การเก็บเกี่ยวและกรรมวิธีการผลิตเมล็ดกาแฟ


กาแฟจะเริ่มให้ผลผลิตในปีที่ ๓- ๔ หลังปลูก และจะให้ผลผลิต เต็มที่ เมื่ออายุ ๖ – ๘ ปี หลังออกดอก จนถึงผลสุก ใช้เวลา ๗ – ๙ เดือน แล้วแต่สภาพภูมิอากาศบนที่สูงสุกช้ากว่า ผลกาแฟจะสุกจนเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ แล้วแต่พันธุ์ การ เก็บเกี่ยวจะกระทำโดยการใช้มือปลิดผลกาแฟที่แก่เต็มที่ ซึ่งอาจจะสุกไม่พร้อมกัน ทำให้เก็บเกี่ยวได้หลายรุ่น จำเป็นต้องเลือกเก็บผลกาแฟที่สุกเต็มที่เท่านั้น ทดสอบโดยใช้นิ้วชี้ และหัวแม่มือบีบผลกาแฟ ถ้าผลกาแฟแก่เต็มที่ เมล็ดจะหลุดออกมาโดยง่าย ใส่ในถังหรือตะกร้าของผู้ เก็บเกี่ยวแต่ละคน แล้วนำไปรวมกันเพื่อทำการผลิตเมล็ดกาแฟ ซึ่งมีอยู่ ๒ วิธี ด้วยกันคือ
๑. วิธีการทำสารกาแฟแบบแห้ง วิธีนี้นำผลกาแฟสุกที่เก็บมาทำการตากแดดทิ้งผลให้แห้งสนิท จึงทำการกะเทาะเอาเมล็ดกาแฟออก วิธีนี้ให้เมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพไม่ดีนัก เหมาะสำหรับกาแฟโรบัสต้า ซึ่งคุณภาพเมล็ดด้อยกว่าอยู่แล้ว ผลกาแฟที่ตากแห้งนี้ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะส่วนเนื้อของผลจะยังมีน้ำตาลและสารต่างๆ ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีสีดำคล้ำ และทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่ายจึงควรกะเทาะเปลือกออกทันทีที่แห้ง
การตากแดด ถ้ามีลานตากที่เป็นพื้นซีเมนต์ดีที่สุด ถ้าไม่มีหรือผลกาแฟมีจำนวนไม่มาก พอลงทุนทำลานตาก อาจใช้เสื่อสาดหรือกระด้ง หมั่นเกลี่ยผลกาแฟอย่างน้อยชั่วโมงละครั้ง ตอนเย็นให้โกยผลกาแฟรวมกันกองไว้ คลุมด้ายผ้าพลาสติก เพื่อกันน้ำค้างและฝน ทำให้ความชื้นของผลกาแฟสม่ำเสมอ ตอนเช้าจึงเกลี่ยออกตากแดด ทำ เช่นนี้จนกว่าผลกาแฟจะแห้งเต็มที่ โดยเมื่อเขย่าดูจะได้ยินเสียงเมล็ดกาแฟกระทบกับเปลือกดังกราวๆ ปกติจะใช้เวลาประมาณ ๑๒ – ๑๕ วัน ในช่วงที่แดดดี ผลกาแฟที่ตากแห้งวิธีนี้ควรเก็บเป็นช่วงห่างกัน ๒ สัปดาห์ เพื่อไม่ให้กาแฟที่ตากแต่ละรุ่นปนกัน เหมาะสำหรับแหล่งปลูกที่ขาดแคลนน้ำ
๒. วิธีการทำสารกาแฟแบบหมักหรือแบบใช้น้ำ วิธีนี้จะได้สารกาแฟที่มีคุณภาพดีกว่า การใช้วิธีตากแดดให้แห้งทั้งผล ผลกาแฟที่เก็บเกี่ยวมาจากต้นควรทำการปอกเปลือกออกทันที ถ้าทำไม่ทันไม่ควรเก็บไว้นานกว่า ๓๖ ชั่วโมง การปอกเปลือกออกนี้ถ้ามีจำนวนน้อยอาจใช้มือบีบออกได้ แต่ถ้ามีจำนวนมากก็มีเครื่องปอกเปลือกกาแฟ โดยเทผลกาแฟลงไปในเครื่อง เครื่องนี้จะทำการปอกเปลือกแยก เมล็ดกาแฟออกมาทางหนึ่ง และเนื้อของผลออกมาทางหนึ่ง เมล็ดกาแฟที่ได้นี้จะมีเมือกหุ้มเมล็ด มีลักษณะลื่นเหนียว ซึ่งจะหายไปเมื่อตากแดดแห้ง แต่กลับลื่นเหนียวได้อีก เมื่อเปียกชื้น ดังนั้น ถ้าจะต้องเก็บกาแฟกะลาไว้สักระยะหนึ่ง จำเป็นต้องขจัดเมือกที่หุ้มอยู่นี้ออก แต่ถ้าจะทำการกะเทาะเปลือก เอาสารกาแฟทันทีภายหลังจาก เปลือกนอกของเมล็ดแห้ง ซึ่งใช้เวลาตากแดดประมาณ ๔- ๖ วัน อาจไม่จำเป็นในการเอาเมือกนี้ออกให้หมดจดนัก วิธีกำจัดเมือกหุ้มนี้ทำได้โดยวิธีขัดและล้างน้ำมากๆ ก็ได้ สำหรับเมล็ดกาแฟจำนวนน้อย เช่น เมล็ดพันธุ์ หรือถ้ามีจำนวนมากก็จะต้องมีน้ำสะอาดใช้เพียงพอ อาจ เอาใส่ในถังที่ระบายน้ำได้ ปล่อยให้น้ำไหลผ่านเมล็ดกาแฟที่ปอก เปลือกออก แล้วใช้ไม้กวนบ่อยๆ ให้เมือกหุ้มเมล็ดหลุดออก หากมีน้ำสะอาดไม่มากเพียงพอควรใช้วิธีหมัก
วิธีหมัก ทำโดยนำเมล็ดกาแฟที่ได้หลังจากปอกเปลือกออกแล้วใส่ในถัง ขนาดถังแล้วแต่ปริมาณเมล็ดกาแฟ ใส่เมล็ดกาแฟที่ได้นี้ลงในถังประมาณ ๓/๔ ของถัง ใช้น้ำล้างแล้วเทน้ำทิ้ง หรือระบายออกทางข้างล่าง คลุมถังด้วยพลาสติก เอนไซม์ จะทำการย่อยเมือกหุ้มเมล็ดกาแฟออกภายในเวลา ๖- ๘๒ ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและลักษณะของเมล็ดกาแฟ ระหว่างที่หมักนี้ไม่ควรแช่เมล็ดกาแฟใต้น้ำ และไม่ควรให้นานเกินไปเพราะจะทำให้คุณภาพของกาแฟเสียไป เมล็ดกาแฟที่ผ่านการหมักอย่างถูกต้อง เมือกที่หุ้มจะหลุดออกโดยง่าย นำเมล็ดกาแฟที่ผ่านการหมักนี้ไปล้างน้ำอีกครั้ง ถ้าใช้น้ำอุ่นขนาดมือจุ่มได้จะล้างเมือกออกได้ดีกว่าน้ำเย็น
การขจัดเมือกหุ้มเมล็ดทั้งวิธีล้างน้ำและวิธีหมักนี้ ลองเอามือถูบริเวณเปลือกกะลา เมล็ดจะรู้สึกสากๆ ก็เป็นอันใช้ได้ หลังจากนั้นนำไปตากแดด เช่นเดียวกับวิธีตากทั้งผล แต่ใช้เวลาน้อยกว่า คือ ประมาณ ๔- ๖ วัน จึงควรเก็บเกี่ยวแต่ละรุ่นห่างกัน ๑ อาทิตย์
เมล็ดกาแฟกะลาที่แห้งสนิทจะสังเกตได้จากกะลาที่หุ้มเมล็ด (สารกาแฟ) จะแตกออกโดยง่ายเมื่อใช้มือบีบ ถ้ากัดเมล็ดดูจะแข็งและแตกออก เมล็ดที่ยังขึ้นอยู่จะแหลกมากกว่าที่จะแตกออก ความชื้นประมาณ ๑๒% เหมาะสมที่สุด ความ่ชื้นสูงกว่านี้จะทำให้เก็บไม่ได้นานและเสียคุณภาพด้านกลิ่น – รส ได้ง่าย (ผู้เขียนเก็บไว้ ๒ ปี ปรากฏว่าความชื้นลดเหลือเพียง ๙.๔% และเมล็ดมีสีดำ)
