Month: February 2014

กระเทียมสำเร็จรูป

ต้นกำเนิดของกระเทียมสำเร็จรูป
ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรของกระเทียมได้ถูกลืมไปประมาณ 40-50 ปี เมื่อยาแผนปัจจุบันเข้ามาเป็นที่นิยมแพร่หลาย จนเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมาอัตราการป่วยเจ็บ และตายจากโรคไขมันอุดตันในหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ จึงได้ศึกษาสรรพคุณทางยาและองค์ประกอบทางเคมีของกระเทียมอย่างจริงจัง จึงอาจกล่าวได้ว่า ในปัจจุบันกระเทียมได้รับความสนใจจากนักวิจัยวิทยาศาสตร์ซึ่งสามารถใช้วิทยากรแผนใหม่พิสูจน์ได้ว่ากระเทียมมีผลในการฆ่าเชื้อโรคบางชนิดและลดไขมันในหลอดเลือดได้จริง เมื่อทดลองให้ผู้ป่วยรับประทานกระเทียมสดวันละ 10 กรัม เป็นเวลาติดต่อกัน 2 เดือน ด้วยเหตุนี้ ในปัจจุบันจึงมีผู้รับประทานกระเทียมสดเป็นจำนวนมากเพื่อรักษาสุขภาพ แต่ก็มีปัญหาเรื่องรังเกียจกลิ่นและรสของกระเทียม นอกจากนี้ การบริโภคกระเทียมซึ่งเป็นองค์ประกอบในการปรุงอาหารนั้นก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า กระเทียม ที่ผ่านการปรุงอาหารโดยผ่านความร้อนนั้น คุณค่าทางโภชนาการย่อมลดน้อยลงเมื่อเทียบกับการบริโภคกระเทียมสด ดังนั้น ถ้าต้องการได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนโดยไม่ต้องรับประทานกระเทียมสด ผู้บริโภคคงต้องหันมารับประทานกระเทียมสำเร็จรูป ซึ่งกระเทียมสำเร็จรูปนี้ บรรดานักวิจัยคิดค้นขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคกระเทียม เพราะตระหนักดีถึงคุณค่าของกระเทียม และสามารถจะแก้ไข จุดอ่อนของกระเทียมในด้านกลิ่นและรสชาติได้เป็นอย่างดี
ลักษณะการผลิตและผลิตภัณฑ์กระเทียมสำเร็จรูป
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์กระเทียมสำเร็จรูปที่มีวางจำหน่ายในตลาดมีวิธีการเตรียมต่างๆ กัน ซึ่งพอจะจำแนกได้เป็น 2 … Read More

คุณประโยชน์ของกระเทียม


คุณค่าทางอาหารและยาของกระเทียมเป็นที่ยอมรับกันมานานกว่า 5 พันปีแล้ว โดยที่ทั้งชาวบาบิโลเนีย กรีก โรมัน โฟนิเซีย และไวกิ้ง รู้จักใช้กระเทียมรักษาโรคเกี่ยวกับความผิดปกติในลำไส้ การย่อยอาหาร โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง และบาดแผล ตลอดจนขับพยาธิ และยังมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย จนกระทั่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวรัสเซียได้ใช้กระเทียมในการรักษาพิษบาดแผลจนได้รับการขนานนามว่า “เพนนิซิลินแห่งรัสเซีย”
สำหรับในประเทศไทย จะมีการรู้จักและปลูกกระเทียมมาตั้งแต่เมื่อใดยังไม่มีหลักฐานแน่นอน เพียงแต่มีนักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า การปลูกกระเทียมน่าจะเริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งไทยเริ่มติดต่อค้าขายกับจีนบ้างแล้ว โดยคาดว่าชาวจีนเป็นผู้นำพันธ์กระเทียมเข้ามาจนมีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย และคนไทยก็นำเอากระเทียมมาใช้ในการประกอบอาหารและใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณบางตำรับ แต่ นางท่านสันนิษฐานว่ากระเทียมอาจจะเข้ามาในเมืองไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นสมัยที่ไทยติดต่อกับชาวเปอร์เซีย
การปลูกกระเทียมในสมัยแรกๆ ของไทยอาจจะมีการปลูกในลักษณะเป็นพืชสวนครัว และต่อมามีการปลูกมากแถบภาคกลาง เช่น ในท้องที่จังหวัดราชบุรี และแถบชานกรุงเทพฯ จากนั้นจึงมีการขยายพื้นที่ไปปลูกในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในแถบที่มีอากาศเย็น จึงทำให้ค้นพบว่าแหล่งเพาะปลูกทั้งสองนี้เหมาะสมที่จะปลูกกระเทียม มากกว่าแถบภาคกลาง … Read More

