Month: December 2011

เศรษฐกิจพอเพียง:ยึดเศรษฐกิจพอเพียง มีกิน มีใช้ มีเก็บ

หม่อมหลวงจิรพันธุ์  ทวีวงศ์  รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงาน กปร.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กปร. ได้จัดการประกวดเกษตรกรต้นแบบที่นำผลสำเร็จจากงานศึกษาทดลอง วิจัยของศูนย์ศึกษาฯ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันจนประสบผลสำเร็จ

โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ คือ นายขวัญใจ  แก้หาวงศ์ จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร และจะได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ในวันที่ 8 มีนาคม 2555 ซึ่งสำนักงาน กปร.ได้ร่วมกับ สำนักราชเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา  สำนักงบประมาณ จัดงานเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นายขวัญใจ  แก้วหาวงศ์  อยู่ที่หมู่ 6 บ้านเหล่านกยูง ตำบลดงมะไฟ … Read More

โคนม:สมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม

นางสาวสุพัตรา  ธนเสนีย์วัฒน์  ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรได้เร่งแก้ปัญหาน้ำนมโคของสหกรณ์ที่ไม่มีแหล่งจำหน่ายเนื่องจากอุทกภัยปี 2554  โดยรับซื้อนมจากสหกรณ์  เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและสนับสนุนให้สหกรณ์ติดตั้งเครื่องบรรจุนม UHT แปรรูปนำไปจำหน่าย พร้อมขอความอนุเคราะห์จากจิตอาสาและรัฐบาลในการรับซื้อนม UHT  เพื่อนำไปใส่ในถุงยังชีพ  ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยแล้ว  ยังเป็นการช่วยเหลือค่าน้ำนมให้แก่เกษตรกรเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องกล่องบรรจุด้วย

ทางด้านนายสมชาย  ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  เปิดเผยว่า ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีการช่วยแก้ไขปัญหาให้สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมที่ไม่สามารถส่งน้ำนมดิบไปยังโรงงานรับซื้อได้  จนส่งผลให้มีน้ำนมดิบล้นตลาดอยู่กว่า 200 ตันต่อวัน  โดยได้ประสานไปยังสหกรณ์นอกเขตพื้นที่น้ำท่วม เช่น สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด และสหกรณ์โคนมหนองโพ ราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูถัมภ์) ให้ช่วยเข้ามารับซื้อน้ำนมดิบเหล่านั้นไปแปรรูปนม ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์จะให้ยืมเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์แบบปลอดดอกเบี้ย  สำหรับการรับซื้อน้ำนมดิบของสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

พร้อมกันนี้ยังได้เร่งสำรวจ  รวบรวมข้อมูลสมาชิกสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้การช่วยเหลือตามมาตรการที่มีอยู่  โดยเฉพาะมาตรการพักชำระหนี้ให้สมาชิกสหกรณ์ที่ประสบภัยเป็นเวลา 3 ปี … Read More

เกษตรอินทรีย์:สหกรณ์เกษตรอินทรีย์

รายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบว่าปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่เขตเกษตรเศรษฐกิจจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร ยังคงใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรในการประกอบอาชีพมากขึ้น  ซึ่งการใช้ในปริมาณที่มากและต่อเนื่องโดยขาดการปรับปรุงบำรุงดินอย่างถูกต้อง จะส่งผลให้ดินแข็งกระด้าง ขาดอินทรียวัตถุ ผลผลิตที่ได้ก็ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ที่สำคัญเมื่อถึงฤดูฝนน้ำจะไม่สามารถซึมซับลงสู่ชั้นล่างของผิวดินได้อย่างสะดวก อันจะยังมาซึ่งการเกิดน้ำหลากในพื้นที่และก่อให้เกิดความเสียหายในที่สุด ซึ่งในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ซึ่งจะใช้เพื่อการดำเนินงานในปี 2555-2559 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำแผนพัฒนาการเกษตร เพื่อมุ่งหวังให้ภาคเกษตรเป็นฐานการผลิตที่ปลอดภัย โดยมีวิสัยทัศน์ให้ เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความมั่นคงด้านอาหาร เป็นฐานสร้างรายได้ให้แก่แผ่นดิน จึงมีการผลักดันให้มีการแปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะพื้นที่โครงการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร เน้นรณรงค์การใช้สารอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรให้เป็นกิจกรรมหลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แบบบูรณาการในเขตพื้นที่ชลประทานนำร่องที่มีศักยภาพ ล่าสุดหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ  ได้มีการจัดประชุมทำประชาคมเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเกษตรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้โครงการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรปี 2555 โดยมีหน่วยงานหลักด้านการส่งเสริมด้านพืช สัตว์ และประมง และพัฒนาที่ดิน ที่จะเข้าไปรณรงค์ส่งเสริมเกษตรกรให้ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจากที่พึ่งพาสารเคมีทางการเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว ให้หันมาพึ่งพาสารอินทรีย์ที่สามารถผลิตได้เองจากวัสดุที่มีในท้องถิ่น  เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ … Read More

