Category: สัตว์ป่า

ชีวิตและเรื่องราวน่ารู้ของสัตว์ป่า และสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมกับมนุษย์โลก ร่วมอนุรักษ์สัตว์สงวนหายากมิให้สูญพันธุ์

หมีหมา (Malayan Sun Bear)

ชื่อสามัญ Malayan Sun Bear
ชื่อวิทยาศาสตร์ Helarctos malayanus
หมีหมามีถิ่นกำเนิดใน จีน พม่า ไทย ลาว เวียดนาม เขมร มาเลเซีย สุมาตราและเบอร์เนียว หมีหมามีขนาดเล็กกว่าหมีควาย ตัวยาวประมาณ 4 ฟุต รวมทั้งหาง ซึ่งยาวประมาณ 2 นิ้ว สูงประมาณ 2 ฟุต ตัวมีสีดำปนน้ำตาล ขนตามตัวบางและสั้นกว่าของหมีควาย ขนขาวที่หน้าอกก็โค้งเป็นรูปตัวยู ไม่เป็นตัววีอย่างในหมีควาย นิสัยส่วนใหญ่ของ มันคล้ายกับหมีควาย ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบ แต่ไม่ชอบอยู่ตามภูเขา

หมีหมาออกหากินในเวลากลางคืน ชอบนอนในเวลากลางวัน ไต่ต้นไม้ได้เก่งเช่นเดียวกับหมีควาย แต่ค่อนข้างเชื่องง่ายกว่า และไม่ดุร้ายเท่าหมีควาย … Read More

นกเอี้ยงดำ

นกเอี้ยงดำ
ชื่อสามัญ Crested Myna
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acridotheres javanicus
นกเอี้ยงดำมีถิ่นกำเนิดในปากีสถาน จีน ชะวา ซีลีเบส พม่า ไทยและอินโดจีน ในประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาคยกเว้นทางคาบสมุทรตอนใต้

ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ขนเกือบทั่วทั้งตัวมีสีดำ แต่ขนคลุมใต้โคนหางและขนปลายสุดหางมีสีขาว ที่ปีกมีแถบสีขาวอยู่นิดหนึ่ง ที่หน้าผากมีขนขึ้นเป็นหงอนสีดำ

ชอบอาศัยและหากินอยู่ตามที่โล่งบริเวณชายบึง หรือบริเวณใกล้ๆ หมู่บ้าน ซึ่งมีป่าอยู่ใกล้เคียง และตามท้องนาเกือบทั่วไป

ชอบหากิน ใกล้ๆ ฝูงวัวควาย และมักเกาะอยู่บนหลังเพื่อจิกสะเก็ดผิวหนังและแมลงที่มาเกาะวัวควายนั้น บางครั้งจะลงเดินบนพื้นดินรอบๆ วัว ควาย เพื่อจิกหาแมลงกิน อาหารได้แก่แมลงต่างๆ และสะเก็ดผิวหนังของวัว ควาย ฤดูผสมพันธ์ประมาณเดือนมีนาคม-กรกฎาคม ชอบทำรังตามโพรงต้นไม้ซึ่งอยู่ใกล้ๆ บริเวณที่ทำการเพาะปลูก หรือตามชายทุ่ง วางไข่ครั้งละ 3-4 … Read More

นกแขวก (Night Heron)

ชื่อสามัญ Night Heron
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nycticorax nyticorax

นกแขวกมีถิ่นกำเนิดใน อินเดีย นิโคบารส์ จีน ไหหลำ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ซุนดาส์ พม่า มาเลเซีย ไทย และประเทศต่างๆ ในแหลมอินโดจีน ในประเทศไทยมีในภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตัวผู้และตัวเมียคล้ายกัน ขนทั่วๆ ไปมีสีเทา บนหัวตลอดจนถึงท้ายทอยและขนเปียมีสีดำแกมน้ำเงิน ขนบนหลังมีสีดำแกมน้ำเงิน ขนที่ปีกและหางมีสีเทา หน้าผากใต้คาง ใต้คอ ใต้ท้องและใต้หางมีสีขาว ในฤดูผสมพันธุ์ ขนเปียสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีขาว

นกแขวกชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้หรือกอไผ่ที่ค่อนข้างร่มครึ้ม เงียบและเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้น้ำ ชอบเกาะนอนรวมกันเป็นฝูง เป็นนกซึ่งหากินในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะนอน เมื่อใกล้ค่ำจะพากันออกบินตามบึง หนอง ส่งเสียงร้องเป็นครั้งคราว… Read More

นกหว้า (Great Argus Pheasant)

ชื่อสามัญ Great Argus Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Argusianus argus

นกหว้ามีถิ่นกำเนิดในสุมาตรา บอร์เนียว เทือกเขาตะนาวศรี ไทยและมาเลเซีย ในประเทศไทยมีทางภาคใต้

ตัวผู้และตัวเมียไม่เหมือนกัน เป็นนกซึ่งมีขนาดใหญ่มากและไม่มีเดือย ตัวผู้ตั้งแต่กลางหน้า กลางกระหม่อมไปจนถึงท้ายทอยมีสีดำ ตรงกลางกระหม่อมมีขนเป็นหงอนเล็กๆ ข้างหัว คอและหางเกือบไม่มีขน บนหลังมีขนสีน้ำตาลแดง บนไหล่และปีกมีสีดำปนน้ำตาล ขอบขนมีสีน้ำตาลอมเหลืองอ่อน ขนหางคู่กลางยาวกว่าเส้นอื่นๆ ออกไปมาก และมีจุดสีดำเป็นรูปไตตรงกลางเป็นจุดสีเหลืองมอๆ ขนด้านนอกปีกมีสีม่วงปนเทา และลัดเข้าไปข้างในมีสีเหลืองมอๆ และมีจุดรูปไตสีดำเช่นเดียวกับขนหางคู่กลาง นอกจากนี้ขนปีกบางเส้นยังมีแววอย่างแววของนกยูง แต่ตรงกลางแววมีสีเหลืองปนเขียวปนสีม่วง ล้อมรอบด้วยสีดำ และขอบนอกสุดมีเหลืองมอๆ

นกหว้า

ตัวเมียคล้ายตัวผู้แต่เล็กกว่า และขนหางคู่กลางไม่ยาวเลยคู่อื่นๆ ออกไป

นกหว้าชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบมากๆ และชอบอยู่ตามป่าลึก ตัวผู้จะทำลานไว้สำหรับรำแพน ซึ่งมันจะรักษาลานของมันไว้อย่างสะอาดมาก ไม่ว่าจะมีกิ่งไม้ใบไม้หล่นลงไป … Read More

นกอีแพรด (Fantail Flycatchers)

นกอีแพรด (Fantail Flycatchers) เป็นนกจับแมลงชนิดหนึ่ง มีขนาดตั้งแต่เล็กจนถึงปานกลาง หางค่อนข้างยาว และปลายหางส่วนโหญ่มีสีขาว เป็นนกที่ชอบยกหางขึ้นๆ ลงๆ พร้อมกับแผ่หางสลับกับหุบเข้ามา นกพวกนี้ปากและปีกค่อนข้างสั้น ในประเทศไทยมีอยู่ 5 ชนิด

นกอีแพรดท้องเหลือง
ชื่อสามัญ Yellow-bellied Fantail Flycatcher
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhipidura hypoxantha

