การเพาะเลี้ยงปลาสวาย

ปลาสวายเป็นปลาน้ำจืดประเภทไม่มีเกล็ดเช่นเดียวกับปลาเทโพ เทพา และสังกะวาด เป็นปลา ที่มีขนาดใหญ่มากรองจากปลาบึก ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 150 ซม. ปลาชนิดนี้มีพบในแถบประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย

ปลาสวายมีชื่อสามัญหรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Stripped Catfish มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius ru.chi Fowler เป็นปลาที่มีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศชนิดหนึ่ง เริ่มจากทำให้ราษฎรมีอาชีพ รวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ส่งขายต่อให้ผู้เลี้ยงปลา ในเขตจังหวัดอุทัยธานี อยุธยา และกรุงเทพฯ ประมาณปี 2492 เป็นต้นมา ต่อมาได้มีการผสมเทียมในการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้สำเร็จในปี 2509 และหลังจากนั้น 3 ปี การเพาะพันธุ์และการอนุบาลก็ประสบความสำเร็จพอดำเนินเป็นการค้าได้ นอกจากนี้ได้มีอาชีพเลี้ยงลูกปลาขนาดเล็กเพื่อส่งขายต่างประเทศแบบลูกปลาสวายสวยงามได้ด้วย

ในการเลี้ยงปลาเป็นอาชีพ ปลาชนิดนี้เป็นปลาชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงอย่างกว้างขวาง เลี้ยงได้ทั้งในบ่อ ในกระชัง และเลี้ยงได้ทั้งชนิดเดียว หรือเลี้ยงรวมกันกับปลาชนิดอื่น เช่น ปลาตะเพียน ปลานิล ฯลฯ เพราะปลาสวายเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว และไม่ค่อยมีโรคพยาธิเบียดเบียนเช่นปลาอื่นๆ นอกจากนั้นยังเป็นปลาที่กินอาหารได้เกือบทุกชนิด แม้เศษอาหารจากร้านค้า ครัวเรือน หรือมูลสัตว์ เช่น มูลไก่ มูลสุกร ฯลฯ ก็ใช้เป็นอาหารปลาสวายได้เป็นอย่างดี

แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย

ปลาสวายมีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดียและพม่า ต่อมาได้แพร่เข้ามาในประเทศอินโดนีเซีย และไทย สำหรับประเทศไทย ปลาสวายมีแหล่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน ป่าสัก และแม่น้ำโขง รวมทั้งคลอง หนองบึง อันเป็นสาขาของแม่น้ำดังกล่าว เช่น ในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร พบว่าปลาสวายชอบอาศัยอยู่บแวณที่เป็นอ่าว น้ำนิ่ง และมีผักตบชวา หรือแพสนุ่นขึ้นหนาแน่น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่เคยมีรายงานหรือบันทึกการพบปลาสวายในแม่น้ำสายสำคัญอื่นๆ เช่น แม่น้ำแม่กลอง และบางปะกง ตลอดจนแม่น้ำในแถบทางภาคใต้ของประเทศไทย

ได้มีการพบลูกปลาสวายว่ายรวมกันเป็นฝูงๆ ในแม่น้ำเจ้าพระยาและตามลำน้ำในจังหวัดภาคกลางของประเทศไทย ตั้งแต่กรุงเทพฯ จนถึงจังหวัดนครสวรรค์ ประมาณเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ซึ่งเป็นฤดูฝน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ แถบปากคลองเทเวศน์ก่อนปี 2500 มีรายงานว่าลูกปลาสวายจากประเทศไทยถูกนำเข้าไปในไต้หวันเมื่อปี 2513 โดยเลี้ยงไว้ที่บ่อ Tunkang, Chupei & U-Shan-Ton Station

รูปร่างลักษณะ

ปลาสวายมีรูปร่างค่อนข้างเรียวยาว หัวค่อนข้างกว้าง แต่ไม่แบนมากนัก ปากอยู่ต่ำ กว้างทู่ มีตาขนาดเล็ก มีหนวด 2 คู่คือ หนวดขากรรไกรบน 1 คู่ และหนวดขากรรไกรล่าง 1 คู่ ซึ่งหนวดคู่แรกมีความยาวกว่าหนวดคู่ที่ 2 เส้นข้างตัวมีลักษณะเป็นเส้นสมบูรณ์ ส่วนสัดของลำตัวที่สำคัญๆ คือ ความยาวสุดของลำตัวประมาณ 4 เท่าครึ่งของความยาวส่วนหัว ส่วนความยาวมาตรฐานลำตัวยาวประมาณเกือบ 4 เท่าครึ่งของความกว้างลำตัว ครีบหลังมีก้านแข็ง 1 ก้าน มีลักษณะฟันเลื่อย และมีก้านแขนง 6 ก้าน มีครีบไขมัน ขนาดเล็กอยู่ระหว่างครีบหลังและครีบหาง ครีบก้นมีก้านแข็ง 4 ก้าน และก้านแขนง 30-32 ก้าน ครีบหูมี ก้านแข็ง 1 ก้าน และก้านแขนง 8 ก้าน ลักษณะภายในที่สำคัญ มีซี่เหงือก 20 ซี่ มีฟันซี่เล็กๆ เรียงเป็นแถว บนขากรรไกรบนทั้ง 2 คู่ มีฟันบนเพดานเรียงเป็น 2 แถว ปลาสวายที่แก่เต็มวัยจะมีลำตัวสีเทาดำบริเวณด้านหลัง และมีสีขาวบริเวณตั้งแต่ด้านข้างของลำตัว จากส่วนหน้าถึงโคนหางขนานไปกับเส้นข้างตัวทั้งด้านบนและด้านล่าง ทำให้แลดูสวยงามมาก

อนึ่ง ลูกปลาสวายขนาดเล็กมีลักษณะต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันมากับลูกปลาเทโพและสังกะวาด ทำให้ยากแก่การจำแนก และเป็นปัญหาต่อผู้ที่มีอาชีพรวบรวมลูกปลาสวายจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ถึงอย่างไรก็ดีจากผลการศึกษาและค้นคว้าพอสรุปข้อแตกต่างของลูกปลาทั้ง 3 ชนิดได้ ดังตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงความแตกต่างระหว่างลูกปลาสวาย เทโพ และลูกปลาสังกะวาด

ลักษณะที่แตกต่าง ลูกปลาสวาย ลูกปลาเทโพ ลูกปลาสังกะวาด
1. อัตราส่วนระหว่างความกว้างต่อความยาวของส่วนหัว 1:7.9-8.1 1:6.7-7.2 1:7.3-7.4
2. แนวส่วนหลัง แนวส่วนหน้าและส่วนหลังของครีบหลัง อยู่แนวโค้งอันเดียวกัน อยู่ในแนวเดียวกัน ไม่อยู่ในแนวโค้งเดียวกัน
3. ก้านอ่อนของครีบท้อง 8-9 ก้าน 6 ก้าน 6 ก้าน
4. รอยผ่าของปาก มุมกว้าง มุมกว้างกว่าสวายเล็กน้อย มุมแคบกว่าสวายและเทโพมาก
5. ซี่เหงือก มากกว่า 12 ซี่ มีลักษณะเป็นซี่เหงือกของปลากินเนื้ออย่างเด่นชัด มากกว่า 12 ซี่
6. สีของครีบหลังและครีบอก สีดำจางพอสังเกตได้ สีดำเข้มชัดเจน ไม่มีสี
7. สีครีบหาง สีดำจางๆ สีดำเข้ม ไม่มีสี
8. การผุดขึ้นที่ผิวน้ำ ผุดขึ้นเร็วและสบัดหางจนน้ำกระเด็น ผุดขึ้นเร็วและสบัดหางค่อนข้างเร็ว ผุดขึ้นช้าๆ และไม่สบัดหาง
9. การรวมฝูงและว่ายน้ำ ไปเป็นฝูงเดียวหรือรวมกับปลาเทโพ ไปเป็นฝูงหรือรวมกับลูกปลาสวาย ไปฝูงเดียวไม่รวมกับปลาชนิดอื่น

