การแยกประเภทของไม้ดอก

ก. การแยกประเภทพันธุ์ไม้ดอกไม้ประ­ดับตามหลักพฤกษศาสตร์

การแยกประเภทพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ตามหลักพฤกษศาสตร์นั้นมีความมุ่งหมายเพื่อจำแนกพันธุ์ไม้ทั่ว ๆ ไปให้แน่ชัดในรูปร่าง ลักษณะ นิสัย การดำรงชีพ และการสืบพันธุ์ของพันธุ์ไม้ให้อยู่เป็นกลุ่มเป็นพวกที่แน่นอน ไม่ปะปนสับสนกัน มีพันธุ์ไม้หลายชนิดที่มี ลักษณะคล้ายกันมาก แต่ก็ไม่เหมือนกันและไม่ใช่ชนิดเดียวกัน ดังนั้นในการแบ่งหรือจำแนกพันธุ์ไม้นั้น จึงพยายามศึกษาถึงลักษณะและคุณสมบัติต่าง ๆ ในทางสรีรวิทยาของมัน เช่น ลักษณะต้น ใบ ดอก ผล การขยายพันธุ์ เพื่อคัดจำแนกเอาพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะส่วนใหญ่ ๆ เหมือนกันรวมไว้เป็นพวกเดียวกัน และในลักษณะใหญ่ ๆ ที่เหมือนกันนั้นในพวกเดียวกันนั้น เมื่อมีลักษณะปลีกย่อยต่าง ๆ กันไปอีก ก็คัดแยกประเภทออกไปอีกเป็นประเภทและชนิดกันออกไปจนถึงที่สุดที่มีลักษณะเกือบทุกอย่างอยู่ในประเภทและชนิดเดียวกันเกือบทุกอย่าง คงผิดกันแต่เรื่องปลีกย่อยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ต่างกันเท่านั้น พันธุ์ไม้ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน อยู่ในพวกเดียวกันก็มีชื่อตามพวกและหลักเดียวกัน จนในที่สุดถึงการจำแนกที่ละเอียดลงมาก็จะมีชื่อที่แน่นอน ไม่ปะปนและซ้ำกัน ทำให้เกิดการไขว้เขวและปะปนเข้าใจผิดกันได้ ชื่อที่ตั้งให้นั้นจะเรียกว่าชื่อทางวิทยาศาสตร์ (Scien­tific name) ซึ่งประกอบด้วยชื่อสกุล (Genus) แล้วตามด้วยชื่อชนิด (species) ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังมีพันธุ์ไม้อีกมากมายที่ยังค้นไม่พบ จึงไม่ทราบว่าควรจะมีชื่อว่าอย่างไรที่แน่นอน อนึ่งการตั้งชื่อทางสามัญ (Common name) นั้น เป็นชื่อที่ตั้งขึ้น โดยความพอใจของเจ้าของ ซึ่งปราศจากการพิจารณาที่ละเอียดถึงลักษณะต่าง ๆ ของพันธุ์ไม้ จึงทำให้ชื่อพันธุ์ไม้นั้นไม่แน่นอน อาจถูกเปลี่ยนแปลงได้ และข้อที่สำคัญก็คือ การตั้งชื่อทางสามัญนั้นก็ไม่มีหลักเกณฑ์ ยึดถือได้แน่ชัด จึงหาชื่อได้ไม่ง่ายนัก ตัวอย่างเช่นพวกกล้วยไม้ที่มีมากถึง 17,000 ชนิด (spe­cies) แต่มีชื่อทางสามัญได้เพียง 150 ชื่อเท่านั้นเอง พืชทั่ว ๆ ไปในโลกนั้นประมาณว่ามีอยู่ด้วยกันราว 350,000 ชนิด

ในการแบ่งจำแนกพันธุ์ไม้ทางพฤกษศาสตร์นั้น ก็เริ่มแบ่งตั้งแต่ลักษณะใหญ่ ๆ ที่ตรวจพบ ได้ง่าย ๆ ก่อน