สาหร่ายอัดเม็ด


จุดประสงค์ของการนำสาหร่ายอัดเม็ดมาใช้เป็นอาหารเริ่มเมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งขององค์การนานาชาติ ซึ่งเล็งเห็นว่าถ้าอัตราการเพิ่มขึ้นของพลโลกเป็นไปในลักษณะปัจจุบัน อาหารในโลกจะผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภค จึงจำเป็นต้องหาแหล่งอาหารแหล่งใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งค่อนข้างจะขาดแคลน และได้ผลสรุปว่าสาหร่ายเป็นพืชที่น่าสนใจ เพาะเลี้ยงง่าย สามารถสังเคราะห์แสงสร้างอาหารเองได้ เติบโตเร็ว และมีองค์ประกอบของโปรตีนสูง จึงเริ่มศึกษาลงในรายละเอียดเกี่ยวกับสาหร่ายจนกระทั่งสามารถคัดเลือกชนิดสายพันธุ์ของสาหร่ายที่มีศักยภาพในการนำมาเป็นอาหารโปรตีนแหล่งใหม่ของมนุษย์ เช่น สาหร่าย คลอเรลลา (CHLORELLA) ซีนเดสมุส (SCENEDESMUS) สไปรูลิน่า (SPIRULINA) หรือสาหร่ายเกลียวทอง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การวิจัยที่จะนำเอาสาหร่ายมาใช้เป็นอาหารทดแทนโปรตีนจากสัตว์ก็ประสบปัญหาทำให้การวิจัยต้องหยุดลงชั่วคราว ปัญหาสำคัญที่คณะผู้วิจัยประสบ ก็คือ
1. ต้นทุนการผลิตสูง แม้ว่าในครั้งแรกเมื่อพิจารณาจะนำเอาสาหร่ายมาใช้ประโยชน์นั้น ได้พิจารณาเห็นว่าสารอาหารที่จะนำมาเลี้ยงสาหร่ายนั้นสามารถหาได้ง่าย เช่น ของเสียจากโรงงานผลิตอาหารต่างๆ โดยที่กระบวนการทิ้งของเสียเหล่านี้จะมีการขจัดของเสียที่อยู่ในนํ้าทิ้งเสียก่อน จนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่จะมีสารอาหารที่เหมาะสมกับการเลี้ยงสาหร่าย แต่สาหร่ายที่เลี้ยงด้วยนํ้าทิ้งของโรงงานนี้ก็ยังไม่เหมาะสมกับการจะนำมาเป็นอาหารของมนุษย์ เพียงแต่สามารถนำไปทำปุ๋ยหรือเลี้ยงสัตว์บางชนิดได้ แต่ถ้าต้องการผลิตสาหร่ายสำหรับมนุษย์บริโภคแล้ว … Read More

ประโยชน์ของสาหร่ายและผลิตภัณฑ์


มนุษย์รู้จักนำสาหร่ายมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานกว่า 4,000 ปีแล้ว โดยเฉพาะชาวจีนและชาวญี่ปุ่น ในสมัยก่อนคริสตกาล ชาวโรมันรู้จักนำสาหร่ายมาสกัดสารเพื่อใช้เป็นเครื่องสำอาง ต่อมาประชาชนแถบยุโรปรู้จักเอาสาหร่ายไปเป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ย สกัดเอาสารไอโอดีนและโปแตซ ในศตวรรษที่ 20 จึงมีการศึกษาวิจัยนำสิ่งที่สกัดจากสาหร่ายทะเลไปใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ปริมาณสาหร่ายที่เพาะพันธุ์ได้ยังน้อย และคุณภาพก็ยังสู้สาหร่ายที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ได้

ตัวอย่างการใช้สิ่งสกัดจากสาหร่ายทะเลในอุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา:วิทยาศาสตร์ ปีที่ 31 เล่มที่ 8 สิงหาคม 2520 หน้า 12
ประโยชน์ของสาหร่ายแม้ว่าจะมีมากมาย แต่ที่จะขอกล่าวในที่นี้คือประโยชน์ในแง่ของอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งชาวจีนและชาวญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่ใช้สาหร่ายเป็นอาหารมากที่สุด ทั้งในสภาพสดและแห้ง สาหร่ายมีปริมาณโปรตีนสูงถึงร้อยละ 50 และเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูงด้วย ในการทดลองพบว่า คุณภาพของโปรตีนในสาหร่ายดีกว่าโปรตีนจากถั่วเหลือง และถ้าหากมีการเติมกรดอะมิโนบางตัว โปรตีนที่ได้จากสาหร่ายจะมีคุณภาพใกล้เคียงกับโปรตีนที่ได้จากนมโค แม้ว่าสาหร่ายจะไม่มีสารอาหารที่สร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย แต่จะอึดมด้วยเกลือแร่หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็ก … Read More