หมายเหตุ จากลักษณะที่แตกต่างดังกล่าวข้างต้น ผู้มีอาชีพรวบรวมลูกปลาสวายสามารถใช้ลักษณะที่แตกต่างที่สำคัญเป็นหลักในการสังเกตได้ 3 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 2, 6 และ 8

ลักษณะเพศ

ความแตกต่างระหว่างเพศผู้และเพศเมียของสวายนั้น จะสังเกตได้ยากจากปลาที่โตไม่เต็มวัย แต่พอถึงฤดูวางไข่และผสมพันธุ์ทั้งปลาเพศเมียและเพศผู้จะมีลักษณะภายนอกที่เห็นเด่นชัด คือ

ปลาเพศเมีย จะมี

ส่วนท้องพองเป่ง กลมนูน พื้นท้องนิ่มมาก ลักษณะช่องเพศเป็นรูปวงรีกว้างใหญ่กว่าตัวผู้ นอกจากนั้นช่องเพศยังพองเป่ง และมีสีแดงเข้ม ลำตัวจะมีสีขาวเงินสวยงาม พอถึงเวลาที่ปลาเพศเมียมีไข่สุกเต็มที่พร้อมที่จะวางไข่ มีลักษณะสังเกตได้ง่าย

-มองเห็นเม็ดไข่สีเหลืองไหลออกมาจากช่องเพศในทันทีที่จับปลาขึ้นมาพ้นน้ำ

-เมื่อจับโคนหางงอพับมาทางด้านหน้า ไข่ที่สุกแล้วจะไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง

ปลาเพศผู้ จะมีท้องเรียบกว่าและไม่นูนเหมือนปลาตัวเมีย พื้นท้องแข็งกว่าช่องเพศเป็นรูปรีเช่นเดียวกันแต่แคบและเล็กกว่า สีแดงอ่อน และมีส่วนของอวัยวะเพศยื่นยาวออกมา ปลาตัวผู้ที่มีน้ำเชื้อสมบูรณ์ และแก่เต็มที่ เมื่อใช้มือบีบที่บริเวณช่องเพศเบาๆ จะเห็นน้ำเชื้อสีขาวข้นไหลออกเห็นได้ชัด

อุปนิสัยและคุณสมบัติบางประการ

นิสัยเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของปลาสวายนั้น เป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ได้ทั้งแม่น้ำลำคลอง ที่มีการถ่ายเทน้ำได้ดี แต่ปลาชนิดนี้จะสามารถปรับตัวของมันเองให้อยู่ในหนองที่มีน้ำนิ่งเช่นกัน แต่บริเวณที่มันอาศัยมักจะเป็นแอ่งน้ำที่กว้างและลึกพอประมาณ เรามักจะพบอยู่เสมอว่า บริเวณหน้าวัดซึ่งจะเป็นแม่น้ำ หรือลำคลองจะพบว่าปลาสวายอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดีหากไม่มีผู้รบกวน เป็นปลาที่ฉลาด สามารถหลบหลีกจากการจับด้วยเครื่องมือต่างๆ ได้ดี

เมื่อถึงฤดูฝนหรือฤดูน้ำแดงไหลหลาก ปลาสวายที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำไม่ว่าจะเป็นในแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง จะเคลื่อนย้ายออกหากินในบริเวณน้ำท่วมถึงเพื่อหาอาหารที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของถุงน้ำเชื้อและรังไข่ของพ่อแม่ปลาให้สมบูรณ์ก่อนที่จะมีการผสมพันธุ์และวางไข่ใน ระยะต่อมา

อาหารและนิสัยการกินอาหาร

ปลาสวายเป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่โดยทั่วไปแล้วปลาจะชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากกว่า ทั้งนี้จะไม่เลือกว่าสัตว์มีชีวิตหรือตาย ในการเลี้ยงปลาสวายไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงในบ่อหรือในกระชัง ผู้เลี้ยงมักนิยมให้อาหารประเภทเศษอาหารจากครัวเรือน หรืออาหารที่หาได้ด้วยราคาถูกที่สุดซึ่ง ได้แก่ ปลายข้าวต้มผสมรำและผักสดผสมกัน ปลาก็จะเจริญได้ดี แต่ถ้าเป็นการเลี้ยงเพื่อทำพ่อแม่พันธุ์แล้ว มีความจำเป็นจะต้องผสมปลาสดซึ่งอาจเป็นปลาเป็ดสับหรือปลาป่นลงในส่วนผสมของอาหารจึงจะได้ผลดี ตามธรรมชาติปลาชนิดนี้มีนิสัยการกินอาหารกับพื้นน้ำหรือก้นบ่อ แต่ก็พบว่าสามารถกินอาหารบนผิวน้ำได้ดีเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากบริเวณสวนสัตว์ดุสิตและหน้าวัดต่างๆ ซึ่งมีประชาชนได้ซื้อขนมปังโยนลงไป เพื่อดูนิสัยการกินอาหารของปลาสวายอย่างสนุกสนาน

จากผลการวเคราะห์อาหารที่พบในกระเพาะและลำไส้ของปลาสวาย ที่สถานประมงน้ำจืดจังหวัดนครสวรรค์  พอจะสรุปได้ว่าในกระเพาะปลาสวายพบสัตว์ 73% พืชและอาหารอื่นๆ อีก 27% ในลำไส้พบสัตว์ 25.9% พืชและอาหารอื่นๆ อก 74.1% นอกจากนั้นยังได้มีข้อสังเกตของนักวิชาการของสถานประมงนํ้าจืดจังหวัดเชียงใหม่ว่า ปลาสวายที่รวบรวมได้จากในลำนํ้าปิง บริเวณอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายน ซึ่งเป็นฤดูปลาสวายมีการอพยพเคลื่อนย้ายเพื่อการวางไข่แพร่พันธุ์นั้น ได้พบว่า ปลาส่วนใหญ่ไม่มีอาหารอยู่ในกระเพาะเลย ถึงแม้ว่าจะเป็นปลาที่จับได้ใหม่ๆ ก็ตาม

การผสมพันธุ์และการวางไข่

อัตราส่วนเพศ ในฤดูผสมพันธุ์ของปลาสวายตามธรรมชาตินั้นพบว่า มีอัตราส่วนของเพศเมีย มากกว่าตัวเพศผู้ 1.5-2.6 : 1

-จากการรวบรวมพันธุ์ปลาสวายในบึงบอระเพ็ด เพื่อทดลองเพาะแบบผสมเทียม ปี 2509 พบว่ามีปลาตัวเมีย 30 ตัว ตัวผู้ 21 ตัว คิดเป็นอัตราส่วน 1.5 :1

-จากการรวบรวมปลาสวายในฤดูวางไข่ในลำน้ำปิง บริเวณอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปี 2522 พบว่า ระยะที่ปลาสวายวางไข่ ปลาจะอพยพมาเป็นฝูง และพบว่ามีเพศเมียมากกว่าเพศผู้ อัตรา 2 : 1 หรือมากกว่านั้น

-จากการพบปลาสวายในท้องตลาด 2 แห่งคือ จากตลาดบ้านวังลุง และบ้านทุ่งหมากหนุ่ม ซึ่งเป็นปลาที่จับได้จากลำน้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ รวม 161 ตัว เป็นเพศเมีย 111 ตัว ขนาด 4.4-6.3 กก. และเพศผู้ขนาด 4. 6-5.0 กก. ในอัตราส่วนเพศเฉลี่ย 2.2 : 1

ฤดูวางไข่ ปลาสวายเป็นปลาที่วางไข่ในช่วงฤดูฝนเช่นเดียวกับปลาทั่วๆ ไปคือ ระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน ทั้งนี้ขึ้นกับอิทธิพลของฤดูมรสุมหรือฝนแต่ละปีในแต่ละภาคของประเทศ เป็นต้นว่า

-ปลาสวายในแม่น้ำโขงจะวางไข่เร็วกว่าปลาสวายภาคอื่นคือ เริ่มวางไข่แต่ปลายเดือนมีนาคม หรือต้นเดือนเมษายนเป็นต้นไป

-ปลาสวายทางภาคกลาง บริเวณอ่างทอง ชัยนาท อุทัยธานี และนครสวรรค์ จะวางไข่ประมาณ ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป

-ปลาสวายในแม่น้ำปิง บริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลจะวางไข่ล่าที่สุด คือประมาณหลังเดือนกรกฎาคม หรือสิงหาคม

ถ้าหากจะพิจารณาถึงเรื่องฤดูกาลวางไข่ ควรจะตั้งข้อสังเกตถึงเรื่องความสัมพันธ์ของน้ำใหม่(ในฤดูฝน) ระดับน้ำ และอุณหภูมิ ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญประกอบที่ทำให้ปลาสวายวางไข่ช้าหรือเร็ว

นิสัยการวางไข่ ปลาสวายเป็นปลาที่วางไข่ในแหล่งน้ำไหล แต่ถ้ามีบ้างที่เข้าไปวางไข่ตามบริเวณหนองน้ำธรรมชาติที่มีกระแสน้ำไหลอ่อน ในการผสมพันธุ์ปลาเพศผู้จะฉีดนํ้าเชื้อเข้าผสมไข่แบบผสมภายนอก โดยทั่วไปเมื่อถึงฤดูวางไข่แต่ละปี ปลาสวายจะมีการอพยพทวนกระแสน้ำขึ้นไปเป็นฝูง เพื่อหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่ เช่น ในแหล่งที่ไม่มีกระแสน้ำแรงนัก ไข่จะถูกวางติดไว้กับพืชพันธุ์ไม้น้ำ หรือๆ บนพื้นท้องนํ้า แต่ถ้าเป็นแหล่งน้ำไหล เช่น ในแม่น้ำปิง แม่น้ำโขง ปลาสวายจะวางไขไป ตลอดบริเวณชายหาด โดยเมือกไข่จะถูกชะล้างออกจนหมด เหลือแต่เม็ดไข่กลิ้งไปตามกระแสน้ำบนพื้นทราย จนกว่าจะฟักออกเป็นตัว จากการสำรวจแหล่งวางไข่ของปลาสวายในแม่น้ำปิง บริเวณอำเภอจอมทองพบว่า ปลาสวายจะมาผสมพันธุ์วางไข่กันเป็นประจำทุกปี บริเวณชายหาดบ้านวังสะแก อำเภอจอมทอง ซึ่งเป็นบริเวณที่ลำน้ำนี้มาบรรจบกันกับแม่น้ำปิง ปลาสวายจะมาผสมพันธุ์และวางไข่ขณะที่น้ำจากแม่น้ำทั้งสองหลากมาพบกันจนท่วมบริเวณชายหาดดังกล่าว

ความดกของไข่ แม่พันธุ์ปลาสวายแต่ละตัวจะมีไข่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดอายุ และความสมบูรณ์ของปลาเป็นสำคัญ เช่น แม่ปลาที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี ก็ให้ไข่น้อยกว่าแม่ปลาที่มีอายุระหว่าง 2-5ปี ได้เคยพบว่า ปลาสวายอายุ 5 ปี ขนาดความยาว 86.36 ซม. หนัก 9.3 กก.มีรังไข่หนัก 170 กรัม จำนวนไข่ นับและคำนวณได้ 440,402 ฟอง และจากการนับและคำนวณปริมาณไข่ของปลาสวายที่ทำการทดลองเพาะ โดยวิธีผสมเทียมที่สถานีประมงน้ำจืด (บึงบอระเพ็ด) จังหวัดนครสวรรค์ ปี 2509 พบว่า แม่ปลาที่มีน้ำหนัก ระหว่าง 1.5-8 กก. จะสามารถให้ไข่ได้ระหว่าง 150,000-2,000,000 ฟอง ดังได้แสดงไว้ตามตารางข้างล่างนี้

ตารางแสดงความดกของไข่ปลาสวาย ความยาวสุด น้ำหนัก และจำนวนไข่

แม่ปลาตัวที่ ขนาดของแม่ปลา น้ำหนักรังไข่(กรัม จำนวนไข่(ฟอง) หมายเหตุ
ความยาวสุด(ซม.) น้ำหนัก(กรัม)
1 54.0 1,600 148 179,340 จำนวนไข่ได้จากการนับและคำนวณ
2 69.5 2,900 231 412,496  
3 78.0 6,300 171 256,500  
4 85.0 7,000 223 334,500  
5 87.0 8,500 1750 257,5000  
เฉลี่ย 74.7 5,260 504.6 831,567  

ลักษณะของไข่ ไข่ปลาสวายมีลักษณะกลม ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0 – 1.2 มม. เป็นไข่จม ไข่ที่แก่จัดจะมีสีเหลืองใส มีความเป็นประกายตามผิวของเม็ดไข่ เปลือกไข่ค่อนข้างหนาไม่พองน้ำ I แต่เมื่อสัมผัสกับน้ำจะมีเมือกเหนียวๆ ปกคลุมเม็ดไข่ ซึ่งเมือกนี้เองจะเป็นตัวเกาะติดกับวัสดุในน้ำขณะ ปลาวางไข่

การฟักไข่ ไข่ปลาสวายที่ได้รับการผสมแล้วจะมีการวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว ถ้าอุณหภูมิของน้ำอยู่ในระหว่าง 27-29∘ซ. ไข่จะสามารถฟักออกเป็นตัวได้ภายใน 24 ชั่วโมง

อายุและการเจริญเติบโต

ลูกปลาวัยอ่อน ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆ จะมีขนาดความยาวประมาณ 3 มม.มีลักษณะใส และโปร่งแสง และยังไม่ว่ายน้ำ คงพักตัวอยู่เฉยๆ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง จนลูกปลาแข็งแรงขึ้นแล้วจึงเริ่มเคลื่อนไหว โดยว่ายน้ำขึ้นลงในทางดิ่ง ซึ่งจะว่ายน้ำขึ้นลงอยู่อย่างนี้เป็นเวลาประมาณ 3 วัน

-เมื่อลูกปลาอายุได้ประมาณ 6 ชั่วโมง จะเริ่มมีจุดสีเกิดขึ้นที่บริเวณรอบถุงไข่แดง

-เมื่ออายุประมาณ 12 ชั่วโมง จะเริ่มมีจุดสีที่ตา

-อายุประมาณ 22 ชั่วโมง จะเริ่มมีหนวดให้เห็น ซึ่งจะเจริญยาวขึ้นอย่างรวดเร็ว

-เมออายุ 1 วันครึ่ง ช่องปากจะเริ่มอ้า และเริ่มกินกันเอง

-เมื่ออายุได้ 3 วัน ถุงไข่แดงจะยุบหมด ฟันเจริญขึ้นจนเห็นชัดเป็นซี่เล็กๆ

ลูกอ่อนปลาสวาย เป็นลูกปลาที่ค่อนข้างแปลกกว่าลูกปลาชนิดอื่นตรงที่ว่าลูกปลาจะกินอาหาร และกินกันเองตั้งแต่ปากเริ่มอ้า และถุงไข่แดงยังยุบไม่หมด ลูกปลาที่มีอายุตั้งแต่ 3 วันนี้ เริ่มว่ายน้ำไปมาในทางราบได้ ลูกปลาสวายจะเจริญและมีอวัยวะครบถ้วน เช่นเดียวกับปลาเต็มวัยเมื่อมีอายุได้ 14 วัน

ลูกปลาวัยรุ่นและโตเต็มวัย ข้อมูลเกี่ยวกับอายุและการเจริญเติบโตของปลาสวายในแหล่งน้ำธรรมชาติ มีน้อยมาก จากรายงานต่างๆ ที่พอจะเชื่อถือได้กล่าวถึงลูกปลาสวายที่ชาวบ้านรวบรวมเพื่อขายในแถบคลองเกรียงไกร จังหวัดนครสวรรค์ และแถบแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานีนั้น เป็นลูกปลาขนาด 5-12 ซม. ซึ่งมีอายุประมาณ 3-6 เดือน

นอกจากนั้นได้มีรายงานเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของปลาสวายขนาดยาวเฉลี่ย 23.6 ซม.หนัก 50.6 กรัม จะมีขนาดเพิ่มขึ้นเป็น 47.5 ซม. หนัก 1,150 กรัม ในระยะเวลา 1 ปี นอกจากนั้นได้มีผู้นำเอาปลาสวาย มีอายุ 5-6 ปี ขนาดเพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 3 กก. และปลาเพศเมียขนาด 4.5 กก.มาทดลองเพาะพันธุ์

ได้มีรายงานพอสรุปได้ว่าปลาสวายที่เลี้ยงในบ่อและมีการให้อาหารจะมีขนาด 1-2 กก.ในปีแรก และเพิ่มเป็น 3-4 กก.ในปีที่สอง ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณความหนาแน่นของปลาในบ่อ ควรให้อาหารและการดูแลเป็นสำคัญ

การเพาะพันธุ์

ประวัติการเพาะพันธุ์ปลาสวายในประเทศไทย

เนื่องมาจากการเลี้ยงปลาสวายในสมัยก่อนต้องหาพันธุ์ปลาหรือลูกปลาที่เกิดจากธรรมชาติเท่านั้น ทั้งนี้มีแหล่งรวบรวมลูกปลาที่มากที่สุดอยู่แถบคลองเกรียงไกร อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี โดยใช้เครื่องมือพวกช้อนและไซมานจับ นอกจากนั้นก็มีแหล่งเล็กๆ น้อยๆ อยู่ทั่วไปแถบภาคกลางในลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาและสาขาทั่วไป แต่ในระยะประมาณปี 2495 เป็นต้นมา ความต้องการลูกปลาสวายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกินกว่าที่จะรวบรวมได้จากธรรมชาติ กรมประมงจึงได้เร่งหาวิธีที่จะผลิตลูกปลาสวายโดยการเพาะพันธุ์ เพื่อสนองความต้องการของผู้ประกอบอาชีพการเลี้ยงปลา ซึ่งใน ปี 2509 กรมประมงได้ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกของประวัติการเพาะปลาสวายโดยการฉีดฮอร์โมนเร่งให้ปลาวางไข่และผสมเทียม ยังผลให้วิธีการผสมเทียมปลาสวายนี้แพร่หลายไปถึงเกษตรกรจนเท่าทุกวันนี้

การทดลองที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกได้ดำเนินงานที่สถานีประมงนํ้าจืด (บึงบอระเพ็ด) จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2509 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ปลาสวายวางไข่ โดยคณะนักวิชาการของกองประมงน้ำจืด (กองบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำในสมัยนั้น) และมีนายอารีย์ สิทธิมังค์ เป็นหัวหน้าคณะ ใช้ปลาสวายที่รวบรวมได้จากบึงบอระเพ็ดจำนวน 15 ตัว เป็นพ่อแม่พันธุ์ เป็นเพศผู้ 21 ตัว และเพศเมีย 30 ตัว เพศผู้ที่คัดมาทดลองมีขนาด 70-86 ซม.น้ำหนัก 4,000-7,800 กรัม ส่วนเพศเมียมีขนาด 64-104 ซม.น้ำหนัก 2,600-16,000 กรัม

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์

การเลี้ยงปลาสวายเพื่อคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ไปใช้ในการเพาะพันธุ์นั้นมีความจำเป็นมาก เพราะถ้าได้พ่อแม่พันธุ์ดีมีคุณภาพก็หมายถึงว่าจะได้ปริมาณลูกปลาที่มีคุณภาพดีรอดจำนวนมากไปด้วย ปัจจุบันการเลี้ยงปลาสวายเพื่อทำเป็นพ่อแม่พันธุ์มักนิยมเลี้ยงในกระชัง เพราะได้ผลดีแน่นอนกว่า การเอาใจใส่ดูแลก็ง่ายกว่า แต่ก็ยังมีอยู่เป็นจำนวนมากที่มีผู้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในบ่อ ถ้าเลี้ยงในกระชังจะปล่อยปลาในอัตรา 3 ตัว/ม.2แต่ถ้าเลี้ยงในบ่อจะปล่อย 1 ตัว/5-8 ม.2 โดยการปล่อยปลาตั้งแต่ขนาด1 กก.ขึ้นไป

ในระยะก่อนถึงฤดูเพาะฟักประมาณ 3-4 เดือน ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จำเป็นต้องเพิ่มส่วนผสมของอาหารปลา โดยใช้อาหารพวกโปรตีนเพิ่มขึ้น ส่วนมากมักจะเพิ่มปลาเป็ด ปลาสดลงในส่วนผสมของอาหาร เช่น ปลาเป็ด หรือปลาสด 3 ส่วน รำละเอียด 2 ส่วน หรือจะให้เฉพาะปลาบดนั้นเป็นก้อนก็ได้ ในการให้อาหารควรให้ประมาณ 3% ของน้ำหนักปลา

กรณีที่เลี้ยงพ่อแม่ปลาในบ่อจำเป็นจะต้องเพิ่มเติมน้ำในบ่อเป็นประจำ เพื่อชดเชยปริมาณน้ำหนักที่ระเหยและซึมออกไป

พ่อแม่พันธุ์ปลาจะเริ่มมีไข่แก่ และน้ำเชื้อดตั้งแต่เดือนเมษายนถึงตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูกาลตามธรรมชาติที่ปลาจะวางไข่ จึงเป็นช่วงเวลาที่จะเตรียมการเพาะโดยวิธีผสมเทียมได้

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์

หลังจากที่เลี้ยงพ่อแม่ปลาให้สมบูรณ์เต็มที่ เพื่อเตรียมการผสมเทียมในฤดูผสมพันธุ์ และวางไขนั้น จะต้องคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

พ่อพันธุ์ มีลักษณะท้องเรียบ ไม่นูน พื้นท้องแข็งกว่าตัวเมีย ลักษณะช่องเพศเป็นรูปวงรีแคบ ขนาดเล็ก สีแดงอ่อน และเมื่อใช้บีบตรงบริเวณช่องเพศเหนือรูก้นเบาๆ จะมีน้ำเชื้อสีขาวไหลออกมา

แม่พันธุ์ มีส่วนท้องอูมเป่ง กลม นูน พื้นท้องนิ่มมาก ลักษณะช่องเพศเป็นรูปวงรีกว้างใหญ่กว่าตัวผู้ มีสีชมพู ถ้าไข่สุกเต็มที่ เมื่อจับปลาขึ้นมาจากน้ำแล้วตรวจดูช่องเพศ จะเห็นเม็ดไข่สีเหลืองไหลออกจากช่องเพศ ในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะสังเกตได้จากลักษณะภายนอกของปลาคือ ปลาตัวเมียจะมีส่วนท้องขาวเงิน วิธีทดสอบอีกวิธีหนึ่งคือ ใช้ท่อยางขนาดเล็กสอดเข้าไปในอวัยวะเพศของตัวเมีย แล้วดูดไข่ออกมาใส่ในชามแก้วส่องดูด้วยตา ไข่ที่ดีจะมีสีเหลืองอ่อน กลมใส

ขนาดของพ่อแม่ปลาที่จะใช้ในการรีดไข่ และรีดน้ำเชื้อผสมเทียมนั้นควรจะเป็นปลาขนาด 3-4 กก.อายุประมาณ 2-5 ปี เป็นขนาดดีที่สุด เพราะสะดวกในการรีดไข่ และน้ำเชื้อไม่บอบช้ำมาก อันมีผลกระทบถึงเปอร์เซ็นต์ที่ฟักออกและรอดตายมากขึ้น

พ่อแม่ปลาที่คัดเลือกแล้วให้นำมาขังในเปลอวน ซึ่งมีน้ำพ่นให้อากาศอยู่ตลอดเวลา

การผสมเทียม

ในการเพาะพันธุ์ปลาสวายในปัจจุบัน ใช้การเพาะพันธุ์โดยวิธีผสมเทียมแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น วิธีผสมเทียมปลามีขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ชนิดและการใช้ฮอร์โมน ฮอร์โมนที่ใช้ในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 2 ชนิดผสมกัน คือ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง และฮอร์โมนสกัดหรือที่เรียกกันว่า HCG แต่ก็ได้มีบางคนยังคงใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้ สมองเพียงอย่างเดียวอยู่

ฮอร์โมนที่ได้จากต่อมใต้สมองนั้น ได้มาจากต่อมใต้สมองของปลาสวายเอง หรือต่อมใต้สมองของปลาไนหรือปลาจีน เช่น ปลาลิ่น ปลาซ่ง ฯลฯ

ปริมาณฮอร์โมนที่ใช้กับปลาเพศเมียนั้น ถ้าหากเป็นการใช้ฮอร์โมน 2 ชนิด ก็ใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง 0.7-1.0 โดส ผสมกับฮอร์โมนสกัด 100-300 IU ฉีดในเข็มแรก ส่วนเข็มที่ 2 ห่างจาก เข็มแรก 6-8 ชั่วโมง ใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง 2.0-4.0 โดส ผสมกับฮอร์โมนสกัด 300-900 IU หลังจากนั้น 6-8 ชั่วโมง ก็จะทำการรีดไข่และผสมน้ำเชื้อของเพศผู้ได้ การใช้ฮอร์โมนผสมนี้มักจะได้ผลสูงกว่าการใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองเพียงอย่างเดียว

ถ้าหากเป็นการใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองเพียงอย่างเดียว ใช้ฉีดครั้งแรกเพียง 1 โดส แล้วทิ้งระยะไว้ 8-12 ชั่วโมง จึงฉีดเข็มที่ 2 ซึ่งใช้ 3-4 โดส หลังจากนั้นประมาณ 10 ชั่วโมง จึงควรทำการ รีดไข่ได้

สำหรับปลาเพศผู้หรือพ่อพันธุ์นั้นให้ตรวจดูความสมบูรณ์ของน้ำเชื้อก่อน หากมีมากพอหรือสมบูรณ์พอก็ไม่จำเป็นจะต้องฉีดฮอร์โมน แต่ถ้าหากว่ามีน้อยก็ควรฉีดฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองเพียง 0.5โดส ก่อนการฉีดฮอร์โมนตัวเมียครั้งที่ 2 ทั้งนี้เพื่อเป็นการเร่งให้ปลาเพศผู้มีน้ำเชื้อแก่จัด ทันเวลากับตัวเมียไข่แก่เต็มที่เช่นกัน ทั้งนี้ฉีดครั้งเดียวก็พอ

ในกรณีที่แม่ปลาที่ได้มาจากธรรมชาติในฤดูวางไข่ ซึ่งมักจะมีไข่แก่โดยปกติจะฉีด ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองเพียง 1 โดสเพียงครั้งเดียว และทิ้งไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง ก็สามารถรดไข่ออกมา ผสมได้เช่นกัน

2. ตำแหน่งที่ฉีดฮอร์โมนนั้น ให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อของปลา ตำแหน่งที่นิยมฉีดคือ กล้ามเนื้อเหนือเส้นข้างตัว ใต้ครีบหลังหรือตำแหน่งครีบหู

3. การตรวจสอบก่อนการรีดไข่

หลังจากฉีดฮอร์โมนเข็มที่สองไปแล้วประมาณ 8 ชั่วโมง ควรที่จะไต้ทำการตรวจสอบ แม่ปลาว่าพร้อมที่จะรีดไข่ได้หรือยัง โดยการจับแม่ปลาขึ้นมาแล้วเอามือแตะหรือบีบเบาๆ ที่บริเวณท้อง

ถ้าแม่ปลาพร้อมที่จะรีดไข่ได้จะเห็นมีไข่สีเหลืองไหลออกมาจากความชำนาญหรือประสบการณ์บางครั้งไม่จำเป็นจะต้องเอามือแตะหรือกด เพียงแต่จับปลาดูก็พอทราบว่าพร้อมที่จะรีดได้หรือไม่โดยสังเกตดูก็รู้ เพราะว่าปลาที่พร้อมจะรีดไข่ได้จะสั่นหรือเกร็งคล้ายกับจะบอกว่า “เต็มที่แล้ว”

4. การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ

เมื่อตรวจดูแม่-พ่อปลาที่พร้อมที่จะรีดไข่ และมีน้ำเชื้อสมบูรณ์แล้วให้จับแม่พันธุ์ขึ้นมาแล้วเอาผ้าเช็ดตัวให้แห้ง เพื่อลดเมือกลื่นของตัวปลาและสะดวกในการจับถือตอนรีดไข่ และไม่ให้น้ำที่ติดค้างตัวปลาหยดลงไปทำความสกปรกให้แก่ไข่และน้ำเชื้อให้จับส่วนหัวของปลายกสูงขึ้น และให้ส่วนท้องคว่ำลง จับให้กระชับลำตัวของผู้รีด แล้วใช้มือรีดไล่จากส่วนบนของตัวปลาด้านท้องลงมาทางส่วนหาง ไข่จะไหลออกสู่ภาชนะที่รองรับ จากนั้นก็จับพ่อพันธุ์มาเช็ดและรีดน้ำเชื้อแบบรีดไข่ของตัวเมีย ให้รีดน้ำเชื้อ ลงผสมกับไข่ของตัวเมีย แล้วใช้ขนไก่คนประมาณ 1-2 นาที เติมน้ำลงไปนิดหน่อยแล้วคนต่อไปอีก เนื่องจากไข่ปลาสวายเป็นไข่ติด จึงจำเป็นต้องคนไข่ที่ผสมน้ำเชื้อเพื่อให้มีการผสมที่ดี เพิ่มน้ำลงไปอีกให้มากกว่าคราวแรกเล็กน้อย แล้วคนอีก 2-3 นาที แล้วเทน้ำทิ้ง ทำอย่างนี้อีก 2-3 ครั้ง จึงนำไข่ที่ได้รับการผสมน้ำเชื้อดีแล้วไปทำการเพาะฟักต่อไป

การฟักไข่ปลา

ในการฟักไข่ปลาสวายในปัจจุบันใช้ทำกัน 2 วิธี คือ

1. การฟักไข่ในกระชังอวนเปลโอล่อนแก้ว โดยการขึงกระชังในบ่อซีเมนต์ซึ่งมีน้ำสะอาด ที่มีคุณสมบัติพอที่จะใช้ในการเพาะฟักได้ แล้วนำไข่ปลาสวายที่ผสมน้ำเชื้อและล้างน้ำสะอาด แล้วไปเทลาดในกระชัง เนื่องจากไข่ปลาสวายเป็นไข่ติดและเพื่อให้ไข่ติดทุกด้านของกระชัง ให้ใช้มือตีหรือกวนน้ำในขณะที่สาดไข่ ไข่จะกระจายไปติดทุกด้านของกระชัง และปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 24-30 ชั่วโมง ไข่ที่ติดกับกระชังก็จะฟักออกเป็นตัว

2. เตรียมกระชังอวนเปลลงในบ่อซีเมนต์เหมือนข้อ 1 แต่ซ้อนเนื้อผ้ามุ้งเขียวซึ่งใช้ในการอนุบาลลูกปลา โดยการใช้เนื้อผ้ามุ้งนี้เย็บติดกับด้านในของกระชัง ให้เนื้อผ้ามุ้งขนานกับก้นหรือฟันล่างของอวนกระชังอยู่ใต้ระดับผิวน้ำซึ่งกระชังแขวนอยู่ประมาณ 15-20 ซม.