อาณาจักรของพฤกษ์ (Plant Kingdom)

อาณาจักรของพฤกษ์แบ่งออกเป็น 2 อนุ อาณาจักร คือ

อนุอาณาจักรที่ 1 แทลโลไฟต้า (Subkingdom 1Thallophyta) หมายถึงพืชที่ไม่มีการเจริญเติบโตในส่วนเดิม ไม่มีราก ไม่มีลำต้น ไม่มีใบ ไม่มีเซลล์ท่อน้ำท่ออาหาร ในอนุอาณาจักรนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ อีก คือพวกที่มีคลอโรฟิลล์ และพวกที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ ส่วนมากเป็นพวกพาราสิต (Parasite) หรือ พวกกินสิ่งที่เน่าเปื่อย (Saprophyte) ในอนุอาณาจักรนี้แบ่งออกได้อีกเป็น 10 ดิวิชั่น (จำพวก) คือ พวกที่มีคลอโรฟิลล์ รวมถึงสาหร่าย (Algae) ต่าง ๆ 8 ดิวิชั่น และพวกที่ไม่มีคลอโรฟิลส์ได้แก่พวกเชื้อราและบักเตรี(Fungi and Bacteria) อีก 3 ดิวิชัน พวกนี้เป็นพืชชั้นต่ำทั้งสิ้น

อนุอาณาจักรที่ 2 เอมบริโอไฟต้า (Subking­dom 2 Embryophyta) พวกนี้เป็นพืชที่เจริญขึ้นมามาก โดยที่มีไข่อ่อน (Ovule) อยู่ในสิ่งห่อหุ้ม (รังไข่) ซึ่งอยู่ในคัพภะ (Embrys) สิ่งที่ห่อหุ้มไข่อ่อนนี้เรียกว่า อาร์ซีโกเนี่ยม (Arche- gonium) ลักษณะลำต้นมีลักษณะที่เป็นรากหรือคล้ายราก มีลำต้นหรือส่วนคล้ายลำต้น มีใบหรือส่วนคล้ายใบ จึงอาจแบ่งออกได้ 2 พวกใหญ่ ๆ คือพวกที่มีใบ ราก ต้นที่แท้จริง และพวกที่มีส่วนที่คล้ายใบ รากและลำต้น แบ่งออกเป็น ดิวิชั่นต่าง ๆ ดังนี้ คือ

Division Bryophyta แบ่งออกเป็น 3 class คือ

Class (1.) Liverworts (Hepaticae)

Class (2.) Horned Liverworts or Horn- worts

Class (3.) Mosses (Musci)

Division Tracheophata (vascular plants) พวกนี้มีระบบท่อ คือมีเซลล์ต่อกันเป็นท่อน้ำท่ออาหารส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช (Xylem และ Phloem) แบ่งออกเป็น

Subdivision (A) Psilopsida แบ่งออกอีก 2 Order

Subdivision (B) Lycopsida แบ่งออกอีก 4 Order

Subdivision (C) Sphenopsida แบ่งออก อีก 3 Order

Subdivision (D) Pteropsida พวกนี้มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับไม้ดอกไม้ประดับมาก ดังนั้นจึงควรสนใจใน Subdivision (D) นี้บ้าง คือ

Subdivision (D) Pteropsida ลักษณะทั่ว ๆ ไปใน Subdivision นี้ก็คือ ลักษณะในส่วนมาก เห็นได้ชัดสมบูรณ์และมีขนาดใหญ่ มีเกสรหรือเพศผู้เพศเมียที่สมบูรณ์ซึ่งแบ่งออกเป็น

Class (1) Filicineae พวกเฟิร์นขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ ซึ่งส่วนมากอยู่ใต้ใบ การผสมพันธุ์โดยมีเชื้อตัวผู้ (Sperms) ว่ายไป แบ่งออก เป็น 3 Order

