ว่านกาสัก

ว่านกาสัก

ลักษณะ ใบคล้ายใบสักแต่เล็กกว่า ผิดกันที่ใบหนาและสาก ขอบใบเป็นจักห่าง ๆ ลำต้นเป็นปล้องเหมือนไม้สัก หัวเหมือนมันสัมปะหลัง รากเป็นฝอยใหญ่ ๆ มีดอกเป็นช่อ ดอกสีขาวคล้ายดอกเถาคัน ดอกนั้นเมื่อแก่จะเป็นเมล็ด เมล็ดหนึ่งมีรอยผ่าเป็น 4 เมื่อนำมาเพาาะจะได้ สี่ต้น ว่านต้นนี้มีขึ้นอยู่ตามป่ามาก แต่ไม่ค่อยรู้จักกันว่าเป็นว่าน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ ชนิดต้นสีแดง ชนิดต้นสีเขียว และชนิดต้นสีออกขาวนวลๆ หรือเรียกว่าชนิดขาว แต่นักเลงเล่นว่านมักนิยมหาชนิดต้นสีแดงมาปลูก เพราะชนิดอื่นมีปลูกกันอยู่ทั่วไปตามบ้าน ชาวป่าเห็นว่าต้นนี้ตามบ้านจะหัวเราะ เพราะเขาไม่รู้ว่าเป็นว่านที่มีสรรพคุณทางคงกะพันชาตรี

สรรพคุณ ใช้ใบและหัวกินเป็นคงกะพันชาตรีคงทนต่อ

ศาสตราวุธทั้งปวง มีด ไม้ หอก ธนู ในตำราบอกไว้ว่า ปืนก็ทำอันตราย ไม่ได้ (แคล้วคลาด) เลย เวลาจะใช้ให้นำหัวว่านมาเศกด้วยคาถา “อุทธัง อุทโธ นะโม พุทธายะ” 7 ครั้ง แล้วจึงกิน (เนื่องจากว่านต้นนี้หัวเหนียว และแข็งวิธีกินต้องนำมาโครกให้ละเอียด คั้นเอานํ้ากิน หรือจะกลืนทั้งที่ไม่คั้นเอานํ้ากินตามก็ได้ หรือจะเอาหัวมาเศกแล้วบดเป็นผงแล้วปั้นเป็นลูกกลอนเอาไว้) เมื่อเสกหัวแล้วไม่กิน นำหัวติดตัวไป ย่อมคุ้มครองศาสตราวุธได้ทุกชนิด (หัวผสมพระเครื่องชนิดคงกะพันได้เป็นอยางดี)

วิธีปลูก การปลูกจะใช้เมล็ดเพาะก็ได้ หรือจะขุดมาจากป่า แล้วนำหัวมาฝังดินเอาไว้ ต้นจะขึ้นต่อเมื่อเดือนห้า หน้าฝน เมื่อฝนตก ฟ้าร้องจึงจะขึ้น ถ้าขุดหัวมาจากป่าให้ตัดต้นทิ้งปลูกแต่หัวจะแตกต้นภาย หลัง

ชื่อ ว่านต้นนี้มีชื่อ 5 ชื่อ คือ ว่านกาสัก, ว่านพระยากาสัก, ว่าน เสือนั่งรม, ว่านเสือร้องไห้, และว่านหอกหล่อ