Month: October 2013

เห่าช้าง (Varanus rudicollis)

ชื่อสามัญ Black Jungle Monitor ,Roughneck monitor lizard
ชื่อวิทยาศาสตร์ Varanus rudicollis

เห่าช้าง

เห่าช้างเป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เหี้ย (Varanidae) เป็นสัตว์เลื้อยคลานมี 4 ขา ที่ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่มาของชื่อเห่าช้างนั้นมาจากเสียงขู่ศัตรูที่ฟังแล้วคล้ายกับเสียงงูเห่า

เห่าช้างมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พม่า สุมาตรา บอร์เนียว มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยมีอยู่ทางภาคใต้ เห่าช้างเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดใหญ่อยู่ในประเภทสัตว์บก คลานสี่เท้า ตัวยาวและหางยาว ความยาวตลอดหัวถึงหางประมาณ 130 ซม. ลักษณะเด่นของเห่าช้างก็คือมีปากแหลม และเกล็ดบนสันคอใหญ่และเป็นหนามแหลม ตัวมีสีดำเข้มและมีลายจางๆ ขวางตามตัว

เห่าช้างเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างว่องไวปราดเปรียว ซุกซ่อนตัวเก่ง ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบ ไม่ชอบอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยของคน … Read More

อีเห็นลายเมฆ อีเห็นลายเสือ อีเห็นลายเสือโคร่ง

อีเห็น หรือ กระเห็น (Palm civet) เป็นสัตว์ในวงศ์เดียวกับชะมด  กินอาหารได้ทั้งสัตว์ขนาดเล็กรวมไปถึงพืชผลไม้ต่าง ๆ ข้อแตกต่างที่สำคัญทางด้านพฤติกรรมของอีเห็นและชะมด คือ อีเห็นจะกินพืชและผลไม้เป็นอาหารมากกว่าชะมดซึ่งกินสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหารมากกว่า อีกทั้งการหากินอีเห็นจะปีนป่ายต้นไม้หากินมากกว่าชะมดที่มักหาอาหารบนพื้นเป็นส่วนใหญ่

อีเห็นมีมากมายหลายสายพันธุ์ เรามาทำความรู้จักกับอีเห็นลายเมฆ อีเห็นลายเสือ อีเห็นลายเสือโคร่ง

อีเห็นลายเมฆ

ชื่อสามัญ Banded linsang
ชื่อวิทยาศาสตร์ Prionodon linsang

อีเห็นลายเมฆ
อีเห็นลายเมฆมีถิ่นกำเนิดในเทือกเขาตะนาวศรี ไทย มาเลเซีย สุมาตรา ชวา และบอร์เนียว ในประเทศไทยมีมากทางภาคใต้

สีพื้นของตัวมีสีน้ำตาลแกมเหลืองซีดๆ กลางหลังมีลายพาดสีดำขนาดใหญ่ 4 แถบ ทางด้านบนของคอและข้างๆ คอมีแถบสีดำพาดเป็นทางตามความยาวของลำตัวไปจนถึงไหล่

ข้างๆ ตัว … Read More

นกกะปูด

นกกะปูดหรือนกกดทุกชนิดในสกุล (Genus) Centropus
นกกะปูดของไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ นกกะปูดใหญ่ และนกกะปูดเล็ก


นกกะปูดใหญ่
ชื่อสามัญ Greater Coucal
ชื่อวิทยาศาสตร์ Centropus sinensis
นกกะปูดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พม่า ไทย อินโดจีน เกาะไหหลำและมาเลเซีย ในประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาค ชอบอยู่ตามป่าต่ำและป่าภูเขา อาศัยตามพุ่มไม้รกๆ ใกล้น้ำ มักหากินตามลำพังตัวเดียว บางครั้งจะพบเป็นคู่ เป็นนกที่บินไม่ค่อยเก่งนัก ไม่ชอบบินอาศัยบนต้นไม้สูงๆ
อาหารของนกกะปูดใหญ่ ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานเล็กๆ และแมลงต่างๆ
ผสมพันธุ์ประมาณต้นฤดูฝน ทำรังอยู่ตามพุ่มไม้รกๆ โดยนำกิ่งไม้มาขัดสานกันเป็นรูปกลมๆ มีทางเข้าด้านข้าง วางไข่ครั้งละประมาณ 3-4 … Read More