Class (2) Gymnospermae เมล็ดไม่มีสิ่งห่อหุ้ม แบ่งออกเป็น Order ต่าง ๆ คือ

Order (1) Pteridospermae พวก Seed ferns

Order (2) Bennettitales

Order (3) Cycadales หรือ Cycads คือ พวกปรงต่าง ๆ มีรูปลักษณะคล้ายปาล์ม เกสร ตัวผู้และตัวเมียออกที่ยอด ลักษณะคล้ายรูปกรวยสามเหลี่ยม(Cones) แยกกันอยู่คนละยอด ปรงเป็นไม้ประดับที่สวยงามและนิยมกันมาก

Order (4) Cordaitales

Order (5) Ginkgoales เหลืออยู่ species เดียวคือ Ginkgo biloba หรือเรียกว่า maiden­hair tree

Order (6) Coriferales พวกสน Conifers มีประมาณ 550 ชนิด เป็นไม้เนื้ออ่อนพวก everyveen ใบรูปเข็ม เกสรตัวผู้และตัวเมียเป็นรูปกรวย เมล็ดอยู่ผิวหน้าของเกล็ดที่กรวย (cone)

Order (7) Gnetales

Class (3) Angiospermae (Angio sperms) ได้แก่พันธุ์ไม้ที่มีดอก (Flowering plants) มีใบกว้าง เมล็ดอยู่ในสิ่งห่อหุ้มที่เรียกว่า carpels เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอก การผสมพันธุ์เป็นไปโดยเชื้อตัวผู้ (sperms) เข้าไปในรังไข่โดยหลอดเรณู (Pollen tube) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 subclass คือ

Subclass (A) Dicotyledoneae (พืชใบเลี้ยงคู่) มีประมาณ 200,000 ชนิด ต้นอ่อน มีใบเลี้ยงสองใบ มีลักษณะต่าง ๆ คือมีเยื่อเจริญ (Cambium) มีเนื้อไม้ (woody plants) หรือเป็นพวกพืชอวบน้ำ (herbs) เส้นใบเป็นร่างแห แบ่ง ออกเป็น Family ต่าง ๆ กัน เช่น Family Le guminosae มีประมาณ 12,000 ชนิด Family Compositae มี 20,000 ชนิด และ Family Malvaceae มี 1,000 ชนิด ลักษณะดอกมักมี 4-5 กลีบ

Subclass (B) Monocotyledsneae มีประมาณ 50,000 species เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลักษณะดอกส่วนมากมี 3 กลีบ ส่วนมากไม่มีเยื่อเจริญ (Cambium) มีเส้นใบขนานกัน ส่วนมากเป็นพืชอวบน้ำ (herbs) ลำต้นมักมีปล้อง หรือข้อเห็นได้ชัด แบ่งออกเป็น Family ต่างๆ เช่น Family Orchidaceae มีประมาณ 17,500 ชนิด Family Gramineae มีประมาณ 7,500 ชนิด Family Palmaceae มีประมาณ 2,000 ชนิด

การแบ่งชั้นของพฤกษ์อาจแบ่งออกได้เป็น หมวดหมู่ ดังตัวอย่างมะพร้าวเตี้ยต่อไปนี้

Division Tracheophyta

Class Angiospermae

Order Principes

Family Palmaceae

Genus Cocos

Species nucifera

Variety Dwarf Malayav

Scientific name :- Cocos nucifera Var. Dwarf Malayan

ในการที่จะพิจารณาได้ว่าพืชชนิดใดอยู่ในหมวดหมู่ชนิดไหนนั้นจำเป็นจะต้องใช้ key เป็นเครื่องพิจารณาการใช้ key เปรียบเหมือนแนวทางให้เราพิจารณาไปสู่จุดหมายได้ว่า พืชที่มีลักษณะอย่างไหน key จะบอกถึงลักษณะที่เห็นได้ชัดอย่างหยาบ ๆ เรื่อยไปจนถึงรายละเอียด key ที่ใช้นั้นอาจเป็น key ที่เริ่มหา Family ของพันธุ์ไม้ก่อนแล้วจึงพิจารณารายละเอียดลงไปอีกจนถึง Genus และ species

ในการเรียนเรื่องไม้ดอกไม้ประดับนั้น สิ่งที่ควรทราบก็คือควรจะรู้จักว่าพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับชนิดไหนอยู่ใน Family อะไร ถ้าหากจำได้ก็ยิ่งดี แต่ถ้าหากรู้จักใช้ key เพื่อหา Fa­mily ของพันธุ์ไม้นั้นได้ ก็จะเป็นรากฐานในการ ศึกษาสูงขึ้น และสามารถเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ของพืชกรรมได้ต่อไป

การแบ่งชั้นของพืชตามหลักพฤกษศาสตร์นี้ เป็นการนำทางไปหาชื่อพันธุ์ไม้ทางพฤกษศาสตร์ของพันธุ์ไม้ได้ (Botanical name หรือ Scientific name) ชื่อพฤกษศาสตร์ของพันธุ์ไม้นั้นเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักพฤกษศาสตร์ทั่วโลก เพราะมีความหมายและหมายถึงพืชชนิดเดียวกันตามชื่อนั้นทั่วโลก ทุกคนสามารถทราบได้ว่าชื่อนั้นหมายถึงพืชชนิดใดได้ถูกต้องและ ตรงกันหมด ซึ่งต่างกับชื่อสามัญ (Common name) ที่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นและภาษา ไม่แน่นอนเหมือนชื่อทางพฤกษศาสตร์ ดังนั้นถ้าหากต้องการจะพูดหรือเรียกชื่อให้คนอื่น ๆ ทั่วโลกเข้าใจว่า เราหมายถึงพันธุ์ไม้ชนิดใดแล้ว ก็ต้องเรียกชื่อพฤกษศาสตร์ ความจริงนั้นชื่อพฤกษศาสตร์จำได้ยากและเขียนยาก เพราะไม่ใช่ภาษาอังกฤษ แต่เป็นภาษาลาตินบ้าง ภาษากรีกบ้าง ตัวอย่างเช่น Elata ภาษาลาติน แปลว่าสูง หรือ Didymosperma เป็นภาษากรีกแปลว่า เมล็ดแฝด หรือชื่อวิทยาศาสตร์ของมะพร้าวว่า Cocos nucifera Cocos เป็นภาษาโปรตุเกส แปลว่าลิง เพราะเห็นว่ามะพร้าวนั้นมีผลที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนหน้าลิงหรือหัวลิง ส่วนคำว่า nucifera เป็นภาษาลาติน แปลว่า มีกระโหลกแข็ง เช่นพวก nut

ดังนั้นถ้าหากมีความรู้ทางภาษาลาตินและกรีกไว้บ้างแล้ว อาจทำให้จำชื่อพฤกษศาสตร์ของพืชได้ดีขึ้น

อาจสรุปได้ว่า การแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามหลักพฤกษศาสตร์นั้น เป็นหลักที่แบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับได้อย่างแน่นอน และมีความสำคัญอย่างยิ่งในระหว่างหลักพิจารณา แบ่งพันธุ์ไม้เป็นหนทางนำไปสู่ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ต้องจำเป็นใช้อยู่เสมอเป็นประจำโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย

ข. การแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามอายุของการเจริญเติบโต

พันธุ์ไม้โดยทั่ว ๆ ไปมีอายุยืนนานแตกต่างกัน บางชนิดอาจมีอายุยืนมาก แต่บางชนิดก็จบชีวิตลงในระยะเวลาอันสั้น ๆ คงมีแต่เมล็ด หรือส่วนอื่นสืบพันธุ์แทนต่อไป ในรอบชีวิตหนึ่งของพันธุ์ไม้นั้นนับตั้งแต่ออกจากเมล็ดจน เจริญเติบโตและออกดอกออกผลกลับมาเป็น เมล็ดเช่นเดิม ซึ่งอาจแบ่งอายุของพันธุ์ไม้ได้ 3 ลักษณะด้วยกัน คือ

