การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง

การเพาะเห็ดฟางในประเทศไทยมีมานานกว่า 40 ปีมาแล้ว โดยใช้วิธี เลียนแบบธรรมชาติ ผู้เพาะส่วนใหญ่เป็นชาวจีน โดยการนำเอาฟางมากองสุมกันไว้ แล้วนำปุ๋ยหมักที่เห็ดฟางเคยขึ้นมาก่อน โรยบนกองฟาง เมื่อเชื้อเห็ดได้รับความชื้น และอุณหภูมิพอเหมาะแล้วจะเจริญออกมาอย่างรวดเร็ว ประมาณ 15-20 วัน ก็จะ มีเห็ดฟางเกิดขึ้น จะเก็บผลผลิตไปได้เรื่อย ๆ จนกระทั่งฟางเน่าสลาย วิธีนี้ได้ผลผลิตไม่แน่นอน ทั้งนี้เพราะปุ๋ยหมักที่เห็ดฟางเคยขึ้นอาจไม่มีเชื้อเห็ดฟางเหลืออยู่ หรือเชื้อที่อยู่ในปุ๋ยเสื่อมคุณภาพไปแล้วก็ได้

จนกระทั่ง อาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์ ได้ทำการส่งเสริมและเผยแพร่ให้แก่ เกษตรกรโดยใช้เทคนิคและวิธีการแผนใหม่เข้าช่วยในการเพาะเห็ดฟาง นับตั้งแต่นั้น มาทำให้มีการเพาะเห็ดฟางอย่างกว้างขวาง และเป็นผลทำให้มีการเพาะเห็ดเศรษฐกิจอย่างอื่น เช่น เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดเปาฮื้อ เห็ดนางรมและเห็ดถั่ว เป็นต้น

การเพาะเห็ดฟางในประเทศไทย เป็นอาชีพสำคัญอีกอาชีพหนึ่งของเกษตรกร กล่าวคือ การเพาะเห็ดฟางสามารถใช้วัสดุที่เหลือใช้จากเกษตรกรรม วิธีการเพาะไม่ยุ่งยากหรือพิถีพิถันมากนัก สามารถเพาะได้ทุกภาคและทุกสถานที่ไม่ว่าในที่ ร่ม กลางแดด หรือภายในโรงเรือน และเวลาในการเพาะสั้นมาก ประมาณ 7-9 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว รวมทั้งใช้พื้นที่ในการเพาะตลอดจนน้ำน้อยกว่าการปลูกพืชอย่างอื่น แต่ให้ผลตอบแทนสูง จะเห็นจากการปลูกข้าว 1 ไร่ มีรายได้ โดยไม่หักค่าใช้จ่ายประมาณ 800 -1,200 บาท แต่ถ้าเอาฟางที่ได้จากการปลูกข้าวมา เพาะเห็ดฟางอย่างเดียวจะทำให้มีรายได้ประมาณ 2,000-3,000 บาท นอกจากนี้ หลังจากเพาะเห็ดฟางแล้วยังสามารถนำฟางไปเพาะเห็ดอย่างอื่นได้ เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า และเห็ดเป่าฮื้อ หรือเป็นปุ๋ยหมักสำหรับใส่พืชได้อีกด้วย

ปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางสามารถเพาะได้ 3 วิธี คือ

1. การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง

2. การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

3. การเพาะเห็ดฟางแบบอุตสาหกรรม

การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง

การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง เป็นวิธีที่อาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์ ริเริ่มเพาะ ขึ้นเป็นครั้งแรกและได้ส่งเสริมให้แก่เกษตรกร เพราะวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้อยู่ใกล้ท้องทุ่งนา ที่สามารถเก็บเกี่ยวฟางมาเพาะเองได้ ต้องใช้ฟางจำนวนมากประมาณ 40- 50 ฟ่อน และการเพาะเห็ดฟางที่ได้ผลดีควรใช้ตอซังหรือโคนฟาง ผลผลิตที่ได้ถ้าทำถูกวิธีจะสูงมากพอสมควร สามารถเก็บผลผลิตได้จนกระทั่งหมดนานนับเดือน เหมาะอย่างยิ่งที่จะทำเป็นพืชผักสวนครัว

