Month: March 2012

การเก็บรักษามังคุดในสภาพควบคุมบรรยากาศ

มังคุดนอกจากจะเป็นไม้ผลที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคภายในประเทศแล้วยังมีรายงานว่าความต้องการมังคุดของตลาดต่างประเทศสูงขึ้นทุกปี  ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และยุโรป  แต่การส่งออกมังคุดนั้นก็ยังประสบกับปัญหาคุณภาพของมังคุดหลังการเก็บเกี่ยวแม้มังคุดจะมีเปลือกหนาแต่ก็เป็นผลไม้ที่ชอกช้ำง่าย  ดังนั้นนอกจากจะต้องเก็บเกี่ยวอย่างระมัดระวังแล้ว  การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวก็ต้องกระทำอย่างนุ่มนวล  จึงจะได้มังคุดที่มีคุณภาพดี สามารถเก็บรักษาได้นาน ระยะที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยวเพื่อส่งไปยังตลาดที่อยู่ห่างไกลคือ ระยะที่เริ่มมีการเปลี่ยนสีที่เรียกว่าเริ่มเป็นสายเลือด  เนื่องจากมังคุดมีอายุวางจำหน่ายค่อนข้างสั้น ในการส่งออกจึงใช้การขนส่งทางอากาศ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นเพื่อเป็นการยืดอายุการเก็บรักษามังคุดให้นานขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการส่งออกมังคุดไปยังต่างประเทศที่ต้องใช้เวลานานในการเดินทางโดยทางเรือ จึงได้ทำการทดลองเก็บรักษามังคุดในสภาพบรรยากาศควบคุม  โดยให้มีความเข้มข้นของออกซิเจนลดลงจากปกติและเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับที่สูงขึ้น

ทดลองเก็บมังคุดในห้องเย็นอุณหภูมิ 15°c  โดยเก็บมังคุดระดับความแก่ต่าง ๆ ในภาชนะที่มีการควบคุมบรรยากาศคือใช้ออกซิเจนความเข้มข้น 21, 5 และ 10℅ โดยเติมคาร์บอนไดออกไซด์เข้มข้น 0,5 และ 10℅ ในแต่ละความเข้มข้นของออกซิเจน ขณะเดียวกันเก็บมังคุดขณะเป็นสายเลือดในห้องเย็นอุณหภูมิ 15°c โดยเก็บในภาชนะที่มีการควบคุมบรรยากาศ โดยใช้ออกซิเจนความเข้มข้นต่ำกว่า 5℅ คือ 1,2 … Read More

การติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง

การติดตั้งเครื่องสูบน้ำให้อยู่ในตำแหน่งที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นควรจะปฏิบัติตามหัวข้อต่อไปนี้

1.  ติดตั้งเครื่องสูบน้ำให้อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำมากที่สุด  ทั้งนี้เพื่อทำให้ระยะสูบสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ท่อดูดสั้นลงไปด้วย  ความสูญเสียเนื่องจากการเสียดทานของน้ำก็จะลดลงตามปริมาณน้ำที่สูบได้ก็จะเพียงพอกับความต้องการและคุ้มค่ากับหลังงานที่ต้องเสียไป

2.  ติดตั้งเครื่องสูบน้ำให้อยู่บนฐานอย่างมั่นคง รองด้วยยางระหว่างแท่นเครื่องกับฐาน เพื่อลดการสั่นสะเทือน

3.  ตรวจสอบทิศทางหมุนของใบพัดให้ถูกต้อง  โดยเทียบได้จากทิศทางของลูกศรที่เขียนติดอยู่กับเรือนสูบ

4.  ถ้าใช้ลิ้นหัวกะโหลกด้วยก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องติดตั้งลิ้นกันน้ำไหลกลับที่ท่อส่งเพราะเหตุว่าเมื่อหยุดสูบน้ำที่ค้างอยู่ในท่อส่งจะไหลกลับคืนมายังเครื่องอย่างแรงและรวดเร็ว  อาจทำให้เรือนสูบแตกร้าวได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่สูบน้ำขึ้นไปสูง ๆ

5.  ในกรณีที่สูบน้ำจากแม่น้ำหรือลำคลองที่ระดับน้ำเปลี่ยนแปลงขึ้นลงมาก ก็ควรจะติดตั้งท่อดูดหรือเครื่องสูบน้ำไว้บนแพ