การกะเทาะกะลาออกอาจทำได้โดยใช้ครกกะเดื่องขนาดใหญ่ตำในขณะที่เปลือกแห้ง และยังร้อนอยู่ ถ้าเย็นอาจเหนียว ควรใส่ให้มากพอสมควรป้องกันการแตกหักของเมล็ดแล้วทำการฝัดเอาเปลือกกะลาออก ถ้ามีจำนวนมากๆ ก็ใช้กะเทาะด้วยเครื่อง แต่ก็ทำให้มีเปอร์เซนต์เมล็ดแตกหักมาก
ราคาของสารกาแฟขึ้นอยู่กับคุณภาพ อาจทดสอบโดยการชงชิมโดยผู้ชำนาญ และอาจดูด้วยตาเปล่าว่า เมล็ดกาแฟขนาดสวยงาม เพียงใด การบรรจุใส่กระสอบควรใช้กระสอบที่ใหม่และสะอาดขนาดบรรจุมาตรฐาน คือกระสอบขนาด ๖๐ กิโลกรัม
กาแฟอราบิก้าสำคัญที่คุณภาพ ซึ่งตัดสินจากลักษณะเมล็ดกาแฟดิบ เมล็ดกาแฟคั่วและคุณภาพในการชง ดังนี้
เมล็ดกาแฟดิบ ต้องมีขนาดเมล็ดใหญ่และสม่ำเสมอในแต่ละเกรด เมล็ดควรมีสีเขียว อ่อนหรือสีเทา-ฟ้า และไม่ควรมีเมล็ดสีน้ำตาลหรือดำ เนื่องจากเก็บผลกาแฟสุกเกินไปหมักไว้นานเกินไป ล้างน้ำไม่เพียงพอหรือมีเปลือกหุ้มเมล็ดสีเงินเหลืออยู่มาก มีเมล็ดรูปร่างผิดปกติมาก เช่น การทำให้แห้ง โดยไม่สม่ำเสมอ เมล็ดแตกหักในระหว่างกรรมวิธี เมล็ดถูกแมลงทำลาย
เมล็ดกาแฟคั่ว ต้องมีสีสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพราะผ่านกรรมวิธีหมักอย่างทั่วถึงและการทำให้แห้งที่ดี
คุณภาพในการชงชิม ตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ มีหน้าที่ชิมโดยเฉพาะ จะต้องปราศจากกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่นกลิ่นหัวหอม อันอาจเนื่องจากน้ำที่ใช้ในกรรมวิธีผลิตเมล็ดกาแฟ หรือกลิ่นอิฐอันเนื่องจากการใช้สารเคมี เช่น B.H.C.
ผลผลิต
ผลผลิตของกาแฟนั้น ผู้เขียนได้ทำการศึกษามาติดต่อกันเป็นเวลา ๓ ปี ซึ่งเป็นกาแฟที่ปลูกตามหมู่บ้านหลัก และสถานีเกษตร ในโครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่น และพัฒนาเศรษฐกิจชาวไทยภูเขา ซึ่งพอจะเสนอข้อมูลได้ดังต่อไปนี้
กาแฟที่ปลูกและให้ผลผลิตแสดงเป็นตัวเลขเหล่านี้ เป็นกาแฟพันธุ์ Typica และพันธุ์ Bourbon ปลูกปนกันไป ตัวเลขไม่ได้แยกพันธุ์เพื่อเปรียบเทียบกับผลผลิต จากในไร่กาแฟของชาวเขา
ผลผลิตกาแฟที่สถานีเกษตรขุนวาง ตั้งแต่ปี ๒๕๑๙-๒๕๒๒ ทำการใส่ปุ๋ยตามตารางปุ๋ย ที่ใช้ในฮาวาย และเพิ่มเติมบางครั้งเฉพาะต้นที่แสดงอาการขาด ฉีดพ่นยาและดูแลรักษากำจัดวัชพืชอย่างดี ปรากฏผลดังนี้
