กล้วยประดับ

ไม้ดอกไม้ประดับที่อยู่ในวงศ์กล้วยนี้มีที่น่าดูและน่าสนใจอยู่มากชนิดด้วยกัน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงที่เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่ยังสับสนกันอยู่เท่านั้น ทั้งทางลักษณะรูปร่างที่เข้าใจผิดกันไป วงศ์กล้วย (Musaceae) แบ่งเป็นวงศ์ ย่อย (Sub family) และวงศ์ย่อย Strelitzioideae เป็นวงศ์ย่อยที่มีไม้ดอกไม้ประดับที่น่าสนใจอยู่หลายชนิด จากนั้นยังแบ่งออกเป็น 3 เผ่า (Tribes) แต่ละเผ่ามีเพียงสกุลเดียว แต่ละเผ่าก็ยังสับสนเข้าใจกันผิดอยู่ คือ

1. กล้วยพัด (Ravenala) มีบางคนเข้าใจผิด คิดว่าเป็นพวกปาล์ม กล้วยพัดเป็นไม้ประดับที่สวยสง่างามมาก มี 2 ชนิดคือ กล้วยพัดลังกา คือ Ravenala madagascariensis และ Re- venala guyanensis

กล้วยพัดลังกา (Revenala madagascarien­sis, Sonn. มีถิ่นเดิมในเกาะมาดากัสการ์ มีลักษณะลำต้นคล้ายต้นปาล์ม จึงทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นพวกปาล์ม บางคนจึงเรียกว่าปาล์มพัด ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะปาล์มพัดนั้นเป็นพวก ปาล์มมีชื่อว่า Pritchardid spp. กล้วยพัดลังกามีลักษณะใบเหมือนกล้วยธรรมดา ผิดกันอยู่ที่ก้านใบยาวกว่าเท่านั้น และการเรียงใบคลี่ออกเป็นรูปพัดคลี่ มีผู้นำมาปลูกในเมืองไทยครั้งแรก โดยนำมาจากประเทศลังกา (พระสงฆ์ลังกา) เนื่องด้วยกล้วยพัดลังกา (Revenala madagas­cariensis) นี้ มีหน่อแตกออกโคนต้นได้มาก จึงขยายพันธุ์และปลูกกันทั่วไปในเมืองไทยซึ่งในตอนแรก ๆ ก็ปลูกกันอยู่ตามวัดต่าง ๆ ต่อมาก็นิยมมาปลูกกันเป็นไม้ประดับตามบ้านด้วย ลักษณะที่ใบเรียงกันเป็นรูปพัดคลื่นตามใบจึงมารวมกันที่จุดเดียวกันเหนือลำต้นและกาบใบ เป็นรูปถ้วยโค้งขึ้นซ้อนกัน จึงทำให้น้ำฝนไหลจากใบมาขังอยู่ที่กาบใบตอนชิดกับลำต้นและเก็บนํ้าไว้ได้นาน จึงทำให้ผู้เดินทางไกลใช้น้ำที่ขังอยู่ในกาบใบนี้ดื่มแก้กระหายได้ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ต้นไม้สำหรับคนเดินทาง” (Traveller’s tree)

กล้วยพัดมีอายุยืนนานมาก ยิ่งอายุมากขึ้นลำต้นก็สูงมากขึ้นเหมือนต้นปาล์มทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีลำต้นสูงถึง 30 ฟุต หรือมากกว่านั้นก็ได้ ใบคล้ายใบกล้วยทุกอย่าง ยาวประมาณ 15 ฟุต มีก้านใบยาว เมื่อหน่อยังเล็กอยู่มีแต่ก้านใบและตัวใบโผล่ขึ้นมาจากพื้นดินเท่านั้น ยังไม่มีลำต้น ดอกมีลักษณะคล้าย ๆ ดอกกล้วย หรือคล้ายจั่นมะพร้าว ลักษณะดอกเรียงสลับกันสองขัางของก้านช่อดอกแบบ spikes มีกาบช่อดอกเหมือนกล้วยที่เรียกว่า “กาบดอก” (bracts) คลุมช่อดอกอยู่เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะเกิดเป็นผลที่มีเนื้อไม้แข็ง ภายในมีเมล็ดเรียงกันอยู่เป็น 2 แถว แต่ละเมล็ดมีขึ้นหรือเยื่อคล้ายปุยนุ่น มีสีน้ำเงินหรือสีเขียวห่อหุ้มอยู่ ในการขยายพันธุ์นั้นใช้หน่อที่แตกออกจากต้นเดิม