ตอซังหรือโคนฟาง ที่ใช้เพาะมีอยู่ 2 อย่าง คือ

1. ตอซังเกี่ยว หมายถึง หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ส่วนที่เหลือคือ ตอซัง จากนั้นจะทำการติดตอซังให้ชิดดิน แล้วตากไว้ให้แห้ง

2. ตอซังถอน หมายถึง หลังจากเกี่ยวข้าวแล้วทิ้งไว้ประมาณ 1-2 เดือน เพื่อให้รากของต้นข้าวเน่าเสียก่อน จากนั้นจึงถอนฟางออกมาพร้อมทั้งรากและดินติดมาด้วย

จากการทดลองพบว่า ตอซังถอนให้ผลผลิตสูงกว่าตอซังเกี่ยว และตอซัง ข้าวเหนียวให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวเจ้า เพราะฟางข้าวเหนียวมีนํ้าตาลและไนโตรเจนสูงกว่า ฟางที่จะใช้ต้องตากให้แห้งสนิทเสียก่อน

ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ได้แก่

1. การเตรียมสถานที่

2. การแช่น้ำฟาง

3. วิธีทำกอง

4. วิธีดูแลรักษา

5. วิธีเก็บผลผลิต

การเตรียมสถานที่เพาะ

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า เห็ดฟางสามารถเพาะได้ทุกสถานที่ พื้นที่ที่จะทำการเพาะ ต้องเป็นที่ราบ จะเป็นพื้นดิน หรือพื้นคอนกรีตก็ได้ แต่พื้นคอนกรีตมักทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าพื้นดิน ส่วนพื้นดินนั้นถ้ามีปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกสะสมหรือหมักหมมอยู่ก่อนแล้วยิ่งดีดอกเห็ดจะได้อาหารจากแหล่งปุ๋ยเหล่านี้ด้วย ทำให้ได้ผลผลิตสูงมากยิ่งขึ้น หรือดอกเห็ดอาจเกิดบนปุ๋ยเหล่านั้นอีกด้วย แต่พื้นที่นั้นจะต้องปราศจากน้ำมันเเละยาปราบศัตรูพืช ถึงแม้บางชนิดไม่เป็นพิษต่อเห็ด แต่เห็ดจะดูดสารพิษเข้าไปด้วย ทำให้เป็นพิษต่อผู้บริโภคได้ และน้ำมันจะทำให้เชื้อเห็ดตายได้

การแช่น้ำฟาง

น้ำที่ใช้แช่ฟาง จะใช้น้ำอะไรก็ได้ แต่จะต้องไม่มีน้ำมัน ผงซักฟอกที่มีความเข้มสูง ๆ ยาปราบศัตรูพืช และมีฤทธิ์เป็นกลาง ไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป ปราศจากเกลือหรือธาตุบางชนิดที่เป็นพิษต่อเห็ด เช่น เกลือแกง คลอรีน สารประกอบทองแดง และปรอท อาจทำการทดสอบได้ง่าย ๆ คือ ตักนํ้าใส่ภาชนะปากกว้างประมาณ 10 ลิตร ใส่ฟางประมาณ 1 กก. พร้อมทั้งใส่มูลของสัตว์บกประมาณ 200 กรัม ทิ้งไว้ประมาณ 2-4 วัน ถ้านํ้ามีสีคลํ้า กลิ่นเหม็นคล้ายนํ้าโสโครกและ มีตะไคร่น้ำ ก็แสดงว่าน้ำนี้สามารถใช้แช่ฟางได้ แต่ถ้านํ้ายังใสเหมือนเดิมก็ไม่ควรนำมาแช่ฟาง หรือจะให้แน่นอนที่สุดคือ นำน้ำที่จะใช้ 1 ลิตรส่งไปวิเคราะห์ที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตรจะบริการวิเคราะห์น้ำให้ฟรี จากนั้นก็นำมาปรึกษากับเจ้าหน้าที่สาขาจุลชีววิทยาประยุกต์ กองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร ว่าสามารถใช้เพาะเห็ดได้หรือไม่