การผลิตวุ้นจากสาหร่ายทะเล


วุ้น (AGAR) เป็นสารประกอบประเภท CARBOHYDRATE POLYMER คุณสมบัติพิเศษ คือ จะแข็งตัวได้ในความเข้มข้นเพียงร้อยละ 0.5 และคุณสมบัติที่แข็งตัวได้ตํ่ากว่าจุดหลอมเหลว เช่น วุ้นในความเข้มข้นร้อยละ 1.5 จะสามารถแข็งตัวได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 80 – 85 องศาเซลเซียส ซึ่งคุณสมบัตินี้เหมาะจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมทำขนมปัง น้ำตาลฉาบหน้า (ICING) ขัดเงา (GLAZES) ผลิตภัณฑ์นม และใช้เคลือบเนื้อไม่ให้เนื้อเปื่อยยุ่ยเกินไปในการทำเนื้อกระป๋อง นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนประกอบในการทำอาหารเพื่อสุขภาพ ยาระบาย เครื่องดื่ม อาหารสัตว์ ตลอดจนทันตวัสดุ อาจจะกล่าวได้ว่าวุ้น เป็นผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายทะเลที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ประมาณกันว่า ในแต่ละปีจะมีปริมาณการใช้วุ้นถึง 9,800 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท
กรรมวิธีในการผลิตวุ้นจากสาหร่ายเริ่มจากการนำสาหร่ายแห้งที่ซื้อหรือจ้างชาวประมงเก็บจากชายฝั่ง … Read More

การผลิตสาหร่ายทะเลเพื่อการอุตสาหกรรม


อุตสาหกรรมการผลิตสาหร่ายทะเลได้รับการแจกแจงเป็นอุตสาหกรรมพื้นบ้าน เพราะไม่สามารถนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปประยุกต์ใช้ แม้แต่ในขั้นตอนการสกัดสาร PHYCOCOLLOIDS ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวสาหร่ายและตากแห้ง ยังคงเป็นโรงงานผลิตขนาดเล็กที่ใช้กรรมวิธีแบบดั้งเดิม อันเป็นผลให้สาหร่ายทะเลที่ผลิตได้จะมีความ แตกต่างกันในด้านขนาด ชนิด สถานที่ และความอุดมสมบูรณ์ของสาหร่ายทะเล ตลอดจนกรรมวิธีในการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพของท้องถิ่นนั้นๆ รวมทั้งสภาพแวดล้อม แม้ว่าปริมาณการเก็บเกี่ยวสาหร่ายทะเลหลายๆ สกุลจะปรวนแปรไปตามความเสียหายที่จะได้รับจากพายุ ปริมาณชายหาดและหินตามชายฝั่ง ปัญหาใหญ่ของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลในปัจจุบันก็คือ ความต้องการที่จะปรับปรุง ประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยวในการผลิต PHYCOCOLLOIDS ครึ่งหนึ่งของต้นทุนในการผลิตคือวัตถุดิบสาหร่ายทะเล การเก็บสาหร่ายทะเลด้วยมือยังคงถือเป็นการเก็บเกี่ยวหลักในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเล ซึ่งต้องใช้แรงงานคนมาก ดังนั้น ผู้เพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลทางซีกโลกเหนือต้องเผชิญกับต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น และเมื่อรวมกับปัจจัยที่ว่าการนำเครื่องจักรเครื่องมือมาใช้ในการเก็บเกี่ยวสาหร่ายประสบความสำเร็จน้อย มาก จึงได้มีการสำรวจสำมะโนพิจารณาโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งยังไม่ได้มีการทำอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลอย่างเป็นลํ่าเป็นสัน และมีแรงงานในประเทศเพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเล โดยที่อุตสาหกรรมนี้ะเข้าไปเสริมรายได้และช่วยให้ชาวประมงท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งจะเป็นหนทาง ที่จะได้เงินตราต่างประเทศด้วย
วิธีเพาะเลี้ยงสาหร่าย แยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ… Read More