นกอีแพรดท้องเหลืองมีถิ่นกำเนิดในเทือกเขาหิมาลัย จีน พม่า ไทย ลาวและ ตังเกี๋ย ในประเทศไทยมีอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะต่างกันเล็กน้อย ตัวผู้ทางด้านบนของตัวมีสีเขียวมะกอกเป็นสีเข้ม หน้าผากและคิ้วมีสีเหลืองสด มีแถบสีดำผ่านนัยน์ตา ด้านล่างของตัวมีสีเหลืองสด ขนปลายมีสีขาว ตัวเมียลักษณะสีสรรคล้ายตัวผู้ แต่มีแถบสีเขียวมะกอกเข้มผ่านนัยตา ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบภูเขา เป็นนกซึ่งค่อนข้าง เปรียว … Read More

นกดุเหว่า ไข่ให้อีกาฟัก

ชื่อสามัญ Koel
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eudynamys scolopacea

นกดุเหว่ามีถิ่นกำเนิดในอินเดีย อันดามันส์ นิโคบารส์ จีน ไต้หวัน ไหหลำ ซุนดาส์ ฟิลิปปินส์ โซโลมอน ออสเตรเลีย และประเทศต่างๆ ทางแถบตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย ในประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาค

นกดุเหว่าตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะไม่เหมือนกัน ตัวผู้ขนทั่วตัวมีสีดำเหลือบน้ำเงิน หางค่อนข้างยาว ตามีสีแดงสด

ตัวเมียขนด้านบนตัวและบนปีกมีสีนํ้าตาลแก่ บนหัวบนหลังและบนปีกมีจุดสีขาว หางมีลายขวางสีขาวหรือสีเนื้อ ด้านใต้ท้องมีสีขาวหรือสีเนื้อ ตรงคอมีจุดสีขาว หน้าอกและตลอดใต้ท้องมีลายขวางเป็นสีน้ำตาลแก่

นกดุเหว่าตัวเมีย

นกดุเหว่าอาศัยอยู่ทั้งป่าต่ำและป่าสูง บริเวณที่ทำการกสิกรรม ตลอดจนตามหมู่บ้านและในเมือง เป็นนกซึ่งไม่สร้างรังเอง มักอาศัยรังของนกอื่นเป็นที่วางไข่ เช่น รังของอีกา สามารถบินได้เร็ว ชอบร้องในเวลาเช้าตรู่ และเวลาเย็นจวนพลบค่ำ

อาหารส่วนใหญ่ได้แก่ผลไม้และเมล็ดพืชบางชนิด บางครั้งก็กินแมลงด้วยเหมือนกัน … Read More

นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล ,สุมาตรา และสีคล้ำ

นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล
ชื่อสามัญ Forest Eagle Owl

ชื่อวิทยาศาสตร์ Bubo nipalensis

นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาลมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีน พม่า เทือกเขาตะนาวศรี ไทย เขมร เวียดนาม ตังเกี๋ย และลาว ในประเทศไทยมีทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้

ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน นกเค้าชนิดนี้มีขนาดใหญ่ ตัวยาวประมาณ 60 ซม. ปากมีสีเหลือง เหนือตาทั้งสองข้างมีขนยาวเป็นกระจุกพุ่งขึ้นไปคล้ายเขา ขนบนด้านหลังมีสีน้ำตาลแก่และมีจุดเลอะๆ สีขาวและสีเนื้อคละกันทั่วไป

ขนที่ปีกมีทางขาวๆ อยู่ 5-6 ทาง ทางด้านท้องมีสีขาว และมีลายขวางสีนํ้าตาลเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวตลอดคอ อก และท้อง นกเค้าชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบตามภูเขา และตามป่าใกล้ลำธารใหญ่ๆ ชอบอยู่ตัวเดียว … Read More

เห่าช้าง (Varanus rudicollis)

ชื่อสามัญ Black Jungle Monitor ,Roughneck monitor lizard
ชื่อวิทยาศาสตร์ Varanus rudicollis

เห่าช้าง

เห่าช้างเป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เหี้ย (Varanidae) เป็นสัตว์เลื้อยคลานมี 4 ขา ที่ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่มาของชื่อเห่าช้างนั้นมาจากเสียงขู่ศัตรูที่ฟังแล้วคล้ายกับเสียงงูเห่า