การแช่ฟางถ้าเป็นตอซังถอนแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชม. ก็พอ ส่วนตอซัง เกี่ยวแช่แล้วต้องใช้ก้อนหินหรือของหนักทับให้จมแช่ 1 วัน แต่ถ้าไม่มีอะไรทับ ควรแช่ทิ้งไว้ 1 วัน พลิกเอาส่วนที่เคยอยู่ข้างบนให้จมนํ้า แล้วแช่ต่ออีก 1 วัน

วิธีทำกอง

การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ปริมาณของตอซังที่ใช้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับฤดูกาลที่เพาะ กล่าวคือ กองที่มีขนาดยาว 4 เมตรในฤดูหนาวใช้ตอซังประมาณ 40-50 ฟ่อน ส่วนฤดูที่มีอากาศร้อนอบอ้าวจะใช้ประมาณ 30-35 ฟ่อน

ขนาดของกองเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงขึ้นอยู่กับฤดูกาล ดังนั้นจะขอกล่าวถึงวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ทั้งฤดูหนาวและฤดูร้อน

การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงในฤดูหนาว

ควรเพาะกลางแจ้ง การวางกองควรวางไปตามแนวทิศทางลม เพื่อไม่ให้ ความชื้นภายในกองระเหยเร็วเกินไป และให้ขวางทางเดินของดวงอาทิตย์ เพื่อให้แสงแดด มีโอกาสส่องทางด้านข้างทั้งสองข้าง ในเวลาเช้าและเย็น จะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิเข้าภายในกองเพาะเห็ด

ก่อนที่จะลงมือเพาะ ควรทดน้ำให้ดินดูดน้ำไว้เต็มที่ หรือรดน้ำจนกระทั่งพื้นเปียกเสียก่อน ทั้งนี้เพราะถ้าหากพื้นดินแห้ง จะดูดความชื้นจากภายในกองให้น้อยลง ทำให้เส้นใยเห็ดไม่เจริญ หรืออาจจะทำให้ดินชื้นด้วยการทดน้ำหรือรดน้ำให้ดินเปียก ภายหลังการเพาะเสร็จก็ได้ ต่อจากนั้นให้นำหลักมาปักไว้ที่หัวท้ายของความยาวของกอง ห่างกันประมาณ 4 เมตร เพื่อกันไม่ให้กองที่จะทำขยายตัวออกขณะกำลังทำกอง นำตอซังที่แช่นํ้าแล้วมา 10 ฟ่อน ยกกระทุ้งให้โคนตอซังเสมอกัน แล้ววางตอซังให้โคนของฟางอยู่แนวเดียวกัน 5 ฟ่อน ตัดเชือกที่มัดฟางออกขยายฟางให้เต็มพื้นที่ ที่ปักหลักเอาไว้ แล้วขึ้นเหยียบบริเวณโคนซัง การเหยียบถ้าจะให้แน่นสมํ่าเสมอควร ใช้ไม้กระดานพาดเสียก่อน แล้วขึ้นเหยียบบนไม้กระดานไปมา 2-3 เที่ยว ความหนาของฟางควรอยู่ประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือ 10-12 ซม. พับปลายฟางที่ยาวเกินไป ไม่ควรให้ยาวเกิน 80 ซม. หากยาวเกินกว่านี้ให้พับหรือตัดด้วยมีดหรือกรรไกรตัดหญ้าก็ได้ จากนั้นนำตอซังที่เหลืออีก 5 ฟ่อน มาปฏิบัติเช่นกัน โดยวางทับกันแต่ หันโคนไปทางตรงกันข้าม โคนทั้ง 2 ห่างกันประมาณ 80 ซม. ขึ้นเหยียบ แล้วพับหรือตัดส่วนเกินออกเสีย จากนั้นจึงทำการโรยเชื้อเห็ด

