โรคที่มักพบในการปลูกกาแฟ

โรคและแมลงศัตรู
๑. โรคราสนิม (Coffee Leaf Rust) เกิดจากเชื้อรา Hemeleia vastatrix ซึ่งยังแบ่งออกเป็นสายพันธุ์ต่างๆ อีกจำนวนมากกว่า ๒๐ สายพันธุ์ เป็นโรคที่สำคัญและทำอันตรายร้ายแรงในการปลูกกาแฟเป็นการค้า ในแหล่งปลูกกาแฟอราบิก้าทั่วโลก
อาการ เชื้อราจะเข้าทำลายผิวด้านใต้ใบ แล้วสร้างสปอร์สีส้มคล้ายสนิมเหล็ก เป็นจุดๆ อยู่ใต้ใบ และแพร่ขยายทำลายใบ ทำให้ใบร่วงหล่น ไม่สามารถสังเคราะห์อาหารได้ ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัด จะ เสียหายประมาณ ๗๐ – ๘๐ เปอร์เซนต์ อาจไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ และต้นกาแฟจะตาย เริ่มระบาดตั้งแต่ฝนเริ่มตกและระบาดมากในเดือนตุลาคม และรุนแรงที่สุดในเดือนธันวาคม
การป้องกันกำจัด
๑. ใช้พันธุ์ต้านทาน
๒. ฉีดพ่นด้วยยาบอร์โดมิกซ์เจอร์ หรือใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราประเภทสารประกอบทองแดง … Read More

การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาไร่กาแฟ

๑. การปลูกไม้บังร่ม การปลูกกาแฟควรมีใม้บังร่มหรือไม่จำเป็นต้องมีไม้บังร่มดี ยังเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่ แหล่งปลูกกาแฟที่สำคัญๆ ของโลก ปลูกกาแฟโดยไม่มีไม้บังร่ม และมีแนวโน้มที่จะ เลิกใช้ไม้บังร่ม เพราะพบว่าในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการปฏิบัติรักษาอย่างดี ต้นกาแฟสามารถเจริญเติบโตได้ดี และให้ผล ผลิตสูงที่สุด และให้ผลผลิตเร็ว และสูงกว่าต้นกาแฟที่ปลูกในร่ม แต่มีปัญหาคือ เรื่องการติดผลดกเกินไป การตายยอด(Die- back) การให้ผลดกปีเว้นปี เป็นโรคและมีอายุการให้ผลผลิตสั้น ดังนั้น การปลูกไม้บังร่ม จึงจำเป็นสำหรับต้นกาแฟที่ปลูกภายใต้สภาพการปฏิบัติรักษาที่ไม่ดีพอ โดยผลประโยฃน์ที่จะได้รับจากไม้บังร่ม คือ
๑. ยืดระยะอายุการให้ผลผลิตออกไป
๒. ป้องกันการติดผลดกเกินไป ซึ่งทำให้ต้นตายจากยอดลงมา
๓. ทำให้ผลผลิตสม่ำเสมอทุกปี
๔. ลดอุณหภูมิของอากาศและดิน
๕. ลดการคายน้ำและการระเหยน้ำ
๖. ใบที่ร่วงหล่น … Read More

การเลือกพื้นที่ปลูกกาแฟในไร่

การเลือกพื้นที่
การเลือกพื้นที่ เพื่อปลูกกาแฟ ควรเป็นพื้นที่ด้านตะวันออก หรือตะวันออกเฉียงเหนือ หรือทิศเหนือ ด้านใดด้านหนึ่ง เพื่ออาศัยภูเขาช่วยบังร่มให้กาแฟได้รับแสงแดดเพียงครึ่งวันก็เพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นกาแฟใช้อาหารมากเกินไป ทำให้โทรมเร็ว บริเวณที่เป็นหุบ โอกาสที่จะถูกทำลายจากน้ำค้างแข็งก็มีมากกว่าบริเวณลาดเขา ส่วนดินภูเขานั้นมีความ เหมาะสมอยู่แล้ว แต่มักมีธาตุอาหารต่ำ
ส่วนสภาพความลาดชันของพื้นที่นั้น ควรมีมากน้อยเพียงใดนั้นเป็นเรื่องของการเลือกใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมมากกว่า กาแฟเป็นไม้พุ่มยืนต้น ที่สามารถปลูกได้จนถึงความลาดชัน ๘๕% ซึ่งกำหนดไว้ว่าควรปล่อยไว้เป็นป่าธรรมชาติ เพราะการปลูกกาแฟบนที่ลาดชันสูงไม่เป็นการรบกวนดินมากนัก ดังนั้น หากมีพื้นที่ให้เลือกได้ ควรปลูกกาแฟบนพื้นที่ลาดชันสูง ๓๐% ขึ้นไป เพื่อจะได้ใช้พื้นที่ลาดชันที่น้อยกว่านี้ในการปลูกพืชไร่อื่นๆ จะเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ดีกว่า เพราะหากใช้พื้นที่ลาดชันน้อยปลูกกาแฟเสียแล้ว จะทำให้ไม่สามารถใช้ที่ลาดชันสูงกว่านี้ปลูกพืชไร่เพราะก่อให้เกิดปัญหาการพังทะลายของดิน และการปลูกควรปลูกตามแนวเส้นระดับชั้นความสูง (Contour Planting) เพื่อสะดวกในการจัดการและถูกต้องตามวิธีการอนุรักษ์ดิน
วิธีการวางแนว เพื่อปลูกกาแฟบนที่ลาดชัน ตามแนวเส้นระดับชั้นความสูงนั้น มีวิธีการง่าย โดยอาศัยเครื่องมือง่ายๆ … Read More