Ravenala guyanansis คล้าย ๆ Ravenala madagascariensis แต่ต่างกันที่มีทรงต้นอ้วนเตี้ยกว่า ใบกว้างใหญ่ ปลายใบมนรูปงาม ก้านใบใหญ่กว่าและสั้นกว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในลุ่มน้ำอะเมซอนและประเทศสุรินัมในอเมริกาใต้ ต้นสูง 6-8 ฟุต กาบดอก (bracts) ใหญ่ ดอกสีขาว เมล็ดมีกำมะหยี่สีชมพูห่อหุ้ม ส่วนมากมักไม่มีหน่อจะรู้สึกว่าจะมีรูปทรงงามกว่า Ra­venala madagascariensis ปัจจุบันมีปลูกในเมืองไทยหลายแห่ง และมีผู้สั่งต้นเล็ก ๆ เข้ามาขายกันมาก ซึ่งเป็นกล้าที่เพาะจากเมล็ดขนาดสูง 15 ซม. ราคาต้นละประมาณ 30 บาท

2. ปักษาสวรรค์ (Strelitzia) หรือ Bird of Pardise เป็นพันธุ์ไม้ดอกที่ใช้ตัดดอกหรือปลูกประดับสถานที่ก็ได้ มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ แต่ได้นำมาปลูกเป็นไม้ตัดดอกและไม้ประดับกันอย่างแพร่หลายและเป็นการค้ามากในฮาวาย สหรัฐอเมริกาตอนใต้และญี่ปุ่น ดอกงามสง่า ชูลอยเด่น เวลาบานเต็มที่มีลักษณะคล้ายนกเกาะจริง ๆ พันธุ์ไม้พวกนี้ชอบขึ้นในที่ชื้น ลมสงบ ดินมีน้ำชื้นอยู่เสมอ มีแสงสว่างพอประมาณ พันธุ์ไม้ชนิดนี้มีลักษณะที่เห็นได้ง่าย 2 ชนิดด้วยกันคือ ชนิดหนึ่งไม่มีลำต้นอยู่เหนือพื้นดิน มีแต่กาบใบและตัวใบโผล่ขึ้นมาเท่านั้น ต้นจึงไม่สูงเกินกว่า 5-6 ฟุต ส่วนอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะลำต้นเห็นได้ชัดเจน และมีลำต้นสูง ใบคล้ายกล้วยพัด (Revenala) บางชนิดสูงถึง 30 ฟุต ใบยาวถึง 6 ฟุตก็มี ในเมืองไทยขณะนี้ที่มีต้นใหญ่ ๆ และมีดอกหาดูได้ยาก แต่ก็มีผู้สั่งต้นเล็ก ๆ ขนาดเดียวกับกล้าของกล้วยพัดมาขายในราคาเท่ากันกับกล้วยพัด เนื่องจากคนไทยส่วนมากยังไม่เคยเห็นดอกของมันจึงเข้าใจผิดว่าดอกก้ามปู (Heliconia spp.) ซึ่งเป็นเผ่าของวงศ์ Strelitzoioideae เหมือนกันว่า ดอกก้ามปู (Heliconia spp.) เป็น Bird of Paradise พวกปักษาสวรรค์ (Bird of Paradise) Strelitzia spp. มีหลายต้นที่น่าสนใจ และบางชนิดก็ยังไม่เคยมีใครนำมาปลูกในเมืองไทยเลย

Strelitzia augusta อีกชนิดหนึ่งเป็นชนิดที่มีลำต้นสูงจากพื้นดินคล้ายกล้วยพัด (Rave­nala) ลำต้นสูง 18-20 ฟุต หรือบางต้นสูงถึง 30 ฟุตก็มีใบยาว 4-6 ฟุต ใบตองมักแตกเป็นริ้ว เพราะถูกลมพัดตีใบแตก ช่อดอกใหญ่สั้น ติดกาบใบชิดลำต้น มีกาบช่อดอกที่เรียกว่า Bract หรือ Spaih ใหญ่แข็ง ภายในมีดอกสีขาว Strelitzia caudata เหมือน ๆ กับ Strelitzia augusta (แต่กาบดอก (braet) มีสีชมพู ดอกภายในสีขาว