การโรยเชื้อเห็ดฟาง จะต้องใช้เชื้อเห็ดที่มีชีวิตอยู่ ดังนั้น ถ้าเป็นเชื้อเห็ด แห้งก็จะต้องทำให้เชื้อเห็ดเจริญหรืองอกเสียก่อน ขยี้เชื้อเห็ดฟางให้ละเอียดเพื่อสะดวกในการโรย โรยเชื้อเห็ดให้ขนานไปกับขอบของกองทั้ง 4 ด้าน ให้ลึกจากโคนตอซังเข้าไปประมาณ 1 ฝ่ามือ ไม่จำเป็นต้องโรยเชื้อให้มากนัก อย่าโรยให้ลึกเกินไป เพราะเชื้อเห็ดจะร้อนและขาดอากาศทำให้เชื้อเห็ดตายได้ แต่ก็ไม่ควรโรยตื้นเกินไป เพราะความชื้นและอุณภูมิไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด เมื่อโรยเชื้อเสร็จก็เป็นอันเสร็จชั้นที่ 1

การเพาะเห็ดฟางในฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิตํ่ากว่า 20 องศาเซลเซียส ควรทำอย่างน้อย 5-7 ชั้น ในชั้นต่อไปก็ทำเช่นเดียวกับชั้นแรก ชั้นถัดไปควรให้แคบกว่าชั้นล่างเล็กน้อย เพื่อต้องการให้กองเอียง ทำให้สะดวกต่อการดูแลรักษาและเก็บผลผลิต ให้กระทำเช่นนี้ไปจนกระทั่งกองสูงประมาณ 70-80 ซม. หรือประมาณ 5 – 7 ชั้นก็พอ สำหรับชั้นสุดท้ายควรโรยเชื้อให้ทั่วผิวหน้า ทั้งนี้เพราะต้องการให้เส้นใยเห็ดเดินเข้าไปในกองเร็วยิ่งขึ้น และดอกเห็ดอาจออกบริเวณหลังกองได้อีกด้วย เมื่อโรยเชื้อชั้นสุดท้ายเสร็จแล้ว ใช้ตอซังอีกประมาณ 4 ฟ่อนคลุมทับ โดยหันโคนออกจากกันข้างละ 2 ฟ่อน เกลี่ยตอซังให้ทั่วผิวหน้า แล้วขึ้นเหยียบอีกครั้งหนึ่ง ทำการตบแต่งกองให้ดีด้วยมีดหรือกรรไกรตัดหญ้า อย่าให้มีเศษฟางโผล่ออกมาไม่เป็นระเบียบ

ลักษณะกองฟางเมื่อทำเสร็จแล้ว จะมีลักษณะเป็นลี่เหลี่ยมคางหมู คือ ฐานกว้าง ส่วนข้างบนแคบ ด้านข้างกองลาดเอียงเล็กน้อย ทำการรดน้ำให้โชกทั่วทั้งกอง ถ้าอากาศหนาวจัดให้ใช้พลาสติกคลุม ถ้าใช้พลาสติกสีจะกินแสงได้ ดอกเห็ดที่ได้สีจะขาว แต่น้ำหนักเบา และพลาสติกใสแสงผ่านได้ ดอกเห็ดจะมีสีดำ น้ำหนักดี พลาสติกที่ใช้ยิ่งเก่ายิ่งดี เพราะจะไม่มีหยดนํ้าทำให้ดอกเห็ดฟางไม่ฝ่อตายขณะเกิดดอกเล็ก ๆ และการคลุมพลาสติกควรคลุมทั้งกอง แต่หลังกองเผยอผ้าพลาสติกเล็กน้อย เพื่อกันไม่ให้หลังกองร้อนเกินไป คลุมด้วยจากหรือฟางแห้งทับผ้าพลาสติกให้หนา ๆ เพื่อให้เกิดความอบอุ่น รวมทั้งกันแสงสว่างที่มากเกินไป และกันไม่ให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของเห็ด