1. Annuals หมายถึงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับที่ทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ไม้ล้มลุก นับตั้งแต่งอกออกจากเมล็ด จนเจริญเติบโตและออกดอกเป็นเมล็ดอีกครั้งหนึ่งนั้น อยู่ในระยะเวลาสั้นไม่เกินหนึ่งปี ซึ่งส่วนมากพันธุ์ไม้ล้มลุกนเป็นพวกไม้ดอกหลายชนิด เช่นบานชื่น ดาวเรือง บานไม่รู้โรย ดาวกระจาย พิทูเนีย ทานตะวัน พันธุ์ไม้พวกนี้จะตายเมื่อออกดอกออกเมล็ดหมดแล้ว ดังนั้นพันธุ์ไม้พวกนี้จึงมีอายุไม่เกินหนึ่ง ปี

2. Biennials หมายถึงพันธุ์ไม้ที่มีอายุครบรอบหนึ่ง ๆ เกินกว่า 1 ปี หมายถึงว่าในปีแรกมีการเจริญเติบโตทางกิ่ง ใบ ลำต้น ในปีที่สองจึงออกดอกออกผล แล้วจึงจบชีวิตในรอบหนึ่งของมัน เช่น ซ่อนกลิ่นฝรั่ง (Gladiolus)

3. Pevennials หมายถึงพันธุ์ไม้ที่มีอายุนานกว่าสองปี บางชนิดอาจจะออกดอกออกผลในปีแรกก็ได้ แต่เมื่อออกดอกออกผลแล้วก็ยังไม่ตายและจบชีวิต คงมีดอกมีผลเป็นครั้งที่ 2-3-4 หรือต่อ ๆ ไปมากกว่านั้นก็ได้ พวกนี้ อาจจะมีอายุได้นานถึง 100 ปีก็ได้และมีลักษณะต่างกัน ซึ่งมีทั้งไม้ต้นเล็กจนขนาดใหญ่ที่สุดก็ได้

ค. การแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามการเจริญเติบโตของรูปทรง

การจำแนกพันธุ์ไม้ประดับโดยพิจารณาดูลักษณะของลำต้นนั้นดูได้ง่าย ๆ จากลักษณะของพันธุ์ไม้นั้น ๆ ได้ให้ถูกต้องตามความมุ่งหมายที่จะนำไปใช้ในการตกแต่งสวนได้ ลักษณะพันธุ์ไม้ทั่ว ๆ ไปนั้นอาจจะแบ่งตามลักษณะของ ลำต้นได้ 4 ชนิด คือ

1. ไม้เลื้อย (Climbing or Vines) หมายถึงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อยไปตามสิ่งที่จะเกาะและเลื้อยไปได้ พันธุ์ไม้ประเภทนี้จึงนิยมใช้ปลูกให้เลื้อยคลุมเรือนต้นไม้ เลื้อยตามรั้ว หรือตามต้นไม้อื่น ๆ เพื่อเพิ่มความสวยงามให้เหมือนธรรมชาติพันธุ์ไม้เลื้อยส่วนมากจะมีมือเกาะหรือมีเถาม้วน หรือพันรอบ ๆ สิ่งที่มันยึดเหนี่ยวเพื่อเจริญเติบโตต่อไป เจริญตามความยาวมากกว่าการเจริญเติบโตออกทางด้านข้าง พันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับที่เป็นไม้เลื้อยมีมากด้วยกัน เช่น พวกพลูฉีกต่างๆ (Philo­dendron และ Monstera) นมแมว การเวก ตรุษจีน เฟื่องฟ้า บานบุรี โปร่งฟ้า พวงโกเมน ลดาวัลย์ ชมนาด ขจรหรือสลิด ฯลฯ

