ทานตะวันมีประโยชน์อย่างไร


ชื่ออื่น ชอนตะวัน (ภาคกลาง) บัวทอง (ภาคเหนือ)    เหี่ยงหยิกขุ้ย (แต้จิ๋ว) เซี่ยงยื้อขุย (จีนกลาง) Sunflower
ชื่อวิทยาศาสตร์ Helianthus annuus L.
วงศ์ Compositae
ลักษณะต้น เป็นพืชอายุปีเดียว ลำต้นตรง เจริญเต็มที่สูงถึง 3.5 เมตร ใบกลมรีออกสลับกัน ยาว 10-30 ซม. กว้าง 8-25 ซม. ปลายใบแหลม หรือแหลมมน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ช่อดอกขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 15-30 ซม. ประกอบด้วยดอกเล็กเรียงเป็นวงซ้อนกันมากกว่า 2-3 ชั้น ตรงกลางเป็นกลุ่มของดอกสมบูรณ์เพศ ดอกชั้นนอกเป็นดอกตัวเมีย มีกลีบดอกขนาดใหญ่สีเหลือง ดอกสมบูรณ์เพศ จะมีเกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน ผลกลมรีสีเทาอ่อนหรือดำ ข้างในมีเพียงเมล็ดเดียว สีเหลืองอ่อน มีน้ำมันมาก ปลูกเป็นไม้ประดับ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ แกนต้น ใบ ดอก ฐานรองดอก เมล็ด เปลือกเมล็ด ราก

สรรพคุณ
แก่นต้น ขับปัสสาวะ แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต ปัสสาวะ เป็นเลือด ปัสสาวะขุ่นขาว ไอกรน แผลมีเลือดออก
ดอก ขับลม ทำให้ตาสว่าง แก้วิงเวียน หน้าบวม บีบมดลูก แก้ หลอดลมอักเสบ (ใบและดอก)
ฐานรองดอก แก้อาการปวดหัว ตาลาย ปวดฟัน ปวดท้อง โรคกระเพาะ ปวดประจำเดือน และฝีบวม
เมล็ด แก้บิดมูกเลือด ขับหนองใน ฝีฝักบัว ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้ไข้หวัด
เปลือกเมล็ด แก้อาการหูอื้อ
ราก แก้อาการปวดท้องแน่นหน้าอก ฟกช้ำ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในหญิงท้อง
ตำรับยาและวิธีใช้
1. บิดมูกเลือด ใช้เมล็ดทานตะวัน 30 กรัม ใส่น้ำตุ๋น 1 ชม. แล้วใส่น้ำตาลกรวดพอประมาณกิน
2. แก้ไอ คั่วเมล็ดให้เหลืองทำเป็นยาชงดื่ม
3. หูอื้อ ใช้เปลือกเมล็ด 10-15 กรัม ต้มน้ำกิน
4. ลดความดันโลหิต ใช้ใบแห้ง 30 กรัม (สด 60 กรัม) และ โถวงู่ฉิก (Achyranthes longifolia Mak.) 30 กรัม (สดเพิ่มเท่าตัว) ต้มน้ำกิน
5. ปวดฟัน ใช้ดอก 25 กรัม ตากแห้งสูบเหมือนยาสูบ หรือฐาน รองดอก 1 อัน และรากเกากี้ (Lycium chinense Mill.) ต้มน้ำและชงกับไข่กิน
6. ปวดหัว ใช้ฐานรองดอกแห้ง 25-30 กรัม ต้มน้ำให้เหลือสักครึ่งถ้วย (อาจใส่ไข่ 1 ฟอง) กินหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
7. ตามัว ใช้ฐานรองดอกตุ๋นกับไข่กิน
8. ปวดท้องโรคกระเพาะ ใช้ฐานรองดอก 1 อัน และกระเพาะหมู 1 อัน ต้มน้ำกิน
9. ปวดท้องน้อยก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน ใช้ฐานรองดอก 30- 60 กรัม ต้มน้ำแล้วเติมน้ำตาลแดง 30 กรัมกิน
10. นิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต ใช้แกนต้นยาว 2 ฟุต ต้มน้ำ กินวันละครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ติดต่อกัน หรือรากสด 30 กรัม ต้มน้ำกิน
11. ปัสสาวะขุ่นขาว ใช้แกนต้นยาว 2 ฟุตและรากต้นจุ้ยขึ่งฉ่าย
(Oenanthe benghalensis (Roxb.) Kurz.) 60 กรัม ต้มน้ำกินวันละครั้ง ต้ดต่อกัน 3-4 วัน
12. ขับปัสสาวะ ใช้แกนต้น 15 กรัม ต้มน้ำกิน หรือรากสด 15- 30 กรัม คั้นน้ำแล้วผสมกับน้ำผึ้งกิน (ทำให้ระบายด้วย)
13. ไอกรน (ไอร้อยวันหรือไอตามเดือน) ใช้แกนต้นตำให้ละเอียด ชงน้ำร้อนผสมน้ำตาลทรายขาวกิน
14. ขับพยาธิไส้เดือน ใช้รากสด 30 กรัม ต้มน้ำแล้วใส่น้ำตาลแดง พอประมาณกิน
15. ฝีฝักบัว ฝีเป็นหนองมาก ใช้ฐานรองดอกคั่ว บดเป็นผงผสม น้ำมันงาทา
16. แผลมีเลือดออก ใช้แกนต้นตำพอก
ราบงานทางคลีนิค
1. ข้ออักเสบและใช้ฐานรองดอกจำนวนพอประมาณ ต้มกับน้ำเคี่ยวจนมีลักษณะคล้ายขี้ผึ้งเหลว ใช้พอกฝีในผู้ป่วย 30 ราย ได้ผลเป็น ที่น่าพอใจ
