Tag: โรคราสนิมในกุหลาบ

มอดเจาะลำต้นทุเรียน:เชื้อราไฟทอปธอร่าสาเหตุโรครากเน่า-โคนเน่าของทุเรียน

ชัยวัฒน์  กระตุฤกษ์  กลุ่มงานวิจัยโรคไม้ผลพืชสวนอุตสาหกรรมและสมุนไพร กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร

ทุเรียน (Durio zibethinus Murray) อาจพูดได้ว่าเป็นผลไม้ที่เคียงคู่กับเมืองไทยของเราเพราะปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนทุเรียนสามารถผลิตทุเรียนออกจำหน่ายหมุนเวียนกันได้ตลอดทั้งปี จนประเทศไทยเราได้กลายเป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกผลทุเรียนสด และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียนมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน เรามีทุเรียนพันธุ์ดีเป็นที่รู้จักและทำชื่อเสียงให้กับประเทศหลากหลายพันธุ์ โดยเฉพาะพันธุ์ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายได้แก่ ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์ก้านยาว และพันธุ์กระดุมทอง และจากการที่มีพื้นที่ปลูกเป็นแหล่งผลิตใหญ่ๆ ย่อมต้องมีปัญหาติดตามมา ปัญหาที่พบมากของการทำสวนทุเรียนนอกเหนือจากแมลงศัตรูต่างๆแล้ว “โรคของทุเรียน” นับว่ามีความสำคัญมากโดยเฉพาะโรครากเน่า-โคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า (Phytophthora palmivora (Butler) Butler) ซึ่งนับได้ว่าเป็นของคู่กันกับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนมาโดยตลอด และสิ่งที่ปรากฎควบคู่ไปกับการเกิดโรครากเน่า-โคนเน่าของทุเรียน ได้แก่ร่องรอยการเจาะของมอดตัวเล็กๆ ตามกิ่งและลำต้นของทุเรียนที่เป็นโรคนี้จนกลายเป็นปัญหาที่เกษตรกรชาวสวนทุเรียนได้ถกเถียงกันมาตลอดว่าสิ่งไหนเกิดขึ้นก่อนกันระหว่างมอดเจาะลำต้นทุเรียนกับโรครากเน่า-โคนเน่าของทุเรียน เกษตรกรชาวสวนทุเรียนหลายท่านมีประสบการแตกต่างกันไป หลายท่านเข้าใจว่ามอดเจาะลำต้นทุเรียนเกิดขึ้นก่อน และเป็นตัวนำพาเชื้อราของโรครากเน่า-โคนเน่าให้มาเกิดกับทุเรียน นอกจากนี้นักวิชาการที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับแมลงศัตรูทุเรียน ยังได้รายงานไว้ว่ารอยเจาะของมอดเป็นทางให้เชื้อโรคโคนเน่าเข้าทำลาย และทำให้ต้นทุเรียนต้นขนาดใหญ่ตายได้

มอดเจาะลำต้นทุเรียน (Durian Shot-hole … Read More

โรคราสนิม,โรคแอนแทรคโนส,โรคหนามดำ,โรคราสีเทาในกุหลาบ

3.  โรคราสนิม (rust)  โรคนี้มักจะเกิดกับกุหลาบในช่วงฤดูฝนเท่านั้น  ไม่ทำลายร้ายแรงมากนัก  มักจะเกิดกับใบแก่ โดยมีจุดสีส้มปรากฎอยู่ทางด้านบนของใบ  ถ้ามองผ่านไปทางใต้ใบจะเห็นเป็นจุดสีเหลือง  ถ้าเป็นมาก ๆ จะทำให้ใบเหี่ยวและร่วงหล่นไป ป้องกันโดยการฉีดพ่นยาที่มีส่วนผสมของกำมะถัน

4. โรคแอนแทรคโนส (anthracnose) พบในช่วงฤดูฝนเช่นเดียวกับโรคราสนิม  จะเกิดจุดสีน้ำตาลเป็นวงกลมขนาดประมาณ ¼ นิ้ว  วงนี้จะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวขอบสีม่วง เกิดกับใบอ่อนหรือกิ่งอ่อนป้องกันโดยมีโปรแกรม พ่นยากันราที่ใช้กับโรคอื่นๆ อยู่แล้ว

5.  โรคหนามดำ (brown canker) เกิดกับหนามของกิ่งอ่อนแล้วลุกลามไปเรื่อย ๆ  ตามกิ่งก้านทำให้กิ่งก้านเหี่ยวแห้งตายไปในที่สุด  ยาที่ฉีดพ่นป้องกันโรคราอื่น ๆ จะมีผลคุ้มครองโรคนี้ด้วย

6.  โรคราสีเทา (gray woldrot)  มักจะเกิดกับดอกกุหลาบในขณะที่ยังตูมอยู่  จะระบาดเฉพาะในที่ที่ มีอากาศเย็นและชื้นเท่านั้น … Read More