ประเภทของสาหร่าย

สาหร่าย
สาหร่ายเป็นพืชชั้นตํ่าที่มีคลอโรฟิลล์ แต่ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น และใบที่แท้จริง มีตั้งแต่ขนาดเล็กมาก ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียวซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ไปจนถึงขนาดใหญ่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก อาจเป็นเส้นสาย (FILAMENT) หรือมีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูงโดยมีส่วนที่คล้ายราก ลำต้น และใบ รวมเรียกว่า ทัลลัส (THALLUS) อย่างไรก็ตาม สาหร่ายก็สามารถเจริญเติบโตได้ใน ลักษณะเดียวกับพืช เนื่องจากมีเม็ดคลอโรฟิลล์ซึ่งทำให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ และจะเจริญเติบโตได้ดีในสถานที่ที่มีแสงแดดจัด ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในนํ้าสูง แร่ธาตุอาหารพอเพียง ประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายสูงมากเมื่อเทียบกับพืชทั่วไป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สาหร่ายเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
ในแต่ละปีประเทศไทยต้องนำเข้าสาหร่ายทะเลและผลิตภัณฑ์เพื่อบริโภคและใช้ในอุตสาหกรรมปีละเกือบร้อยล้านบาท ซึ่งจากการศึกษาและทดลองพบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้บางประเภทสกัดได้จากสาหร่ายพันธุ์ต่างๆ ที่สามารถเจริญเติบโตและเพาะเลี้ยงได้ในประเทศไทย ดังนั้น หากว่ามีการพัฒนาอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อการผลิตทดแทนการนำเข้า ก็จะช่วยลดดุลการค้าได้บ้าง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างรายได้ในอาชีพ ใหม่แก่เกษตรกรภายในประเทศด้วย
ประเภทของสาหร่าย
ประเภทของสาหร่ายที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. Read More

คุณค่าทางโภชนาการของนมถั่วเหลือง


ในทางด้านโภชนาการและการแพทย์แล้ว นํ้านมถั่วเหลืองมีคุณภาพด้อยกว่าน้ำนมโค แต่ข้อได้เปรียบของนมถั่วเหลืองมีอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องราคาของวัตถุดิบ ซึ่งถั่วเหลืองได้ชื่อว่าเป็นแหล่งโปรตีนราคาถูก นอกจากนี้ นมถั่วเหลืองสามารถปรับให้มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้นได้ กล่าวคือ
1. ชนิดของโปรตีนมีอัตราส่วนของกรดอะมิโนไม่ครบถ้วนตามความต้องการทางร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SULFUR CONTAINING AMINO ACIDS อันได้แก่ เมไธโอนิน และซิสตีน (CYSTINE) ซึ่งในนมถั่วเหลืองมีอยู่ในปริมาณที่ตํ่ามาก อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพของโปรตีนจากถั่วเหลือง โดยการเติมเมไธโอนินทำให้การบริโภคนมถั่วเหลืองได้ผลดีขึ้น
2. เนื่องจากปริมาณไขมันในนํ้านมถั่วเหลืองจะตํ่ากว่านมโค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีของการสกัดด้วยกรรมวิธีการใช้น้ำ แต่ไขมันที่ได้เป็นไขมันที่มีคุณภาพที่ดีมาก คือ มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย (LINOLEIC ACID) ดังนั้น ถ้าเพียงแต่ผู้ผลิตเติมไขมันที่มีคุณภาพสูงเข้าไปก็จะทำให้นมถั่วเหลืองมีคุณภาพใกล้เคียงกับนมโคมาก
จากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของนมถั่วเหลือง สำหรับนมถั่วเหลืองที่มีจำหน่ายในท้องตลาดซึ่งแบ่งแยกออกเป็นนมถั่วเหลืองชนิดไม่หวาน นมถั่วเหลืองเข้มข้น บรรจุกระป๋อง และนมถั่วเหลืองบรรจุกระป๋อง ซึ่งจะมีคุณค่าทางอาหารแตกต่างกันไป … Read More