2. เต้านมอักเสบ ใช้ฐานรองดอกตากแห้งแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ คั่วจนเกรียม แล้วบดเป็นผงชงเหล้าหรือน้ำอุ่นแล้วเติมน้ำตาลทรายขาวกินครั้งละ 10-15 กรัม วันละ 3 ครั้งแล้วห่มผ้าให้เหงื่อออกร่วมด้วย จากการใช้กับผู้ป่วย 122 ราย ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
3. ลดความดันโลหิต ใช้ฐานรองดอกแห้ง 45 กรัม บดเป็นผง และทำเป็นยาน้ำเชื่อม 100 มล. ใช้กินครั้งละ 20 มล. วันละ 3 ครั้ง รักษา ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง จำนวน 10 ราย หลังจากรักษาแล้ว 2 เดือน สังเกตได้ว่าอาการดีขึ้น 4 ราย ดีขึ้นเล็กน้อย 4 ราย ไม่ได้ผล 2 ราย (รายหนึ่งแพ้ยาทำให้โรคกำเริบ แต่ภายหลังมีอาการดีขึ้น) สำหรับรายที่ได้ผล ความดันโลหิตจะเริ่มลดลงภายใน 1 สัปดาห์ และไม่มีอาการข้างเคียง สาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตลดลงต้องรอการศึกษาค้นคว้าต่อไป
ผลทางเภสัชวิทยา
1. เมล็ด น้ำมันในเมล็ดมีฟอสฟอไลปิด (phospholipid) อยู่สูง พบว่ามีฤทธิ์ลดโฆเลสเตอรอลในเลือดของหนูขาว แต่ผลในการรักษา ไม่ชัดเจน
2. น้ำมันดอกทานตะวันผสมลงในอาหารให้กระต่ายกิน ทำให้ กระต่ายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อวัณโรคเพิ่มขึ้น
3. ใบ มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Bacillus aureus แต่ไม่มีฤทธิ์ ต่อเชื้อแบคทีเรีย Bacillus coli นอกจากนี้สามารถใช้เป็นยาต้านมาเลเรีย สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของใบ (0.2%) สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของพารามีเซียม (paramecium) นอกร่างกายแต่ฤทธิ์ไม่แรง ถ้าใช้น้อยจะเสริมฤทธิ์ยาควินิน (quinine)
4. ดอก น้ำสกัดที่ได้จากดอกหยดบนใบหูของกระต่าย ทำให้ หลอดเลือดขยายตัว ถ้าฉีดเข้าหลอดเลือดดำจะกระตุ้นการหายใจและทำให้ความดันโลหิตลดลง นอกจากนี้ยังทำให้การบีบตัวของลำไส้เล็กเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ถ้าฉีดใต้ผิวหนังของแมว จะทำให้ความดันโลหิตลดลงชั่วคราว
5. ฐานรองดอก สารสกัดจากฐานรองดอกทานตะวันด้วยแอลกอ- ฮอล์ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำของแมวที่ทำให้สลบ ทำให้ความดันโลหิตลด ต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด
สารเคมีที่พบ
แกนต้น มีน้ำตาลประมาณ 53% นอกจากนี้ยังมี chlorogenic
acid, neochlorogenic acid, 4-o-caffeoylquinic acid และ scopo-
line
ใบ มี neochlorogenic acid, isochlorogenic acid ,chlorogenic acid , 3-o-feruloylquinic acid, 4-o-caffeoylquinic acid, caffeic acid, scopoline และ heliangine นอกจากนี้ยังมีกรดอินทรีย์ 9-12% (dicarboxylic acid และ tricarboxylic acid), citric acid 45.2% , malic acid 26.6%, fumaric acid 21.2%  เป็นต้น
ดอก มีกลัยโคไซด์ ได้แก่ quercimeritrin, triterpenoid saponins, helianthoside A, B, C เป็นต้น กรดอินทรีย์ ได้แก่ oleanolic acid และ echinocystic acid อับเรณูของดอกส่วนใหญ่มี ß-sitosterol
เมล็ด มีน้ำมันประมาณ 50% โดยมี linoleic acid มากถึง 70%, phospholipid, phosphatide, ß -sitosterol
เปลือกเมล็ด มี cellulose, lignin, pentosan, น้ำมัน 5.17% (มีขี้ผึ้ง 2.96%), โปรตีน 4%
ราก มี cytokinin, kinetin ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือน zeatin
ที่มา:สำลี  ใจดี, สุนทรี  วิทยานารถไพศาล, รพีพล  ภโววาท, จิราพร  ลิ้มปานานนท์, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, วิทิต  วัณนาวิบูล