Strelitzia nicolai เหมือน ๆ กับ Strelitzia augusta หรือ Strelitzia caudata แต่มีกาบดอก (bract) สีแดง กลีบดอกสีนํ้าเงินอ่อนปนขาว Strelitzia reginae เป็นพวกที่ไม่มีลำต้น แตกกอได้ดี ก้านใบยาว ตัวใบกว้างมน ขอบใบห่อเข้าภายในเล็กน้อย กอของมันจะสูง 3-5 ฟุต รู้สึกว่าเจริญเติบโตได้ช้ามาก กาบใบมีสีเทาปนเขียวและสีชมพูอ่อน ๆ ใบหนาเป็นมัน เส้นกลางใบมีสีแดงหรือสีชมพูอ่อน ๆ ดอกชูขึ้น มีก้านดอกยาว มักเป็นช่อดอกเดี่ยว หรือมีสองดอกอยู่บนก้านเดียวกัน กาบดอก (bract) เป็นรูปเรือ (Boat shaped) สีส้มแก่ปนม่วง กลีบดอกในสีส้ม ปลายกลีบแหลม มีสีน้ำเงินงามมาก เมื่อเวลาบานเต็มที่ ดูคล้ายนกเกาะที่ก้านดอกหรือที่กาบดอก

Strelitzia parvifolia juncea ขึ้นเป็นกอใหญ่ ใบกลมคล้ายกก กอสูงประมาณ 4 ฟุต ไม่มีลำต้นสูงพ้นพื้นดิน ก้านดอกยาวชูตั้งตรงขึ้น ทำให้ดอกแลดูเด่น กาบดอก (bract) สีเหลือง ตัวดอกสีเหลืองม่วง มียอดกลีบดอกสีน้ำเงิน แลดูงามมาก

Strelitzia kewensis เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่าง Strelitzia reginae กับ Strelitzia augusta ดอกจึงมีสีเหลืองอ่อน ที่โคนกลีบมีสีชมพูอ่อน นอกจากพันธุ์นี้แล้ว พวก Strelitzia อื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วเป็นพันธุ์พื้นเมืองทั้งนั้น คงมีแต่พันธุ์ Strelitziakewensis ชนิดเดียวเท่านั้นที่เป็นพันธุ์ผสม

3. Heliconia พวกก้ามปูและธรรมรักษา พวกก้ามปูที่คนไทยส่วนมากเข้าใจว่าเป็นปักษาสวรรค์ (Strelitzia) ความจริงแล้วก้ามปูเป็นพันธุ์ไม้ในวงศ์เดียวกับปักษาสวรรค์เหมือนกัน แต่ Heliconia งามสู้ปักษาสวรรค์ไม่ได้ ราคา ของมันถูกกว่า การปลูกเลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ก็ง่าย ออกดอกก็ดกและสม่ำเสมอได้ดีกว่าปักษาสวรรค์ พวก Heliconia นี้มีลักษณะต่างกันมากกว่า 50 ชนิด เป็นไม้ตัดดอกและเป็นไม้ประดับ โดยความงามของใบก็มีในที่นี้จะกล่าวถึงพวก Heliconia หรือก้ามปูที่ใช้ตัดดอกเท่านั้น He­liconia ส่วนมากมีลักษณะต้นคล้ายพุทธรักษา (Cana indicxa) มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อ ต้นที่ออกดอกแล้วก็ตายไป หน่อใหม่ก็ออกใหม่ต่อไป ต้นหนึ่งมีช่อดอกดอก เดียว ช่อดอกมีก้านยาวพอสมควร ดอกมีกาบดอก (bracts) ห่อหุ้ม และความงามของดอก อยู่ที่กาบดอกนั้นมากกว่าดอก เพราะกาบดอกมีสีสันสดุดตามาก ผลแบ่งเป็น 3 พู 3 เมล็ด เมล็ดแห้งและแตกง่าย ๆ เป็นพันธุ์ไม้เมืองร้อนทั่ว ๆ ไป Heliconia มาจากคำว่า Helicon หมายถึงภูเขาแห่งเทพนิยาย ปัจจุบันมีพบเห็นปลูกกันมากหรือขึ้นอยู่ทั่วไปในฟิลิปปินส์ ฮาวาย และฟิจิ และเกาะจาไมก้า ในเมืองไทยก็ปลูกกันมากทั่วไป

Heliconia caribaca ชนิดนี้มีช่อดอกที่มีฟอร์มงามมาก เพราะกาบดอก (bract) มีรูปมนงาม ซ้อนตัวกันอยู่บนก้านดอกเรียงเป็น 2 แถว สลับกันสองข้างในระดับตรงข้ามกันข้าง ละ 5-6 ดอก กลีบกาบดอก (bract) แข็ง ริมกาบดอกมีสีชมพูแก่ มีเส้นขอบสีเขียว โคนกาบดอกสีเหลืองทอง ดอกภายในสีชมพูดอกเล็ก ๆ เรียงอยู่ในกาบดอก ลักษณะต้นเป็นกอ คล้ายพุทธรักษา (Cana indica) หรือคล้ายกล้วยป่า ใบกว้าง 3 ฟุต