6.  เมื่อมีการต่อท่อโค้ง (ใช้ข้องอ) ใกล้กับเครื่องสูบน้ำ ความยาวของท่อน้ำก่อนที่จะถึงส่วนโค้งควรจะยาวอย่างน้อย 5 เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ

7.  การวางท่อดูดที่ถูกต้องนั้นอย่าให้หัวกะโหลกสัมผัสกับก้นคลองหรือขอบคลองเพราะจะทำให้น้ำไหลเข้าท่อไม่สะดวก วิธีที่ถูกคือ ควรจะยกปลายท่อดูดให้หัวกะโหลกอยู่ห่างจากพื้นประมาณ 10-15 ซม.  ถ้ายกสูงชิดผิวน้ำมากเกินไป น้ำบริเวณหัวกะโหลกจะหมุนวน  โอกาสที่อากาศซึ่งไม่เป็นที่ต้องการจะปนเข้าไปกับน้ำที่สูบมีมาก(ฟองอากาศขนาดเล็ก วิ่งด้วยความเร็วสูง  เข้ากระแทกใบพัดทำให้ใบพัดสึกได้) … Read More

อีกด้านหนึ่งของเห็ดหลินจือ

ปัจจุบันคำร่ำลือเกี่ยวกับสรรพคุณด้านยารักษาโรคของเห็ดหลินจือเป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างแพร่หลายในประเทศไทย  ทำให้มีการตื่นตัวทั้งในผู้บริโภคเองหรือผู้เพาะเลี้ยงเห็ดหลินจือเป็นการค้า  ตลอดจนผู้ทำงานวิจัยค้นคว้า ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้เห็นหลินจือขึ้นทะเบียนเป็นอาหารชนิดหนึ่ง ส่วนการใช้ในรูปยารักษาโรคยังอยู่ในการพิจารณา เพราะยังคงมีการศึกษาวิจัยอยู่แต่ยังไม่มีผลสรุปออกมาอย่างชัดเจน ดังนั้นการใช้เห็ดหลินจือเป็นยารักษาโรคในปัจจุบันจึงคงยังอยู่ในลักษณะที่ผู้ใช้จะเป็นผุ้ประเมินผลด้วยตัวเอง ในสมัยโบราณชาวจีนดูเหมือนว่าจะเป็นชาติแรกที่นำเอาเห็ดหลินจือมาใช้เป็นยารักษาโรค ต่อมาได้กระจายไปยังประเทศข้างเคียง เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง และไต้หวัน จนกระทั่งทุกวันนี้ได้มีการศึกษาทดสอบอย่างกว้างขวางทั้งในแถบเอเชีย อเมริกา ประเทศในแถบยุโรปรวมทั้งในประเทศไทยเอง

เห็ดหลินจือถูกจัดอยู่ในสกุล Ganoderma มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่าง ๆ กันหลายชื่อ เช่น เห็ดหิ้ง เห็ดหัวงู เห็ดจวักงู เห็ดแม่เบี้ย เห็ดนางกวัก เห็ดกระด้าง เห็ดไม้ เห็ดหมื่นปี เป็นต้น การเจริญเติบโตในช่วงแรกจะอยู่ในรูปของเส้นใย เมื่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะสร้างดอกเห็ดสีน้ำตาลถึงน้ำตาลดำ ขอบของดอกเห็ดมีสีขาว ดอกเห็ดขยายกว้างออกมีลักษณะคล้ายพัด ผิวด้านบนเป็นมันเหมือนเคลือบด้วยแลคเกอร์ ผิวด้านล่างมีสีขาวขุ่นเต็มไปด้วยรูเล็ก … Read More

การปลูกโสกระย้า

แอมเฮิรส์ทผู้เลอโฉม(The Noble Amherstia)