นกกินเปี้ยว


ชื่อสามัญ White-collared Kingfisher
ชื่อวิทยาศาสตร์ Halcyon chloris
นกกินเปี้ยวมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีน อันดามันส์ นิโคบารส์ ซุนดาส์ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เวียดนาม มาเลเซีย ไทยและลาว ในประเทศไทยมีทางภาคใต้ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงใต้

ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ปากมีสีดำ ที่หัวปีกบนหลังและบนหาง มีสีน้ำเงินสดแกมสีเขียว ทางด้านล่างของตัวและรอบคอมีสีขาว ไม่มีลาย ปลายปีกมีสีดำจากโคนปากไปที่เหนือตาทั้งสองข้างมีแถบแคบๆ สีขาว ชอบอาศัยอยู่ตามป่าชายฝั่งทะเลที่เป็นดินเลนตามเกาะต่างๆ ตลอดจนตามริมคลองและริมแม่นํ้า ปกติจะไม่ชอบอยู่ไกลจากฝั่งทะเลมากนัก

เป็นนกซึ่งร้องดังมาก อาหารได้แก่ ปูเปี้ยวและหอยต่างๆ ผสมพันธุ์ในฤดูร้อน ทำรังอยู่ตามโพรงไม้หรือตามต้นไม้ริมฝั่งทะเล บางครั้งอาจทำรังตามโพรงของจอมปลวกด้วย วางไข่ครั้งละ 4 ฟอง
ที่มา:พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า Read More

กระซู่ สัตว์คล้ายแรดแต่มีสองนอ


ชื่อสามัญ Sumatran rhinoceros
ชื่อวิทยาศาสตร์ Didermocerus sumatrensis
กระซู่ เป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกับแรดมาก ต่างกันที่กระซู่มีสองนอ แต่แรดมีนอเดียว ลำตัวมีขนาดเล็กกว่าแรดเล็กน้อย คือตัวที่โตเต็มที่จะสูงประมาณ 4-4 ½  ฟุต มีนอสองนอเรียงกันอยู่บนสันจมูก เรียกว่านอหน้าและนอหลัง นอข้างหน้าจะยาวกว่า ส่วนนอหลังจะเห็นเป็นรอยนูนขึ้นมาเล็กน้อยเท่านั้น กระซู่ตัวเมียก็มีนอเช่นกัน และนอหน้าของกระซู่ตัวเมียมีขนาดเล็กแค่ยาวกว่านอของตัวผู้

กระซู่ใช้นอเป็นอาวุธในการต่อสู้กับศัตรู หนังของกระซู่หนาแต่ไม่เป็นปุ่มปมอย่างของแรด และขนตามตัวก็มีมากกว่าของแรด กระซู่มีนิสัยคล้ายแรด คือปกติเป็นสัตว์ที่ไม่ดุร้าย แต่เมื่อมันจวนตัว หรือได้เห็นหรือได้กลิ่นศัตรูในระยะใกล้ มันจะทำการต่อสู้ป้องกันตัวทันที เราจึงเข้าใจว่ามันเป็นสัตว์ดุร้าย กระซู่ชอบอาศัยอยู่ตามป่าเขาสูงที่สลับซับซ้อนและที่มีหนามรกทึบ และชอบอาศัยอยู่ในระดับสูงกว่าแรด กระซู่ชอบนอนแช่ปลักเช่นเดียวกับแรด และชอบใช้เส้นทางเดินตลอดจนใช้แหล่งนํ้าที่เคยใช้เป็นประจำ

กระซู่มีสองนอ

อาหารของกระซู่ได้แก่ใบไม้ กิ่งไม้ ลูกไม้ป่าบางชนิด หน่อไม้ และเถาเครือ ตามดงหนามเป็นต้น … Read More

กูปรีหรือโคไพร

ชื่อสามัญ Kouprey
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bos sauveli
กูปรี เป็นวัวป่าชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความสูงประมาณ 5-6 ฟุต เมื่อยังอ่อนอยู่ลำตัวจะออกสีเทา ต่อเมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีสีเทาเข้มจนเกือบดำ เท้าทั้งสี่จะมีสีขาวหม่นคล้ายใส่ถุงเท้า