เอาไข่ที่ผสมน้ำเชื้อและล้างน้ำสะอาดแล้ว สาดลงบนเนื้อผ้ามุ้งให้ทั่ว แล้วปล่อยให้ไข่ฟักบนผ้าอวนมุ้งนี้ ลูกปลาที่ฟักออกจากไข่แล้วจะลงไปเกาะที่อวนเปล ส่วนไข่ที่เสียจะติดอยู่ที่ผ้ามุ้ง หลังจากฟักไข่ 24-30 ชั่วโมง ก็จะออกเป็นตัวหมด แล้วให้เอาผ้ามุ้งซึ่งมีไข่เสียติดออกจากกระชังได้ วิธีนี้ดีกว่าวิธีแรก เพราะมีการแยกเอาไข่เสียออกไป ทำให้ไม่เกิดน้ำเน่าเสียภายในบ่อ ซึ่งจะทำให้ลูกปลาวัยอ่อนในกระชังตายหรือเกิดโรคได้

ในการฟักไข่ปลาสวายในกระชังอวนและผ้ามุ้งทั้ง 2 แบบนี้ จะใช้เพาะฟักในน้ำนิ่งธรรมดาในบ่อซีเมนต์ หรือให้ใช้น้ำไหลเวียนเพียงเล็กน้อยก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่จำเป็นจะต้องใช้น้ำ ไหลเวียน และแม้กระทั่งการเพิ่มฟองอากาศในระยะฟักไข่ก็ไม่จำเป็น

การอนุบาลลูกปลา

หลังจากที่ไข่ฟักออกเป็นตัวหมดแล้ว ให้ย้ายลูกปลาวัยอ่อนออกจากอวนที่ใช้ฟักไข่ ลูกปลาที่เกิดใหม่จะยังไม่กินอาหาร ทั้งนี้เพราะยังใช้อาหารจากถุงไข่แดงที่อยู่ติดกับตัวปลา

การอนุบาลลูกปลามีหลายวิธี เช่น

1. อนุบาลในตู้กระจก

2. อนุบาลในอวนเปลที่แขวนลอยในบ่อ

3. อนุบาลในถังซีเมนต์กลม

4. อนุบาลในบ่อดิน

การเลือกใช้วิธีอนุบาลทั้ง 4 วิธีการนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสะดวกของผู้ทำการ จุดมุ่งหมายใหญ่ในการเลือกวิธีอนุบาลก็คือ เลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่งที่ให้ลูกปลามีอัตราการรอดมากที่สุดและเสียค่าใช้จ่าย ตลอดจนแรงงานน้อยที่สุด ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการอนุบาลได้แก่ เรื่องปริมาณและ คุณภาพของอาหาร และเรื่องที่ 2 ได้แก่น้ำ ซึ่งจำเป็นต้องถ่ายเทอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้อาหารตกค้างอันจะเป็นสาเหตุให้น้ำเน่าเสีย ซึ่งทำให้ปลาเป็นโรคและตายได้ภายหลังอาหารที่ให้นั้นได้แก่ พวกไข่แดงต้มบดให้ละเอียดสลับกับการให้ลูกไรแดง โดยเฉพาะลูกไรแดงนั้นลูกปลาสวายวัยอ่อนต้องการมาก การให้อาหาร จำพวกไข่แดงต้มบดนั้นมีหลักอยู่ว่า ให้แต่ละครั้งน้อยๆ แต่ให้บ่อยครั้ง หรือประมาณ 2    ชั่วโมง/ครั้ง

ในทางปฏิบัติให้ย้ายลูกปลาที่ฟักออกใหม่ๆ จากกระชังฟักไปเลี้ยงในกระชังอื่นก่อน เมื่อลูกปลาอายุครบ 1 วัน ถุงไข่แดงเริ่มยุบ จงเริ่มให้ไข่แดงต้มบดละเอียด และไรแดงดังได้กล่าวแล้วข้างต้น จังหวะนี้จึงเป็นจังหวะที่ควรปล่อยลงบ่ออนุบาลที่เตรียมไว้ เพราะถ้าขืนอนุบาลในกระชังต่อไปลูกปลาจะกินกันเอง

ในปัจจุบันการอนุบาล 3 วิธีแรกนั้น ไม่เป็นที่นิยมนัก เพราะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในทางการค้าหรือการอนุบาลลูกปลาเพื่อขายเป็นอาชีพแล้ว นิยมอนุบาลในบ่อดิน ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้คือ

1. ทำความสะอาดเพื่อเตรียมบ่อดินที่จะทำการอนุบาล เพื่อทำลายศัตรูปลา ใส่ปูนขาว และปุ๋ยคอก ตามวิธีการของกรมประมง

2. การเติมน้ำลงบ่อและปล่อยลูกปลา ทำได้ 2 แบบคือ

-เติมน้ำลงบ่อให้ได้ระดับประมาณ 20-30 ซม.ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงเพิ่มระดับนํ้าให้ได้ระดับ 70-100 ซม. แล้วจึงปล่อยลูกปลาวัยอ่อนที่เตรียมไว้ลงบ่อ แต่ก่อนจะปล่อยลูกปลาควรจำกัดแมลง โดยเฉพาะแมลงกรรเชียงในการกำจัดใช้น้ำมันโซลา 1 แกลลอน/บ่อ 1 ไร่ บางคนเอาน้ำสบู่หรือน้ำผงซักฟอกผสมลงไปเล็กน้อยเพื่อให้น้ำมันไม่จับตัวเป็นแพ สาดน้ำมันหรือน้ำมันโซลาผสมดังกล่าวให้ทั่วบ่อ ควรเป็นตอนกลางวันที่มีแสงแดด และเมื่อสังเกตเห็นว่าแมลงกรรเชียงถูกกำจัดหมดแล้ว แต่เหลือคราบน้ำมันอยู่บนผิวน้ำในบ่อ ก็ให้เอารำละเอียดหว่านสาดในบริเวณคราบน้ำมันเพื่อให้รำละเอียดจับกับคราบน้ำมัน เมื่อลอยไปติดชายบ่อด้านใด ก็ใช้สวิงหรือผ้าขาวบางตักขึ้น

-เติมน้ำลงบ่อในระดับ 20-30 ซม.ดังกล่าวแล้ว ก่อนปล่อยลูกปลา 1-2 วัน แล้วปล่อยลูกปลาลงไปเลย ขณะเดียวกันก็เพิ่มระดับน้ำลงขณะที่ปล่อยปลาลงบ่อเพื่อให้ลูกปลากระจายกันทั่วบ่อ ในการทำแบบนี้ไม่ต้องใช้น้ำมันโซลากำจัดแมลงกรรเชียง วิธีนี้ลูกไรน้ำที่เป็นอาหารปลาธรรมชาติในบ่ออาจเกิดไม่ทันในระยะแรก การให้อาหารส่วนใหญ่จึงเป็นไข่แดงต้มบดละเอียด และถ้าหาไรแดงจากที่อื่นมาให้ลูกปลาด้วยก็จะเป็นการช่วยให้ลูกปลาโตเร็ว และมีเปอร์เซ็นต์รอดมากอีกด้วย

3. การนำลูกปลาวัยอ่อนปล่อยลงในบ่อดินที่ใช้อนุบาลลูกปลา ใช้อัตรา 300-400 ตัว/ม.2

4. การให้ไข่แดงต้มบดละเอียดแล้วสาดทั่วบ่อ ให้ทำวันละหลายๆ ครั้ง และให้คอยสังเกตดูว่าเพียงพอหรือไม่

5. หลังจากนั้นประมาณ 5-7 วัน จะสังเกตเห็นว่าลูกปลาเริ่ม่ขึ้นสู่ผิวน้ำ ซึ่งระยะนี้จะต้องให้อาหารประเภทปลาบดในอัตรา 55-60 กก./ไร่ หรือต่อลูกปลาประมาณ 300,000 ตัว ในระยะแรกๆ แต่ในระยะต่อมาจึงค่อยๆ เพิ่มขึ้น โดยอาศัยการสังเกตในการกินอาหารของลูกปลา ระยะนี้ไม่จำเป็นต้องให้ไรแดงอีกต่อไป

ได้มีเอกชนรายหนึ่งได้เอากากเต้าหู้ (ที่เหลือจากการทำเต้าหู้) มาต้มกับน้ำไตปลาทู(เหงือกและเครื่องใน) ใช้เป็นอาหารของลูกปลาแทนปลาบด ส่วนไตปลาทูนั้นใช้สับให้กินสดๆ ทราบว่าให้ผลดีมากเช่นกัน

6. ด้วยวิธีการดังกล่าว ภายในระยะ 4-5 อาทิตย์ ลูกปลาจะมีขนาดยาว 2-5 ซม.

การเลี้ยง

ในการเลี้ยงปลาสวายประเภทเลี้ยงชนิดเดียวนั้น ปัจจุบันนี้มการเลี้ยงอยู่ 2 วิธีคือ เลี้ยงในบ่อดิน และเลี้ยงในกระชัง

การเลี้ยงในบ่อดิน

การเลี้ยงปลาสวายในบ่อทำกันมากในภาคกลาง โดยเฉพาะในเขตจังหวัดนครสวรรค์ลงมาถึงสุพรรณบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร แต่ข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยง การให้อาหาร ตลอดจนการเจริญเติบโตค่อนข้างจะแตกต่างกันมาก ทั้งนี้เป็นเพราะมีปัจจัยอยู่หลายอย่างที่ทำให้มีข้อแตกต่างดังกล่าว เช่น น้ำและคุณสมบัติของน้ำที่ใช้เลี้ยง อาหารที่ใช้เลี้ยง วิธีการเลี้ยง และการจัดการ ตลอดจนการเอาใจใส่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเลี้ยงทั้งนั้น

อย่างไรก็ตามในการเลี้ยงปลาสวายในปอ ควรจะได้มีการพิจารณาถึงหลักทั่วๆ ไปดังต่อไปนี้

1. ขนาดของบ่อและที่ตั้ง ควรเป็นบ่อขนาดใหญ่ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ขึ้นไป หรืออย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 400 ม.2 ควรมีความลึกประมาณ 2 เมตร ที่ตั้งของบ่อควรใกล้แม่น้ำหรือลำคลอง ที่สามารถรับน้ำและระบายน้ำเข้าออกได้เมื่อต้องการ

2. การเตรียมบ่อ ใช้หลักการและวิธีการเดียวกันกับหลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่วไป ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

3. น้ำที่เอามาใส่ไว้ในบ่อ ต้องเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติดีเช่นเดียวกับน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงปลาโดยทั่วไป

4. พันธุ์ปลา การคัดเลือกพันธุ์ปลาสําหรับปล่อยลงบ่อเลี้ยงควรพิจารณาถือตามหลักง่ายๆ ดังนี้

-เป็นปลาที่สมบูรณ์ ไม่เป็นแผล ไม่แคระแกรนหรือพิการ และปราศจากโรค

-เป็นปลาขนาดไล่เลี่ยกัน เพราะปลาที่โต แตกต่างกันจะรังแกกันและแย่งอาหารสัตว์โตไม่ได้ เมื่อถึงเวลาจับขายทำให้มีปัญหา บางทีต้องคัดทำการเลี้ยงต่อไป หรือบางทีมีอุปสรรค

5. อัตราการปล่อย ปลาที่ปล่อยควรมีขนาดค่อนข้างโต คือขนาด 5-12 ซม. อัตราการปล่อยควรอยู่ระหว่าง 2-3 ตัว/ม.2 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของอาหาร และความอุดมสมบูรณ์ ของน้ำที่ใช้เลี้ยง

6. อาหาร ปลาสวายเป็นปลากินอาหารได้ทุกประเภทโดยไม่เลือก ซึ่งได้แก่ พืช สัตว์เล็กๆ อยู่ในน้ำ เช่น พวกแมลง ไส้เดือน หนอน และตะไคร่น้ำ ตลอดจนพวกแหนและผักที่กินใบ นอก จากนั้นปลาสวายยังมีความสามารถในการใช้มูลสัตว์จำพวกหมู ไก่ และจำพวกวัว ควาย ให้เป็นอาหาร โดยตรงได้อีกด้วย เพราะเหตุนี้เอง ปลาสวายจึงเป็นปลาที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นปลาเลี้ยงแบบไร่ผสม หรือที่เรียกว่า แบบผสมผสานชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง

การหาวัสดุมาใช้เป็นอาหารของปลาสวายเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งของการเลี้ยงปลาสวาย เพราะในการเลี้ยงปลาสวายให้มีความสำเร็จหรือให้ได้ผลกำไรนั้นอยู่ที่การหาวัสดุมาใช้เป็นอาหาร ถ้าหากการหาวัสดุอาหารมาได้ด้วยราคาถูก การเลี้ยงปลาก็ได้กำไร และในทางตรงกันข้ามถ้าหาได้ด้วยราคาแพง ก็จะได้กำไรน้อยหรือขาดทุน

อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาสวายในเขตชานเมืองของกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตปลาสวาย ส่วนใหญ่จะได้มาจาก

-เศษอาหารจากภัตตาคารและร้านค้า

-พวกมูลสัตว์ หรืออาหารจากส่วนที่ย่อยไม่หมดของกระเพาะและลำไส้ของโค กระบือ และสุกรจากโรงฆ่าสัตว์

-เศษผักจากสวนผักซึ่งผู้ทำสวนผักตัดและคัดทิ้ง

-เศษผักจากตลาดสดที่ถูกตัดทิ้ง ตลอดจนเศษเครื่องในและเหงือกปลาที่แม่ค้าในตลาดควักออกทิ้ง

-เศษมันเส้น (จากมันสำปะหลัง) หรือมันเส้น หรือหัวมัน ตลอดจนใบมัน โดยเฉพาะใบมันอาจโยนให้โดยตรงหรือต้มผสมกับวัสดุอื่นให้กิน ฯลฯ

อาหารผสมหรืออาหารเสริมอย่างอื่นซึ่งอาจซื้อหาได้ด้วยราคาสูงกว่าอาหารประเภทดังกล่าวแล้ว จะยังไม่แนะนำให้จัดหามาเลี้ยงปลาสวาย เพราะเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างแพง ไม่คุ้มการ ลงทุนและไม่จำเป็น

เกี่ยวกับอาหารและการให้อาหารแก่ปลาสวายนั้น ท่านศาสตราจารย์หลวงสุวรรณ วาจกกสิกิจ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ชื่อปลาสวายว่า “หมูน้ำ” เพราะกินอาหารของหมูได้ทุกชนิดที่หมูกิน

7. การเจริญเติบโต ในการเลี้ยงปลาสวายในบ่อดินจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 8-12 เดือน ปลาสวายจะมีขนาด 1-1.5 กก. ซึ่งเป็นขนาดที่จำหน่ายได้ในท้องตลาดทั่วๆ ไป

8. การจับ หากทำการจับปลาจำนวนน้อย ให้ใช้แหหรือสวิง แต่ถ้าจำนวนมาก ควรใช้อวนหรือเฝือกสุกล้อม หากเป็นบ่อขนาดใหญ่ให้แบ่งตอนของบ่อด้วยเฝือกหรืออวนก่อน แล้วใช้อวนล้อม สกัดจับส่วนที่ต้องการออก เพื่อไม่ให้ปลาในบริเวณที่เหลือมีอาการตื่นตกใจตามไปด้วย

9. ผลผลิต ปลาที่เลี้ยงในบ่อดินจะมีผลผลิตในระยะ 8-12 เดือน ประมาณ 4,000-6,000 กก./ไร่ ทั้งนี้แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของอาหารที่ให้และน้ำที่ใช้เลี้ยง

การแก้ปัญหากลิ่นสาบโคลนของปลาสวายที่เลี้ยงในบ่อ

จากการเลี้ยงปลาสวายในบ่อโดยเฉพาะปลาที่เลี้ยงอย่างหนาแน่นนั้น มักจะมีกลิ่นสาบโคลนเมื่อนำมาทำเป็นอาหาร การแก้ปัญหากลิ่นสาบโคลนมีดังนี้

-ถ่ายเทน้ำที่เลี้ยงปลาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะนำปลาสวายไปจำหน่าย หรือทำอาหาร

-ก่อนจะนำไปจำหน่ายหรือทำอาหาร ควรจับปลาหรือถ่ายปลาจากบ่อใหม่ที่มีน้ำสะอาดและถ่ายเทได้พอสมควร แล้วให้อาหารจำพวกปลายข้าวต้มผสมรำก่อนนำไปจำหน่าย 2-3 วัน จะทำให้ปลามีกลิ่นดีขึ้นเมื่อทำอาหาร

การเลี้ยงในกระชัง

การเลี้ยงปลาสวายในกระชังนั้น เป็นการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูงกว่าการเลี้ยงในบ่อดิน เป็นการเลี้ยงที่ได้รับความนิยมอย่างมาก จากราษฎรที่อาศัยเรือนแพในแม่น้ำ ลำคลองแถบภาคกลาง เช่น จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี อยุธยา ฯลฯ หลักเกณฑ์ในการเลี้ยงปลาสวายในกระชัง มีดังนี้

1. ที่ตั้งของกระชัง ควรจะตั้งในแหล่งน้ำจืดที่มีน้ำไหลถ่ายเทได้ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หากจะเลี้ยงในอ่างเก็บน้ำควรตั้งกระชังให้อยู่ในบริเวณตอนบนของอ่าง ซึ่งมีกระแสน้ำพอที่จะช่วยถ่ายเท ของเสียจากกระชังได้บ้างก็จะเป็นการดี

2. วัสดุที่ใช้ทำกระชัง ส่วนใหญ่นิยมทำด้วยไม้เนื้อแข็ง และจะมีอยู่บ้างที่ยังใช้ไม้ไผ่สานทำเป็นกระชัง นอกจากนั้นก็มีการใช้เนื้ออวนโพลีเอททีลีนทำ แต่ยังไม่แพร่หลายนัก ในการใช้วัสดุ พยุงกระชังให้ลอยน้ำนั้นนิยมใช้ไม้ไผ่มัดเป็นแพลูกบวบ

3. ขนาดของกระชัง ส่วนใหญ่ถ้าเป็นกระชังไม้หรืออวนจะมีขนาด 8-15 ม.2 ลึก 1.25-1.50  เมตร และถ้าเป็นไม้ไผ่สานจะมีขนาด 2x5x1.5 เมตร

4. อัตราการปล่อย ปลาที่ปล่อยเลี้ยงในกระชัง 7-12 ซม. ปล่อยในอัตรา 100-200 ตัว/ม.2

5. อาหารและการให้อาหาร ใช้อาหารและส่วนประกอบของอาหารที่เลี้ยงในบ่อ แต่มีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการให้อาหารปลาที่เลี้ยงในกระชังนั้นอาหารอาจจะฟุ้งกระจายขณะที่ปลาสวายแย่งกันกินอาหาร จะมีส่วนสูญเสียอยู่จำนวนหนึ้งอาจแก้ไขได้โดยใส่สารเหนียวผสมในอาหารที่ให้ อาหารที่ให้ควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ในปริมาณ 3-596 ของน้ำหนักตัว

อาหารประเภทพืชผัก เช่น ผักบุ้งสับ เถาและใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง ควรจะเป็นอาหารเสริมสำหรับปลาชนิดนี้

6. การเจริญเติบโต ขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของอาหารที่ให้ หากเป็นกระชังขนาดประมาณ 10 ม.2 ลึก 1.25 เมตร ปล่อยปลา 150-200 ตัว/ม.2 ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 1 ปี จะให้ผลผลิตประมาณ 1,500 กก./กระชัง

มีรายงานเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาสวายในกระชัง ในประเทศกัมพูชา ใช้กระชังขนาด 4.5×9.0x1.0 เมตร ปล่อยปลาขนาดนิ้วมือ 7,000-8,000 ตัว ใช้เวลาเลี้ยง 8-10 เดือน ให้อาหารด้วยปลาสับสลับกับอาหารพวกกล้วย แป้ง ผักบุ้ง และกากถั่วเหลือง ปลาจะมีขนาดเฉลี่ย 1.0-1.2 กก./ตัว

7. การจับและลำเลียงส่งตลาด ในการจับปลาสวายที่เลี้ยงในกระชังนั้น ทำง่ายๆ แบบใช้เนื้ออวนกรุภายในกระชังซึ่งง่ายกว่าการจับในบ่อมาก บางทีผู้เลี้ยงสามารถลำเลียงปลาสวายด้วยกระชังสู่ตลาดได้เลย โดยการปล่อยกระชังตามกระแสน้ำซึ่งไม่ทำให้ปลาบอบช้ำ แต่ไม่นิยมใช้เรือลากจูง เพราะทำให้น้ำในกระชังปั่นป่วนปลาจะว่ายเลาะข้างกระชัง และตกใจทำให้เกิดบาดแผลที่ปาก ลำตัว และบางทีที่ตาทำให้ปลาราคาถูก และบางทีทำให้ปลาถึงตายได้

ในการลำเลียงทางบกเพื่อให้ได้ปลามีชีวิตไปขายในตลาด ทำได้ง่ายๆ โดยรถยนต์ โดยเฉพาะ รถปิกอัพ โดยใช้ถังสีเหลี่ยมขังน้ำประมาณเพียงเพื่อให้ท่วมปลา แล้วใช้อวนปิดถัง การลำเลียงแบบนี้ทำตอนเช้ามืดหรือกลางคืนซึ่งมีอากาศเย็นจะได้ผลดีมาก

โรคและพาราสิต

โดยปกติทั่วๆ ไปแล้ว ปลาสวายเป็นปลาที่ไม่ค่อยจะมีโรคและพาราสิตเหมือนปลาเลี้ยงชนิดอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามในการเลี้ยงลูกปลาขนาดเล็กนั้น เคยพบโรคและพาราสิตรบกวนปลาชนิดนี้อยู่เหมือนกัน ทางสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติได้สรุปผลเกี่ยวกับโรคและพาราสิต ดังนี้

1. โรคฟองอากาศ (gas bubble disease) อาการของโรคมีคล้ายฟองอากาศเกิดขึ้นในช่องท้อง

2. โรคท้องบวม อาการของโรคคือส่วนท้องจะบวมเห็นได้ชัดเจน

3. โรคที่เรียกว่า saprolegnia มีลักษณะเป็นเส้นยาวๆรวมกันอยู่เป็นกระจุก มักจะพบกับปลาที่ตายแล้ว หรือส่วนครีบที่ฉีกขาด

4. สัตว์เซลล์เดียว Trichodina เป็นพวกพาราสิตเซลล์เดียว รูปร่างคล้ายจานหรือระฆังเกาะตามตัว ครีบ และซี่เหงือกของปลาขนาดเล็ก

5. โรคจุดขาว หรือ “White spot” ที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า Ichthyopthirius เป็นพวก ciliated protozoa สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่ารูปร่างทรงกลมมีขนรอบตัว และมีนิวเคลียสคล้ายรูปเกือกม้า เป็นตัวพาราสิตที่ทำความเสียหายให้แก่ผู้เลี้ยงปลา ตัวโตเต็มวัยของพาราสิตชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนังของปลาเพื่อดูดเลือดกินเป็นอาหาร ซึ่งยากแก่การกำจัด