คำว่านักเกษตรในที่นี้หมายถึงคนของรัฐที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาการเกษตรของชาติ  ตั้งแต่นักวิชาการระดับล่างจนถึงอธิบดี อธิการบดีของกรม ของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง  จากการที่ผ่านงานมากว่า 30 ปี ผู้เขียนสามารถกล่าวได้ว่า  นอกจากงานของกรมป่าไม้ที่ต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับไม้ยืนต้นแล้วผู้เขียนไม่เคยได้ยิน ไม่เคยเห็นข้อเขียนผ่านตาเกี่ยวกับการเชิญชวนนักวิชาการให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องของไม้ยืนต้นที่ไม่ใช่ผลไม้และสมุนไพรจากผู้ใหญ่ของกรมฯ ต่าง ๆ เหล่านี้เลย  คงจะเป็นด้วยเห็นว่าไม้เหล่านี้ไม่ส่งผลให้ร่ำรวยและก้าวหน้าในหน้าที่การงาน  อีกทั้งลืมเสียสนิทว่า  การอนุรักษ์และเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีส่วนใหญ่ได้จากไม้ยืนต้น เป็นหน้าที่ของหน่วยงานตน เมื่อผู้ใหญ่ให้ความสนใจน้อย เยาวชนของชาติย่อมสูญเสียโอกาสไปด้วย  โปรดใครครวญดู

เมื่อประมาณกว่า 20 ปีมาแล้วผู้เขียนเคยเข้าเวรฟังสวดพระศพของสมเด็จพระสังฆราช  ขณะนั่งพนมมือฟังพระสวดอยู่นั้น  สายตาก็สำตรวจไปตามดอกจำปาที่ประดับอยู่รอบปริมณฑลอยู่มากมาย  ทำให้ใจนึกไปถึงศพเพื่อนบ้านในชนบทที่ผู้เขียนเคยวิ่งเล่นอยู่ ในงานได้กลิ่นหอมของดอกจำปาจำปีที่เอามาใช้ประดับในงานศพ  แต่ในพระราชพิธีนี้ ทำไมไม่ได้กลิ่นจำปาเลย  ทั้ง ๆ ที่เห็นอยู่มากมาย  เมื่อเสร็จพิธีผู้เขียนจึงต้องขอแตกแถวเดินเข้าไปใกล้ช่อดอกจำปาที่ทำเป็นอุบะห้อยอยู่ เมื่อเข้าใกล้ก็เกิดความสงสัยว่าจะไม่ใช่จำปาแท้ และเพื่อให้แน่ใจก็ลงทุนยอมเสียมารยาทยื่นมือไปสัมผัสดู โอ้..อนิจจา … Read More

เรื่องของสะตอพืชทำเงิน

ท่านที่เคยผ่านไปตะวันออกโดยใช้เส้นทางชลบุรี-แกลง คงจะเคยผ่านสวนสะตอสวนหนึ่งอยู่ทางซ้ายมือ เท่าที่ทราบไม่ค่อยออกฝักให้เจ้าของสวนได้เชยชมเท่าไรนัก  เมื่อเดือนสิงหาคมพบกับเจ้าของร้านหนังสือชาวบ้าน อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี  ซึ่งเป็นพี่เขยของท่านรองปลัดอนันต์  ดาโลดม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บอกว่าปลูกสะตอไว้ร่วม 20 ไร่หลายปีแล้วไม่ยอมออกฝักสักที อยากจะโค่นทิ้ง

สะตอนั้นถือว่าเป็นไม้ผลที่รับประทานแบบผัก  จะเป็นสะตอผัด สะตอจิ้มน้ำพริก นอกจากรับประทานสด ๆ แล้ว สะตอดองน้ำเกลือก็เป็นวิธีหนึ่งที่ชาวบ้านใช้เป็นกรรมวิธีเก็บรักษาสะตอไว้รับประทานในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูสะตอ ในประเทศมาเลเซียมีการทำเป็นสะตอในน้ำเกลือบรรจุกระป๋องขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตเหมือนผักกระป๋องหรือผลไม้กระป๋องกันทีเดียว

ใคร ๆ ก็ทราบว่าสะตอนั้นราคาดี เพราะความนิยมในการรับประทานไม่เฉพาะแต่คนใต้หรือชาวปักษ์ใต้เท่านั้น คนภาคกลางหรือภาคอื่น ๆ ก็นิยมกันอย่างแพร่หลาย  ตลาดผู้บริโภคขยายตัวออกไปกว้างขวาง แต่ปริมาณการผลิตและแหล่งผลิตไม่เพิ่มหรือกลับลดลงด้วยซ้ำ  ในหลักทางเศรษฐศาสตร์นั้นสะตอถือว่าอุปสงค์มากกว่าอุปทานหรือความต้องการตลาดมากกว่าปริมาณผลผลิตราคาของสะตอจึงแพงและนับวันจะแพงขึ้นเป็นลำดับ

