กล้วยไม้สกุลเข็มชมพู

วงศ์ออร์คิเดซีอี (ORCHIDACEAE)

ประเทศไทยนับเป็นแหล่งหนึ่งในโลกที่มีกล้วยไม้ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมากถึงพันชนิด และเป็นที่รู้จักกันค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ไม้อื่นๆ มีชื่อไทยเรียก เช่น เอื้องหวายและ ว่าน นำหน้าชื่อกลุ่มต่างๆ ได้แก่ เอื้องคำ (Den- drobium chrysotoxum Lindl.) หวายแดง (Renan- thera coccinea Lour.) ว่านเพชรหึง (Grammato- phyllum speciosum Bl.) เป็นต้น ลำต้นมักจะอวบนํ้า มีข้อปล้องเห็นได้ชัด ใบเดี่ยวและมักจะ หนา ดอกช่อหรือดอกเดี่ยว มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบ กลีบดอกหนึ่งกลีบมีลักษณะพิเศษคือ มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปมาก อาจจะเป็นแผ่นใหญ่หรือเล็กกว่ากลีบอื่น ๆ หรือแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นถุงและส่วนที่แผ่แบน กลีบดอกกลีบนี้คนไทยเรียก ‘กระเป๋า’ หรือ ‘lip’ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับเส้าเกสร นอกจากนี้ละอองเกสรตัวผู้ของกล้วยไม้ยังเกาะกันเป็นกลุ่มก้อนมีจำนวนรูปร่างต่าง ๆ กัน

ดอกสิงห์โต

Bulbophyllum lindleyanum Griff.

สิงห์โต

กล้วยไม้สกุล Bulbophyllum นิยมเรียกกัน ว่า ‘สิงห์โต’ เนื่องจากกลีบดอกพิเศษยึดติดกัน โคนเส้าเกสรแบบบานพับ ทำให้เคลื่อนไหวได้ง่าย กลีบอื่น ๆ ในแต่ละกลุ่มย่อยก็เช่นเดียวกันมักมีลักษณะเฉพาะกลุ่ม ลำต้นของกล้วยไม้สกุลนี้มี ‘ลูกกล้วย’ รูปทรงต่างๆ กัน อาจกลม รี แบน หรือรูปคล้ายหยดน้ำ จำนวนใบต่อต้นมีเพียง 1 หรือ 2 ใบ โดยมากเป็นพืชอิงอาศัยหรือพบบนหิน สิงห์โตชนิดนี้ปัจจุบันจัดเป็นพืชหายาก ออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม

เข็มชมพู

Ascocentrum semiteretifolia Seid.

เข็มชมพู

กล้วยไม้สกุลเข็ม (Ascocentrum spp.) เป็นสกุลที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก ที่รู้จักกันค่อนข้างดี ได้แก่ เข็มแสด (Ascocentrum miniatum Schltr.) เข็มม่วง (Ascocentrum ampullaceum Schltr.) และเข็มแดง (Ascocentrum curvifolium Schltr.) ส่วนเข็มชมพูเป็นกล้วยไม้ที่พบเมื่อปี พ.ศ. 2511 และยังไม่มีการรายงานว่าพบในประเทศอื่น เป็นกล้วยไม้ที่สวยงามและหายาก ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน