ข้อมูลของกระดังงาไทย


ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga odorata Hook. f. & Th.
ชื่ออื่นๆ    กระดังงา (ตรัง ยะลา) กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ (กลาง) สะบันงาต้น(เหนือ)
ชื่ออังกถษ Ylang Ylang, Perfume Tree, llang-llang, Kenanga.
ลักษณะ ไม้ต้นขนาดกลาง ลำต้นตรง สูง 15-20 เมตร เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งก้านมีขนาดเล็กแตกจากลำต้น มักลู่ลง ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ห้อยลง รูปใบยาว ปลายใบแหลม หรือมีติ่ง โคนใบกลมมน ใบบางนิ่ม สีเขียวอ่อน ใบกว้าง 5-7 ซ.ม. ยาว 12-15 ซ.ม. ดอกใหญ่ออกรวมกัน 3-6 ดอก ดอกอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม กลีบดอกยาวห้อยลงมี 6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้น รูปกลีบแคบ ปลายเรียวยาวขอบกลีบหยักเป็นคลื่นๆ ยาว 5-9 ซ.ม. กลีบชั้นในสั้นกว่ากลีบชั้นนอกเล็กน้อย ผลเป็นผลกลุ่ม รูปยาวรีอยู่รวมเป็นพวง 5-14 ผล สีเขียวเข้ม ผิวของผลเป็นมัน สุกมีสีดำ
ส่วนที่ใช้ ดอกที่แก่จัด
สารสำคัญ น้ำมันหอมระเหย เป็น esters ของ formic, acetic, valerianic และ benzoicacid ; methyl และ benzyl alcohol ; pinene, terpene, linalool และ geraniol, anonaine, canangine, sampangine.
ประโยชน์ทางยา ใช้ผสมยาหอม แก้ลม อ่อนเพลีย บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ ยาไทยใช้กระดังงาไทยเป็นหนึ่งในเกสรทั้ง 7 และ 9 ใช้ปรุงยาหอมบำรุงหัวใจ
อื่นๆ ดอกแก่จัด สกัดให้นํ้ามันหอมระเหยชื่อ นํ้ามันกระดังงา (oil of ylang-ylang) ใช้แต่งกลิ่นนํ้าหอม เครื่องสำอาง คนไทยนิยมใช้ดอกสดที่แก่จัดลนควัน เทียนอบ ใช้อบน้ำ ทำนํ้าอบไทย ใช้คั้นกะทิหรือทำนํ้าข้าวแช่
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