การปฏิบัติดูแลรักษาในการเพาะชำต้นกล้ากาแฟ


๑. แปลงเพาะเมล็ดกาแฟ ควรใช้ยากำจัดแมลงในดินคลุกเคล้าเข้าไปด้วย ตามอัตราส่วนที่ระบุไว้ในฉลากยาแต่ละชนิด เช่นยาอลามอน ๔๐ ใช้อัตรา ๑.๕ กก./ไร่ ยา Aldrex ๔๐ อัตรา ๓๐ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร หรือ Dieldrin อัตรา ๗๐ ซี.ซี./น้ำ ๒๐ ลิตร ต่อแปลงเพาะ ๑๐ ตารางเมตร ทั้งนี้เพราะพบว่ามีแมลงจำพวกจิ้งหรีด จิ้งโกร่ง แมลงกะชอน มักชอบขุดรูอาศัยอยู่ในแปลงเพาะ และกัดทำลายต้นอ่อนของกาแฟเสมอๆ หรือใช้ลูกเหม็น (Napthalene) ชนิดผงโรยบริเวณต้นอ่อนก็ใช้ไล่แมลงพวกนี้ได้ผลดี
๒. คลุกเมล็ดพันธุ์กาแฟด้วยยาคลุกเมล็ด เพื่อป้องกันเชื้อรา เพราะพบว่ามักเกิดโรคโคนเน่าของต้นอ่อนระยะก้านไม้ขีด และระยะผีเสื้อ … Read More

การขยายพันธุ์กาแฟอราบิก้า


การขยายพันธุ์กาแฟอาจทำได้โดยวิธีปักชำ หรือติดตาทาบกิ่งก็ได้ แต่ใช้ในการศึกษา หรือเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของพันธุ์ไว้มากกว่า ผู้เขียนเคยทำการเสียบกิ่ง โดยใช้ต้นตอ เป็นกาแฟโรบัสต้า และใช้กิ่งพันธุ์เป็นกาแฟอราบิก้า จำนวน ๑๐ ต้น ติดสำเร็จเพียง ๔ ต้น แต่น่าเสียดายที่กาแฟเหล่านี้ตายหลังจากปดูกได้ ๑ ปี จึงไม่ทราบข้อมูลว่าผลจะเป็นอย่าง ไร น่าศึกษามาก
กาแฟที่ปลูกเป็นการค้าใช้ขยายพันธุ์โดยเมล็ด เริ่มแรกของการปลูกกาแฟ คือการเตรียมต้นกล้า หากเป็นการนำหรือซื้อต้นกล้าจากที่อื่น ควรจะเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้ว่า เป็นต้นกล้าที่ได้จากต้นแม่ที่ดี เพราะไม่เช่นนั้นอาจประสบความล้มเหลวเมื่อต้นกาแฟโตแล้วก็ได้ เพราะไปได้ต้นที่มีความอ่อนแอ เป็นโรคง่าย ติดผลน้อย การเจริญเติบโตไม่ดี ถ้าเป็นไปได้ ควรนำเมล็ดจากต้นที่เห็นว่าดีไปทำการเพาะเองจะดีกว่า
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
หากเป็นการเก็บเมล็ดเพื่อขยายพันธุ์เอง ควรพิจารณาเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นแม่ที่มีอายุพอสมควร ให้ผลดกสม่ำเสมอ ปราศจากโรคและแมลง โดยเลือกเก็บเมล็ดพันธุ์จากผลที่ใหญ่และสุกเต็มที่จากกิ่งบริเวณกลางๆ ของลำต้น … Read More