กูปรีหรือโคไพร

กูปรีมีเหนียงใต้คอยาวมาก และเหนียงของตัวผู้จะยาวกว่าของตัวเมีย มีสันของกระดูกสันหลังหักลงเป็นโหนก เขาของกูปรีตัวผู้ตรงปลายจะแตกออกเป็นพู่ กูปรีตัวเมียมีเขาเล็กกว่าของ ตัวผู้ และตรงปลายก็ไม่แตกออกเป็นพู่อย่างของตัวผู้
กูปรี ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง อาจอยู่เป็นฝูงเล็กหรือใหญ่ก็ได้ ชอบหากินตามป่าโปร่ง ป่าเต็ง ป่ารัง มีนิสัยค่อนข้างเปรียว ชอบกินหญ้าและใบพืชบางชนิด ฤดูผสมพันธุ์ของกูปรีจะเริ่มประมาณเดือนเมษายน ตั้งท้องอยู่ประมาณ 9-10 เดือน และจะตกลูกในราวเดือน ธันวากม-มกรากม.
กูปรี เคยมีมากในเขมรและลาว ในไทยก็เคยมีผู้พบบ้างในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ ปัจจุบันไม่เคยมีผู้พบ … Read More

แรด(พันธุ์ชวา)

ชื่อสามัญ Javan rhinoceros
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinoceros sondaicus
สัตว์ป่าที่เราเรียกกันว่าแรดนี้ หมายถึงแรดพันธุ์ชวาซึ่งเป็นเเรดชนิดหนึ่งในจำนวนแรดทั้งห้าชนิดที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน แรดทั้งห้าชนิดดังกล่าวได้แก่แรดพันธุ์ดำ (มีสองนอ)


แรด เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่มาก ตัวที่โตเต็มที่สูงเกือบ 6 ฟุต แรดตัวผู้จะมีนออยู่เหนือจมูก ยาวประมาณ 10 นิ้ว และมีนอเดียว ตัวเมียส่วนมากไม่มีนอ แต่ถ้าจะมีก็จะเห็นเป็นเพียงเนื้อนูนขึ้นมาเล็กนัอยเท่านั้น

แรดเป็นสัตว์ที่มีหนังหนามาก และจะเห็นเป็นรอยนูนๆ อยู่เกือบทั่วไป ขาแรดมีขนาดใหญ่แต่สั้น และขาแต่ละข้างจะมีนิ้วเพียง 3 นิ้วเท่านั้น ที่ปลายนิ้วจะมีเล็บกว้าง

หนังของแรดไม่ค่อยมีขน คือมีขนขึ้นเพียงประปรายบางๆ เท่านั้น ปกติสายตาของแรดไม่ค่อยดีนัก แต่จมูกของมันไวต่อการสัมผัสกลิ่นดีมาก
แรด ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบสูงๆ และค่อนข้างรกไปด้วยหนาม และมีแหล่งน้ำ เช่น … Read More

เกษตรธรรมชาติ

จากเกษตรเคมีสู่เกษตรธรรมชาติ

ในสมัยก่อน เราจะพบคำพูดที่เกี่ยวกับการทำนาทำไร่ การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ หรือคำพูดอื่นๆ ที่หมายถึงงานอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากินบนผืนแผ่นดินและไร่นา

ต่อมาก็มีการใช้คำว่าการกสิกรรม หรือกสิกรรมและสัตวบาล และเกษตรกรรมก็พูดกัน ถ้าเป็นเรื่องของวิชาการและการศึกษาเล่าเรียน ก็จะใช้คำว่า การเกษตร หรือเกษตรศาสตร์

คำว่าอาชีพเกษตรกรรมนั้น เป็นคำที่มีความหมายกว้าง เพราะเป็นกระบวน การที่จะดึงพลังที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือการทำงานของธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในการผลิตอาหารเพื่อมนุษย์และสัตว์

การเกษตรตามแนวคิดสมัยใหม่ หมายถึง การผลิตทางพืชสัตว์ ป่าไม้และการประมง และการเกษตรนี้จะก่อให้เกิดศาสตร์ในสาขาอื่นๆ อีกมากมาย เช่น พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ เศรษฐศาสตร์เกษตร วิศวกรรมเกษตร ครุศาสตร์เกษตร ศึกษาศาสตร์เกษตร คหกรรมศาสตร์ วนศาสตร์ วาริชศาสตร์ และอุตสาหกรรมเกษตร เป็นต้น

นอกจากนี้การทำการเกษตรสาขาต่างๆ จะต้องอาศัยศิลปและวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ อีกหลายอย่าง … Read More