นกอีแพรด (Fantail Flycatchers)

นกอีแพรด (Fantail Flycatchers) เป็นนกจับแมลงชนิดหนึ่ง มีขนาดตั้งแต่เล็กจนถึงปานกลาง หางค่อนข้างยาว และปลายหางส่วนโหญ่มีสีขาว เป็นนกที่ชอบยกหางขึ้นๆ ลงๆ พร้อมกับแผ่หางสลับกับหุบเข้ามา นกพวกนี้ปากและปีกค่อนข้างสั้น ในประเทศไทยมีอยู่ 5 ชนิด

นกอีแพรดท้องเหลือง
ชื่อสามัญ Yellow-bellied Fantail Flycatcher
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhipidura hypoxantha

นกอีแพรดท้องเหลืองมีถิ่นกำเนิดในเทือกเขาหิมาลัย จีน พม่า ไทย ลาวและ ตังเกี๋ย ในประเทศไทยมีอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะต่างกันเล็กน้อย ตัวผู้ทางด้านบนของตัวมีสีเขียวมะกอกเป็นสีเข้ม หน้าผากและคิ้วมีสีเหลืองสด มีแถบสีดำผ่านนัยน์ตา ด้านล่างของตัวมีสีเหลืองสด ขนปลายมีสีขาว ตัวเมียลักษณะสีสรรคล้ายตัวผู้ แต่มีแถบสีเขียวมะกอกเข้มผ่านนัยตา ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบภูเขา เป็นนกซึ่งค่อนข้าง เปรียว ไม่ค่อยเกาะนิ่ง ชอบบินจับแมลงที่กำลังบินอยู่กินเป็นอาหาร

นกอีแพรดคอขาว
ชื่อสามัญ White-throated Fantail Flycatcher
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhipidura albicollis

นกอีแพรดคอขาวมีถิ่นกำเนิดใน ปากีสถาน จีน ไหหลำ บอร์เนียว สุมาตรา พม่า ไทย เขมร ลาว เวียดนาม และตังเกี๋ย ในประเทศไทยมีทั่วไปเกือบทุกภากยกเว้นภาคกลางและภาคตะวันตก ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ขนเกือบทั่วตัวมีสีเทาดำ คอและคิ้วมีสีขาว ขนปลายสุดของหางมีสีขาว ชอบอาศัยอยู่ตามป่าละเมาะและป่าดงดิบซึ่งอยู่สูงเกิน 1,800 ฟุตขึ้นไป ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ หรืออาจอยู่เป็นคู่ ชอบหากินบริเวณป่าที่มีลำธารไหล ผ่าน เป็นนกที่เปรียวมาก ชอบบินไล่จับแมลงกิน ไม่ใคร่ชอบเกาะนิ่งตามกิ่งไม้ แต่จะกระโดดไปมาเสมอๆ อาหารได้แก่แมลงต่างๆ ฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนมีนาคม-กรกฎาคม สร้างรังรูปร่างคล้ายถ้วย เป็นแอ่งตรงกลาง ทำรังด้วยหญ้า ยึดติดกันด้วยใยแมลงมุม วาง ไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง

นกอีแพรดคิ้วขาว
ชื่อสามัญ White-browed Fantail Flycatcher
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhipidura aureola

นกอีแพรดคิ้วขาวมีถิ่นกำเนิดใน ปากีสถาน จีน พม่า ไทย เขมร โคชินไชนา เวียดนาม และลาว ในประเทศไทยมีทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคกลาง ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ขนทางด้านบนของตัวคือบนหัว บนหลัง ปีกและหางมีสีนํ้าตาลปนเทา แต่ปลายสุดหางมีสีขาว คิ้ว ท้องและหน้าอกมีสีขาว คอมีสีดำ ชอบอาศัยอยู่ตามป่าละเมาะ ซึ่งเป็นป่าแล้งและอยู่สูงถึง 3,000 ฟุต หากินอยู่ตามพุ่มไม้เตี้ยๆ ชอบอยู่เป็นคู่ เป็นนกที่ค่อนข้างเปรียว มักไม่อยู่นิ่ง กระโดดไปเรื่อยๆ และชอบยกหาง ขึ้นๆลงๆ พร้อมกับแผ่หางออกคล้ายพัด ชอบบินไล่โฉบแมลงกิน อาหารได้แก่แมลงต่างๆ ฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนมีนาคม-สิงหาคม อาจผสมพันธุ์ปีละสองครั้ง รังเป็นรูปถ้วยทำอยู่ตามง่ามไม้ ทำด้วยใบหญ้า วางไข่ครั้งละ 3 ฟอง

นกอีแพรดอกลาย
ชื่อสามัญ Spotted Fantail Flycatcher
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhipidura perlata


นกอีแพรดอกลายมีถิ่นกำเนิดในซุนดาส์ ไทย และมาเลเซีย ในประเทศไทยมีอยู่เฉพาะทางภาคใต้ ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ทางด้านบนของตัวมีสีเทาดำ คิ้วและขนปลายหางเส้นนอกๆ มีสีขาว คอและหน้าอกมีสีเทา และมีลายเป็นจุดขาวๆ เป็นทางๆ ท้องมีสีขาว ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ ตามภูเขาเตี้ยๆ ชอบบินไล่จับแมลงกิน บางครั้งจะลงมากระโดดเล่นบนพื้นดินพร้อมกับแผ่หางออก กินแมลงเป็นอาหาร

นกอีแพรดแถบอกดำ
ชื่อสามัญ Pied Fantail Flycatcher
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhipidura javanica

นกอีแพรดแถบอกดำมีถิ่นกำเนิดใน ซุนดาส์ ฟิลิปปินส์ เทือกเขาตะนาวศรี ไทย มาเลเซีย เขมร และโคชินไชนา ตัวผู้และคัวเมียเหมือนกัน ทางด้านบนของตัวมีสีเทาอมสีนํ้าตาล หัวมีสีดำ คิ้วและขนปลายหางมีสีขาว ทางด้านล่างของตัวมีสีขาว และมีแถบสีดำ เป็นแถบขวางอยู่ที่หน้าอก ชอบอาศัยอยู่ตามป่าที่เปิดทำไม้แล้ว ป่าละเมาะป่าโกงกาง ตลอดจนตามสวนผลไม้ที่อยู่ใกล้ๆ น้ำ ชอบบินไล่จับแมลงกิน เป็นนกที่เปรียวและไม่เชื่อง และหวงถิ่นที่อยู่มาก ชอบหากินอยู่ตามพุ่มไม้เตี้ยๆ อาหารได้แก่แมลงต่างๆ ในปีหนึ่งๆ มักวาง ไข่สองครั้ง รังทำเป็นรูปถ้วยมีแอ่งตรงกลาง ทำด้วยใบไม้ใบหญ้ายึดติดกันด้วยใยแมงมุม วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง
ที่มา:พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503