2. ไม้พุ่ม (Shrubs) หมายถึงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับบางชนิดที่มีกิ่งก้านแตกแขนงออกมาก ทำให้รูปทรงเป็นพุ่มกลมหรือเป็นทรงพุ่ม สามารถตัดแต่งให้เป็นรูปพุ่มต่าง ๆ ได้ ส่วนมากเป็นไม้ที่ชอบขึ้นกลางแจ้ง และเป็นไม้เนื้อ จริง (Woody) ในการจัดสวนนั้นนิยมใช้ไม้พุ่มปลูกประดับตามขอบสนาม ตามถนน หรือปลูกประดับอาคารต่าง ๆ ไม้พุ่มบางชนิดมีดอกออกเต็มพุ่มด้วย เช่นเข็มต่าง ๆ พุดซ้อน เล็บครุฑ ชาบางชนิด ใบเงินใบทอง หูกระต่าย ชะบาหรือ พู่เรือหงษ์ ดอนย่า มะขามไทย มะขามเทศ สน บางชนิดปลูกตัดเป็นรั้วต้นไม้ได้งามดด้วย เช่น มะขามเทศ ขาไก่ กระถิน

3. ไม้ต้น (Trees) หมายถึงไม้ที่ยืนต้นมีลำต้นเดี่ยว แตกกิ่งก้านแขนงแผ่สาขาส่วนบน ให้ความร่มรื่นและสวยงาม บางชนิดมีดอกดกสวยงามด้วย ส่วนมากมีอายุยืนและมีรูปทรงต่าง ๆ กันทั้งทรงสูง ทรงเตี้ย ทรงแผ่กระจาย พวกไม้ต้นที่มีดอกดกออกพร้อมกันนั้น มีต้นหางนกยูงฝรั่ง ชงโค นนทรี ตะแบก ราชพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ ทองกวาว ประดู่ แคแสด เหลืองอินเดีย บางชนิดดอกไม่งาม แต่มีรูปทรงสวยงาม เช่น สนฉัตร สนต่าง ๆ จามจุรี หูกวาง ยูคาลิปตัส หลิว หรือ พวกปาล์มบางชนิด

4. ไม้หัว (Bulbs and Corns) หมายถึง พันธุ์ไม้ที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินในลักษณะเป็นหัว หรือเป็นตามใบอัดกันแน่น ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ที่มีน้ำอยู่มาก (Herbs) มีดอกสวยงามดีและไม่มีดอกสวยงาม แต่มีลักษณะทรงลำต้น ใบ สวยงามก็มีมาก เช่นพวกว่านต่างๆ พวกซ่อนกลิ่น พวกใบกระดาษ (Arocacia) หรือพวกดาดตะกั่ว (Begonia) บางชนิดก็มีดอกสวยงาม พันธุ์ไม้พวกนี้ส่วนมากก็ใช้หัวหรือหน่อขยาย พันธุ์

ง. การแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามประโยชน์ใช้สอย

หมายถึงการแบ่งพันธุ์ไม้ตามความต้องการ และความมุ่งหมายที่จะนำมาใช้เพื่อประโยชน์ อะไร และใช้ส่วนไหนของพันธุ์ไม้เพื่อประโยชน์ ที่ต้องการ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทอีก คือ

ก. ไม้ดอก ความมุ่งหมายส่วนใหญ่ต้องการดอก (flowers) ดังนั้นในการผลิตจึงมุ่งผลิต ให้มีปริมาณและคุณภาพทางดอกมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ยิ่งมีดอกดกมากและมีความงามทางคุณภาพทางดอกสูง ยิ่งมีราคาและคุณค่าสูง ดังนั้นไม้ดอกจึงเป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องมีคุณสมบัติทางดอกเป็นสำคัญ เรื่องใบและลักษณะของลำต้นนั้น ไม่มีความมุ่งหมายและความต้องการไม้ดอกนี้อาจพิจารณาแบ่งเป็น