กรรมวิธีการผลิตนมถั่วเหลือง


กรรมวิธีการผลิตนมถั่วเหลืองมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน โดยมีตั้งแต่กรรมวิธีแบบง่ายๆ ที่ทำกันในบ้าน ซึ่งเป็นกรรมวิธีของชาวจีนแต่ครั้งดั้งเดิม จนถึงกรรมวิธีสมัยใหม่ ซึ่งมีกระบวนการซับซ้อนในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม อาจจะแบ่งออกได้เป็น 4 วิธี คือ
1. วิธีการใช้น้ำสกัด (WATER EXTRACT PROCESS)
การทำน้ำนมถั่วเหลืองแบบนี้เป็นวิธีการที่ใช้กันมานานจนถือว่าเป็นวิธีเก่าแก่ที่สุดอันหนึ่ง โดยการใช้ถั่วเหลืองทั้งเมล็ดนำมาแช่นํ้าให้นิ่มตัว และจะพองตัวขึ้นอีก 1-1.2 เท่า ระยะเวลาการแช่เพื่อให้ถั่วนิ่มตัวจนใช้ได้ก็อาจใช้เวลาตั้งแต่ 1 ชั่วโมงถึง 20 ชั่วโมง แล้วแต่อุณหภูมิของน้ำที่แช่ถั่วเหลือง คือ ถ้าใช้น้ำที่มิอุณหภูมิสูงก็จะนิ่มตัวเร็วกว่าการใช้น้ำอุณหภูมิตํ่า จากนั้นถั่วจะถูกนำมาบดกับนํ้าในสัดส่วนที่ต้องการ และกรองเอาส่วนที่ ไม่ละลายน้ำออกไป น้ำที่กรองออกมาได้จะมีลักษณะคล้ายนํ้านมและมีกลิ่นเหม็นเขียวตามลักษณะของถั่วเหลืองอยู่ ปัจจุบันได้มีนักค้นคว้าวิจัยหลายต่อหลายท่านพยายามทดสอบ ทดลองคิดค้นที่จะทำลายกลิ่นถั่วเหลืองที่มีอยู่ในนํ้านมถั่วเหลืองให้หมดไปโดยใช้วิธีการต่างๆ ซึ่งผลก็เป็นที่ทราบกันดีว่า อุณหภูมิ เวลา และหรือสารเคมี เช่น แอลกอฮอล์ … Read More

นมถั่วเหลือง


นมถั่วเหลือง หรือนํ้าเต้าหู้ หรือเต้าเชียง (TOU CHIANG) เป็นผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันดีในสาธารณรัฐประชาชนจีนมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษแล้ว ส่วนมากจะเป็นการผลิตในระดับครัวเรือน นมถั่วเหลืองร้อนๆ เป็นส่วนหนึ่งของอาหารเช้าที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย ปกติแล้วนมถั่วเหลืองส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุดิบในการผลิตเต้าหู้ จนกระทั่งในปี 2491 มีการตั้งโรงงานผลิตนมถั่วเหลืองขนาดใหญ่ขึ้นในฮ่องกง นับเป็นก้าวแรกของการผลิตนมถั่วเหลืองขนาดใหญ่ในระดับอุตสาหกรรม ต่อมาในปี 2508 จึงเริ่มมีการตั้งโรงงานผลิตนมถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การผลิตนมถั่วเหลืองเพียงพอแก่ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันยอดการผลิตนมถั่วเหลืองในฮ่องกงสูงกว่า 120,000 ตันต่อวัน นับว่าสูงที่สุดในบรรดาเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ที่มีจำหน่ายในฮ่องกง หลังจากโรงงานผลิตนมถั่วเหลืองในระดับอุตสาหกรรมประสบความสำเร็จอย่างงดงามในฮ่องกง จึงเริ่มมีนักลงทุนตั้งโรงงานผลิตเป็นนมถั่วเหลืองในสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และไทย นอกจากนี้เริ่มมีการพัฒนาการผลิตเป็นนมถั่วเหลืองผงด้วย สำหรับในอินเดีย แม้จะไม่มีโรงงานผลิตนมถั่วเหลืองในเชิงการค้า นองจากผู้บริโภคส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับรสชาติของนมโค และไม่ค่อยนิยมรสชาติของนมถั่วเหลือง แต่ก็มีการศึกษาวิจัยพบว่าการใช้นมถั่วเหลืองเติมหรือผสมกับนมโคจะทำให้นมถั่วเหลืองเป็นที่ยอมรับในการบริโภคมากขึ้นกว่าเดิม
สำหรับในประเทศญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย มีการใช้นมถั่วเหลืองแทนนมโคสำหรับให้ทารกและเด็กบริโภคมาเป็นเวลานานแล้ว เนื่องจากการผลิตนมโคไม่เพียงพอกับความต้องการ … Read More