พริกขี้หนู:พริกขี้หนูหัวเรือพันธุ์ใหม่

พริกขี้หนูหัวเรือ มีการขยายพันธุ์ที่ปลูกกันมากโดยเฉพาะในเขต จ.อุบลราชธานี  แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรที่ปลูกพริกสายพันธุ์นี้พบปัญหาเรื่องผลผลิตต่อไร่ต่ำลงเรื่อยๆ เนื่องจากมีการเก็บเมล็ดพันธุ์เองและไม่มีการคัดเลือกสายพันธุ์

ต่อมาศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษาได้ใช้เวลาประมาณ 7 ปีในการคัดเลือกพันธุ์พริกหัวเรือแบบสายพันธุ์บริสุทธิ์ สุดท้ายได้ทำการทดสอบสายพันธุ์ในไร่ของเกษตรกรได้พริกขี้หนูหัวเรือพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ที่เกษตรกรเก็บพันธุ์เองถึง 14℅ ขนาดของทรงพุ่มเล็กกะทัดรัด มีความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นประมาณ 80-90 เซนติเมตรเท่านั้น มีอายุการเก็บเกี่ยวเร็วคือ 90 วัน หลังจากย้ายปลูกลงแปลง

ที่สำคัญเป็นพริกที่มีขนาดผลสม่ำเสมอและให้ผลผลิตดกมาก มีความยาวของผลเฉลี่ย 7-8 เซนติเมตร จัดเป็นพริกขี้หนูผลใหญ่ที่มีความเผ็ดมาก  นอกจากนั้นยังจัดเป็นพริกขี้หนูที่มีกลิ่นหอม เมื่อผลแก่มีสีแดงสดใช้รับประทานสดหรือแปรรูปเป็นพริกขี้หนูแห้งจะได้พริกขี้หนูที่มีขนาดใหญ่และสีแดงสวย จำหน่ายได้ราคาสูงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50 บาท

เคล็ดลับกับการปลูกพริกหัวเรือพันธุ์ใหม่ให้ทันช่วงราคาสูง  เริ่มเพาะต้นกล้าพริกตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม-กาลเดือนสิงหาคม เพื่อจะปลูกในเดือนกันยายน  ในช่วงดังกว่าวฝนตกชุกที่สุดจะทำให้ต้นกล้าเน่า  เพราะน้ำขังหรือดินแน่น  จากนั้นเพาะต้นกล้าในแปลงเพาะกล้าหรือถาดละ 104 หลุม ก่อนเพาะ 1 วัน ต้องนำไปแช่น้ำอุ่น … Read More