ปีเก็บเกี่ยว ๒๕๑๙-๒๕๒๐ เก็บเกี่ยวตั้งแต่ /๕ กันยายน ๒๕๑๙ – ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ รวมเก็บเกี่ยว ๑๒ ครั้ง จากจำนวนต้น ๘๙ ต้น ซึ่งในจำนวนนี้เป็นกาแฟที่มีอายุ ๓ ปี และ ๔ ปี ปนกัน ไม่สามารถแยกได้ เพราะต้นกาแฟถูกปลูกไว้ก่อนแล้ว ใช้ระยะปลูก ๒.๕ X ๒.๕ เมตร คิดเป็นจำนวน ๒๕๖ ต้น/ไร่ ปรากฏผลดังนี้
๑. ผลผลิตสารกาแฟเฉลี่ย ๔๙๓.๗๙ + ๔๔.๕๑ กรัม/ต้น
๒. ผลผลิตต้นที่สูงที่สุด  ๑,๗๔๒.๖๒                   กรัม/ต้น
๓. ผลผลิตต้นที่ต่ำที่สุด         ๓.๖๐            กรัม/ต้น
๔. จำนวนต้นที่ให้ผลผลิตมากกว่า ๑ กิโลกรัม มีจำนวน ๑๓ ต้น
๕. จำนวนต้นที่ให้ผลผลิตสูงกว่าผลผลิตเฉลี่ย แต่ไม่เกิน ๑ กิโลกรัม มีจำนวน ๒๗ ต้น
๖. ผลผลิตต่อไร่คิดจากผลผลิตเฉลี่ยประมาณ ๑๒๖.๔๑ กิโลกรัม/ไร่
๗. ราคาขั้นต่ำขณะนั้น ๓๐ บาท/กก. คิดเป็นรายได้ ๓,๗๙๒.๓๐ บาท/ไร่
ปีเก็บเกี่ยว ๒๕๒๐-๒๕๒๑ เก็บเกี่ยวตั้งแต่ ๑๓ กันยายน ๒๕๒๐ – ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ รวมเก็บเกี่ยว ๘ ครั้ง จากจำนวนต้น ๘๙ ต้น ซึ่งจะเป็นกาแฟที่มีอายุ ๔ ปี และ ๕ ปี ปนกันและในปีนี้เองก็สามารถวัดผลผลิตจากกาแฟพันธุ์ Bourbon อายุ ๓ ปี ที่ให้ผลผลิตปีแรก จำนวน ๗๒ ต้น ปรากฏผลดังนี้
๑. ผลผลิตสารกาแฟเฉลี่ย ๒,๕๒๐.๙ + ๙๘๙.๙     กรัม/ต้น
๒. ผลผลิตต้นที่สูงที่สุด    ๔,๒๙๗.๖๗            กรัม/ต้น
๓. ผลผลิตต้นที่ต่ำที่สุด          ๗๙.๑                กรัม/ต้น
๔. ผลผลิตต้นที่สูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยมีจำนวน ๔๔ ต้น (คิดที่ผล เฉลี่ยขั้นต่ำคือ ๑.๕๓๑ กก./ต้น
๕. ผลผลิตต้นที่ต่ำกว่าผลผลิต เฉลี่ยมีจำนวน ๔๕ ต้น (คิดที่ผล เฉลี่ยขั้นต่ำคือ ๑.๕๓๑ กก./ต้น

๖. ผลผลิตต่อไร่ประมาณ ๓๙๑.๙๔ กิโลกรัม (คิดที่ผลเฉลี่ยขั้นต่ำคือ ๑.๕๓๑ กก./ต้น
๗. ราคาต่ำสุดขณะนั้น ๕๐ บาท คิดเป็นรายได้ ๑๙,๕๙๗.๐๐ บาท/ไร่
ผลผลิตของกาแฟอายุ ๓ ปี พันธุ์ Bourbon ที่ให้ผลผลิตครั้งแรก
เฉลี่ย ๓๓๕.๕๒ + ภ๙.๒๖ กรัม/ต้น
ดังนั้น หากคิดว่ากาแฟอายุ ๓ ปี ให้ผลผลิตพร้อมกันหมดได้ ๘๕.๗๖ กก./ไร่
คิดเป็นรายได้ประมาณ    ๕,๗๑๖.๘๐ บาท/ไร่
ปีเก็บเกี่ยว ๒๕๒๑-๒๕๒๒ ทำการเก็บเกี่ยวตั้งแต่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๒ – ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ รวมเก็บเกี่ยวจำนวนต้น ๘๘ ต้น ซึ่งมีกาแฟอายุ ๕ ปี และ ๖ ปี ปนกัน กาแฟอายุ ๔ ปี เก็บเกี่ยวครั้งที่ ๒ และกาแฟอายุ ๓ ปี เก็บเกี่ยวครั้งที่ ๑ ปรากฏผลดังนี้
