Tag: แสงอาทิตย์กับโรคผัก

สิ่งแวดล้อมกับความรุนแรงของโรคผัก

สิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมความรุนแรงของโรค

โรคโคนเน่าคอดินของต้นกล้าหรือ damping-off จะระบาดก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงมากน้อยเพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสามประการ คือ ความชื้นในดิน แสงอาทิตย์ และปริมาณธาตุไนโตรเจนในดิน

ความชื้นในดิน มีความสัมพันธ์กับเชื้อ Pythium sp. ใน เรื่องของการขยายพันธุ์ โดยจะช่วยให้เชื้อขยายพันธุ์ได้ดี และเร็วขึ้นเนื่องจากในการเกิดของเชื้อนี้จะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่มีการสร้างเซลล์ที่เคลื่อนไหวได้ (swarm cells หรือ zoospores) เซลล์พวกนี้เมื่อเกิดจะต้องว่ายและเคลื่อนไหวอยู่ในน้ำระยะหนึ่งแล้วจึงจะสลัดหางทิ้งกลายเป็นสปอร์กลมๆ เสียก่อนแล้วจึงจะงอกเป็นเส้นใยแล้วเข้าทำลายพืชในที่สุด หากความชื้นในดินต่ำหรือมีไม่พอช่วงของการสร้างเซลล์มีทางที่เคลื่อนไหวได้ก็จะไม่เกิดขึ้น หรืออาจจะเกิดแต่เซลล์พวกนี้เมื่อไม่มีความชื้นหรือนํ้าให้เคลื่อนไหวก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่จนงอกเป็นเส้นใยเข้าทำลายพืชได้ โรคก็จะไม่เกิด เหตุนี้จึงพบว่าโรคโคนเน่าของต้นกล้าจะเกิดและทำความเสียหายมากก็เฉพาะในดินที่ชื้นแฉะ หรือมีการระบายนํ้าไม่ดีเท่านั้น

แสงอาทิตย์ ปกติแล้วแสงอาทิตย์จะเป็นตัวช่วยยับยั้งการ เจริญเติบโต การขยายพันธุ์และการงอกของสปอร์ของเชื้อ การเพาะกล้าแน่นเกินไปหรือเพาะกล้าในที่ร่ม แสงแดดส่องไม่ถึงพื้นดินจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้เชื้อราทวีจำนวนเจริญแพร่กระจายและก่อให้เกิดโรคกับพืชได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ การเพาะกล้าด้วยจำนวนเมล็ดที่พอเหมาะพอดีโดยที่หลังจากเมล็ดเหล่านั้นงอกเป็นต้นอ่อนแล้วไม่ชิดหรือเบียดกันแน่นจนแสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องลอดลงไปถึงพื้นดินได้ โรคก็จะเกิดได้ยาก หรือหากเกิดก็จะไม่รุนแรงจนถึงกับทำความเสียหายให้ได้ นอกจากนี้แสงอาทิตย์ยังมีส่วนเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิของดินด้วย กล่าวคือ … Read More