พันธุ์ของกาแฟอราบิก้าและพันธุ์ปลูก


พันธุ์ของกาแฟมีมากมายทั้งพันธุ์เดิม และพันธุ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรม (Mutation) ระหว่างการปลูก และการเกิดลูกหลานที่มีลักษณะผิดไปจากพันธุ์เดิม (Mutant) ซึ่งพันธุ์เหล่านี้ก็จะมีลักษณะที่ดีขึ้น และเลวลงในบางพันธุ์ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงแต่พันธุ์หลักที่สามารถจำแนกลักษณะได้ด้วยการสังเกตสีของใบยอด และความถี่ห่างของข้อ เป็นต้น
๑. พันธุ์อราบิก้าหรือพันธุ์ทิบิดา (coffea Arabica var. Arabica syn. Typical) ทั้ง ๒ ชื่อนี้เป็นพันธุ์เดียวกัน เป็นพันธุ์ดั้งเดิม มีพันธุกรรมควบคุมลักษณะเด่น มีลักษณะเด่นชัดคือใบยอดหรือใบอ่อนจะมีสีบรอนซ์(สีทองแดง) ข้อห่าง ใบมีขนาดเล็กเรียบเป็นมัน เจริญเติบโตเร็ว ออกดอกผลและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าแต่โทรมเร็ว และมีอาการตายยอด (Die-back) ได้ง่ายหากความอุดมสมบูรณ์ไม่เพียงพอ แสดงอาการขาดธาตุสังกะสีมาก เจริญเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่ตัดยอด
๒. พันธุ์เบอร์บอน (Coffea Arabica var. Bourbon) … Read More

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกาแฟอราบิก้า


กาแฟอราบิก้า เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก อาจสูงถึง ๕ เมตร ถ้าไม่มีการตัดยอด
ลำต้น มีรูปทรงต้นการแตกกิ่งแบบ ๒ ข้างเท่ากัน กิ่งข้างหรือกิ่งนอนจะแตกออกจากตาที่ก้านใบของลำต้นหรือกิ่งตั้งออกไปตรงกันข้ามที่ข้อแต่ละข้อทำมุมกับลำต้น ๔๕ องศา แล้วจึงเอนลง เรียกว่ากิ่งชุดที่ ๑ จากกิ่งข้างนี้จะแตกกิ่งแขนงออกตรงกันข้ามอีกเรียกว่ากิ่งชุดที่ ๒ และแตกกิ่งชุดที่ ๓ ได้อีก กิ่งนอนเหล่านี้เท่านั้นที่จะติดดอกออกผล แต่จะไม่สามารถแตกกิ่งตั้งได้เลย  ส่วนกิ่งตั้งก็ไม่สามารถให้ดอกผลเช่นกัน ส่วนยอดของลำต้นจะควบคุมการแตกตาใบที่อยู่ข้างล่างไปมิให้แตกกิ่งตั้งออกมา ตาใบเหล่านี้จะพักตัวอยู่ จนกว่าส่วนยอดจะถูกตัดหรือถูกทำลายไป ตาใบคู่ที่อยู่บนสุดจะเริ่มเจริญเติบโตขึ้นเป็นกิ่งตั้งทันที แต่ถ้าตัดออกจนถึงระดับโคนต้นจะมีตาใบแตกกิ่งตั้งออกมารอบๆ ต้น จำนวนมากมาย การโน้มลำต้นแม่ให้เอนไปก็จะทำให้ตาใบตามข้อแตกกิ่งตั้งออกมา ดังนั้น การจะบังคับให้มีกิ่งตั้งจำนวนเท่าใด ก็สามารถทำได้ให้เหมาะสมกับการตัดแต่งกิ่งที่จะใช้
ราก รากแก้วจะหยั่งลึกลงไปในดินเพื่อยึดลำต้นและหาน้ำและอาหารแต่จะไม่เจาะลึกลงไปในระดับน้ำใต้ดิน ถ้าระดับน้ำใต้ดินสูงรากแก้วจะสั้น และมีรากแขนงรากฝอยแผ่ออกทางข้างรอบๆ ในแนวราบยาวประมาณ … Read More