๑. กาแฟอายุ ๕- ๖ ปี จำนวน ๘๘ ต้น ผลผลิตเฉลี่ย ๑,๓,๙.๕๘ + ๘๐๙.๗๔ กรัม/ต้น
๒. กาแฟพันธุ์เบอร์บอนอายุ ๔ ปี จำนวน ๑๔๗ ต้น เก็บเกี่ยวครั้งที่ ๒ เฉลี่ย ๑,๑๑๙.๐๗ + ๑๒๖.๗๕ กรัม/ต้น
ต้นที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด ได้สารกาแฟ    ๒,๘๘๐        กรัม/ต้น
ต้นที่ให้ผลผลิตต่ำที่สุด ได้สารกาแฟ            ๓.๖๐    กรัม/ต้น
๓. กาแฟพันธุ์เบอร์บอนอายุ ๓ ปี จำนวน ๑๐ ต้น ผลผลิตเฉลี่ย ๓๑๓.๘๗ + ๘๗.๕๗ กรัม/ต้น
ต้นที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด ได้สารกาแฟ    ๗๗๑.๘๓         กรัม/ต้น
ต้นที่ให้ผลผลิตต่ำที่สุด ได้สารกาแฟ       ๔.๗๙        กรัม/ต้น
๔. ราคาสารกาแฟในปีนี้ ราคากิโลกรัมละ ๖๓.๕๕ บาท (ราคาหลังจากหักค่าใช้จ่ายการตลาด)
กาแฟอายุ ๕-๖ ปี จะได้รายได้ประมาณ ๒๑,๓๐๕.๓o บาท/ไร่ กาแฟอายุ ๔ ปี จะได้รายได้ประมาณ       ๑๘,๒๐๕.๙๓  บาท/ไร่
กาแฟอายุ ๓ ปี จะได้รายได้ประมาณ          ๕,๑๐๖.๒๙  บาท/ไร่
จากข้อมูล ๓ ปีนี้เขียนเป็นตารางได้ดังนี้
ตารางที่แสดงผลผลิตสารกาแฟเฉลี่ย กรัม/ต้น ระยะ ๓ ปี


(a) ตัวเลขผลผลิตกาแฟอายุปนกัน ๓-๔ ปี เก็บครั้งที่ ๑ อายุ ๔-๕ ปี เก็บครั้งที่ ๒ อายุ ๕-๖ ปี เก็บครั้งที่ ๓
(b) ตัวเลขผลผลิตกาแฟอายุ ๓ ปี เก็บครั้งที่ ๑ อายุ ๔ ปี เก็บครั้งที่ ๒
(c) ตัวเลขผลผลิตกาแฟอายุ ๓ ปี เริ่มเก็บเกี่ยวครั้งแรก
+ แสดงจำนวนผลผลิตต่อต้นที่ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ตัวเลขที่มากแสดงว่ามีความแปรปรวนของผลผลิตจากต้นต่างๆ ที่ เก็บเป็นตัวอย่างมาก ตัวเลขที่น้อยแสดงว่ามีความสม่ำเสมอของตัวอย่างดี
หมายเหตุ
ถ้าทำการแยกพันธุ์คิดผลผลิตต่างหากแยกกันสำหรับตัวเลขชุดนี้ จะทำให้ความแปรปรวนของผลผลิตลดลง รวมทั้งเป็นเพราะมีกาแฟต่างอายุกันไม่สามารถแยกได้
จากตารางและข้อมูลเหล่านี้แสดงว่า
๑. ผลผลิตกาแฟอายุ ๓ ปี จะได้เฉลี่ยประมาณ ๓๒๔.๗๐ กรัม/ต้น หรือ ๘๓.๑๒ กก./ไ ร่
๒. ผลผลิตกาแฟอายุ ๓-๔ ปี อันเกิดจากการปลูกซ่อมต้นที่ตายในการปลูกปีก่อน เมื่อเก็บผลผลิตได้ รวมกันเฉลี่ยประมาณ ๔๙๓.๗๙ กรัม/ต้น หรือ ๑๒๖.๔๑ กก./ไร่
๓. ผลผลิตกาแฟอายุ ๔ ปี จะได้เฉลี่ยประมาณ ๑,๑๑๙.๐๗ หรือ ๒๔๖.๔๘ กก./ไร่
