การเลี้ยงปลาชนิดเดียว

การเลี้ยงปลาแบบชนิดเดียวหรือแบบเดี่ยว (Monoculture) หมายถึง การเลี้ยงปลา หรือสัตว์น้ำชนิดเดียวภายในบ่อหนึ่ง สัตว์น้ำที่สมควรนำมาเลี้ยงแบบเดี่ยวที่เหมาะสมในภูมิภาคนี้ได้แก่ ปลานิล สวาย ดุกอุย ดุกด้าน และกุ้งก้ามกราม สำหรับวิธีการเลี้ยงปลาแบบเดี่ยวนี้ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีเลี้ยงแบบพัฒนา (Intensive culture) หรือแบบกึ่งพัฒนา (Semi-intensive)โดยมุ่งหวังผลผลิตสูง และสัตว์น้ำ ที่ผลิตขึ้นมามีราคาดีหรือมีตลาดรองรับการจัดการเลี้ยงปลาแบบนี้ก็ไม่ค่อยยุ่งยาก ส่วนปัจจัยอื่นที่สำคัญ และเป็นแรงกระตุ้นให้มีผู้เลี้ยงปลาชนิดเดียวก็คือ อาหารปลาที่หาได้ง่ายและราคาถูก เช่น การเลี้ยงปลาสวายบริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ ใช้เศษอาหารเหลือจากภัตตาคาร การเลี้ยงปลาดุกที่จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ใกล้แหล่งน้ำชลประทาน ใช้อาหารปลาเป็ด และเครื่องในไก่จากโรงฆ่าสัตว์ ซึ่งมีราคาต่ำและหาได้ง่าย เป็นต้น ลักษณะสภาพแวดล้อมดังกล่าวนี้ อาจจะนำมาประยุกต์ใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้

(1) การเตรียมบ่อ

-ถ้าเป็นบ่อเก่าควรสำรวจและปรับปรุงสภาพของบ่อเสียก่อน เช่น ทำการวิดน้ำ ลอกเลน ปรับปรุงคันดิน ท่อและตะแกรงทางนํ้าเข้าบ่อ ตลอดจนการกำจัดวัชพืชและศัตรูของปลา และควรตากบ่อให้แห้งสัก 3-5 วัน

-ใส่ปูนขาวเพื่อฆ่าพยาธิ และเป็น buffer ตลอดจนแก้น้ำขุ่นเพื่อที่จะช่วยให้คุณสมบัติของน้ำอยู่ในลักษณะสมดุลเหมาะสมต่อการเลี้ยงปลา

-ใส่ปุ๋ยคอกในบ่อที่ใช้เลี้ยงปลานิล ตะเพียนขาว และสวาย ส่วนบ่อที่ใช้เลี้ยงปลาดุกและกุ้งก้ามกรามไม่ต้องใส่ปุ๋ย เพราะสัตว์น้ำทั้ง 2 ชนิดหลังนี้กินอาหารที่ให้โดยตรง

-ปล่อยน้ำหรือสูบน้ำเข้าบ่อผ่านตะแกรงตาถี่ เพื่อป้องกันศัตรูที่จะติดเข้ามาพร้อมกับน้ำ ระดับน้ำที่เหมาะสมคือ 1.50-2.00 เมตร

(2) ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ และอัตราส่วนการปล่อย

ชนิด                                         ขนาด (ชม.)         ตัว/ม.2

นิล                                                 3-5                          20

5-7                          2

ตะเพียนขาว                                 3-5                          30

5-7                          3

สวาย                                             3-5                          10

5 – 7                        3

ดุกอุย                                            5-7                          60

7-10                        50

กุ้งก้ามกราม                                 2-3                          5-10

(3) การให้อาหาร

ปลานิล ตะเพียนขาว สวาย ให้อาหารประเภทพืชผัก เช่น แหน ผักบุ้ง และผักตบชวา หรือเศษผัก หันหรือสับผสมรำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว และปลาป่น โดยมีอัตราส่วนของโปรตีน ประมาณ 20%

สัาหรับในบ่อที่เลี้ยงปลานิล จำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ยคอกเดือนละครั้ง มีกองปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดไว้เป็นประจำเพื่อเพาะอาหารธรรมชาติ ส่วนปลาดุกอุยและกุ้งก้ามกรามใช้อาหารสำเร็จรูป หรือปลาสดบดผสมรำข้าว 10%

สำหรับปริมาณอาหารที่ให้ประมาณ 3% ของน้ำหนักปลา แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง (เช้าและเย็น) และจะต้องสังเกตว่ามีอาหารเหลือมากน้อยเพียงใด เพื่อปรับให้พอดีกับความต้องการของปลา

(4) การดูแลรักษา

-บ่อที่เลี้ยงปลาดุกจะต้องหมั่นถ่ายน้ำ อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ครั้งละประมาณ 1/2 บ่อ ทั้งนี้เพราะปลาดุกกินอาหารประเภทของสด หรืออาหารที่มีโปรตีนสูง ก้นบ่อมีทั้งเศษอาหารเหลือ บูดเน่า ประกอบด้วยแก๊สไข่เน่า (H2S) และแก๊สแอมโมเนีย (HN3 – N) ที่เป็นอันตรายต่อปลา ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะถ่ายน้ำเพื่อลดปริมาณของแก๊ส H2S และ NG3-N โดยหมั่นเปลี่ยนถ่ายเทน้ำบ่อยๆ และ ระมัดระวังอย่าให้มีเศษอาหารเหลือ

-บ่อที่เลี้ยงกุ้งก้ามกรามก็ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ อย่างน้อยสองสัปดาห์ต่อครั้ง และระมัดระวังในเรื่องเศษอาหารเหลือด้วย

-ส่วนบ่อที่เลี้ยงปลานิล สวาย ตะเพียน ควรเติมน้ำให้อยู่ในระดับ 1.50-2.00 เมตร และหากสีของน้ำเขียวจัดอันเกิดจากแพลงก์ตอนพืชมีมาก ก็จำเป็นต้องถ่ายเทน้ำเช่นเดียวกัน

-กำจัดวัชพืช เช่น บัว กก ฯลฯ

(5) ข้อดีข้อเสียของการเลี้ยงปลาชนิดเดียว

ข้อดี ข้อเสีย
สะดวกในการจัดการเรื่องอาหารโดยใช้เลี้ยงด้วยระบบพัฒนาซึ่งผลิตปลาได้มาก และสะดวกต่อการดูแลรักษา มีอาหารธรรมชาติบางชนิดเหลือในบ่อโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์
น้ำที่ถ่ายเทจากบ่อปลากินเนื้อ เช่น ปลาดุก กุ้งก้ามกราม มีธาตุอาหารเหลืออยู่จำนวนมาก ซึ่งควรถ่ายเทลงไปในบ่อของปลาที่กินแพลงก์ตอนเช่น บ่อปลาลิ่น ซ่ง-บ่อเพาะไรแดง ปลาจะแย่งอาหารกันเอง เพราะเป็นปลาชนิดเดียวกัน ซึ่งมีนิสัยในการกินอาหารเหมือนกัน
สะดวกในการคัดจับส่งตลาด เพราะเป็นปลาชนิดเดียวกัน จำพวกปลาจีน เช่น ปลาเฉา ลิ่น ซ่ง เพิ่มผลผลิตได้ยาก