Heliconia platystachys ดอกเรียวยาว เรียงอยู่ในช่อดอกห่าง ๆ กัน ไม่อยู่ชิดกันเหมือน Heliconia cavibaca ตัวดอกห้อยย้อยออกมานอกกาบดอก (bract) เห็นเกสรได้ชัดเมื่อช่อดอกยาวสูงขึ้นจะห้อยลงสู่พื้นดิน ทำให้หมด ความสง่างามไป รูปร่างเหมือนฟอร์มไม่ดี เมื่อแก่จะมีเมล็ดสีดำเป็นลูก 3 ลูกเห็นได้ชัด ในเมืองไทยจะดูก้ามปูชนิดนี้ได้ที่วังตะไคร้ จังหวัดนครนายก

Heliconia humilis ชนิดนี้ปลูกในเมืองไทยทั่ว ๆ ไปและเข้าใจกันว่าเป็นปักษาสวรรค์ (Strelitzia) คือที่กาบดอก (bract) ใหญ่ ดอกและเกสรโผล่ออกมาแต่ห้อย กาบดอกมีสีชมพู หรือแดงก้ามปูทะเล ลักษณะเหมือนก้ามปูทะเลจริง ๆ ช่อดอกตั้งตรงไม่อ่อนช้อยลงเหมือน Heliconia platystachys และมักไม่ถูก ผสมเกสรเกิดเป็นเมล็ดได้ง่าย ๆ ตามธรรมชาติ จึงใช้หน่อขยายพันธุ์กันได้อย่างรวดเร็ว เมื่อดอกแก่เข้ากาบดอกจะเปลี่ยนเป็นสีซีดลง เมื่อดอกออกใหม่ ๆ สวยมาก ขอบของกาบดอกจะมีสีเขียวอ่อนปนเหลือง ตัดกับพื้นกาบดอกที่มีสีชมพู ดอกของมันจริง ๆ สีเหลืองและดอกเล็ก ๆ

Heliconia psittacorum กาบกลีบดอกแยกจากกัน เวลาบานเห็นดอกและเกสรได้ชัด ช่อดอกหนึ่งมี 2-4 ดอกเท่านั้น ไม่น่าดูนัก

Heliconia bihai คล้าย ๆ Helicoria humilis แต่ต้นสูงถึง 18 ฟุต ดอกสีเหลืองม่วง กาบดอก (bract) สีแดงเข้ม ตรงปลายกาบดอกมีสีเหลือง ขอบ ๆ กาบดอกสีเขียวปนเหลือง Heliconia choconiana แปลกไปกว่าที่กล่าวมาแล้วคือ มีกอเป็นลำต้นคล้ายกกน้ำ ในช่อดอกหนึ่ง ๆ มีกลีบดอกใหญ่ปิดอยู่ และ ในกลีบดอกนั้น ๆ มีดอกเล็ก ๆ ซึ่งต่างกับช่อดอกใหญ่อยู่อีก 3-4 ดอก แต่ละช่อดอกเรียงกันอยู่บนช่อดอกใหญ่เพียง 2-3 ช่อดอกเท่านั้น กอสูงประมาณ 3 ฟุต

Heliconia aurantiaea คล้าย ๆ Heli­conia choconiana แตกต่างกันที่ช่อดอกเดียว งามกว่าช่อดอกหลายช่อดอกที่อยู่บนก้านดอกเดียวกัน ต้นคล้ายกก สูง 2-3 ฟุต กาบดอก (bract) สีส้ม ขอบเขียว และปลายกาบดอกสีขาว กาบดอกบนสีแดงแสด ส่วนดอกสีม่วงแดง

Heliconia augustifolia (braziliensi) คล้าย ๆ Heliconia choconiana กอสูง 3 ฟุต กาบดอกสีส้มแก่ สีจะเข้มเข้าเมื่อดอกมีอายุนานขึ้น ดอกใบสีขาวครีม ผลครั้งแรกสีส้มแก่ แล้วมีสีน้ำเงินแก่

นอกจากนี้ยังมีพวกก้ามปู Heliconia อีกหลายชนิดที่ใช้เป็นไม้ตัดดอกได้ดี เช่น Heli­conia lastispatha, H.metallica, H. jacquinii, H. illnstris, H. vellutina