เห่าช้างมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พม่า สุมาตรา บอร์เนียว มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยมีอยู่ทางภาคใต้ เห่าช้างเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดใหญ่อยู่ในประเภทสัตว์บก คลานสี่เท้า ตัวยาวและหางยาว ความยาวตลอดหัวถึงหางประมาณ 130 ซม. ลักษณะเด่นของเห่าช้างก็คือมีปากแหลม และเกล็ดบนสันคอใหญ่และเป็นหนามแหลม ตัวมีสีดำเข้มและมีลายจางๆ ขวางตามตัว

เห่าช้างเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างว่องไวปราดเปรียว ซุกซ่อนตัวเก่ง ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบ ไม่ชอบอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยของคน … Read More

อีเห็นลายเมฆ อีเห็นลายเสือ อีเห็นลายเสือโคร่ง

อีเห็น หรือ กระเห็น (Palm civet) เป็นสัตว์ในวงศ์เดียวกับชะมด  กินอาหารได้ทั้งสัตว์ขนาดเล็กรวมไปถึงพืชผลไม้ต่าง ๆ ข้อแตกต่างที่สำคัญทางด้านพฤติกรรมของอีเห็นและชะมด คือ อีเห็นจะกินพืชและผลไม้เป็นอาหารมากกว่าชะมดซึ่งกินสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหารมากกว่า อีกทั้งการหากินอีเห็นจะปีนป่ายต้นไม้หากินมากกว่าชะมดที่มักหาอาหารบนพื้นเป็นส่วนใหญ่

อีเห็นมีมากมายหลายสายพันธุ์ เรามาทำความรู้จักกับอีเห็นลายเมฆ อีเห็นลายเสือ อีเห็นลายเสือโคร่ง

อีเห็นลายเมฆ

ชื่อสามัญ Banded linsang
ชื่อวิทยาศาสตร์ Prionodon linsang

อีเห็นลายเมฆ
อีเห็นลายเมฆมีถิ่นกำเนิดในเทือกเขาตะนาวศรี ไทย มาเลเซีย สุมาตรา ชวา และบอร์เนียว ในประเทศไทยมีมากทางภาคใต้

สีพื้นของตัวมีสีน้ำตาลแกมเหลืองซีดๆ กลางหลังมีลายพาดสีดำขนาดใหญ่ 4 แถบ ทางด้านบนของคอและข้างๆ คอมีแถบสีดำพาดเป็นทางตามความยาวของลำตัวไปจนถึงไหล่

ข้างๆ ตัว … Read More

นกกะปูด

นกกะปูดหรือนกกดทุกชนิดในสกุล (Genus) Centropus
นกกะปูดของไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ นกกะปูดใหญ่ และนกกะปูดเล็ก


นกกะปูดใหญ่
ชื่อสามัญ Greater Coucal
ชื่อวิทยาศาสตร์ Centropus sinensis
นกกะปูดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พม่า ไทย อินโดจีน เกาะไหหลำและมาเลเซีย ในประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาค ชอบอยู่ตามป่าต่ำและป่าภูเขา อาศัยตามพุ่มไม้รกๆ ใกล้น้ำ มักหากินตามลำพังตัวเดียว บางครั้งจะพบเป็นคู่ เป็นนกที่บินไม่ค่อยเก่งนัก ไม่ชอบบินอาศัยบนต้นไม้สูงๆ
อาหารของนกกะปูดใหญ่ ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานเล็กๆ และแมลงต่างๆ
ผสมพันธุ์ประมาณต้นฤดูฝน ทำรังอยู่ตามพุ่มไม้รกๆ โดยนำกิ่งไม้มาขัดสานกันเป็นรูปกลมๆ มีทางเข้าด้านข้าง วางไข่ครั้งละประมาณ 3-4 … Read More