ตำรายาจากเบญจมาศดอกขาว


เก๊กฮวยดอกขาว

ชื่อ
จีนเรียก      แปะเก๊กฮวยเฮิยะ  สี่คุ่ยเก็ก Chrysanthemum moifolium Ramat.

ลักษณะ
อยู่ในจำพวกเบญจมาศแต่ดอกขาว โดยมากปลูกตามสวนเป็นพืชยืนต้น ลำต้นตรง กิ่งมาก ใบค่อนข้างมาก ใบรูปไข่เป็นแฉกลึกและแหว่ง ออกดอกหน้าหนาว เป็นพืชที่ปลูกกันมาช้านานจึงแยกออกเป็นหลายพันธุ์ ดอกมีหลายสี ที่เจาะจงพูดถึงนี้เป็นเบญจมาศเฉพาะดอกสีขาว

รส
รสหวานแกมขมไม่มีพิษ

สรรพคุณ
ใช้กินสามารถทำให้เลือดเย็น ใช้ทาภายนอกแก้พิษแก้บวม
ฤทธิ์เข้าถึงตับและปอด

รักษา
แก้ปวดหัวเพราะหวัด ระงับตาแดง ตาฟาง คางทูม พลัดตกหกล้มจนไม่
ได้สติ ใช้ภายนอกทาหรือประคบฝีช้ำบวม และโรคผิวหนังซึ่งเกิดจากพิษ

ตำราชาวบ้าน
1. หวัดปวดหัวตัวร้อน –ใช้ใบเบญจมาศขาวและใบหม่อนอย่างละ 1 ตำลึง ต้มกับนํ้าตาลแดง
2. ตัวร้อนตาแดง -ใช้ดอกหรือใบหนักอย่างละครึ่งตำลึง ต้มรับประทาน หรือใช้แต่ใบหนัก 1 ตำลึง ต้มนํ้าล้างตาหรือตำแหลกผสมพิมเสนใช้พอกตาเว้นตรงกลางที่ช่องตา
3. ตาฟาง – ใช้เบญจมาศขาว 1 ตำลึง ต้มตับหมูรับประทาน
4. คางทูม – ใช้ราก 4 ตำลึง ต้มนํ้าใส่เกลือ แบ่งรับประทานหลายครั้ง
5. พลัดตกหกล้มเป็นลม – ใช้ใบ 1 ตำลึง ตำแหลกเอานํ้าผสมปัสสาวะเด็กเล็กรับประทาน
6. แก้ฝี – ใช้ใบตำใส่นํ้าผึ้งหรือน้ำตาลทรายแดงแล้วพอกพร้อมทั้งใช้ใบ หนัก 2 ตำลึง ชงนํ้าผึ้งหรือนํ้าตาลแดงกิน จะต้มก็ได้
7. ผิวหนังเป็นตุ่มผื่นแดงเนื่องจากลมพิษร้อน – ใช้ใบตำกับนํ้าตาลแดง ทาหรือพอกหรือตำพร้อมหูปลาช่อน และนํ้าตาลแดงปิดแผลก็ได้

ปริมาณใช้
การใช้ใบหรือใช้ทั้งต้นสดไม่เกิน 1 ถึง 2 ตำลึง ใช้ภายนอกกะพอ ประมาณ

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช