การขยายพันธุ์กาแฟอราบิก้า


การขยายพันธุ์กาแฟอาจทำได้โดยวิธีปักชำ หรือติดตาทาบกิ่งก็ได้ แต่ใช้ในการศึกษา หรือเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของพันธุ์ไว้มากกว่า ผู้เขียนเคยทำการเสียบกิ่ง โดยใช้ต้นตอ เป็นกาแฟโรบัสต้า และใช้กิ่งพันธุ์เป็นกาแฟอราบิก้า จำนวน ๑๐ ต้น ติดสำเร็จเพียง ๔ ต้น แต่น่าเสียดายที่กาแฟเหล่านี้ตายหลังจากปดูกได้ ๑ ปี จึงไม่ทราบข้อมูลว่าผลจะเป็นอย่าง ไร น่าศึกษามาก
กาแฟที่ปลูกเป็นการค้าใช้ขยายพันธุ์โดยเมล็ด เริ่มแรกของการปลูกกาแฟ คือการเตรียมต้นกล้า หากเป็นการนำหรือซื้อต้นกล้าจากที่อื่น ควรจะเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้ว่า เป็นต้นกล้าที่ได้จากต้นแม่ที่ดี เพราะไม่เช่นนั้นอาจประสบความล้มเหลวเมื่อต้นกาแฟโตแล้วก็ได้ เพราะไปได้ต้นที่มีความอ่อนแอ เป็นโรคง่าย ติดผลน้อย การเจริญเติบโตไม่ดี ถ้าเป็นไปได้ ควรนำเมล็ดจากต้นที่เห็นว่าดีไปทำการเพาะเองจะดีกว่า
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
หากเป็นการเก็บเมล็ดเพื่อขยายพันธุ์เอง ควรพิจารณาเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นแม่ที่มีอายุพอสมควร ให้ผลดกสม่ำเสมอ ปราศจากโรคและแมลง โดยเลือกเก็บเมล็ดพันธุ์จากผลที่ใหญ่และสุกเต็มที่จากกิ่งบริเวณกลางๆ ของลำต้น นำมาทำการปอกเปลือกออก โดยใช้นิ้วมือบีบ เมล็ดจะหลุดออกโดยง่าย มีเมือกลื่น เหนียว เมือกลื่นนี้ถ้าแห้งก็ไม่ลื่นเหนียว แต่ถ้า เปียกก็กลับลื่นเหนียวได้อีก ดังนั้น ถ้าจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ก็จำเป็นต้องล้าง เมือกนี้ออกให้หมด โดยวิธีหมักหรือขัดออกก็ได้ถ้าไม่ต้องการเก็บไว้นานก็ไม่จำเป็นต้องเอาเมือกลื่นนี้ออกก็ได้ นำเมล็ดกาแฟกะลาที่ได้นี้แช่น้ำ หากมีเมล็ดลอยให้ช้อนทิ้ง ล้างน้ำหลายๆ ครั้งจนหมดเมือก หรือหมักไว้ ๑ คืน จึงล้างออก นำขึ้นผึ่งให้แห้งในร่มหรือถ้าไม่หมักเมล็ดจะนำไปคลุกขี้เถ้า เลยก็ใช้ได้ จะเก็บไว้ได้ประมาณ ๒ เดือน โดยไม่เสียความงอก ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว หลังจาก ๒ เดือน จะเสียความงอก ๑๕-๕๐% และควรหลีกเลี่ยงการนำเมล็ดพันธุ์ไปตากแดด เพราะเมล็ดที่แห้งสนิทจะไม่งอก ควรคัดเลือกเมล็ดที่มีขนาดเดียวกัน เมล็ดเล็กหรือเมล็ดกลมไม่ควรใช้ เพราะต้องการให้ต้นกล้าเจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน
การเตรียมแปลงเพาะ