๔. ผลผลิตกาแฟอายุ ๕-๖ ปี เฉลี่ยจะลดลง ในการเก็บเกี่ยวครั้งที่ ๓ เพราะเก็บได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากใบร่วง เพราะฉีดพ่นยาอัตรา เข้มข้นเกินไปและเพราะกาแฟที่ปลูกนี้ไม่มีการตัดแต่งกิ่ง จึงเริ่มทำการตัดแต่งกิ่งและตัดยอดในปี ๒๔๒๒ หลังการเก็บเกี่ยว เพื่อช่วยไม่ให้ต้นกาแฟโทรมมากเกินไป
๕. การใส่ปุ๋ยให้กาแฟอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งคุ้มค่า เพราะราคาปุ๋ยกิโลกรัมละไม่เกิน ๗.- บาทแต่สารกาแฟราคากิโลกรัมละหลายเท่าของราคาปุ๋ยการใส่ปุ๋ยให้กาแฟ ๑๐๐ กิโลกรัม จะทำให้ได้ผลผลิต เพิ่มประมาณ ๑๓๖ กิโลกรัม)
๖. ราคาสารกาแฟเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากแหล่งปลูกกาแฟใหญ่ๆ ของโลกประสบภัยธรรมชาติ ต้นกาแฟเสียหายตายไปมาก ทำให้ผลผลิตมีน้อยราคาจึงสูงขึ้นมาก จากกิโลกรัมละ ๒๕ บาท ในปี ๒๕๑๙ จนถึงกิโลกรัมละ ๖๕ บาท ในปี ๒๕๒๒ ถ้าหากแหล่งปลูกกาแฟต่างประเทศที่ประสบภัยธรรมชาติสามารถฟื้นตัวผลิตกาแฟเป็นการค้าได้อีกคาดว่าราคาตลาดโลกอาจลดลง จึงควรคำนึงถึงข้อนี้ไว้ด้วย
ตารางที่แสดงผลผลิตกาแฟและรายได้ หมู่บ้านชาวเขาปี ๒๕๑๙ – ๒๕๒๐

ตารางแสดงผลผลิตสารกาแฟ ตามสถานีหมู่บ้านหลักและบ้านบริวาร โครงการปลูกพืชทดแทน และพัฒนาเศรษฐกิจชาวไทยภูเขา ปี ๒๕๒๐ – ๒๕๒๑


จาก UNPDAC
๑. ผลผลิตแปลงชาวเขา ทั้งในหมู่บ้านหลักและบริวาร ๓,๖๓๓ ต้น ผลผลิตทั้งทมด ๙๓๑.๖ กก. คิดเฉลี่ย ๐.๒๖ กก./ต้น
๒. ผลผลิตกาแฟจากสถานที่ฝึกอบรมช่างเคี่ยนและหมู่บ้านหลัก ๙๖๕ ต้น ผลผลิตทั้งหมด ๗๔๒.๓๑ กก. เฉลี่ย ๐.๕๖ กก./ต้น
๓. ผลผลิตกาแฟรวมทั้งหมด ๔,๕๙๘ ต้น ได้ ๑,๖๗๓.๙๑ กก. เฉลี่ย ๐.๕ + ๐.๐๙๔ กก./ต้น
๔. ผลผลิตกาแฟตามสถานีหมู่บ้านหลัก มีการปฏิบัติดูแลรักษาดี ผลผลิตเฉลี่ยลูง ๐.๕๖ กก./ต้น แต่กาแฟจากแปลงของชาวเขามีการปฏิบัติดูแลรักษาต่ำ จึงได้ผลผลิตเฉลี่ยต่ำ ๐.๒๖ กก./ต้น
๕. เมื่อรวมผลผลิตจากแปลงที่ดูแลรักษาดี กับแปลงที่ดูแลรักษาต่ำ ผลผลิตเฉลี่ยได้ ๐.๕๔๒ กก./ต้น หรือ ๑๓๘.๗๕ กก./ไร่ สำหรับกาแฟต่างอายุที่ให้ผลผลิตรวมกันทั้งหมด
ตารางแสดงผลผลิตกาแฟและรายได้ จากแปลงของชาวเขา หมู่บ้านดอยสามหมื่น ปี ๒๕๒๑-๒๕๒๒


ตารางแสดงผลผลิตกาแฟจากแหล่งปลูกต่างๆ


*ฮาวายปลูกกาแฟกลางแจ้ง ไม่มีร่มเงา แต่ทำการใส่ปุ๋ยอย่างเพียงพอให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุด
ตารางแสดงค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ยและป้องกันกำจัดโรคแมลง ตามตารางแนะนำ

ที่มา:อนันต์  อิสระเสนีย์