สะตอเป็นพืชในวงศ์ Mimosaceae ในสกุล Parkia พืชในสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 40 ชนิด แต่ที่พบในประเทศไทย  และพอคุ้นเคยกันเช่นสะตอ … Read More

โรครากเน่าของลิ้นจี่

ลิ้นจี่เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย  แหล่งปลูกดั้งเดิมสันนิษฐานว่าอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน  ปัจจุบันเกษตรกรได้ให้ความสนใจปลูกลิ้นจี่แพร่หลายมากขึ้นเกือบทุกภาคของประเทศ  เนื่องจากลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีราคาแพง และมีโรคแมลงรบกวนไม่มากนัก

ภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยมากกว่า 2,000 มม./ปี  ซึ่งนับว่าค่อนข้างสูง  ถึงแม้ฤดูฝนจะผ่านพ้นไปแล้วแต่ในภาคตะวันออกก็ยังมีฝนตกอยู่เป็นครั้งคราว  ในเดือนมกราคม 2538 หลังจากที่มีฝนตกหนักติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายวัน  ต้นลิ้นจี่พันธุ์ค่อมและพันธุ์สองขนานซึ่งปลูกที่ อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ได้มีอาการใบค่อย ๆ เหลืองซีด เหี่ยวเฉา แต่ไม่ร่วงหล่นและยืนต้นตายในที่สุด  อาการดังกล่าวยังไม่เคยมีรายงานว่าเป็นกับลิ้นจี่ทั้งพันธุ์ภาคกลางและพันธุ์ภาคเหนือ อาการโดยทั่วไปคล้ายกับโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนแต่ลำต้นไม่เน่าเปื่อย เมื่อขุดดูระบบรากพบว่ารากใหญ่ รากแขนง มีอาการเน่าลุกลาม ภายในเนื้อไม้มีสีน้ำตาล  ไม่พบรากฝอยเนื่องจากถูกเชื้อทำลายหมดเจ้าหน้าที งานวินิจฉัยพืช ฝ่ายวิเคราะห์ และบริการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 6 จันทบุรี  ได้พยายามเก็บตัวอย่างรากมาทำการเพาะเลี้ยงเชื้อในห้องปฏิบัติการ  พบเชื้อราชนิดหนึ่งมีโคโลนีสีขาวนวล มี sporangium คล้ายรา Phytophthora sp. … Read More

ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่

สมุทรสงครามเป็นจังหวัดเล็ก ๆ ที่ประกอบไปด้วย อ.เมือง อ.อัมพวา และ อ.บางคนที มีแม่น้ำแม่กลองเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญในการทำการเกษตรที่ไหลลงสู่อ่าวไทยและอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ประมาณ 70 กิโลเมตร  แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงคือ ดอนหอยหลอด อุทยาน ร.2 ตลาดน้ำท่าคา วัดบ้านแหลม ไม้ผลที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไปคือส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่  ซึ่งปลูกกันมานานมากกว่า 20 ปี

ผู้บุกเบิกการทำสวนส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่แห่ง จ.สมุทรสงคราม

บุคคลผู้หนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ให้แพร่หลายใน จ.สมุทรสงครามและจังหวัดต่าง ๆ คือคุณสมทรง  แสงตะวัน เป็นชาวอ.บางคนทีปัจจุบันนอกจากคุณสมทรง จะมีอาชีพรับราชการเป็นครูสอนอยู่ที่โรงเรียนวัดบางพลับ อ.บางคนที แล้วยังทำสวนส้มโออีกด้วย ก่อนปี 2523 มีอาชีพทำน้ำตาลรวมพื้นที่ 7 ไร่ และมีส้มเพียง 3 ต้น … Read More

ขนุนพันธุ์ดีอินโดนีเซีย

ในโอกาสที่ได้ไปประชุมเรื่องไม้ผลเขตร้อน เศรษฐกิจของอินโดนีเซีย  ได้เห็นนิทรรศการเรื่องขนุน  ซึ่งมีพันธุ์ปลูกมากมาย ก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงชาวสวนของเรา  ก็เลยเก็บเอาข่าวสารมาฝากบอกกันบ้าง  อย่างน้อยก็ขอให้ได้รับทราบกันว่า  ของเขามีพันธุ์อะไรบ้าง รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ส่วนรสชาตินั้นผมได้ชิมไม่ครบทุกพันธุ์หรอกครับและก็ขอบอกไว้เลยว่า  ผมไม่ได้เอากิ่งพันธุ์มาเลย  ฉะนั้นผู้ที่สนใจก็ไปเสาะแสวงหากันเอาเองนะครับ ตามแต่โอกาสของแต่ละคน

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ มีพื้นที่มากถึง 1,190 ล้านไร่ คือมีพื้นที่เป็นอันดับที่ 11 ของโลก มีเกาะมากที่สุดในโลกเกือบสองหมื่นเกาะ (ไม่รู้ว่านับตอนน้ำขึ้นหรือว่าน้ำลง) ประกอบกับอยู่ในเขตมาสุมใกล้เส้น ศูนย์สูตร  จึงมีโอกาสที่จะมีพืชพรรณต่าง ๆ และมีพันธุ์หลากหลายกันออกไปมากมาย ขนุนก็เช่นกัน มีหลายพันธุ์มาก อันอาจเนื่องมาจากการขยายพันธุ์โดยเมล็ด  จึงทำให้ได้สายพันธุ์ใหม่แตกต่างกันออกไปตามลำดับ  การจะไปเลือกหาขนุนพันธุ์ดีในแต่ละเกาะไม่ใช่ของง่าย เพราะชาวเกาะส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้  ถึงแม้ว่าจะมีอัธยาศัยดีมากเพียงใดก็ตาม  หลายครั้งที่ผมเดินทางไปในเกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย  เมื่อหาล่ามแปลไม่ได้ต้องอาศัยภาษาใบ้ ยิ้มเข้าไว้ บางครั้งก็ต้องแจกรูเปียห์ … Read More

ปลูกสะละต้องอ้างอิงข้อมูลปาล์ม

เมื่อเดือนที่แล้วผู้เขียนแวะไปเยี่ยมคุณสุขวัฒน์  จันทรปรรณิก  และคณะที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี  จากการคุยกันเรื่องสถานภาพของการปลูกสะละได้ข้อสรุปว่า สะละยังเป็นที่นิยมของชาวสวนและของผู้ที่อยากจะเป็นชาวสวนอยู่เช่นเดิม  เนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนทำให้ราคาต้นพันธุ์สูงขึ้นจากต้นละ 300 บาท เป็น 350 บาท และเพื่อเป็นการสะกิดให้วงสนทนาได้คิดหนัก ๆ อีกสักครั้ง ผู้เขียนจึงกล่าวเป็นเชิงหยิกแกมหยอกว่า “สะละของคุณมันดีหรือมันดังกันแน่  เพราะในเมืองไทยของดีไม่จำเป็นต้องดัง  ของดังไม่จำเป็นต้องเป็นของดี ยันตระเอย, ภาวนาพุทโธเอย ยังดังได้” ก็ได้รับคำตอบว่า “สะละทั้งดีทั้งดังครับ”

การที่ชาวสวนหันมาปลูกสะละกันมากขึ้น ๆ เช่นนี้ ผู้เขียนชักเป็นห่วง  เหตุที่ห่วงเพราะมานั่งนึกว่าจำนวนชาวสวนที่ปลูกสะละเพิ่มขึ้นเนื้อที่ปลูกก็เพิ่มขึ้น ๆ แต่จำนวนนักวิชาการที่มีหน้าที่ค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวด้วยเรื่องของสะละดูจะไม่เพิ่มขึ้นตามกระแสความต้องการความรู้เรื่องสะละของชาวสวนเพราะมีอัตรากำลังจำกัด  คิดแล้วให้เกิดความเห็นใจศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ยังเป็นโชคดีของศูนย์นี้อยู่หน่อยหนึ่งตรงที่ชาวสวนที่หันมาปลูกสะละนั้น  ส่วนมากจะเป็นชาวสวนหัวก้าวหน้าที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ระดับหนึ่งเป็นการคลายภาระของศูนย์ไปได้บ้าง