1. ไม้ตัดดอก (Cut flowers) คือไม้ดอก ชนิดที่ปลูกไว้เพื่อตัดดอกจากต้นมาใช้หรือจำหน่าย เช่น เยอบีร่า กุหลาบบางชนิด หน้าวัว เบญจมาศ ฯลฯ คุณภาพหรือคุณสมบัติของไม้ตัดดอกที่ดีนั้น ก็คือ

* มีดอกงาม รูปลักษณะงาม สีสันสะดุดตา และอยู่ในความนิยม

* มีก้านดอกยาวและแข็ง นำมาปักแจกันหรือจัดดอกไม้ได้ดี

* มีความทนทาน เช่นกลีบดอกหนา ไม่เหี่ยวเห้งได้ง่าย ๆ หลังจากตัดดอกออกมาจากต้นแล้วสามารถเก็บไว้ได้นานไม่ บานหรือร่วงโรยเหี่ยวแห้งเร็ว เกินไป

* เป็นพันธุ์ไม้ที่มีดอกดก และออกดอกได้ตลอดปีได้ยิ่งดี

* เป็นพันธุ์ไม้ดอกที่ปลูก ดูแล รักษา และขยายพันธุ์ได้ไม่ยากนัก

ตัวอย่างไม้ตัดดอกที่นิยมกัน ได้แก่ กล้วยไม้ เบญจมาศ กุหลาบ ซ่อนกลิ่นฝรั่ง เยอบีร่า ซ่อนกลิ่นไทย หงอนไก่ สร้อยทอง บานไม่รู้โรย ดาวเรือง บัวหลวง มะลิ ฯลฯ

2. ไม้ดอก (Flowering plants) หมายถึง พันธุ์ไม้ที่ต้องการชมความงามของดอกที่ติดอยู่กับต้นมากกว่าตัดดอกออกจากต้นอย่างเช่นไม้ตัดดอกที่กล่าวแล้ว ไม้ดอกประเภทนี้มีดอกบอบบาง และมีลักษณะคุณสมบัติไม่เหมาะที่จะทำเป็นไม้ตัดดอก หรือตัดออกมาจากต้น เพราะมีก้านดอกสั้น กลีบดอกบอบบาง ถ้าตัดออกจากต้นก็ไม่คงสภาพได้นานเหมือนอยู่กับต้นมัน ดังนั้น ไม้ดอกประเภทนี้จึงปลูกไว้ดูดอกกับต้นและใช้ปลูกเป็นแปลงบนพื้นดิน ประดับสวน ประดับอาคาร หรือปลูกเป็นไม้กระถาง เช่น พุทธรักษา (Canna) ชบาหรือพู่เรือหงส์ (Hibicus)

ข. ไม้ประดับ (Ornamental plants) หมายถึงพันธุ์ไม้ที่มีความมุ่งหมาย และต้องการใช้พันธุ์ไม้เหล่านี้เป็นเครื่องประดับอาคารสถานที่ต่าง ๆ โดยมิต้องคำนึงถึงดอกของมัน แต่คำนึงถึงรูปร่าง ความสวยงามของทรวดทรง ลำต้น ใบ เป็นสิ่งสำคัญซึ่งบางชนิดอาจไม่เคยมีดอกเลยก็ได้ แต่ใบของมัน รูปร่างของลำต้นนั้นงามน่าดู และมีรูปทรงคงที่อยู่ได้นาน ซึ่งการแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามความมุ่งหมายที่ใช้นี้มีความมุ่งหมายตรงอยู่แล้วที่จะใช้เป็นพันธุ์ ไม้ประดับ อาจแบ่งลักษณะพันธุ์ไม้ดอกได้ต่าง ๆ กัน 3 ประเภท คือ