ฤดูในการปลูกกาแฟอราบิก้า


สภาพดินฟ้าอากาศ

กาแฟอราบิก้า ต้องการสภาพอากาศที่มีฤดูฝนและฤดูแล้งเด่นชัด เพราะต้องการช่วงฤดูแล้งสำหรับการเจริญของตาดอกประมาณ ๒-๓ เดือน  ถ้ามีฝนตกตลอดปีจะทำให้เกิดดอกไม่มากและออกดอกประปราย ทำให้ผลผลิตต่ำและลำบากในการเก็บเกี่ยว
อุณหภูมิที่เหมาะสมคือระหว่าง 15-25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิกลางวันและกลางคืนควรจะแตกต่างกัน เพราะกาแฟต้องการแสงแดดและความอบอุ่นในเวลากลางวันเพื่อสังเคราะห์แสงสร้างอาหารใช้ในการเจริญเติบโต และต้องการอากาศเย็นในเวลากลางคืนเพื่อสะสมอาหาร แทนที่จะใช้ให้หมดไปในการเจริญเติบโตทางลำต้นและกิ่งก้านจนหมด กาแฟที่ปลูกบนระดับสูงเกินไป ซึ่งอุณหภูมิกลางวันต่ำเกินไปและอุณหภูมิกลางคืนสูงเกินไป (หมายถึงไม่เย็นเท่าที่ควร) มักจะทำให้เกิดดอกที่มีลักษณะคล้ายดาว ซึ่งดอกพวกนี้จะไม่ให้ผล จากการสังเกตพบว่าพันธุ์ caturra เกิดดอกดาวน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ ดังนั้นในระดับความสูงมากๆ และต่ำลงมาควรปลูกพันธุ์นี้ อุณหภูมิแตกต่างกันระหว่างกลางวันและกลางคืนนั้น มีผู้รายงานว่า ตาดอกจะเกิดมากที่อุณหภูมิ 23 องศาเซลเซียส/ 17 องศาเซลเซียส มากกว่าอุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส/ 20 องศาเซลเซียส และ 30 องศาเซลเซียส/ … Read More

กาแฟอราบิก้า

(Arabica Coffee)
กาแฟอราบิก้า มีถิ่นกำเนิดจากป่าธรรมชาติของเทือกเขาเอธิโอเปีย มีความสูง ๑,๐๐-๑,๘๐๐ เมตร และได้ถูกนำแพร่กระจายไปตามแหล่งต่างๆ มีการใช้เมล็ดกาแฟในรูปแบบต่างๆ กันไป แต่การค้นพบวิธีการคั่ว และชงกาแฟเป็นครั้งแรกนั้น ในอาราเบียคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ กาแฟที่ได้จากแหล่งนี้จึงเรียกว่า กาแฟอราบิก้า และเมื่อได้แพร่หลายไปปลูกในแหล่งต่างๆ ก็ได้ เกิดมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมออกไป (Mutation) ทำให้เกิดลักษณะที่ดีขึ้น ลักษณะสีของใบยอดความถี่ห่างของข้อ และขนาดของใบ ใช้ในการจำแนกพันธุ์
กาแฟอราบิก้าเป็นไม้ยืนต้นลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุของกาแฟขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ในบราซิลมีอายุเฉลี่ยประมาณ ๓๐-๔๐ ปี แต่มีบางต้นอายุถึง ๘๐-๑๐๐ ปี ในบางแห่งมีอายุ ๕๐-๗๐ ปี โดยทั่วไปประมาณ ๑๐-๑๕ ปี หรือน้อยกว่า
การเจริญเติบโตของกาแฟแบ่งออกเป็นRead More

การทำไร่กาแฟ


พันธุ์กาแฟมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่ที่นิยมปลูกกันเป็นการค้า มีอยู่ ๓ ชนิด คือ
๑. กาแฟอราบิก้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coffea Arabica มีความสำคัญมากที่สุด ประมาณ ๙๐ เปอร์เซนต์ของกาแฟที่ปลูกทั่วโลก เป็นกาแฟอราบิก้า  ซึ่งมีคุณภาพเมล็ดหรือคุณภาพในการชง มีกลิ่นหอมดีเยี่ยม
๒. กาแฟโรบัสต้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า coffea canephora มีความสำคัญรองลงมา ประมาณ ๙ เปอร์เซนต์ ของกาแฟที่ปลูกทั่วโลก คุณภาพเมล็ด หรือคุณภาพในการชง เป็นกลาง กลิ่นหอมสู้กาแฟอราบิก้าไม่ได้
๓. กาแฟลิเบอริก้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coffea liberica มีความสำคัญน้อยที่สุด ประมาณ ๑ … Read More