Tag: ไก่ฟ้าใกล้สูญพันธุ์

ไก่ฟ้าหางลายขวาง

ชื่อสามัญ  Bar-Tailed Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์  Syrmaticus humiae

ในป่าธรรมชาติมีอยู่น้อยมาก ถูกจัดอยูในประเภทใกล้จะสูญพันธุ์มี 2 ชนิดย่อย คือ

1. Hume’s Bar-Tailed Pheasant มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า S.h. humiae พบตามบริเวณภูเขาที่มีระดับความสูง 4,000-10,000 ฟุต ชอบอยู่ตามป่าโปร่งและตามเชิงลาดที่เป็นหินมีวัชพืชขึ้นแซม บริเวณเทือกเขานาคาทางภาคตะวันออก เฉียงเหนือของประเทศอินเดีย บริเวณภูเขามณีปุระและทางตอนใต้ของภูเขาวิคตอเรีย ทางตะวันตกของแม่น้ำอิระวดีและทางเหนือของประเทศพม่า ถูกนำเข้าไปในประเทศอังกฤษครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1961 เนื่องจากความสวยงาม อดทนและเลี้ยงง่าย ทำให้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วไป

2. Burmese Bar-Tailed Pheasant มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า S.h. burmamicus มีลักษณะทั่ว ๆไปเหมือน … Read More

ไก่ฟ้ามิกาโด

ชื่อสามัญ  Mikado Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์  Syrmaticus mikado

มีถิ่นกำเนิดเพียงแห่งเดียว บนภูเขาบริเวณตอนกลางของเกาะไต้หวัน ที่ระดับความสูง 6,000-10,000 ฟุต ชอบอยู่ตามป่าทึบที่มีต้นโอ๊ก ต้นไซเปรส และสนปะปนด้วยไม้เล็ก ๆ ที่ขึ้นหนาแน่น จะออกมาหาอาหารในที่โล่งเฉพาะดอนเช้าตรู่และพลบค่ำ มักจะหากินเป็นคู่หรือ 3 ตัว เป็นไก่ฟ้าที่พบเห็นได้ยาก ปัจจุบันมีน้อยมาก ถูกจัดเป็นพวกที่ใกล้จะสูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่ง

ไก่ฟ้าชนิดนี้ถึงแม้จะมีสีเข้มดำ แต่ก็สวยงามและเลี้ยงง่าย เป็นไก่ที่อดทน ไม่ขี้ตื่น ตัวผู้อายุเพียง 5 เดือนก็จะมีสีขนสวยเหมือนตัวโตเต็มวัย ตัวเมียอาจวางไข่ได้แค่ปีแรกถ้าเลี้ยงให้สมบูรณ์พอ แต่อายุ 2 ปี จึงจะให้ผลแน่นอนกว่า ในการเลี้ยงที่ประสบความสำเร็จ เขาใช้ตัวผู้หนึ่งตัวต่อตัวเมีย 2-3 ตัว ไข่ของมันมีขนาดใหญ่กว่าไข่ของไก่ฟ้าในตระกูลเดียวกันเกือบเท่าตัว … Read More