อุณหภูมิของแปลงเพาะที่มีความอบอุ่น จะซ่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น ดังนั้นในพื้นที่ที่ระดับสูงมาก ควรทำการเพาะเมล็ดกลางแจ้ง จะช่วยให้งอกได้เร็วขึ้น สิ่งที่สำคัญคือต้องมีน้ำใช้พอเพียง และสะดวกในการใช้รดแปลงเพาะ ดินที่ใช้ทำแปลงเพาะควรเป็นดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ เช่น ดินชั้นบนในป่า หรือผสมเอง โดยใช้ปุ๋ยคอกที่เน่าเปื่อยดีแล้วร่อนเอา เศษวัสดุอื่นและที่เป็นก้อนแข็งขนาดใหญ่ออก ถ้ามีปุ๋ยหมักเป็นการดีที่สุด ทำการขุดแปลงเพาะพลิกดินตากแดดสักระยะหนึ่ง แล้วจึงนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่เตรียมไว้เข้าคลุกเคล้าให้ดี ควรใส่ปุ๋ยจำพวกให้ฟอสฟอรัสลงไปด้วย แปลงเพาะควรยกขึ้นประมาณ ๑๐ เซนติเมตร กว้าง ๑ เมตร ยาว เท่าใดก็ได้ตามความเหมาะสมและสภาพพื้นที่ทำร่องลึกประมาณ ๑/๒”
แล้ววางเมล็ดกาแฟลงไปให้ด้านแบนอยู่ข้างล่าง จะช่วยให้การงอกดีขึ้น แล้วใช้ดินร่วนหรือทรายโรยทับบน
สำหรับระยะของเมล็ดจะโรยถี่ห่างแค่ไหน ขอให้พิจารณาที่จะกล่าวต่อไปข้างล่างนี้ก่อน เพื่อประกอบการตัดสินใจดังกล่าวแล้วว่าการงอกของกาแฟแบ่งออกได้ ๓ ระยะ ซึ่งเราสามารถย้ายชำได้ทุกระยะ โดยมีข้อดีข้อเสียดังต่อไปนี้
๑. การย้ายชำในระยะก้านไม้ขีด ให้เปอร์เซนต์ต้นรอดตายสูงที่สุด และสะดวกในการชำ เพราะต้นกล้ายังมีอาหารสะสมอยู่ที่ใบเลี้ยงมาก ต้นมีขนาดเล็ก รากมีแต่รากแก้ว ง่ายในการชำลงถุงพลาสดิกใส่ดินที่เตรียมไว้แล้ว
๒. การย้ายชำในระยะผีเสื้อ หากไม่สามารถชำต้นกล้าระยะไม้ขีดได้หมดทัน ต้นกล้าเปลี่ยนมาเป็นระยะผีเสื้อ ก็ยังสามารถย้ายชำได้สะดวก เช่นเดียวกัน
๓. การย้ายชำในระยะใบจริง เปอร์เซนต์ต้นกล้ารอดตายน้อยลงตามจานวนใบจริงที่เพิ่มขึ้น เพราะการขุดกระทบกระเทือนต่อระบบรากมาก หากย้ายชำระยะใบจริงจะต้องควบคุมความชื้นบริเวณผิวใบให้ชุ่มชื้นอยู่เสมออย่างเพียงพอ มิฉะนั้นหากใบร่วงจะทำให้ต้นกล้าชงักการ เจริญเติบโตอาจถึงตายได้ ถ้าไม่ตายอาจแตกใบใหม่ แต่ก็แคระแกร็น ไม่ สามารถปลูกในฤดูปลูกนั้นได้ จะต้องเลื่อนออกไปปลูกปีถัดไปแต่ก็เป็นต้นกล้าที่คุณภาพไม่ดีนัก
-ข้อดีของการย้ายชำในระยะก้านไม้ขีดและระยะผีเสื้อ คือ ให้เปอร์เซนต์ต้นรอดตายสูง ต้นกล้าที่ได้รับการบารุงรักษาดี สามารถนำไปปลูกได้ดีและตั้งตัวได้เร็ว
-ข้อเสีย คือ การดูแลบำรุงรักษาทำได้ยาก โดยเฉพาะการกำจัดวัชพืช และการใช้ปุ๋ย หากต้องทำการขนส่งต้นกล้าไปปลูกในที่ไกลเรือนเพาะชำ ทำให้ขนส่งได้ลำบากและได้ครั้งละจำนวนไม่มาก