สวนยาง:ฟื้นฟูสวนยางหลังน้ำท่วม

สำหรับต้นยางที่ตาย  หากจะปลูกซ่อมแทน ควรจะปลูกซ่อมเฉพาะต้นที่มีอายุ 1-2 ปี เท่านั้น  หากต้นยางอายุมากกว่านี้ไม่ควรปลูกซ่อมเพราะต้นยางที่ปลูกซ่อมจะเจริญเติบโตไม่ทันต้นอื่นๆ  เนื่องจากถูกต้นข้างเคียงแย่งแสงและน้ำ  อย่างไรก็ตามหากเกิดภาวะน้ำท่วมซ้ำอาจทำให้ต้นยางอายุ 1-2 ปี ตายได้ส่วนยางที่ยังมีน้ำท่วมขัง  ให้รีบระบายน้ำออกไปจากสวน  โดยการขุดร่องน้ำกึ่งกลางระหว่างแถวยาง  โดยใช้เฉพาะแรงงานคนและเครื่องจักรขนาดเล็กเท่านั้น ไม่ควรใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ขุดร่องน้ำ เพราะโครงสร้างของดินยังไม่แน่นพอ  อาจทำให้โครงสร้างดินเสียหายซึ่งจะไปกระทบกระเทือนต่อระบบรากจะเป็นอันตรายต่อต้นยางส่วนต่างๆ ของต้นยาง ได้แก่ ยอด กิ่ง ก้าน และทรงพุ่มที่ฉีกขาดเสียหาย ควรตัดแต่งกิ่งออกให้หมด  โดยตัดแต่งกิ่งที่มีทิศทางไม่สมดุลกับกิ่งที่เหลืออยู่ออกบางส่วน  เพื่อป้องกันมิให้ทรงพุ่มที่เหลืออยู่ หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง  สำหรับส่วนของต้นยางที่เป็นแผลเล็กน้อย ให้ใช้ปูนขาวผสมน้ำอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แช่ค้างคืน หรือใช้สีน้ำมันทาจากโคนต้นถึงระดับความสูงประมาณ 1 เมตร  หากแผลมีขนาดใหญ่และสภาพอากาศยังชื้นอยู่โดยเฉพาะทางภาคใต้ ควรใช้สารเคมีเบนเลททาแผลเพื่อป้องกันไม่ใช้เชื้อราเข้าทำลายส่วนของเนื้อเยื่อได้

กรณีต้นยางที่เอนไปด้านใดด้านหนึ่งมาก … Read More

น้ำหมักชีวภาพ:น้ำหมักชีวภาพ พด.6 กับ อีเอ็มบอล

จากกรณีที่มีหลายหน่วยงานได้ออกมาสนับสนุนและช่วยเหลือในการฟื้นฟูบำบัดน้ำเน่าเสียในพื้นที่ประสบอุทกภัยด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละหน่วยงานที่ทำขึ้นมา  แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเข้าใจและเรียกรวมผลิตภัณฑ์ที่บำบัดน้ำเสียว่า อีเอ็ม หรือ อีเอ็ม บอล

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าจุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู  หรือเห็นเมื่อเกิดการเกาะกลุ่มกัน  ซึ่งจุลินทรีย์ ประกอบด้วย แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และยีสต์  ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ และเป็นจุลินทรีย์ที่มีทั้งประโยชน์และโทษ สำหรับ EMที่ใช้กันมากทางการเกษตร  ย่อมาจากคำว่า Effective Microorganism แปลว่าจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นหลักการเดียวกัน ที่นำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ขณะนี้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง เกิดการเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็น จึงได้มีการคัดเลือกจุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งมาใช้ประโยชน์ แต่มีการเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ของแต่ละหน่วยงานตลอดจนการผลิตขายโดยเอกชน ในชื่อที่แตกต่างกัน รวมถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างกัน เช่น เป็นของเหลว เป็นลูกบอล หรือเป็นผง

ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดิน … Read More

เมล็ดพันธุ์ข้าวและถั่วเหลือง

ผลจากการเกิดอุทกภัยของไทยในครั้งนี้เป็นที่ยอมรับกันว่าอาจจะมีผลต่อการเพาะปลูกของเกษตรกรเป็นอย่างมากทีเดียว ที่สำคัญนอกเหนือจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพื้นที่การเพาะปลูกที่เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทันก่อนน้ำท่วมแล้ว การสูญเสียเมล็ดพันธุ์เพื่อการเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไปก็เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายกังวลอยู่ไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ดี ซึ่งมีผลต่อผลผลิตและตรงตามความต้องการของตลาด

เกี่ยวกับเรื่องนี้ล่าสุดได้รับการเปิดเผยจากนายสมชาย  ชาญณรงค์กุล  อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่า ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์มีความห่วงใยพี่น้องสมาชิกสหกรณ์ที่ประสบอุทกภัย ที่อาจต้องประสบกับปัญหาด้านการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไว้สำหรับการเพาะปลูกหลังน้ำลด เนื่องจากหาซื้อยากและอาจมีราคาสูง  จึงได้เตรียมมาตรการในการให้ความช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าวและถั่วเหลืองพันธุ์ดีให้กับสมาชิกสหกรณ์ที่ประสบอุทกภัย

โดยสนับสนุนให้สหกรณ์ที่มีศักยภาพในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและถั่วเหลือง รวบรวมเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้จำหน่ายให้กับสหกรณ์ที่อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยสำหรับนำไปแจกจ่ายให้กับสมาขิก  เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับสมาชิกสหกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการเพาะปลูกในช่วงต้นปี 2555

เบื้องต้นได้สำรวจปริมาณการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและถั่วเหลืองที่พร้อมจะเก็บเกี่ยวในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2554-มกราคม 2555 คาดว่าจะมีเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนตรวจสอบคุณภาพจำนวน 12,595.02 ตัน จากสหกรณ์ที่มีศักยภาพในการผลิตเมล็ดพันธุ์ใน 30 จังหวัด และมีเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองจำนวน 420 ตัน จากพื้นที่แหล่งผลิต 2 จังหวัด เมื่อเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวได้เก็บเกี่ยวแล้ว  จะมีระยะเวลาในการพักตัวและต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงสภาพในโรงงาน ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์และตรวจสอบคุณภาพ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานตามหลักวิชาการ  โดยคาดว่าจะมีเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพพร้อมกระจายสู่สมาชิกสหกรณ์จำนวน … Read More

ไก่:แม่ไก่พัฒนาเพื่อเกษตรกร

ไก่พื้นเมือง หรือ “ไก่บ้านไทย” เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เพราะเนื้อแน่น นุ่ม รสชาติอร่อยแบบไทยๆ  ปัจจุบันเนื้อไก่พื้นเมืองเป็นที่ต้องการของตลาดมาก  แต่กำลังการผลิตของเกษตรกรยังไม่สูงพอ จำนวนการผลิตไม่สม่ำเสมอ  เนื่องจากไก่พื้นเมืองให้ไข่น้อยและโตช้า  การผลิต “ไก่ลูกผสมพื้นเมือง” จึงเป็นทางออกหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถผลิตป้อนตลาดได้มากและสม่ำเสมอ  แต่ปัญหาที่สำคัญคื  จะใช้ไก่สายพันธุ์ใดเป็นแม่พันธุ์ที่ต้องให้ไข่ดกและให้ลูกที่เจริญเติบโตดีและเร็ว

รศ.ดร.จันทร์จรัส  เรี่ยวเดชะ  ผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า สกว.ได้ร่วมกับกรมปศุสัตว์  และสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง สนับสนุนงานวิจัยศึกษาขั้นตอนและวิธีการคัดเลือกสายพันธุ์ตามหลักวิชาการ  จนสามารถสร้าง “ฝูงไก่พื้นเมือง” พันธุ์แท้ ได้ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ประดู่หางดำ เหลืองหางขาว แดง และ ชี โดยไก่ฝูงพันธุ์พื้นเมืองที่ได้มีลักษณะภายนอกทั้ง รูปร่าง หงอน … Read More

ปุ๋ยชีวภาพ:ลดการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยการใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต

การใช้ปุ๋ยเคมีในแปลงพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกรในปัจจุบันที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้มีจำนวนมากขึ้น ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพดี แต่หากใช้ในปริมาณมากอาจทำให้มีผลกระทบต่างๆ ตามมามากมาย ซึ่งทางกรมวิชาการเกษตรได้แนะเกษตรกรให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพอันเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ ซึ่งนอกจากทำให้ลดต้นทุน ยังช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิต ที่สำคัญไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

“ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต” เป็นปุ๋ยชีวภาพอีกชนิดหนึ่งที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้เกษตรกรใช้เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี โดยกรมวิชาการเกษตรแนะนำการใช้ คือ…

–         ใส่ร่วมกับหินฟอสเฟตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหินฟอสเฟตซึ่งจัดเป็นปุ๋ยฟอสเฟตราคาถูก และเป็นปุ๋ยที่ปลดปล่อยธาตุอาหารฟอสฟอรัสออกมาทีละน้อย

–         ใส่ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตให้บางชุดดินที่วิเคราะห์แล้ว พบว่ามีปริมาณฟอสฟอรัสในดินสูง โดยจุลินทรีย์ที่ใส่เพิ่มลงไปจะไปละลายฟอสฟอรัสที่ถูกยึดตรึงอยู่ในดินให้ออกมาเป็นประโยชน์อีกครั้ง  โดยฟอสฟอรัสในดินดังกล่าวมาจากปุ๋ยเคมีฟอสเฟตที่ใส่ลงดินให้กับพืชระหว่างเพาะปลูก แต่พืชสามารถดูดใช้ได้บางส่วนเท่านั้น  โดยส่วนใหญ่แล้วเหลือตกค้างในดินโดยถูกดินยึดตรึงเอาไว้ จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยฟอสเฟตอีกเมื่อใส่จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต ดังนั้น ถ้าสามารถใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ตามแนวทางนี้กับดินทำการเกษตรทั่วไป จะสามารถลดการใช้ปุ๋ยฟอสเฟตลงได้

–         ใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตกับการผลิตพืชในระบบอินทรีย์  เพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกับหินฟอสเฟต  ซึ่งตามมาตรฐานการเกษตรอินทรีย์ หินฟอสเฟตถูกกำหนดเป็นแหล่งของฟอสฟอรัสอย่างหนึ่งในการผลิตพืช ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของกรมวิชาการเกษตร ลักษณะของผลิตภัณฑ์เป็นผงบรรจุในถุงพลาสติก ขนาดบรรจุ 500 กรัมต่อถุง มีจุลินทรีย์หลักเป็นจุลินทรีย์ประเภทเชื้อรา Penicillium sp. หรือเชื้อแบคทีเรีย … Read More

จุลินทรีย์:ระดมจุลินทรีย์บำบัดพื้นที่เพาะปลูก

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประเมินความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วม ณ เดือนตุลาคม 2554 พบว่ามีพื้นที่เกษตรเสียหายแล้วประมาณ 8,800,000-8,900,000 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นพืชที่ปลูกข้าวเสียหาย 7,400,000 ไร่ พืชไร่ 1,000,000 ไร่ ส่วนที่เหลือจะเป็นพืชสวนและปศุสัตว์ อีกราว 400,000 ไร่ โดยผลผลิตข้าวเสียหายมากที่สุดถึง 3,000,000 ตัน

ที่สำคัญผลจากความเสียหายของพื้นที่การเกษตรต่อผลผลิตทางการเกษตรแล้วอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม นั่นก็คือน้ำเน่าเสียในพื้นที่การเกษตรที่เป็นผลมาจากซากพืชและซากสัตว์ที่ล้มตายจากการจมน้ำและเกิดการเน่าเสีย ขณะเดียวกันพื้นที่เหล่านี้แม้น้ำโดยมวลรวมจะไหลลงสู่ทะเลไปแล้วก็ตาม แต่ก็จะยังมีน้ำอีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในสภาพของความเน่าเสียที่ยังคงอยู่ที่เรียกกันว่าน้ำเน่าทุ่ง

การที่น้ำ “เน่าเสีย” หรือด้อยคุณภาพลง  เนื่องมาจากเกิดการย่อยสลายของสารอินทรีย์ เช่น สิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย ในเขตชุมชน เมือง หรือเศษซากพืช บริเวณพื้นที่เกษตร เช่น นาข้าว สวน ที่จม่อยู่ใต้น้ำ โดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในธรรมชาติ … Read More