเมื่อปลายปีที่แล้วในเขตภาคตะวันออก ซึ่งเป็นผลมาจากสภาวะความชื้นสูง เนื่องจากฝนตกชุกและมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่ อันเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรคนี้อย่างสูง และสิ่งที่มักปรากฎควบคู่ไปกับโรครากเน่าโคนเน่าคือ รูพรุนบนกิ่งและลำต้นทุเรียนที่เป็นโรคนี้ รูพรุนขนาดจิ๋วเหล่านี้ก็คือ ร่องรอยการทำลายของมอดตัวเล็กๆ ที่ชื่อ “มอดเจาะลำต้นทุเรียน” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Xyleborus fornicates (Eichhoff) มอดเจาะลำต้น จะเจาะเข้าไปกินในลำต้นและกิ่งของทุเรียน

โดยทั่วไปจะพบมอดทำลายเฉพาะต้นที่ถูกโรครากเน่าโคนเน่าทำลายและเจาะเข้าไปบริเวณที่มีแผลเน่า ซึ่งบางครั้งจะไม่พบรอยเน่าบนผิวไม้ แต่เมื่อใช้มีดเฉือนเนื้อไม้บริเวณนั้น มักจะพบแผลเน่าอยู่ภายในอย่างไรก็ตามยังมีคำบอกเล่าว่าพบมอดทำลายไม้สดเหมือนกัน ข้อมูลนี้คงต้องทำการศึกษาต่อไป ส่วนมากมอดเจาะลำต้นจะทำลายบริเวณโคนต้นและกิ่งที่อยู่สูงจากพื้นดินไม่เกิน 2.5 เมตร (แสวง,2515) ต้นทุเรียนที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลายสังเกตได้ง่ายคือ มีรอยรูพรุนขนาดเล็กกว้างประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ตามโคนต้นและกิ่ง บางครั้งรูที่เพิ่งถูกเจาะจะมีขุยละเอียดสีขาวหรือสีน้ำตาลอยู่บริเวณปากรู ซึ่งก็คือมูลของมอดนั่นเอง โดยทั่วไปพบรูที่มอดเจาะลึกประมาณ 2-4 … Read More

แมลงศัตรูพืช : เพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟ เป็นศัตรูพืชที่สำคัญของพืชหลายชนิดดูดน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้พืชมีอาการแคระแกรน ใบหงิกงอ  การเจริญเติบโตหยุดชงัก ซึ่งมีผลทำให้ผลผลิตต่ำลง ตัวแก่วางไข่ในเนื้อเยื่อของพืช ตัวอ่อนและตัวแก่ดูดน้ำเลี้ยงจากพืช เมื่อหนอนเจริญเติบโตเต็มที่จะเข้าดักแด้ในดิน

วิธีการกำจัด ใช้ยาฆ่าแมลงที่สามารถดูดซึมเข้าไปเซลล์พืชได้ดี เช่น ไดเมทโธเอท ไดอาซิโนน เทมมิค และฟูราแดน เป็นต้น

Read More