แต่ถ้าอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ก็ไม่จำเป็นต้องคลุมผ้าพลาสติก หรือจะคลุมเฉพาะรอบ ๆ กองก็ได้ แต่ต้องคลุมจากหรือฟางให้หนา ๆ

วิธีดูแลรักษา

หลังจากคลุมกองเสร็จแล้ว ให้ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน จึงจะตรวจดูความ ชื้น โดยเอาจากหรือฟางและผ้าพลาสติกออกดึงฟางภายในกองมาบิดดู ถ้าฟางที่บิดมีนํ้าเยิ้มออกมาก็แสดงว่าภายในกองมีความชื้นมากพอ แต่ถ้าไม่เห็นน้ำเยิ้มออกมาแสดงว่าภายในกองแห้งเกินไปต้องทำการรดน้ำ การรดน้ำให้ใช้บัวรดที่หลังกองตรงบริเวณขอบกอง ขณะที่รดน้ำให้สังเกต ถ้านํ้าไหลออกมาทางด้านข้างกองก็แสดงว่าใช้ได้แล้ว จากนั้นให้รดบริเวณหลังกองและข้างกองที่เหลือไปมาอย่างรวดเร็ว 2 – 3 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม มีวิธีการดูแลรักษาอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดี คือ หลังจากที่เอา วัสดุคลุมออกแล้วในวันที่ 3 หรือ 4 ให้ใช้ปลายฟางแห้งโรยทั่วกองฟางเบา ๆ แล้วจุดไฟเผา ในการเผากองมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. ทำลายเศษฟางที่ไม่สม่ำเสมอ

2. ทำลายเส้นใยเห็ดฟางที่มารวมกันอยู่บริเวณข้างกอง เพราะเส้นใย เหล่านี้จะรวมตัวกันเกิดดอกก่อนกำหนด ทำให้ดอกไม่สมบูรณ์

3. เป็นการเพิ่มสภาพความเป็นกรด-ด่าง บริเวณรอบ ๆ กองให้มีฤทธิ์ เป็นด่างจะทำให้ได้ผลผลิตสูง ดอกเห็ดสมบูรณ์ นํ้าหนักดี

4. ขี้เถ้าช่วยเก็บความชื้น เพื่อหล่อเลี้ยงดอกเห็ด ซึ่งต้องการความชื้น

สูงมาก

5. ทำให้อุณหภูมิภายในกองสูงขึ้น จะกระตุ้นให้เส้นใยเห็ดเจริญเร็วยิ่งขึ้น

6. ทำให้ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ภายในกองเห็ดสูงขึ้น จะไปกระตุ้นให้ เล่นใยเห็ดที่อยู่ภายในรวมตัวกัน เพื่อให้เกิดดอกภายนอกกองที่ มีก๊าชออกซิเจนมากกว่า