1. ไม้ใบ (Foliage plants) หมายถึงพันธุ์ ไม้ที่มีรูปร่างลักษณะของใบสวยงาม มีสีสัน รูปร่างตามความต้องการและความมุ่งหมายที่จะใช้ความงามของใบเป็นสำคัญ เช่นโกสน บอน ดาดตะกั่ว ไม้ใบประเภทนี้อาจปลูกเป็นการค้า เพื่อตัดใบขายด้วยก็ได้ เช่น พวกเฟิร์น ปริก สนบางชนิด เล็บครุฑ หมากผู้หมากเมีย พลูฉีก สาวน้อยประแป้ง ปรง กกต่าง ๆ

2. ไม้กระถาง (Potted plants) หมายถึงพันธุ์ไม้ดอกก็ได้ พันธุ์ไม้ใบก็ได้ หรือพันธุ์ไม้ผลก็ได้ ที่มีส่วนสัดในรูปร่างลักษณะของ ต้น ดอก ใบ งดงามน่าดูเมื่ออยู่ในกระถาง มีพันธุ์ไม้มากมายหลายชนิดที่ขึ้นอยู่กับพื้นดิน ดูไม่งดงามเท่าไรนัก แต่เมื่อขุดมาปลูกในกระถางแล้วกลับเกิดความงามและเพิ่มความน่าดูยิ่งขึ้น

ไม้กระถางนั้นส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ที่มีความอ่อนแอ และต้องการความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด และพวกพันธุ์ไม้กระถางนั้นก็มีความมุ่งหมายอีกอย่างคือ ต้องการใช้กระถางเคลื่อนที่เพื่อใช้ประดับตกแต่งอาคาร ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่าย ไม้ดัดไทยก็นับว่าเป็นไม้กระถางชนิด หนึ่งที่มีความงามของพันธุ์ไม้ที่ปลูกในกระถางนั้นมีส่วนสัมพันธ์กันกับความงามและรูปร่าง ลักษณะของกระถางด้วย เช่นเดียวกับไม้บอนไซของญี่ปุ่นที่ต้องอาศัยกระถางเป็นส่วนประกอบความงาม และจำเป็นต้องปลูกในกระถาง เพื่อจำกัดความเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ให้มีรูปร่างแคระแกรนไปด้วย ดังนั้นไม้กระถางนั้นอาจเป็นพันธุ์ไม้ดอก ไม้ใบ ไม้ดัด ไม้แคระ หรือไม้ผลบางชนิดก็ได้

3. ไม้ดัดและไม้แคระ (Miniature & Bonsai) เป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่งที่มีความมุ่งหมายในความงามของรูปร่างลักษณะทรวดทรวงของต้น กิ่ง ใบ ดอก หรือผล ไม้ดัดหรือแคระนั้นจะมีรูปทรงเกิดขึ้นได้โดยการดัดตกแต่งของเจ้าของผู้ปลูก การดูแลเอาใจใส่มีมาก โดยเฉพาะไม้ดัดไทยนั้นนิยมปลูกลงในดินก็มี และปลูกในกระถางก็มี แต่ไม้แคระของญี่ปุ่นนั้นต้องปลูกในกระถางเพื่อให้แคระแกรนเป็นสำคัญ ไม้ดัดหรือไม้แคระถือว่าเป็นไม้ประดับที่มีคุณค่าสูงเต็มไปด้วยศิลปและความนึกคิด แสดงถึงฝีมือของเจ้าของผู้ปลูกและตกแต่ง ในพวกไม้ดอกไม้ประดับด้วยกันแล้ว ไม้ดัดและไม้แคระเป็นไม้ที่มีราคาสูงกว่าเพื่อน และส่วนมากมีอายุยืนนานด้วย

นอกจากนี้ เราอาจแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามลักษณะนิสัยและตามลักษณะสิ่งแวดล้อมของแสงได้อีกด้วย