ความเป็นห่วงเรื่องการผลิตความรู้เรื่องสะละจะไม่ทันกับความต้องการของผู้ปลูกได้ติดตามผู้เขียนมาจนถึงบ้าน นั่งคิดวกไปเวียนมาจนนึกขึ้นได้ว่ามีคำพังเพยไทยอยู่บทหนึ่งที่น่าจะเข้ากับเรื่องนี้ได้ คำนั้นก็คือ “ดูนางให้ดูแม่ เอาให้แน่ต้องดูถึงยาย” นี่ก็หมายความว่า เมื่อลูกสาวอายุน้อยยากที่จะรู้นิสัยใจคอก็ให้ดูนิสัยแม่ที่อายุมากกว่า … Read More

การควบคุมคุณภาพมะม่วงส่งออก

การศึกษาวิธีการป้องกันโรคผลเน่าและควบคุมคุณภาพของมะม่วงเพื่อการส่งออก

การส่งมะม่วงไปต่างประเทศในปัจจุบันยังคงมีปัญหาเรื่องการเน่าเสียของผลิตผลภายหลังการเก็บเกี่ยว  ทั้งนี้เนื่องจากการป้องกันกำจัดโรคในแปลงปลูกโดยการใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียวไม่สามารถคุ้มครองผลผลิตให้ปลอดจากการเน่าเสียภายหลังการเก็บเกี่ยวได้ ประกอบกับผู้นำเข้าหลายประเทศมีความเข้มงวดในเรื่องการใช้สารเคมีกับผลิตผลสดภายหลังการเก็บเกี่ยว  ดังนั้นการป้องกันกำจัดโรคผลเน่าของมะม่วงโดยวิธีผสมผสานในแปลงปลูก และภายหลังการเก็บเกี่ยวจึงมีความจำเป็นเพื่อให้มะม่วงมีคุณภาพดี ปราศจากการเน่าเสีย และเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ การทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวของการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวร่วมกับการห่อผลมะม่วงในแปลงปลูก  และการใช้ความร้อนเช่น การจุ่มน้ำร้อน และการอบไอน้ำภายหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อควบุคมโรคเน่าภายหลังการเก็บเกี่ยวและควบคุมคุณภาพของมะม่วงเพื่อส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ  ซึ่งสรุปผลการทดลองได้ดังนี้

–        ทำการทดลองกับมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันและน้ำดอกไม้ที่สวนเกษตรกร จ.ฉะเชิงเทรา ราชบุรี และลำพูน พบว่าสภาพสวนมะม่วงและการปฏิบัติดูแลรักษาในแปลงปลูกมีความสำคัญต่อการเกิดโรคผลเน่าภายหลังการเก็บเกี่ยวของมะม่วงเป็นอย่างมาก จากการทดลองกับมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันที่ จ.ราชบุรีพบว่า มะม่วงจากสวนที่ปลูกแบบยกร่องจะมีการเน่าเสียภายหลังการเก็บเกี่ยวมากกว่ามะม่วงจากสวนที่ปลูกสภาพไร่ แม้ว่าจะมีการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชในช่วง 1 เดือนก่อนเก็บเกี่ยว

–        การห่อผลมะม่วงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดโรคภายหลังการเก็บเกี่ยวลงได้  จากการทดลองที่ จ.ลำพูน พบว่า มะม่วงที่ห่อผลแม้ว่าจะไม่นำมาผ่านการจุ่มสารป้องกันกำจัดโรคพืช  ภายหลังการเก็บเกี่ยวจะมีการเน่าเสียในระดับใกล้เคียงกับมะม่วงที่ไม่ได้ห่อผลแต่นำมาจุ่มสารป้องกันกำจัดโรคพืช  นอกจากนี้มะม่วงที่ได้รับการห่อผลจะมีผิวสวย และปราศจากริ้วรอยบนผล  ต่างจากมะม่วงที่ไม่ได้ห่อผลอย่างเห็นได้ชัด  โดยเฉพาะมะม่วงทางภาคเหนือที่มักจะเจอพายุลมแรงในช่วงระหว่างการเจริญเติบโตของผล

–        การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชในแปลงปลูก มีความจำเป็นเพื่อลดปริมาณของเชื้อสาเหตุของโรคที่จะติดไปกับผล  การทดลองที่ฉะเชิงเทรา … Read More