ส่วนการย้ายชำในระยะใบจริงนั้น
-ข้อดี คือ ทำการดูแลบำรุงรักษาในแปลงได้ง่ายกว่าในแง่การกำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ย การรดน้ำการป้องกันโรคและแมลง สามารถส่งต้นกล้าไปยังแหล่งปลูกไกลๆ ได้จำนวนครั้งละมากๆ ในสภาพของต้นกล้าแบบBare root หรือล้างรากเอาดินออกเพื่อไปชำในบริเวณปลูกกาแฟก่อนที่ทำการปลูก หรือทำการปลูกในไร่ทันที
-ข้อเสีย คือ เปอร์เซนต์ต้นรอดตายมีน้อย อาจถึง ๕๐% ต้องการการดูแลให้ความชื้นอย่างเพียงพอ ในระยะช่วงย้ายชำใหม่ๆ
เมื่อทราบดังนี้แล้วก็ต้องตัดสินใจเลือกว่าจะใช้วิธีใดจึงจะเหมาะสมสถานการณ์ และความสามารถในการจัดการ แล้วจึงทำการเพาะเมล็ด คือ ถ้าหากจะทำการย้ายชำก่อนระยะใบจริงจะทำการเพาะเมล็ดอย่างหนาแน่นก็ได้ แต่อย่าให้เมล็ดซ้อนกัน ควรวางห่างกันประมาน ๑” และต้องทำการเตรียมดินใส่ถุงพลาสติกหรือภาชนะ เช่น ไม้ไผ่สาน ใช้ดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ อาจเป็นหน้าดินป่า หรือหน้าดินเก่าผสมปุ๋ยคอกที่ร่อนแล้ว หรือปุ๋ยหมักด้วยก็เป็นการดีที่สุด นำถุงพลาสติกใส่ดินนี้เข้าวางเรียงเป็นแถวในเรือนเพาะชำ ให้สะดวกในการดูแลรักษากำจัดวัชพีช เมื่อต้นกล้างอกมาก็ทำการถอนไปชำลงในถุงพลาสติก ใส่ดินที่เตรียมไว้ได้ทันที แต่ถ้าจะย้ายชำในระยะใบจริง หรือเพื่อส่งไปปลูกในแหล่งที่ไกล และลำบากในการขนส่ง ระยะที่สะดวกคือควรโรยเมล็ดเป็นแถวไปตามความยาวระยะระหว่างแถว ๓๐ เซนติเมตร จะได้ ๔ แถว ระยะระหว่างต้น ๑๕ เซนติเมตร กำลังดี วิธีนี้สะดวกในการดูแลรักษาและขนส่งต้นกล้าไประยะทางไกล ควรย้ายชำในถุงพลาสติกใส่ดิน ก่อนถึงเวลานำไปปลูก เมื่อฝนเริ่มตกประมาณเดือนพฤษภาคม และตั้งตัวได้ไปปลูก เมื่อฝนเริ่มตกชุกประมาณมิถุนายน – สิงหาคม ไม่ควรปลูกช้ากว่านี้ เพราะต้นกล้าจะตั้งตัวไม่ทัน ฤดูแล้งทำให้เปอร์เซนต์ต้นตายสูง หลังจากโรยเมล็ดเสร็จแล้วให้ใช้ดินร่วนหรือทรายกลบเมล็ด คลุมแปลงด้วยฟางหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อรักษาความชุ่มชื้น ทำการรดน้ำให้ชุ่ม วันละ ๒ ครั้ง เมื่อเมล็ดเริ่มงอกให้เอาวัสดุหรือฟางที่คลุมอยู่ออกทันที อัตราส่วนของดินที่ใช้ชำกาแฟ ควรเป็นทราย ๑ ส่วน ปุ๋ยคอกที่เน่าเปื่อยดีแล้ว ๒ ส่วน และหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ ๓ ส่วน ส่วนแปลงเพาะที่จะย้ายกล้าระยะก้านไม้ขีดหมดนั้น อาจเป็นทรายล้วนก็ได้
ที่มา:อนันต์  อิสระเสนีย์