หลังจากเผากองแล้วให้กวาดเอาขี้เถ้าส่วนเกินที่อยู่บริเวณข้าง ๆ กองออกบ้าง แล้วจึงรดน้ำบริเวณหลังกองใกล้ ๆ ขอบ ให้สังเกตถ้าเห็นน้ำเล็ดออกจากข้างกองก็พอ แล้วรดข้างกองอย่างเร็วสัก 1-2 เที่ยว คลุมกองด้วยวัสดุเหมือนเดิม แต่การคลุมพลาสติกนั้นควรเผยอผ้าพลาสติกหลังกองให้กว้างกว่าเดิม ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน หรือก่อนที่จะเกิดเห็ด 1-2 วัน ตรวจดูความชื้นเช่นเดียวกันอีกครั้ง หากความชื้นไม่พอให้ทำการรดนํ้า น้ำที่ ใช้รดใช้ประมาณ 1 ใน 4 ของการรดน้ำครั้งแรก แต่ถ้าหากความชื้นพอแล้วให้ใช้บัวรดนํ้ารดเฉพาะข้างกองผ่านไปมาอย่างรวดเร็วสัก 1-2 เที่ยว ก็พอ จากนํ้นให้ตรวจดูความแน่นของกอง โดยใช้มือสอดดูให้ทั่วกอง หากมือสอดเข้ายาก แสดงว่าแน่นเกินไปให้สอดมือเข้าไปลึกประมาณ 10-12 ซม. แล้วยกขึ้นเพียงเล็กน้อย ทำให้ทั่วกอง เพื่อจะทำให้มีอากาศถ่ายเทบ้าง และเป็นการระบายเอาอากาศเสียที่มีอยู่ภายในกองออกไปบ้าง เพราะถ้ามีมากเกินไปเชื้อเห็ดฟางจะตาย ผลผลิตตํ่า ดอกเห็ดจะมีรูปร่างผิดปกติ ดอกเล็กและนํ้าหนักเบา

เมื่อตรวจดูความแน่นของกองเสร็จแล้วให้คลุมด้วยวัสดุเหมือนเดิม ประมาณ 2-5 วัน ดอกเห็ดก็จะเกิดขึ้นจะเก็บผลผลิตได้ใน 2-3 วันต่อมา ดอกเห็ดก็จะเกิดไปเรื่อย ๆ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ดอกเห็ดถึงจะหมดผลผลิตที่ได้ไม่ได้ออกมาให้เก็บได้ทุกวัน จะมีเว้นบ้างประมาณครั้งละ 2-3 วัน ดังนั้น ในระยะที่มีดอกเห็ดน้อยควรให้ความชื้นด้วยการรดนํ้าบริเวณข้าง ๆ กองไปด้วยทุกครั้ง

การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงแต่ละกอง ผลผลิตที่ได้จะอยู่ระหว่าง 10-

20 กก.

การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงในฤดูร้อน

ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงในฤดูหนาว ต่างกันเพียง แต่ความกว้างและความสูงของกองเท่านั้น ขนาดกองจะเล็กกว่าคือ ฐานกว้างประมาณ 50-60 เซ็นติเมตร สูงไม่เกิน 50 เซ็นติเมตร หรือทำประมาณ 3-5 ชั้น เพราะ ถ้ากองกว้างและสูงกว่านี้ อุณหภูมิภายในกองจะสูงเกินไป เชื้อเห็ดจะตาย

การเพาะในฤดูร้อนควรเพาะในร่ม เช่น ใต้ถุนบ้าน ใต้ร่มไม้ ถ้าเพาะ กลางแดด ควรมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่บนพื้นเพื่อไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป ในฤดูร้อนอากาศแห้งแล้ง ความชื้นมักระเหยไปเร็ว ดังนั้น อาจใช้ผ้าพลาสติกคลุมกันไม่ให้ความชื้นระเหยเร็วเกินไปก็ได้ แต่คลุมเฉพาะข้าง ๆ กองเท่านั้น หลังกองไม่ควรคลุมและคลุมด้วยจากหรือฟางแห้งให้หนา ๆ กันไม่ให้แดดส่องและลมโกรกมากเกินไปหรือจะใช้ จากหรือฟางคลุมอย่างเดียวก็ได้

ส่วนการตรวจดูความชื้น ความแน่น และการปฏิบัติดูแล ก็ทำเช่นเดียวกัน จากการทดลองพบว่าในฤดูร้อนหากใช้วิธีเผากองจะได้ผลดีมาก การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงในฤดูฝน

การเพาะเห็ดก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับฤดูหนาว ต่างกันที่ความกว้างและความสูง กล่าวคือ กว้างประมาณ 60-70 ซม. สูงประมาณ 50-60 ซม. หรือทำประมาณ4-6 ชั้น ส่วนมากมักจะไม่เผากอง สิ่งจำเป็นสำหรับการเพาะในฤดูฝนคือเครื่องกันฝน เช่นเพาะในโรงเรือนหรือเพาะกลางแจ้ง แต่ต้องทำหลังคากันฝน อาจใช้จากหญ้าคาทำเป็นแผง หรือผ้าพลาสติกคลุมก็ได้ ที่ทำหลังคาเพราะถ้าฝนตกกองจะชื้นมากเกินไป ดอกเห็ดจะเน่าตาย ส่วนการปฏิบัติการอื่น ๆ ก็ทำเช่นเดียวกันกับการเพาะในฤดูหนาวหรือฤดูร้อน

การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง อาจจะทำได้อีกวิธีหนึ่งคือ การทำกองใน ลักษณะที่มีฐานอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กล่าวคือ มีความกว้างและยาวเท่ากัน ในการวางฟางควรจะให้โคนฟางหันไปทั้ง 4 ทิศ มีความกว้าง-ยาวเท่ากับความกว้างของกองฟางที่เพาะในแต่ละฤดู จากนั้นก็จะทำการเพาะในแต่ละชั้นเหมือนกับการเพาะที่ได้กล่าวมาแล้วทุกประการ หรืออาจจะทำกะบะไม้ที่มีขนาดเท่ากับกองที่ต้องการในแต่ละฤดู เพื่อเป็นแบบพิมพ์ในการเพาะก็ใด้ วิธีนี้ฟางที่ใช้ในการเพาะอาจจะใช้ ตอซังหรือปลายฟางก็ได้ (ปลายฟางควรแช่น้ำ 2 คืน) และการดูแลรักษาก็จะเป็นไปตามฤดู ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงในแต่ละฤดู

การเก็บผลผลิต

หลังจากการดูแลรักษาครั้งที่ 2 แล้ว อีกประมาณ 2-3 วัน ดอกเห็ดก็จะ เกิดขึ้นเป็นดอกเล็ก ๆ และจะเจริญขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว ในระยะห้ามรดน้ำเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อตาย

ดอกเห็ดที่เก็บได้จะมีลักษณะเต่งตึง ปลอกหุ้มขยายตัวเต็มที่ แต่ยังไม่บาน เพราะถ้าปล่อยให้ปลอกแตกและดอกบานแล้วจะจำหน่ายได้ราคาตํ่า วิธีเก็บควรใช้มือรวบดอกเห็ดตรงโคนแล้วหมุนเบา ๆ ดอกเห็ดจะหลุดออกมาโดยง่าย พยายามอย่าให้กระทบกระเทือนดอกเห็ดที่ยังไม่โตเต็มที่ที่อยู่บริเวณใกล้ ๆ เพราะถ้กระทบกระเทือน

ดอกเห็ดจะฝ่อตายทันที และถ้าดอกเห็ดเกิดขึ้นเป็นกลุ่มควรเก็บออกมาทั้งหมด อย่าให้มีเศษดอกติดอยู่ภายในกองเพราะจะฝ่อตายและเน่า เป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค

หลังจากเก็บดอกเห็ดแล้วให้เอาเศษฟางที่ติดมากับดอกเห็ดออก ถ้าจะนำไปจำหน่ายเป็นเห็ดสด ไม่ควรเก็บไว้ในที่ร้อนหรือกองสุมกันไว้ เพราะดอกเห็ดได้รับความร้อนจะบานเร็ว ควรเก็บในที่เย็น ๆ หรือกระจายบาง ๆ ถ้าจะเก็บไว้นานควรใส่ถุงพลาสติกให้พองลม เก็บไว้ในตู้เย็น ชั้นที่เก็บผัก หรือจะผ่าซีกตากแห้งด้วยแดด หรือจะอบด้วยไอร้อนให้แห้งเก็บไว้นาน ๆ ก็ได้